Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 24)

เศรษฐกิจโลกทรุด ต้นเหตุส่งออกไทยติดลบ?

ดูเหมือนว่าฟันเฟืองตัวสำคัญในระบบเศรษฐกิจไทยยากที่จะเข็นขึ้นเสียแล้ว เมื่อการวาดหวังว่าห้วงเวลาสุดท้ายของปี สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของไทยอาจจะกระเตื้องขึ้นบ้าง จะเห็นได้จากบรรยากาศสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เวลานี้ที่คลื่นลมสงบ นั่นเพราะทั้งสองฝ่ายต่างเห็นว่าการฟาดฟันกันด้วยกลยุทธ์ทางภาษีอาจไม่ใช่หนทางที่ดี และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลทั้งสองฝ่ายต่างพยายามหาทางออกที่เหมาะสม การเว้นวรรคจากการห้ำหั่นกันของสองชาติมหาอำนาจไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศดีขึ้นเท่าใดนัก เมื่อหลายประเทศกำลังประสบกับสภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ หลายประเทศต้องออกมาตรการและนโยบายด้านการเงินและการคลัง โดยหวังว่าจะช่วยกระตุ้นชีพจรให้เครื่องจักรเศรษฐกิจทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อลองพิจารณาชาติมหาอำนาจอย่างจีนที่มีอัตราการเติบโตต่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปี ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าเป้าประสงค์ของรัฐบาลจีน นั่นเพราะปัจจัยทั้งภายในประเทศที่ทำให้ทางการจีนต้องออกมาตรการเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาบ้าง ทว่า คงไม่ใช่แค่ประชากรในประเทศจีนเท่านั้นที่จะต้องติดตามว่ามาตรการทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่รัฐบาลจีนนำออกมาใช้จะเพียงพอให้เศรษฐกิจจีนหลุดพ้นจากภาวะชะงักงันได้หรือไม่ เมื่อยังมีความเสี่ยงภาคการเงินจากหนี้ที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งนั่นทำให้จีนต้องระวังที่จะใช้นโยบายทางการเงินมากพอสมควร ขณะที่ไทยเองยังต้องติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีน นั่นเพราะจีนถือว่าเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญ และไทยพึ่งพาเศรษฐกิจโลกในสัดส่วนที่สูง ทำให้การส่งออกเชิงดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคม ติดลบ 2.0 เปอร์เซ็นต์ แต่ในรูปเงินบาทหดตัวติดลบ 2.43 เปอร์เซ็นต์ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกมาคาดการณ์ว่าในไตรมาส 4/2562 ทางการจีนน่าจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้นโยบายการคลัง ส่งผลให้อัตราการเติบโตของจีนในไตรมาส 4/2562 น่าจะทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.0 และทั้งปี 2562 เศรษฐกิจจีนน่าจะเติบโตที่ร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน อย่างไรก็ดี ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มอ่อนแรงลง และในปี 2563 จะชะลอตัวต่ำลงกว่าในปีนี้ โดยอาจขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 6 ซึ่ง IMF ได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนเหลือ 5.8 แล้วในปีหน้า โดยความเสี่ยงจากสงครามการค้าที่ยืดเยื้อและประสิทธิผลในการดำเนินนโยบายแบบขยายตัวของทางการจีนที่น่าจะมีจำกัดมากขึ้นจะเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อไป แม้สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ

Read More

อนาคตแรงงานไทย บนยุคแห่งการเปลี่ยนผ่าน

สาเหตุการขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ คงไม่ใช่สาเหตุความไม่แน่นอนในอนาคตของแรงงานไทยเท่านั้น เมื่อยังมีอีกหลายปัจจัยที่อาจสร้างผลกระทบต่อเหล่ามดงานไทยได้ ทั้งภาคการผลิตของไทยที่กำลังเริ่มมีการปรับเปลี่ยน และหยิบจับเอาเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์มาใช้มากขึ้น การลดจำนวนลงของโรงงานอุตสาหกรรม และนโยบายของภาครัฐที่ต้องการนำไทยให้เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเหมือนเป็นการบังคับให้แรงงานต้องรู้จักปรับตัว เพื่อให้พร้อมรับกับกระแสของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ ถ้าไม่อยากถูกทิ้งให้ล้าหลัง ทว่า คำถามคือ แรงงานไทยในปัจจุบันพร้อมแล้วหรือยังที่จะปรับตัวเพื่อ move on หรือสุดท้ายแล้วคือ move on เป็นวงกลม และกลับมาที่ข้อเรียกร้องให้รัฐบาลหาทางแก้ไข เยียวยาในทุกๆ เรื่องไป ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานระบุว่า ตลาดแรงงานของไทยมีจำนวนเฉลี่ยราว 37.6 ล้านคน หรือ 56.5 เปอร์เซ็นต์ของประชากรไทย (ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม 2561) และแรงงานส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในภาคเอกชนประมาณ 21-22 ล้านคน ในจำนวนดังกล่าวเป็นแรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 จำนวน 11 ล้านคน และประกันสังคมมาตรา 39 และมาตรา 40 รวมกัน 4.242 ล้านคน

Read More

มาตรการภาครัฐ กู้วิกฤตอสังหาไทย?

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของศักราชนี้ หน่วยงานและองค์กรต่างๆ มักจะจัดงานระดมสมองวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ที่กำลังอุบัติขึ้น อีกทั้งมีการคาดคะเนสิ่งต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อหาแนวทางการรับมือหรือวางแผนการทำงานในศักราชถัดไป แวดวงอสังหาริมทรัพย์ไทยก็เช่นกัน สมาคมที่เกี่ยวกับอสังหาฯ ต่างจัดงานเสวนาเพื่อถกประเด็นและร่วมแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์ผู้ประกอบการและผู้บริโภค เมื่อปัจจุบันแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยของไทยเรียกได้ว่าอยู่ในสภาวะชะลอตัวจนอาจถึงขั้นถดถอย หากจะว่ากันตามจริงตลาดอสังหาฯ ส่งสัญญาณชะลอตัวตั้งแต่ปีก่อน ทว่าความชัดเจนกลับปรากฏชัดในปีนี้ ซึ่งเป็นห้วงยามที่สถานการณ์เศรษฐกิจไทยและทั่วโลกอยู่ในภาวะที่ต่างต้องหาทางออกเพื่อให้พ้นวิกฤตไม่ต่างกัน จนบรรดาผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยต่างปรับเป้ายอดขายรวมไปถึงผลกำไรที่คาดหวังลง กระนั้นหลายค่ายก็ยังบอกว่าสถานการณ์ธุรกิจของตนยังไม่ย่ำแย่ เพียงแต่มีกำไรลดลงเท่านั้น หากจะพิจารณาจากจำนวนยูนิตเหลือขายที่ยังคงค้างอยู่ในตลาดเวลานี้ คือ 152,149 ยูนิต คำว่า “กระอัก” อาจเหมาะสมที่สุด เมื่อตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงยอดที่ถูกสำรวจจากพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นเพียงยอดจากการคำนวณแค่ครึ่งปีแรกอีกด้วย จากจำนวนยูนิตที่เหลือดังกล่าว สามารถแบ่งเป็นยอดบ้านแฝด 10,952 ยูนิต หรือ 7.2 เปอร์เซ็นต์ บ้านเดี่ยว 25,717 ยูนิต หรือ 16.5 เปอร์เซ็นต์ ทาวน์เฮาส์ 47,946 ยูนิต หรือ 31.5 เปอร์เซ็นต์ อาคารชุด 64,969 ยูนิต หรือ 42.7 เปอร์เซ็นต์ และอื่นๆ 3,111

Read More

อุตสาหกรรมยานยนต์กระอัก พิษสงครามการค้า-เศรษฐกิจโลกทรุด

แม้พิษจากสงครามการค้าระหว่างสองประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างและในหลายระนาบต่อประเทศคู่ค้า โดยที่ทั้งสองประเทศจะให้เหตุผลในการฟาดฟันกันด้วยกลยุทธ์ทางภาษีว่า ต้องการทวงถามความยุติธรรมทางการค้าระหว่างกันก็ตาม กระนั้นไทยในฐานะประเทศคู่ค้าและไม่ได้มีบทบาทสำคัญในศึกการค้าครั้งนี้กลับได้รับผลกระทบไม่น้อย เมื่อสินค้าหลายชนิดถูกชะลอการสั่งซื้อ นั่นทำให้ตัวเลขการส่งออกของไทยลดลงอย่างน่าใจหาย ผลกระทบเป็นระลอกคลื่นนี้สะท้อนกลับมาภายในประเทศอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แน่นอนว่า ไม่ใช่เพียงปัจจัยภายนอกจากสงครามการค้าเท่านั้นที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม เมื่อปัจจัยภายในประเทศอย่างกำลังซื้อของคนไทยที่ลดลง ความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่งผลต่อความไม่มั่นใจของนักลงทุน หนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้น และความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการอนุมัติสินเชื่อ เป็นมูลเหตุที่ดูจะซ้ำเติมให้สถานการณ์แย่ลง แม้ว่าภาครัฐจะพยายามหาแนวทางการแก้ปัญหาด้วยการเติมเงินเข้ามาในระบบ โดยมุ่งหวังให้ฟันเฟืองทางเศรษฐกิจทุกตัวสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้บ้าง ทว่า ผลที่ได้รับกลับเป็นเพียงการสปาร์กให้เครื่องยนต์ติดและทำงานได้เพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น และสิ่งที่น่ากังวลใจในเวลานี้ น่าจะเป็นภาคการผลิตที่เริ่มแสดงอาการของปัญหาชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ยอดการผลิตและยอดการส่งออกลดลง โดยสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ยังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะยอดการผลิตและการส่งออกรถยนต์ของไทยในปีนี้มีโอกาสที่จะหลุดจากเป้าหมายเดิม หลังมีปัจจัยลบรุมเร้าทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะปัญหาจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน รวมไปถึงการขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตจากยุโรป ที่ทำให้ยอดขายรถยนต์ทั่วโลกรวมถึงไทยปรับตัวลดลง ทว่าข้อมูลที่น่าสนใจคือรายงานยอดขายรถยนต์ของโลกในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ติดลบ 5.7 เปอร์เซ็นต์ และมียอดการผลิตติดลบ 5.8 เปอร์เซ็นต์ และสำหรับประเทศไทยตัวเลขการส่งออกรถยนต์ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ติดลบ 20 เปอร์เซ็นต์ โดยยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือนสิงหาคม 2562 อยู่ที่ 81,549 คัน ลดลง 20.45

Read More

จับตาอนาคตเศรษฐกิจไทย แข่งขันดุเดือด-โอกาสลดลง?

การเดินทางเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 ด้วยสถานการณ์ที่เรียกได้ว่าหืดจับ เมื่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทยต้องแขวนและฝากความหวังไว้กับความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก และประเทศคู่ค้า รวมไปถึงต้องพึ่งพาอาศัยนักลงทุนจากต่างชาติ ที่จะช่วยให้ฟันเฟืองในระบบหมุนไปได้ตามครรลองที่พึงจะเป็น ตลอดระยะเวลาที่ไทยถูกนำพาและบริหารประเทศด้วยรัฐบาลทหาร กระทั่งการเลือกตั้งเกิดขึ้น เราไม่อาจหลีกหนีข้อเท็จจริงที่ว่า การเข้ามาบริหารประเทศของรัฐบาลทหารในช่วงที่การเมืองกำลังระอุนั้น นำมาซึ่งความสงบเรียบร้อย ทว่า อีกความจริงที่ไม่อาจหลีกหนีได้เช่นกัน คือความง่อนแง่นของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระนั้นหากจะโยนความผิดไปที่การบริหารประเทศของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพียงอย่างเดียวดูจะไม่ยุติธรรมนัก เมื่อความเป็นจริงคือ เศรษฐกิจของประเทศไทยจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพึ่งพาอาศัยแรงขับจากปัจจัยภายนอกเป็นส่วนใหญ่ ทั้งด้านการท่องเที่ยว ที่ต้องอาศัยตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ภาคการส่งออกที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าที่ยังยืดเยื้อ แม้จะไม่ร้อนแรงดุเดือดเท่าในระยะแรก แต่ก็สร้างบาดแผลลึกให้กับอุตสาหกรรมการส่งออกของไทยไม่น้อย หรือด้านการลงทุน ที่นักลงทุนส่วนใหญ่เฝ้ารอสัญญาณความมั่นคงของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รวมไปถึงนโยบายสำคัญที่จะมีส่วนในการตัดสินใจ ที่จะเลือกและย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย คล้ายกับว่าในห้วงยามนี้ ไทยยังต้องเผชิญคลื่นลมพายุที่ถาโถมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ที่พร้อมใจกันดาหน้าเข้ามาอย่างไม่หยุดหย่อนแล้ว ยังต้องระดมสรรพกำลังเพื่อหาทางออกบนเวทีโลก เมื่อมีการแข่งขันนัดสำคัญรออยู่ ประเด็นที่น่าขบคิดในเวลานี้คือ ทิศทางและอนาคตของอุตสาหกรรมไทยจะดำเนินไปอย่างไร เมื่อไทยเริ่มมีคู่แข่งที่หลายคนให้คำจำกัดความว่า “โตเงียบ” อย่างประเทศเวียดนาม ข่าวคราวจากหลากหลายช่องทางให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันว่า เวลานี้ เวียดนามกำลังเนื้อหอม และเป็นที่หมายตาของนักลงทุน ทั้งนักลงทุนหน้าใหม่รวมไปถึงนักลงทุนที่ต้องการย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศคู่ค้าสงคราม เพื่อหลีกหนีผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีของทั้งจีนและสหรัฐฯ เหตุผลหลักๆ ที่เวียดนามสามารถก้าวขึ้นมายืนบนเวทีโลกและพร้อมจะแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน ในฐานะประเทศอุตสาหกรรมเกิดใหม่ คือเรื่องอัตราค่าแรงขั้นต่ำ ปัจจุบันอัตราค่าแรงขั้นต่ำในประเทศเวียดนามคือ 160,000 ดอง ถึง 230,000 ดอง

Read More

เบรกแอลทีวี-ลดซัปพลายใหม่ ทางออกโค้งสุดท้ายอสังหาฯ ไทย?

งานมหกรรมบ้านและคอนโดดูเหมือนจะสามารถเช็กสัญญาณความเป็นไปในอนาคตอันใกล้ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ว่าต่อจากนี้แวดวงอสังหาฯ จะขับเคลื่อนไปในทิศทางเช่นใด หลังจบงานมหกรรมบ้านและคอนโดครั้งที่ 41 คำตอบที่ปรากฏให้เห็นเด่นชัด และไม่แตกต่างจากการคาดคะเนของศูนย์วิจัยทางเศรษฐกิจเท่าใดนัก เพราะนอกจากทิศทางเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศยังประสบกับภาวะชะลอตัวซึ่งส่งผลต่อการตัดสินซื้อโดยตรงแล้ว ยังมีเงื่อนไขและเหตุผลอีกหลายมิติประกอบเข้าด้วยกัน จนทำให้สถานการณ์ของธุรกิจอสังหาฯ ไม่สามารถขยับขยายไปได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จนทำให้ผู้ประกอบการบางรายต้องหากลยุทธ์เพื่อประคับประคองให้สามารถฝ่าฟันมรสุมในครั้งนี้ไปได้ ซึ่งอาจจะดีกว่าเฝ้ารอให้วิกฤตทางเศรษฐกิจคลี่คลายไปได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจากการเปิดเผยข้อมูลของ วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พบว่า ตลาดอสังหาฯ อยู่ในภาวะติดลบทั้ง 3 ไตรมาส คาดการณ์ว่ายอดโอนกรรมสิทธิ์ในจำนวนหน่วยติดลบ 7.7 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดเป็นมูลค่าติดลบ 2.7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่ที่อยู่อาศัยแนวตั้งพบตัวเลขติดลบสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน ซึ่งตลาดคอนโดมิเนียมในไตรมาสแรกติดลบ 14 เปอร์เซ็นต์ ไตรมาสสอง ติดลบ 20 เปอร์เซ็นต์ และไตรมาสสาม ติดลบ 14 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังคาดการณ์ว่าในไตรมาสสุดท้ายของปีอาจจะติดลบที่ 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาจากจำนวนหน่วยเหลือขาย หรือสินค้าที่วางแผนก่อสร้างและเปิดตัวและสร้างเสร็จสูงกว่าปีก่อน มีจำนวนมากถึง 1.5 แสนยูนิต และตัวเลขของปี 2561 อยู่ที่ 1.3 แสนยูนิต ตัวเลขเหล่านี้อาจจะสามารถชี้ชัดได้ว่า

Read More

หนี้ครัวเรือนพุ่ง วิกฤตที่ไทยต้องเผชิญ

ภัยพิบัติที่ไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้เหมือนซ้ำเติมสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่หาหนทางตะเกียกตะกายขึ้นมายืนอยู่ขอบเหวแทบไม่เจอ ให้ตกต่ำและทับถมจมลงไปก้นเหวลึกกว่าเดิม เมื่อเวลานี้ตัวเลขหนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มสูงขึ้นจนกลายเป็นประวัติการณ์ แม้คำว่า “หนี้” จะหมายถึงการมีภาระผูกพันที่ต้องชดใช้คืน ทว่า นัยความหมายของหนี้ครัวเรือนในอีกมิติ คือภาพสะท้อนที่ชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจกำลังขับเคลื่อนไปในทิศทางใด ทั้งนี้ดูได้จากตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่สอดคล้องกับระดับรายได้ของประชาชน หากหลังจากชำระหนี้สินแล้วยังมีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย นั่นหมายถึงเศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้เป็นอย่างดี แต่หากภาระหนี้ครัวเรือนมากกว่ารายได้ครัวเรือนแล้ว สิ่งที่ตามมาคือการถดถอยทางเศรษฐกิจ ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในครัวเรือนใดครัวเรือนหนึ่งเท่านั้น แต่นั่นเป็นการบ่งชี้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในระดับมหภาคของประเทศนั้นๆ ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันอยู่ในภาวะชะลอตัวในทุกมิติ โดยมีปัจจัยที่สร้างผลกระทบทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ โดยปัจจัยภายนอกคืออิทธิพลจากกระแสของสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่กำลังโรมรันห้ำหั่นกันอย่างต่อเนื่อง สงครามการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทยในแง่ของความต้องการสินค้าและภาคการผลิต ไม่ต่างจากระลอกคลื่นที่ถาโถมเข้าฝั่งที่ไร้ปราการป้องกัน นั่นย่อมเกิดความสูญเสียได้ง่าย รวมไปถึงความเป็นไปได้ของการหาทางออกอื่น ในที่นี้หมายถึงตลาดใหม่ แม้ว่าจะยังไม่สายที่จะมองหาตลาดใหม่สำหรับภาคการส่งออก แต่ต้องยอมรับว่าหลายประเทศได้รับผลกระทบไม่ต่างจากที่ไทยกำลังเผชิญมากนัก นั่นทำให้การรุกตลาดใหม่ของภาคส่งออกทำได้ยากมากขึ้น เมื่อภาคการส่งออกเดินทางมาถึงขั้นวิกฤต ย่อมส่งผลต่อภาคการผลิตในประเทศ เมื่อสินค้าที่ปกติสามารถระบายออกไปได้อย่างต่อเนื่อง กลับกระจุกและช่องทางการกระจายสินค้าไปยังแหล่งอื่นเป็นไปได้ยาก นั่นทำให้รายได้ของผู้ประกอบการลดลง กำไรลดลง ขณะที่ยังต้องแบกภาระต้นทุนอยู่ตลอดเวลา สถานการณ์เช่นนี้ย่อมสร้างให้เกิดความไม่มั่นใจในทิศทางเศรษฐกิจทั้งของไทยและเศรษฐกิจโลก ทางออกอาจเป็นไปได้ทั้งชะลอการลงทุนใหม่ในรายของผู้ประกอบการที่กำลังมีแผนในการขยายงานหรือขยายตลาด ขณะที่ทางออกของผู้ประกอบการบางรายอาจจบลงที่หยุดประกอบกิจการและจบลงด้วยการเลิกจ้าง แม้ว่าในปัจจุบันจะมีข่าวการประกาศเลิกจ้างให้ได้ยิน ได้อ่านอยู่บ้างประปราย ทว่าไม่ได้เกิดจากสถานการณ์จากเศรษฐกิจที่กำลังถดถอยในปัจจุบันขณะ ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากกระแสธารที่เปลี่ยนแปลงไปของการบริโภคในปัจจุบัน เพราะเป็นเรื่องยากมากขึ้นที่แบรนด์ต่างๆ จะรักษาความจงรักภักดีในตัวแบรนด์หรือ Brand Loyalty ของผู้บริโภคเอาไว้ได้ตลอดไป แน่นอนว่า เมื่อเกิดการเลิกจ้าง หรือภาวะการว่างงานมีสูงขึ้น ส่งผลถึงความไม่มั่นคงทางรายได้และหนี้ครัวเรือนที่จะต้องเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยผลการสำรวจภาวะการว่างงานเดือนกรกฎาคม 2562 ว่า มีผู้ว่างงาน 4.36 แสนคน

Read More

ขยะพลาสติก จากน้ำมือมนุษย์สู่ท้องทะเล

ข่าวการสูญเสีย “มาเรียม” พะยูน สัตว์ทะเลหายากที่หลับนิรันดร์ ปลุกคนไทยให้ได้ตื่นรู้ขึ้นอีกครั้ง และที่น่าเศร้ายิ่งกว่านั้น เมื่อ “ผู้หญิงที่มีความสง่างามแห่งท้องทะเล” เสียชีวิตลงเพราะสาเหตุมาจากการกินชิ้นส่วนพลาสติก ซึ่งคงไม่ต้องหาว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบต่อการตายของสัตว์ทะเลครั้งนี้ ถ้าไม่ใช่น้ำมือมนุษย์ ปริมาณขยะเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญคือการขาดจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของประชาชน ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ที่มีปริมาณขยะพลาสติกปล่อยลงสู่ทะเล ปริมาณขยะพลาสติกกว่า 8 ล้านตันที่มาจากจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย จากรายงานขององค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล (Ocean Conservancy) ผลที่เกิดขึ้นไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทางทะเลที่อาจต้องจบชีวิตลงก่อนเวลาอันสมควรเท่านั้น ทว่ามนุษย์ที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารมีโอกาสที่จะได้รับผลของการขาดจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมนี้จากการบริโภคสัตว์น้ำที่ได้รับสารพิษจากขยะที่ลงสู่ทะเล เมื่อขยะพลาสติกลงสู่ท้องทะเลและถูกรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด พลาสติกจะแตกตัวออกมาเป็นไมโครพลาสติกและปนเปื้อนอยู่ในน้ำทะเล วงจรชีวิตของสัตว์ทะเลคือ กินแพลงก์ตอนที่อาจจะกินไมโครพลาสติกเข้าไป ท้ายที่สุดมนุษย์ที่อยู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารก็ไม่อาจหลีกหนีวงจรนี้พ้น ผลกระทบของปริมาณขยะทั้งบนบกและขยะที่ลงสู่ทะเลไม่เพียงแต่มีผลต่อระบบนิเวศเท่านั้น แต่สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย ที่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับวิกฤตจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ การกีดกันทางการค้าและการปรับอัตราภาษีสินค้านำเข้าและส่งออกทำให้สินค้าของไทยได้รับผลกระทบไม่น้อย และจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยจะต้องมองหาตลาดใหม่ให้เร็วที่สุด เพื่อหาทางออกจากปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้ ขยะยังสร้างผลกระทบต่อสินค้าส่งออกของไทย เพราะหากสัตว์ทะเลที่เป็นสินค้าส่งออกได้รับสารพิษจากการย่อยสลายพลาสติกและมีการปนเปื้อนสูงอาจมีผลให้นานาชาติพิจารณาว่าสินค้าไทยไม่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค โดยสินค้าประมงเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 นั่นคือ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป โดยมีสัดส่วนการส่งออกสูงถึง 21 เปอร์เซ็นต์ของสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมด มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 29,388 ล้านบาท ทั้งนี้ตัวเลขการส่งออกอาหารทะเลแช่เยือกแข็งมีปริมาณ 432,643

Read More

เศรษฐกิจถดถอย คนไทยต้องอดทน

หลังการแถลงตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 ปี 2562 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.3 เปอร์เซ็นต์ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทว่าตัวเลขดังกล่าวกลับสะท้อนทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เป็นการชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนที่ 2.8 เปอร์เซ็นต์ ครึ่งปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียง 2.6 เปอร์เซ็นต์ ฟันเฟืองในระบบเศรษฐกิจไทยทุกตัวอยู่ในภาวะชะงักงัน เครื่องจักรทางเศรษฐกิจไม่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเฉกเช่นเดิม นั่นเพราะมีปัจจัยแวดล้อมหลายด้านทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ทั้งสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่ฟาดฟันกันด้วยกำแพงภาษีสินค้านำเข้าของทั้งสองประเทศ สร้างความไม่มั่นคงให้กับสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศต่อประเทศคู่ค้าอื่นๆ และทำให้ภาคการส่งออกของไทยหดตัวลงอย่างต่อเนื่องจนถึงขั้นติดลบ ผู้ประกอบการสินค้าเพื่อการส่งออกจำเป็นต้องปรับตัวด้วยการมองหาตลาดใหม่ในภาวะที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังระส่ำระสาย เพราะสงครามการค้าไม่ได้มีเพียงสองคู่อริอย่างจีนกับสหรัฐฯ เท่านั้น ยังมีสงครามการค้าระหว่างฝรั่งเศสกับสหรัฐฯ เรื่องภาษีดิจิทัล และสงครามการค้าระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ แม้ว่าตำแหน่งที่ไทยยืนอยู่บนเวทีโลกจะไม่สามารถเป็นคู่ชกกับประเทศใดได้ แต่กลับได้รับผลกระทบทางอ้อมจากทุกสงครามที่เกิดขึ้น สงครามการค้าที่เกิดขึ้น หลายฝ่ายอาจจะมองในแง่ที่ว่า ไทยอาจสร้างความได้เปรียบในสถานการณ์เช่นนี้ ทว่าเรื่องจริงกลับไม่สวยงามดังนิยาย เมื่ออิทธิพลของสงครามการค้าขยายไปสู่ภาคการลงทุน ผู้ประกอบการที่มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศเหล่านี้อาจเลือกย้ายฐานการผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงพิษสงกำแพงภาษีไปยังไปประเทศอื่น และแน่นอนว่าไทยมีข้อได้เปรียบมากมายที่อาจทำให้เข้าใจว่าอาจถูกเลือกเป็นฐานการผลิตใหม่ และนั่นหมายถึงเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่จะตามมา รวมไปถึงการจ้างงานที่จะเกิดขึ้นด้วย ทว่า อีกครั้งที่เหมือนการดับฝันภาคอุตสาหกรรมในไทย เมื่อเวียดนามกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญให้กับผู้ประกอบการเหล่านี้ ทั้งความพร้อมด้านแรงงาน พื้นที่รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยเตรียมปักหมุดในเวียดนาม ที่เปรียบเสมือน “ตาอยู่” ในภูมิภาคนี้ แม้ว่ารัฐบาลไทยจะพยายามชูโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อหวังให้นักลงทุน ผู้ประกอบการ เล็งเห็นศักยภาพที่ภาครัฐกำลังนำเสนอและตัดสินใจย้ายฐานการผลิต หรือลงทุนในภาคอุตสาหกรรมบนพื้นที่ดังกล่าว แต่ถึงเวลานี้ด้วยปัจจัยแวดล้อมหลายประการ ทั้งความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพของรัฐบาล ค่าเงิน อาจทำให้นักลงทุนมองว่ายังมีประเทศอื่นที่น่าจะสร้างโอกาสได้ดีกว่า นอกจากสงครามการค้าปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อสภาพการณ์ของเศรษฐกิจไทยแล้ว

Read More

วิกฤตภัยแล้ง และการจัดการที่ล้มเหลว?

ภาพผืนดินแตกระแหง ชาวนานั่งกอดเข่าทอดตามองต้นข้าวยืนต้นตาย ที่เคยเป็นภาพจำในอดีต บัดนี้ภาพเหล่านั้นหวนกลับมาในโลกยุคดิจิทัล ยุคที่สามารถเชื่อมต่อสื่อสารกันได้เพียงปลายนิ้ว ยุคที่มนุษย์สามารถออกคำสั่งให้น้ำในแปลงเพาะปลูกพืช ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตามบนโลกนี้ เป็นยุคที่มนุษย์สามารถจะรับรู้และคาดการณ์ปริมาณน้ำฝน ว่าปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะเพียงพอต่อการเพาะปลูกหรือไม่ รวมไปถึงปริมาณน้ำในเขื่อนที่จะสามารถจัดสรรสำหรับให้ประชาชนในพื้นที่ใช้อุปโภคบริโภค เป็นอีกปีที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตภัยแล้ง ที่หลายฝ่ายเตือนภาครัฐให้เฝ้าระวังและหามาตรการแก้ปัญหาความต้องการน้ำกินน้ำใช้ โดยเฉพาะสำหรับภาคการเกษตร เมื่อสถานการณ์ล่าสุดที่เกษตรกรไทยต้องเผชิญคือ วิกฤตภัยแล้งที่คาดว่าจะหนักสุดในรอบ 50 ปี โดยเฉพาะพื้นที่ในภาคเหนือและภาคอีสาน ที่นอกจากฝนจะทิ้งช่วงแล้วน้ำในเขื่อนหรือในอ่างเก็บน้ำหลายแห่งมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการใช้อุปโภคบริโภค สมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ออกมาเปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งในครั้งนี้ว่า ไทยจะเจอกับสภาพอากาศร้อนที่ยาวนานขึ้น และภัยแล้งหนักกว่าทุกปี หรือเรียกว่าแล้งผิดปกติ ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2562 ปริมาณฝนจะน้อยหรือทิ้งช่วง อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เพียงประเทศไทยเท่านั้นที่กำลังประสบกับภาวะภัยแล้ง ประเทศในแถบเอเชีย เช่น อินเดีย ปากีสถาน พม่า ต่างประสบวิบากกรรมไม่ต่างกัน แน่นอนว่าภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่แต่เพียงผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรเท่านั้น ที่น้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเพาะปลูก เมื่อปริมาณน้ำน้อยพืชผลการเกษตรย่อมมีจำนวนน้อยลง สินค้าเกษตรบางชนิดจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด นับเป็นงานหนักสำหรับรัฐบาลที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่ง เมื่อต้องเข้ามาทำงานด้วยการแก้ปัญหาวิกฤตต่างๆ ซึ่งการแก้ปัญหาภัยแล้งนอกฤดูเป็นเรื่องที่เหนือการควบคุมไม่น้อย เมื่อส่วนหนึ่งของภัยแล้งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางธรรมชาติ ทว่า ปัญหาการขาดแคลนน้ำหรือปริมาณน้ำในเขื่อนไม่เพียงพอนั้น เป็นเรื่องของการจัดการทรัพยากรที่มีจำกัด ว่าจะทำอย่างไรให้เพียงพอต่อความต้องการ เมื่อไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และพืชผลการเกษตรคือสินค้าส่งออกหลักของประเทศ ล่าสุด รัฐบาลได้ประชุมเพื่อติดตามและแก้ปัญหาภัยแล้ง ซึ่ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม

Read More