Home > GM

ประเมินอนาคต EEC หลังทุนใหญ่ย้ายฐานการผลิต

การประกาศยุติการประกอบกิจการ และเลิกทำการผลิตรถยนต์ Chevrolet ของค่ารถยนต์ยักษ์ใหญ่นาม GM หรือ General Motors (ประเทศไทย) เมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นอกจากจะกลายเป็นข่าวเด่นข่าวดังในระดับสากลแล้ว กรณีดังกล่าวยังส่งผลกระทบและในอีกด้านหนึ่งเป็นภาพสะท้อนสภาพเศรษฐกิจและการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของสังคมไทย ที่มุ่งเน้นจะผลักดันให้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นประหนึ่งหัวรถจักรที่จะฉุดลากเศรษฐกิจไทยอยู่ในสถานการณ์ที่น่ากังวลใจไม่น้อยเลย แม้ว่าการหายไปของโรงงานผลิตรถยนต์ของ GM อาจถูกแทนที่ด้วยการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ในนาม Great Wall Motors (GWM) แต่นั่นไม่ได้หมายความถึงการเป็นสมการของการเข้ามาแทนที่ทดแทนกันในรูปการณ์แบบเดิม เพราะภายใต้โครงสร้างการผลิตของ “ศูนย์การผลิตรถยนต์และเครื่องยนต์ของจีเอ็ม ประเทศไทย” หรือ “โรงงานผลิตรถยนต์” ที่จังหวัดระยอง ซึ่งเริ่มสายการผลิตมาตั้งแต่ปี 2543 หรือเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา พัฒนาการของระบบการผลิต รวมถึงเทคโนโลยีในการประกอบรถยนต์ในปัจจุบัน การเข้ามาของ GWM อาจไม่ได้เติมเต็มช่องว่างของการว่างงานที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ประเด็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีกนอกจากผลกระทบในเรื่องแรงงานของ GM โดยตรงแล้ว สิ่งที่ยังน่าเป็นกังวลหลังจากการหยุดการผลิตรถยนต์ของเชฟโรเลตคือ ความหวาดวิตกของพนักงานจำนวนนับพันคน ที่อยู่ในกลุ่ม Supplier สายการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ และอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในภาพรวม ยังไม่นับผู้ประกอบการในฐานะตัวแทนจำหน่ายที่กำลังจะสูญเสียธุรกิจที่ได้ลงทุนไปแล้วโดยปริยาย ก่อนหน้านี้ GWM ได้ประกาศว่าบริษัทมีแผนที่จะสร้างโรงงานบนพื้นที่ 800,000

Read More

ตลาดยานยนต์ถึงแรงงานไทย กระทบแค่ไหนเมื่อจีเอ็มถอนทัพ

การประกาศยุติการผลิตรถยนต์เชฟโรเลต ของค่ายจีเอ็ม หรือ บริษัท เจนเนอรัลมอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด สร้างความสั่นสะเทือนแก่วงการยานยนต์ไทยไม่น้อย หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่า อะไรเป็นสาเหตุให้ค่ายรถสัญชาติอเมริกันตัดสินใจแบบนี้ หากติดตามข่าวสารของรถยนต์ค่ายนี้อาจจะพอทราบทิศทางแนวนโยบายของ Marry Barra ประธานเจ้าหน้าที่บริหารจีเอ็ม ว่า ได้มีการวางแผนปรับโครงสร้างของบริษัทมาตั้งแต่ปี 2558 โดยจะทยอยถอนตัวจากกลุ่มตลาดที่ทำกำไรได้น้อย และให้ความสำคัญกับกลุ่มตลาดหลัก นอกจากนี้ ยังจะเน้นการลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่สำหรับอนาคตเป็นหลัก รวมไปถึงรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากการประกาศถอนทัพออกจากไทยภายในสิ้นปี 2563 จีเอ็มยังทิ้งทวนด้วยการหั่นราคารถยนต์ลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถเรียกความสนใจจากผู้มีกำลังซื้อได้ไม่น้อย อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่ากังวลหลังจากหยุดการผลิตรถยนต์ของเชฟโรเลตคือ ความวิตกของพนักงานจำนวนนับพันคน กลุ่ม Supplier สายการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ ตัวแทนจำหน่าย รวมไปถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย โดย บริษัท เจนเนอรัลมอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ประกอบกิจการรถยนต์เชฟโรเลต ปัจจุบันมีลูกจ้างประมาณ 1,100 คน และบริษัท เจนเนอรัลมอเตอร์ส (ประเทศไทย) ที่ประกอบกิจการผลิตเครื่องยนต์ ปัจจุบันมีลูกจ้างประมาณ 400 คน รวมทั้งสองบริษัทมีลูกจ้างประมาณ 1,500

Read More

ค่ายรถมะกันเหยียบคันเร่ง รุกขยายตลาดในเมียนมาร์

 ตลาดรถยนต์ในเมียนมาร์กำลังกลายเป็นสมรภูมิการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น เมื่อผู้ประกอบการค่ายรถยนต์จากซีกโลกตะวันตกต่างโหมสรรพกำลังเข้ารุกทำตลาดหลังจากรัฐบาลตะวันตกคลายมาตรการคว่ำบาตรและกดดันเมียนมาร์มายาวนานการขยับตัวของค่ายรถยนต์จากอเมริกาดูจะเป็นไปอย่างคึกคักและต่อเนื่องมากเป็นพิเศษ เมื่อฟอร์ดร่วมกับ “แคปิตัล ออโตโมทีฟ” บริษัทในเครือแคปิตัล ไดมอนด์ สตาร์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจระดับแถวหน้าของพม่า เปิดตัวโชว์รูมผู้แทนจำหน่าย ฟอร์ด อย่างเป็นทางการในย่างกุ้ง เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมากลยุทธ์การตลาดของฟอร์ดในเมียนมาร์ นอกจากจะอยู่ที่การสร้างความหลากหลายและการจับกลุ่มลูกค้าระดับบนที่มีกำลังซื้อสูงแล้ว เป้าหมายของฟอร์ดยังอยู่ที่การเบียดชิงพื้นที่การตลาดในกลุ่มรถกระบะที่คาดการณ์ว่าจะเป็นกลุ่มที่มีการเติบโตสูง ควบคู่กับความจำเริญทางเศรษฐกิจภายหลังการเปิดประเทศ“รถยนต์ฟอร์ดที่จะจำหน่ายในเมียนมาร์จะนำเข้าจากทั้งโรงงานในอเมริกาเหนือ และประเทศไทย โดยรถกระบะรุ่น เอฟ-ซีรี่ส์ และฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ จะเป็นหนึ่งในรถรุ่นแรกๆ ที่ฟอร์ดจะเปิดตัวในเมียนมาร์” เดวิด เวสเตอร์แมน ผู้จัดการระดับภูมิภาค ตลาดเอ็กซ์ปอร์ต แอนด์ โกร๊ธ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ระบุแม้ว่าฟอร์ดจะเพิ่งเริ่มเข้าไปทำตลาดในย่างกุ้ง แต่แผนของฟอร์ดย่อมไม่ได้จำกัดอยู่เท่านั้น หากแต่เตรียมพร้อมที่จะขยายไปสู่หัวเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจอื่นๆ ของเมียนมาร์ด้วยการขยายเครือข่ายของผู้แทนจำหน่ายในอนาคตเป้าหมายของฟอร์ดย่อมไม่ใช่สิ่งเกินความคาดหวัง โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่า พันธมิตรของฟอร์ดในเมียนมาร์ ที่ชื่อ แคปิตัล ออโตโมทีฟ เป็นบริษัทในเครือแคปิตัล ไดมอนด์ สตาร์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญและประสบผลสำเร็จในฐานะผู้กระจายสินค้าจากโลกตะวันตกอย่าง “เป๊ปซี่

Read More