Home > โคโรนาไวรัส

จับตาขยาย “เคอร์ฟิว” จี้แผนรับมือเศรษฐกิจ Worst Case

2 สิงหาคม 2564 ครบกำหนดมาตรการเคอร์ฟิว 14 วัน หลังศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. สั่งบังคับใช้มาตรการล่าสุดในพื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด พร้อมๆ กับมาตรการคุมเข้มอีกหลายข้อเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา แต่ดูเหมือนตัวเลขต่างๆ ทั้งยอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตยังพุ่งสูงทำนิวไฮทุกวัน โดยเฉพาะยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแตะระดับ 20,000 คน ล่าสุด กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข คาดการณ์สถานการณ์การระบาด COVID-19 ของประเทศไทย ระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2564 พบว่า หากล็อกดาวน์ 1 เดือน จะสามารถชะลอจุดสูงสุดของการใช้ทรัพยากรถึงต้นเดือนตุลาคม แต่หากล็อกดาวน์ 2 เดือน ร่วมกับมาตรการกระจายวัคซีนในผู้สูงอายุได้ผลดีและดำเนินการได้รวดเร็ว คาดว่าในเวลาไม่เกิน 2 เดือน จะช่วยรักษาระดับการใช้เครื่องช่วยหายใจไม่เกิน 1,500 รายต่อวัน และชะลออุบัติการณ์การเสียชีวิตไม่เกิน 200 รายต่อวันไปจนถึงเดือนธันวาคม ดังนั้น

Read More

ความหวาดกลัวโควิด-19 ธุรกิจประกันภัยโตสวนทาง

นับตั้งแต่การระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 โรคใหม่ที่อุบัติทั่วโลกในขณะนี้ สร้างความหวั่นวิตกต่อผู้คนไปทุกหย่อมหญ้าและทุกระดับชนชั้น การมองหาต้นสายปลายเหตุของโรคยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ทว่า ความหวาดกลัวต่อโรคระบาดที่ได้คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไปแล้วกว่า 40,000 คน ส่งผลให้ผู้คนมองหาที่พึ่งแม้จะไม่ใช่ปราการปกป้องหรือสกัดกั้นการมองเห็นตัวตนจากเชื้อไวรัส หากแต่เป็นความรู้สึกอุ่นใจทั้งต่อตัวเอง และคนในครอบครัว ธุรกิจประกันภัยเล็งเห็นช่องทางที่พลิกวิกฤตเป็นโอกาส จึงผุดไอเดียที่สร้างความสนใจแก่ผู้คนให้หันมาซื้อกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 ไม่น้อย สถานการณ์ของกลุ่มธุรกิจประกันชีวิตในปี 2562 เข้าสู่สภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษ เมื่อต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ทั้งปัจจัยด้านการเงิน การลงทุน รวมไปถึงกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ที่จะเริ่มใช้ในปีนี้ หากแต่การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนาทำให้ธุรกิจประกันภัยใช้วิกฤตนี้กอบกู้สถานการณ์ แม้จะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาอันสั้นก็ตาม สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลเมื่อวันที่ 18 มี.ค. ที่ผ่านมา มียอดขายประกันภัยโควิด-19 ทั้งระบบประมาณ 2 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1 พันล้านบาท และมีบริษัทประกันที่ได้รับความเห็นชอบแบบกรมธรรม์จำนวน 25 บริษัท ขณะสิ่งที่สังคมกังวลคือ หลังจากมีกรมธรรม์โควิด-19 ออกมาคุ้มครองผู้เอาประกัน อาจจะมีผู้ที่จงใจนำตัวเองไปรับเชื้อหรือเข้าไปยังพื้นที่เสี่ยงหรือบุคคลที่น่าจะติดเชื้อ เพื่อหวังจะได้รับเงินประกัน เมื่อซื้อประกันในรูปแบบ “เจอจ่ายจบ” ซึ่ง คปภ. อธิบายว่า การใช้สิทธิ์ต้องใช้ด้วยความสุจริต

Read More

COVID-19 เชื้อฟืนเผาจริงเศรษฐกิจไทย?

แรงกดดันว่าด้วยการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในนาม COVID-19 ที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่ความท้าทายต่อความสามารถในการบริหารจัดการด้านการสาธารณสุขและมาตรการรับมือกับสถานการณ์ความเป็นไปของหน่วยงานภาครัฐแต่เพียงลำพังเท่านั้น หากแต่ผลของการแพร่ระบาดยังคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมซึ่งกำลังนำไปสู่ new normal หรือวิถีชีวิตใหม่ในไม่ช้า ตลอดระยะเวลากว่า 2-3 เดือนนับตั้งแต่แรกเริ่มมีข่าวการแพร่ระบาดในประเทศจีน การประเมินความเสียหายอาจจะจำกัดวงอยู่เฉพาะในส่วนของการค้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับจีนอย่างเป็นด้านหลัก หากแต่เมื่อข้อเท็จจริงของการแพร่ระบาดกระจายตัวไปสู่การประกาศให้ COVID-19 เป็น “ภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก” (Pandemic) โดยองค์การอนามัยโลกในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา การประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจก็ขยายตัวไปสู่ความกังวลใจว่า COVID-19 จะเป็นปัจจัยลบที่ฉุดให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้นไปอีก COVID-19 ซึ่งเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ไม่เพียงแต่จะส่งผลร้ายทำลายร่างกายมนุษย์เท่านั้น แต่ยังทำลายเศรษฐกิจทั่วโลก เพราะโรงงานหลายแห่งในจีนที่มีบริษัทจากต่างประเทศได้ทุ่มเงินมหาศาลเข้าไปลงทุนทำกิจการต่างต้องปิดทำการชั่วคราว ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวจีนซึ่งเป็นหัวใจหลักของการท่องเที่ยวในหลายๆ ประเทศก็ต่างชะลอตัวลงหลังรัฐบาลจีนประกาศห้ามประชาชนในประเทศออกไปท่องเที่ยว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสที่รุนแรงไปมากกว่านี้ เหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบในรูปแบบของ domino effect ซึ่งในส่วนของประเทศไทยซึ่งมีกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศอยู่ที่การท่องเที่ยว และพึ่งพานักท่องเที่ยวจีนอย่างเป็นด้านหลัก ทำให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทยทรุดหนักถึงขั้นวิกฤต ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจโรงแรม ธุรกิจสายการบิน หรือแม้กระทั่งสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งที่เคยมีนักท่องเที่ยวหนาแน่นต่างเงียบเหงาไร้ผู้คน และทำให้ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยทนพิษไม่ไหวจนถึงขนาดที่ต้องยอมถอยและปิดกิจการลง กระนั้นก็ดี ผู้ประกอบการบางส่วนต่างพยายามประคับประคองและปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ที่ต้องเผชิญอยู่เบื้องหน้า โดยธุรกิจสายการบินดูจะเป็นธุรกิจที่นอกจากจะได้รับผลกระทบอย่างหนักแล้ว ยังมีความเคลื่อนไหวเพื่อรองรับกับวิกฤตครั้งนี้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการปรับลดเงินเดือนของผู้บริหารการบินไทยลงร้อยละ 15-25 ควบคู่กับการปรับลดค่าพาหนะลงร้อยละ 20-30 เป็นระยะเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่ 1 มีนาคม 2653

Read More

ผลกระทบจาก Covid-19

Column: FROM PARIS ยุคที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเฟื่องฟู นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเต็มกรุงปารีส แล้วก็มาถึงยุคจีนเปิดประเทศ และเศรษฐกิจเติบโต ชาวจีนพ้นจากความยากจน เริ่มอยากใช้เงิน จึงสรรหาสินค้าต่างประเทศ แล้วพัฒนาไปถึงสินค้าแบรนด์เนม นักท่องเที่ยวจีนคลาคล่ำเต็มห้างสรรพสินค้าในกรุงปารีส และบูติกแบรนด์เนมทั้งหลาย แรกทีเดียว บรรดาแบรนด์เนมรังเกียจนักท่องเที่ยวชาวจีน หลุยส์ วุตตง ถึงกับขายสินค้าให้นักท่องเที่ยวจีนคนละหนึ่งชิ้นเท่านั้น เพราะเกรงชาวจีนซื้อไปก๊อบปี้ออกมาขาย ทำเอานักท่องเที่ยวจีนมองหาใครก็ได้ที่จะอนุเคราะห์ซื้อให้ เคยได้รับการทาบทามขณะเดินเล่นในห้างกาเลอรีส์ ลาฟาแยต แต่ปฏิเสธไป กาลเวลาผ่านไป จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นผู้มีกำลังซื้ออย่างแท้จริง แบรนด์เนมทั้งหลายจึงเปิดกว้าง ซื้อได้ไม่อั้น ตามห้างสรรพสินค้า ชาวจีนเข้าแถวรอซื้อแบรนด์เนม ยี่ห้อยอดนิยมคือ หลุยส์ วุตตง ชาแนล กุชชี รองลงมาคือลงชองป์ นอกจากสินค้าแฟชั่นแล้ว การหลั่งไหลมาของนักท่องเที่ยวจีนยังประโยชน์แก่ธุรกิจโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงแรมและร้านอาหาร เมื่อเกิดโรคระบาด Covid-19 จีนปิดประเทศ ห้ามชาวจีนเดินทางออกนอกประเทศ นั่นย่อมกระทบเศรษฐกิจโลก ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจีน เมื่อไร้ซึ่งชาวจีนแล้ว ห้างร้านเงียบเหงา เศรษฐกิจฝรั่งเศสเสียหายถึงสองพันล้านยูโร ห้างสรรพสินค้ากาเลอรีส์ ลาฟาแยตรับทัวร์เป็นหลัก จึงเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวจีนในทุกแผนก มากจนต้องจัดแผนกรับลูกค้าชาวจีนโดยเฉพาะ ในวันนี้กาเลอรีส์ ลาฟาแยตหาหน้าเอเชียแทบไม่ได้เลย ห้างจึงค่อนข้างร้างจนน่าตกใจ

Read More

สตาร์บัคส์งดรับแก้วส่วนตัวและเสิร์ฟภาชนะ To-go ชั่วคราว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

สตาร์บัคส์ รณรงค์ลดการสัมผัสโดยตรงต่างๆ พร้อมงดรับแก้วส่วนตัวและเสิร์ฟภาชนะ To-go ชั่วคราว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) แจงมาตรการร่วมรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ประกาศของดรับแก้วส่วนตัวชั่วคราว และจะเริ่มใช้ภาชนะเสิร์ฟอาหารในร้านแบบ To-go พร้อมงดวางที่ปรุงเครื่องดื่ม แต่ให้บาริสต้าบริการตามคำขอ ที่ร้านสตาร์บัคส์ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยจะทยอยเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม นี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการประกาศการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ดี กรณีที่ลูกค้านำแก้วส่วนตัวมาแสดงที่ร้าน จะยังคงได้รับส่วนลด 10 บาท ต่อ 1 แก้วเช่นเดิม นอกจากนี้ ยังแนะนำให้ลูกค้าเลือกซื้อเครื่องดื่มผ่านบริการไดร์ฟทรูว์ และเดลิเวอรี่ เพื่อลดการเดินทางไปยังที่สาธารณะ หรือกรณีทำงานจากบ้าน คุณเนตรนภา ศรีสมัย กรรมการผู้จัดการ สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ด้วยความห่วงใยในสุขภาพของลูกค้าทุกท่านและพาร์ทเนอร์ทุกคนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นี้ สตาร์บัคส์ได้มีมาตรการเพื่อลดการสัมผัสโดยตรง (Contactless) ซึ่งอาจทำให้ประสบการณ์สตาร์บัคส์ที่คุ้นเคยแตกต่างไปจากเดิมบ้าง จึงขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้

Read More

พิษ COVID-19 ระบาดไม่หยุด ฉุดความเชื่อมั่น-GDP ไทยวูบ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ที่ได้รับการเรียกขานว่า COVID-19 (Coronavirus Disease 2019) ดูจะลุกลามขยายตัว คุกคามสุขอนามัยและความเป็นไปของการใช้ชีวิตประจำวันของประชากรโลกไม่หยุด โดยล่าสุดองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยกระดับให้ COVID-19 เป็น “การระบาดใหญ่” (pandemic) จากเหตุของข้อเท็จจริงที่ว่า COVID-19 ยังระบาดลุกลามทั่วโลก และมีผู้ติดเชื้อกว่าแสนราย ก่อนหน้านี้องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 เป็นเพียงโรคระบาด (Epidemic) ก่อนที่จะยกระดับเป็นโรคระบาดครั้งใหญ่ของโลก (pandemic) อย่างเป็นทางการ ซึ่งตามความหมายของ WHO คำว่า pandemic คือ เชื้อโรคใหม่ที่ระบาดไปทั่วโลกที่ทำให้อัตราการป่วยและเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยล่าสุด COVID-19 ได้แพร่ระบาดลุกลามไปแล้วใน 118 ประเทศทั่วโลก และมีผู้ติดเชื้อไวรัสมากกว่า 121,000 คน อีกทั้งยังคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 4,300 คน หลักเกณฑ์ในการประกาศภาวะโรคระบาดโลก มีหลักการเบื้องต้นอยู่ 3 ประการ คือ 1. โรคสามารถก่อให้เกิดอาการป่วยจนถึงเสียชีวิต

Read More

หัวเว่ย เสริมกำลังประเทศไทยสู้ภัยโควิด-19 ด้วยนวัตกรรมการสื่อสารทางไกลเพื่อการแพทย์ (Telemedicine)

หัวเว่ยมอบระบบวิดีโอ เทเลคอนเฟอเรนซ์แบบเรียลไทม์เพื่อการแพทย์ (Huawei Telemedicine Video Conferencing Solution) ให้แก่ กรมควบคุมโรคและโรงพยาบาลในประเทศไทย เพื่อช่วยสนับสนุนประชาชนไทยในการต่อสู้กับโควิด-19 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรค โดยนายกรัฐมนตรีได้ให้กำลังใจและกล่าวขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ที่ประจำการอยู่ ณ จุดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สถาบันบําราศนราดูร, โรงพยาบาลบางพลีและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ “ผมขอขอบคุณทางหัวเว่ยที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับประเทศไทยในการรับมือกับโควิด-19 ผ่านความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีของบริษัท ผมหวังว่าหัวเว่ยจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทยและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยต่อไปในอนาคต” นายกรัฐมนตรีกล่าว นวัตกรรมนี้มีมูลค่ารวมประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยระบบ Telepresence จำนวน 7 ชุด และสามารถรองรับบัญชีผู้ใช้สำหรับเจ้าหน้าที่ผ่านอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์ได้ถึง 200 บัญชี โดยปฏิบัติการผ่านแพลตฟอร์ม CloudLink ของหัวเว่ย ทั้งนี้ ทีมงานจากหัวเว่ยสามารถติดตั้งอุปกรณ์และระบบต่างๆ ใน 5 สถานที่สำคัญได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ แพลตฟอร์มดังกล่าวจะทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์จากทั่วประเทศไทยสามารถทำงานร่วมกับแพทย์และเจ้าหน้าที่ภาคสนาม ในการให้คำปรึกษาออนไลน์ทางไกลกับผู้ป่วย ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการวินิจฉัยและรักษา ยิ่งไปกว่านั้น แพทย์และพยาบาลยังสามารถเฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยจากที่ไหนก็ได้ ผ่านอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์

Read More

พิษไวรัส เขย่าขวัญนักช้อป ห้างใหญ่ร้าง “คอนวีเนียน” พลิกยอดโต

ผลพวงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส “โควิด-19” ที่ยาวนานมากว่า 2 เดือนแล้ว ส่งผลกระทบต่อทุกภาคธุรกิจ ล่าสุด สมาคมผู้ค้าปลีกไทยระบุว่า จำนวนลูกค้าตกลงมากกว่า 30% กำลังซื้อหายไปจากระบบกว่า 70,000 ล้านบาท และแนวโน้มทรุดตัวต่อเนื่อง เมื่อนักช้อปยังขวัญผวาหนัก โดยเฉพาะห้างขนาดใหญ่มีสภาพเงียบเหงาจนผู้เช่าออกมาเรียกร้องขอมาตรการเยียวยาเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม วิกฤตการณ์รอบนี้กลับเปิดช่องให้กลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อสามารถสร้างยอดขายเติบโต เนื่องจากผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมมาจับจ่ายตามร้านค้าใกล้บ้าน หลีกเลี่ยงการเดินทางไปห้างขนาดใหญ่ ยิ่งเกิดกระแสข่าวบรรดา “ผีน้อย” กลุ่มแรงงานไทยผิดกฎหมายในเกาหลีมากกว่า 5,000 คน เดินทางกลับประเทศ ยิ่งทำให้การออกมาจับจ่ายในห้างขนาดใหญ่ลดลงอีก แน่นอนว่า “เซเว่นอีเลฟเว่น” ยักษ์ใหญ่คอนวีเนียนสโตร์กำลังพลิกวิกฤตเป็นโอกาสรับทรัพย์เต็มๆ เพราะไม่ใช่แค่จุดแข็งด้านเครือข่ายสาขามากกว่า 10,000 สาขาทั่วประเทศ แต่ยังจัดเต็มโปรโมชั่นหลากหลาย ทั้งแคมเปญแลกซื้อสินค้าราคาพิเศษ แคมเปญซื้อคู่ถูกกว่า แคมเปญบุฟเฟต์ แคมเปญสะสมแต้มแลกเงินสดหรือแลกสินค้าพรีเมียม รวมถึงเสริมบริการครบรอบด้านตามไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นในประเทศไทย เปิดบริการ “ออลเซอร์วิส (ALL Service)” รวมบริการต่างๆ ที่เซเว่นฯ เคยพัฒนาขึ้นในอดีตมาไว้ใต้แบรนด์เดียวกัน

Read More

ผลกระทบ COVID-19 เมื่อเศรษฐกิจโลกติดเชื้อไวรัส

การขยายตัวลุกลามของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่ได้รับการขนานนามในชื่อ COVID-19 (Coronavirus Disease 2019) นอกจากจะก่อให้เกิดการแพร่ระบาดและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนขยายตัวไปทั่วทุกภูมิภาคของโลกแล้ว ยังสร้างแรงกดดันเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจของโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะธุรกิจการท่องเที่ยว การบินและอุตสาหกรรมภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องซึ่งได้รับผลไปก่อนหน้านี้เท่านั้น ความเป็นไปของการแพร่ระบาด COVID-19 นอกจากจะทำให้บรรดาศูนย์การค้า ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบหนักหน่วงจากผลของการปิดเมือง การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ไม่ให้เข้าเมือง ทำให้ผู้ประกอบการเผชิญปัญหา และจำเป็นต้องปรับลดจำนวนพนักงานหรืองดรับพนักงานใหม่ เพื่อลดค่าใช้จ่าย เพราะนักท่องเที่ยวน้อยลง ความร้ายกาจของโคโรนาไวรัสยังคุกคามไปสู่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและภาคการผลิตของระบบเศรษฐกิจทั่วโลก เมื่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ของหลายประเทศในเอเชียที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากจีน เนื่องจากบริษัทในจีนยังปิดต่อเนื่อง ทำให้การส่งมอบชิ้นส่วนสำคัญไปยังภาคอุตสาหกรรมนอกจีนสะดุด เป็นพิษร้ายที่ทำให้สุขภาวะทางเศรษฐกิจของโลกที่ซบเซาไม่แข็งแรงอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว มีแนวโน้มจะทรุดหนักมากกว่าที่จะฟื้นตัวได้ในระยะสั้น การปิดโรงงานเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในประเทศจีนทำให้โรงงานที่เลือกใช้ชิ้นส่วนจากประเทศจีน หรือมีฐานการผลิตอยู่ในประเทศจีนเผชิญปัญหาการส่งมอบสินค้าล่าช้า ในขณะที่การย้ายฐานการผลิตหรือเลือกใช้ชิ้นส่วนจากแหล่งผลิตอื่นในห้วงเวลาปัจจุบันก็เป็นสิ่งที่ยากจะทำได้และหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย สถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ผู้ประกอบการที่เข้ามาลงทุนในจีน ต่างพยายามหาแนวทางเพื่อการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนไปยังประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงการจัดซื้อชิ้นส่วนสำคัญจากแหล่งผลิตอื่นๆ ทดแทนการขาดหายไปของชิ้นส่วนจากจีน ขณะที่ผู้ประกอบการที่มีโรงงานอยู่ในเขตแพร่ระบาดของเชื้อโรค จำเป็นต้องปิดโรงงานและระงับการผลิตชั่วคราวเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไปอย่างไม่อาจเลี่ยง ยังไม่นับรวมถึงการขนส่งสินค้าทางเรือทั้งขาเข้าและขาออกจากจีนก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เมื่อเรือสินค้าจำนวนไม่น้อยที่เข้าเทียบท่าที่จีนแล้วไม่สามารถขนถ่ายสินค้าขึ้นลงเรือได้เนื่องจากไม่มีแรงงาน ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ได้ส่งให้ภาคการผลิตในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคอาเซียนได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาห่วงโซ่อุปทาน เพราะโรงงานส่วนใหญ่ต้องนำเข้าชิ้นส่วนและวัสดุอุปกรณ์จากจีนเป็นหลัก ซึ่งแนวโน้มของการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้คาดว่าจะหนักหน่วงมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้

Read More

ปตท. ยืนยันยังไม่พบพนักงานกลุ่ม ปตท. ติดเชื้อไวรัส COVID -19

ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข่าวว่ามีพนักงาน กลุ่ม ปตท. เสี่ยงติดเชื้อไวรัส COVID-19 ภายหลังจากที่เดินทางกลับจากประเทศเกาหลีใต้ พร้อมเพื่อนสนิทที่ได้เดินทางไปด้วยกัน เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และพบว่าเพื่อนมีอาการป่วยเป็นไข้ 2-3 วันแล้วนั้น ทาง ปตท. ขอเรียนแจ้งว่า ปัจจุบันยังไม่มีพนักงานกลุ่ม ปตท. คนใดติดเชื้อไวรัส COVID-19 และพนักงานคนดังกล่าวนั้นได้เข้าพบแพทย์เรียบร้อยแล้ว และยังคงมีสุขภาพปกติ รวมทั้งเพื่อนร่วมเดินทางก็ยังตรวจไม่พบเชื้อไวรัสดังกล่าวแต่อย่างใด แต่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงาน ปตท. และความปลอดภัยของผู้เกี่ยวข้องทุกคน จึงได้ให้พนักงานคนดังกล่าว Work at Home ตามนโยบายเป็นระยะเวลา 14 วัน เพื่อเฝ้าสังเกตอาการตนเองและรายงานมายังผู้บังคับบัญชาเพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ปตท. มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และให้ความสำคัญต่อสุขภาพความปลอดภัยของพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในประเทศไทยและที่เดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศทุกท่าน โดยได้ออกประกาศภายใน เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้ออุบัติใหม่จากไวรัสของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อขอความร่วมมือให้พนักงาน ปตท. ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมทั้งเปิดศูนย์ติดตามและเฝ้าระวังกรณีโรคอุบัติใหม่ COVID-19 ขึ้น เพื่อติดตามและบริหารจัดการสถานการณ์โดยรวมอย่างใกล้ชิด

Read More