Home > ไวรัสโควิด

ส่องชีวิตงานฮอตยุคโควิด-19 กับบทเรียน “ท้อได้ แต่แพ้ไม่ได้”

ปี พ.ศ. 2563 เรียกได้ว่าเป็นปีแห่งความไม่คาดฝันสำหรับใครหลาย ๆ คน เพราะการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้ทั่วทั้งโลกต้องสั่นสะเทือน ไม่เพียงแต่จำนวนผู้คนที่ล้มป่วยหรือเสียชีวิต แต่ภาคเศรษฐกิจก็ได้รับผลกระทบอย่างใหญ่หลวง หลายธุรกิจต้องหยุดชะงัก บ้างก็ต้องปิดตัวลงเพราะขาดรายได้ยาวนาน โดยรายงานจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน พบว่าปัจจุบันมีธุรกิจที่จำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนชั่วคราว โดยมีการใช้มาตรา 75 (ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541) ไปแล้วกว่า 2,237 แห่ง ซึ่งเพิ่มขึ้น 15 เท่า จากปี 2562 และมีลูกจ้างได้รับผลกระทบแล้วกว่า 448,611 คน ชวลิต แซ่จัง มัคคุเทศก์หนุ่มที่พ่วงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัททัวร์แห่งหนึ่ง และคมสัน โชยดิรส ผู้ช่วยเชฟในโรงแรมหรูย่านศรีนครินทร์ สองหนุ่มคนขับแกร็บที่เพิ่งจะหันมารับงานอย่างจริงจังได้เกือบสองเดือน คือตัวอย่างของผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด-19 จากที่เคยต้องตื่นเช้าไปทำงานประจำในทุก ๆ วัน กลับต้องพบกับบททดสอบชีวิตครั้งสำคัญ ชีวิตพลิก เมื่อคลื่นซัด “นอกจากทำงานในบริษัท ผมยังรับหน้าที่เป็นไกด์ออกหน้างาน ทั้งงานต่างจังหวัดและต่างประเทศ ขายงานเอง และงานอื่น ๆ

Read More

ผลกระทบ COVID-19 จุดเริ่มต้นของการถดถอยครั้งใหญ่

ความเป็นไปของการแพร่ระบาด COVID-19 นอกจากจะคุกคามความเป็นอยู่ของสาธารณชนในวงกว้างแล้ว ยังนำพามาซึ่งความกังวลใจต่อภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและระดับโลกที่กำลังจะติดตามมาในอนาคตด้วย การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ครั้งนี้ ได้รับการประเมินว่าส่งผลกระทบอยู่ในระดับที่ใหญ่โตและกว้างขวางเกินกว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อปี 2551 หรือเมื่อครั้งที่เกิดเหตุการณ์วินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน ปี 2544 ซึ่งแม้นักวิเคราะห์บางสำนักจะพยายามประเมินสถานการณ์และมองโลกแง่ดีว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจครั้งนี้จะเป็นรูป V shape ที่เศรษฐกิจจะตกต่ำเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว หากแต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ทำให้ความเชื่อดังกล่าวอาจเป็นเพียงคำอธิษฐานเท่านั้น เนื่องจากประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลกหลายประเทศกำลังจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในไม่กี่เดือนข้างหน้า และมีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อต่อเนื่องออกไปอีกอย่างน้อย 2 ไตรมาส ซึ่งหากเศรษฐกิจโลกไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย ก็จะต้องเผชิญกับภาวะไม่เติบโต หรือเติบโตต่ำอยู่ดี ผลกระทบเศรษฐกิจโลกจากเหตุการแพร่ระบาดของ COVID-19 มีแนวโน้มที่จะเป็นรูป U shape ที่สะท้อนภาพการเผชิญกับภาวะตกต่ำเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก่อนจะฟื้นตัว ขณะที่ประชาคมโลกสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบแบบ L shape หรือภาวะที่เศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวขึ้นเลยได้ ด้วยการตัดสินใจและกำหนดมาตรการรองรับที่ถูกต้องเหมาะสม สถานการณ์การระบาดของไวรัส Covid-19 ที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ส่งผลให้เศรษฐกิจในปีนี้ชะลอตัวอย่างมาก ยอดขายของธุรกิจหายไป เช่นเดียวกับรายได้ของประชาชนรายย่อย ซึ่งทำให้หลายฝ่ายพยายามคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นเปรียบเทียบกับวิกฤตการเงินต้มยำกุ้งในปี 2540 ที่ตัวเลขเศรษฐกิจไทยหดตัวถึงร้อยละ 10.5 ในลักษณะของการสร้างตัวแบบผลกระทบและเปรียบเทียบปัจจัยทางเศรษฐกิจว่าเหตุการณ์ในปีนี้จะเหมือนหรือต่างจากปี 2540 อย่างไรอีกด้วย ข้อน่าสังเกตที่น่าสนใจประการแรกก็คือ จุดเริ่มต้นของปัญหาทางเศรษฐกิจจากเหตุ

Read More

ความหวาดกลัวโควิด-19 ธุรกิจประกันภัยโตสวนทาง

นับตั้งแต่การระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 โรคใหม่ที่อุบัติทั่วโลกในขณะนี้ สร้างความหวั่นวิตกต่อผู้คนไปทุกหย่อมหญ้าและทุกระดับชนชั้น การมองหาต้นสายปลายเหตุของโรคยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ทว่า ความหวาดกลัวต่อโรคระบาดที่ได้คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไปแล้วกว่า 40,000 คน ส่งผลให้ผู้คนมองหาที่พึ่งแม้จะไม่ใช่ปราการปกป้องหรือสกัดกั้นการมองเห็นตัวตนจากเชื้อไวรัส หากแต่เป็นความรู้สึกอุ่นใจทั้งต่อตัวเอง และคนในครอบครัว ธุรกิจประกันภัยเล็งเห็นช่องทางที่พลิกวิกฤตเป็นโอกาส จึงผุดไอเดียที่สร้างความสนใจแก่ผู้คนให้หันมาซื้อกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 ไม่น้อย สถานการณ์ของกลุ่มธุรกิจประกันชีวิตในปี 2562 เข้าสู่สภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษ เมื่อต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ทั้งปัจจัยด้านการเงิน การลงทุน รวมไปถึงกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ที่จะเริ่มใช้ในปีนี้ หากแต่การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนาทำให้ธุรกิจประกันภัยใช้วิกฤตนี้กอบกู้สถานการณ์ แม้จะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาอันสั้นก็ตาม สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลเมื่อวันที่ 18 มี.ค. ที่ผ่านมา มียอดขายประกันภัยโควิด-19 ทั้งระบบประมาณ 2 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1 พันล้านบาท และมีบริษัทประกันที่ได้รับความเห็นชอบแบบกรมธรรม์จำนวน 25 บริษัท ขณะสิ่งที่สังคมกังวลคือ หลังจากมีกรมธรรม์โควิด-19 ออกมาคุ้มครองผู้เอาประกัน อาจจะมีผู้ที่จงใจนำตัวเองไปรับเชื้อหรือเข้าไปยังพื้นที่เสี่ยงหรือบุคคลที่น่าจะติดเชื้อ เพื่อหวังจะได้รับเงินประกัน เมื่อซื้อประกันในรูปแบบ “เจอจ่ายจบ” ซึ่ง คปภ. อธิบายว่า การใช้สิทธิ์ต้องใช้ด้วยความสุจริต

Read More

ธุรกิจออนไลน์สบโอกาส โตสวนทางวิกฤตโรคร้าย

ท่ามกลางวิกฤตของการแพร่ระบาดโรค COVID-19 ซึ่งส่งผลให้ภาคธุรกิจ-อุตสาหกรรมหลากหลายได้รับผลกระทบในเชิงลบจนทำให้การดำเนินธุรกิจตกอยู่ในภาวะชะงักงัน ขณะที่บางบริษัทต้องปลดพนักงานหรือชะลอแผนการลงทุนจากผลของการแพร่ระบาดของโรคที่ดำเนินอยู่นี้ ธุรกิจการบินดูจะเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และมีแนวโน้มที่ไม่สดใสเท่าที่ควร เพราะภายหลังจากการแพร่ระบาดของโรค ทุกประเทศต่างใช้มาตรการคัดกรองนักเดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยงกันอย่างเข้มงวด โดยสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association: IATA) คาดการณ์ว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ว่าจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินทั่วโลกคิดเป็นมูลค่ากว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ IATA ระบุว่า โรคโควิด-19 จะทำให้รายได้ของสายการบินประเภทเครื่องบินโดยสารลดลง 6.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐถึง 1.13 แสนล้านเหรียญสหรัฐขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดว่าจะขยายวงกว้างมากเพียงใด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ IATA ระบุว่า โรคโควิด-19 จะทำให้รายได้ของสายการบินลดลง 2.93 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมคาดการณ์ว่า ผลกระทบดังกล่าวจะจำกัดอยู่ในตลาดที่เกี่ยวข้องกับจีนเท่านั้น แต่ไม่ได้ทำการประเมินผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่จะมีต่อสายการบินประเภทขนส่งสินค้า ความเสียหายที่ IATA ประเมินล่าสุดนี้ เป็นระดับความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกระหว่างช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงิน เมื่อปี 2551 แต่ IATA ยังประเมินสถานการณ์ภายใต้ความเชื่อที่ว่าหากทั่วโลกสามารถควบคุมการระบาดได้รวดเร็ว และจัดการผลกระทบให้อยู่ในวงจำกัด ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นก็จะอยู่ในระดับมูลค่าประมาณ 6.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น แต่นั่นก็เป็นความสูญเสียที่มากพอจะสั่นคลอนความเชื่อมั่นและความมั่นคงของผู้ประกอบการสายการบินแต่ละรายไม่น้อยเช่นกัน แต่ภายใต้วิกฤตดูเหมือนว่าจะยังมีโอกาสใหม่ๆ

Read More

COVID-19 เชื้อฟืนเผาจริงเศรษฐกิจไทย?

แรงกดดันว่าด้วยการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในนาม COVID-19 ที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่ความท้าทายต่อความสามารถในการบริหารจัดการด้านการสาธารณสุขและมาตรการรับมือกับสถานการณ์ความเป็นไปของหน่วยงานภาครัฐแต่เพียงลำพังเท่านั้น หากแต่ผลของการแพร่ระบาดยังคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมซึ่งกำลังนำไปสู่ new normal หรือวิถีชีวิตใหม่ในไม่ช้า ตลอดระยะเวลากว่า 2-3 เดือนนับตั้งแต่แรกเริ่มมีข่าวการแพร่ระบาดในประเทศจีน การประเมินความเสียหายอาจจะจำกัดวงอยู่เฉพาะในส่วนของการค้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับจีนอย่างเป็นด้านหลัก หากแต่เมื่อข้อเท็จจริงของการแพร่ระบาดกระจายตัวไปสู่การประกาศให้ COVID-19 เป็น “ภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก” (Pandemic) โดยองค์การอนามัยโลกในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา การประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจก็ขยายตัวไปสู่ความกังวลใจว่า COVID-19 จะเป็นปัจจัยลบที่ฉุดให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้นไปอีก COVID-19 ซึ่งเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ไม่เพียงแต่จะส่งผลร้ายทำลายร่างกายมนุษย์เท่านั้น แต่ยังทำลายเศรษฐกิจทั่วโลก เพราะโรงงานหลายแห่งในจีนที่มีบริษัทจากต่างประเทศได้ทุ่มเงินมหาศาลเข้าไปลงทุนทำกิจการต่างต้องปิดทำการชั่วคราว ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวจีนซึ่งเป็นหัวใจหลักของการท่องเที่ยวในหลายๆ ประเทศก็ต่างชะลอตัวลงหลังรัฐบาลจีนประกาศห้ามประชาชนในประเทศออกไปท่องเที่ยว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสที่รุนแรงไปมากกว่านี้ เหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบในรูปแบบของ domino effect ซึ่งในส่วนของประเทศไทยซึ่งมีกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศอยู่ที่การท่องเที่ยว และพึ่งพานักท่องเที่ยวจีนอย่างเป็นด้านหลัก ทำให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทยทรุดหนักถึงขั้นวิกฤต ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจโรงแรม ธุรกิจสายการบิน หรือแม้กระทั่งสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งที่เคยมีนักท่องเที่ยวหนาแน่นต่างเงียบเหงาไร้ผู้คน และทำให้ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยทนพิษไม่ไหวจนถึงขนาดที่ต้องยอมถอยและปิดกิจการลง กระนั้นก็ดี ผู้ประกอบการบางส่วนต่างพยายามประคับประคองและปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ที่ต้องเผชิญอยู่เบื้องหน้า โดยธุรกิจสายการบินดูจะเป็นธุรกิจที่นอกจากจะได้รับผลกระทบอย่างหนักแล้ว ยังมีความเคลื่อนไหวเพื่อรองรับกับวิกฤตครั้งนี้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการปรับลดเงินเดือนของผู้บริหารการบินไทยลงร้อยละ 15-25 ควบคู่กับการปรับลดค่าพาหนะลงร้อยละ 20-30 เป็นระยะเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่ 1 มีนาคม 2653

Read More

แกร็บสร้างความมั่นใจผู้บริโภค เปิดตัวการส่งอาหารแบบ “ไร้การสัมผัส” เพื่อป้องกันการแพร่กระจายไวรัสโควิด-19

แกร็บฟู้ด ผู้นำแพลตฟอร์มการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นในประเทศไทย ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการให้ความสำคัญด้านสุขอนามัยของลูกค้า พาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่และร้านอาหาร ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เปิดตัวบริการการส่งอาหารรูปแบบใหม่ ไร้การสัมผัส หรือ Contactless Delivery เพื่อลดความเสี่ยงจากการสัมผัสติดต่อกันทางกายภาพระหว่างลูกค้าและพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ พร้อมจับมือกับพาร์ทเนอร์ร้านอาหารยกระดับการดูแลความสะอาดในทุกขั้นตอนตั้งแต่การเตรียมอาหารและภาชนะในการบรรจุอาหาร แนะชำระเงินผ่านแกร็บเพย์ลดความเสี่ยงการสัมผัสเชื้อโรค ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “แกร็บ ได้ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ไวรัส โควิด-19 อย่างใกล้ชิด พร้อมดำเนินมาตรการเพื่อป้องกันและส่งเสริมสุขอนามัยของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้มีลูกค้าใช้บริการแกร็บฟู้ดเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าของเราท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว แกร็บขอส่งมอบความห่วงใยผ่านการเปิดตัวบริการแบบไร้การสัมผัส หรือ Contactless Delivery ด้วยการเว้นระยะห่างที่เหมาะสมจากผู้อื่น (social distancing) ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการควบคุมโรคระบาดตามมาตรฐานสากล โดยได้เริ่มประกาศใช้มาตรการดังกล่าวตั้งแต่วันนี้ (20 มีนาคม 2563) นอกจากนี้ แกร็บยังได้ยกระดับการดูแลสุขอนามัยของพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่้ด้วยการจัดหาหน้ากากอนามัย รวมถึงร่วมกับพาร์ทเนอร์ร้านอาหารในการดูแลความสะอาดของการเตรียมอาหารและภาชนะที่ใช้ในการส่งอาหารด้วย” ผู้ขับขี่และผู้บริโภคสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนแนะนำในการส่งอาหารแบบไร้การสัมผัสได้ ดังนี้ - ลูกค้าระบุจุดรับ-ส่งอาหาร ผ่านการส่งข้อความทางแชท - ผู้ขับขี่แกร็บฟู้ดแจ้งลูกค้าเมื่อเดินทางถึง เมื่อผู้ขับทำการส่งอาหารในจุดที่แจ้งไว้ให้วางอาหารไว้บนกระเป๋าส่งอาหารและรอให้ลูกค้าออกมารับโดยทิ้งระยะห่างระหว่างผู้ขับและลูกค้า 2 เมตร ซึ่งผู้ขับจะต้องหมั่น ทำความสะอาดหรือล้างมือก่อนสัมผัสบรรจุภัณฑ์เสมอ -

Read More

สตาร์บัคส์งดรับแก้วส่วนตัวและเสิร์ฟภาชนะ To-go ชั่วคราว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

สตาร์บัคส์ รณรงค์ลดการสัมผัสโดยตรงต่างๆ พร้อมงดรับแก้วส่วนตัวและเสิร์ฟภาชนะ To-go ชั่วคราว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) แจงมาตรการร่วมรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ประกาศของดรับแก้วส่วนตัวชั่วคราว และจะเริ่มใช้ภาชนะเสิร์ฟอาหารในร้านแบบ To-go พร้อมงดวางที่ปรุงเครื่องดื่ม แต่ให้บาริสต้าบริการตามคำขอ ที่ร้านสตาร์บัคส์ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยจะทยอยเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม นี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการประกาศการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ดี กรณีที่ลูกค้านำแก้วส่วนตัวมาแสดงที่ร้าน จะยังคงได้รับส่วนลด 10 บาท ต่อ 1 แก้วเช่นเดิม นอกจากนี้ ยังแนะนำให้ลูกค้าเลือกซื้อเครื่องดื่มผ่านบริการไดร์ฟทรูว์ และเดลิเวอรี่ เพื่อลดการเดินทางไปยังที่สาธารณะ หรือกรณีทำงานจากบ้าน คุณเนตรนภา ศรีสมัย กรรมการผู้จัดการ สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ด้วยความห่วงใยในสุขภาพของลูกค้าทุกท่านและพาร์ทเนอร์ทุกคนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นี้ สตาร์บัคส์ได้มีมาตรการเพื่อลดการสัมผัสโดยตรง (Contactless) ซึ่งอาจทำให้ประสบการณ์สตาร์บัคส์ที่คุ้นเคยแตกต่างไปจากเดิมบ้าง จึงขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้

Read More