Home > การค้าชายแดน

มาตรการปิดด่านป้องกันโควิด-19 ค้าชายแดนกระทบหนัก

สถานการณ์ค้าชายแดนแม้ตัวเลขและสถานการณ์จะไม่สวยหรูมากนัก จากผลกระทบของการปรับตัวลงของราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจในประเทศที่ถดถอยเป็นทุนเดิม การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนากลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ความร้ายกาจของเชื้อไวรัสไม่ได้กัดกินและทำลายอวัยวะภายในที่สำคัญอย่างปอดของมนุษย์เท่านั้น แต่เชื้อร้ายกลับเจาะลึกเข้ากัดกร่อนกลไกการทำงานของเครื่องจักรทางเศรษฐกิจเกือบทุกระบบ การท่องเที่ยวดูจะเป็นเครื่องจักรตัวแรกในระบบที่ได้รับผลกระทบ เพราะจุดเริ่มต้นของเชื้อไวรัสโคโรนาคือประเทศจีน ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มสำคัญที่ทำให้ภาคการท่องเที่ยวของไทยมีเงินสะพัดในระบบ และหลังจากจีนประกาศปิดประเทศในช่วงที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนัก ภาคการส่งออกได้รับผลกระทบตามมา เพราะในฐานะที่เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญ แม้ว่าการส่งออกของไทยจะซบเซาในช่วงก่อนหน้า ทั้งสาเหตุจากสงครามการค้า การแข็งค่าของเงินบาทไทย และภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มถดถอย เมื่อการแพร่ระบาดเริ่มขยายวงกว้างในประเทศไทย เศรษฐกิจในระดับครัวเรือนได้รับผลกระทบในลำดับถัดมา เมื่อรัฐบาลประกาศใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดที่จะขยายวงกว้างขึ้น การสั่งปิดห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด ร้านอาหารที่อนุญาตให้เฉพาะซื้อนำกลับเท่านั้น ทำให้เศรษฐกิจไทยคล้ายถูกเชื้อไวรัสฟรีซไว้ และเมื่อเชื้อไวรัสแพร่ระบาดไปทั่วโลก หลายประเทศจึงมีมาตรการสั่งปิดด่านชายแดนเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะลุกลามจนยากที่จะควบคุม คำสั่งปิดด่านชายแดนทั้งของไทยและประเทศเพื่อนบ้านยิ่งเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์การส่งออกของไทยที่บอบช้ำอยู่แล้ว ให้วิกฤตหนักขึ้น “เจ็บแต่จบ” จึงกลายเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายมองว่า เป็นการตัดไฟเสียแต่ต้นลม และจะสามารถควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัดได้ หากย้อนกลับไปดูตัวเลขมูลค่าค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย เมียนมา สปป. ลาว และกัมพูชา ในช่วงปี 2559-2561 มีอัตราการเติบโตอยู่ในระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุมาจากความคล่องตัวในเรื่องโลจิสติกส์บริเวณด่านชายแดนของไทย ที่มีจุดผ่านแดนถาวรเชื่อมโยงผ่านจังหวัดทั่วประเทศ 21 จังหวัด แต่ถ้ามองตัวเลขมูลค่าการส่งออกเพียงด้านเดียว ในปี 2561 จะพบว่า ไทยส่งออกสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านลดลง -1.19 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.99 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่มูลค่าการค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยปี 2562 มีมูลค่ารวม

Read More

พะเยา: ฝันใหญ่ของเมืองเล็ก ตั้งเป้าท่องเที่ยว-ค้าชายแดนโต

หากจะเอ่ยถึงจังหวัดทางภาคเหนือของไทยที่มักถูกนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ให้ความสนใจและเลือกเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการท่องเที่ยว คงจะหนีไม่พ้นจังหวัดใหญ่ๆ อย่าง แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย หรือน่าน พะเยา จังหวัดที่น้อยคนนักจะเลือกเดินทางเข้าไปสัมผัสเพื่อเพิ่มประสบการณ์ใหม่ แม้ว่าจะมีสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างเย็นสบาย ความร่มรื่นที่มีผลมาจากความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่นับได้ว่า ยังคงความเขียวขจีอยู่มากกว่าบางจังหวัด ประกอบกับความเงียบสงบของเมืองซึ่งเหมาะแก่การหลบร้อนและพักผ่อน อาจเป็นเพราะด้วยความที่จังหวัดพะเยาถูกขนาบข้างด้วยเชียงรายและน่าน ที่ดูจะมีภาษีเหนือกว่าในเรื่องของสถานที่ท่องเที่ยว ที่เมื่อได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวจนทำให้เกิดกระแส ผู้คนแห่แหนกันไปเพื่อเช็กอิน เก็บเกี่ยวประสบการณ์และแชร์การมาเยี่ยมเยือนลงบนโลกโซเชียล นั่นทำให้พะเยาเป็นเพียงทางผ่านในหลายๆ ครั้ง กระทั่งเมื่อมีการเปิดเผยแผนพัฒนาด่านบ้านฮวก อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ให้เปิดด่านถาวร จึงเป็นเสมือนการเปิดสวิตช์เครื่องจักร ทำให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเร่งพัฒนาและปลุกศักยภาพของจังหวัดให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการค้าชายแดน เมื่อด่านบ้านฮวกมีเขตที่สามารถเชื่อมต่อกับแขวงไซยะบุรี ของ สปป.ลาว ได้ นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศเวียดนามและจีนตอนใต้ ซึ่งหากด่านบ้านฮวกถูกอนุมัติให้เป็นด่านถาวร อ. ภูซาง จ.พะเยา จะกลายเป็นอีกหนึ่งประตูและเส้นทางการค้าของภูมิภาคนี้ ซึ่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ปานทอง สระคูพันธ์ เปิดเผยว่า “จังหวัดได้งบประมาณจากรัฐบาลมา 500 ล้านบาท โดยจะนำงบประมาณดังกล่าวมาพัฒนากว๊านพะเยา เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และแหล่งท่องเที่ยว เมื่อถนนที่เชื่อมไทย-ลาว แล้วเสร็จจะสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นต่อประชาชนในพื้นที่ทั้งสองฝั่ง” ทั้งนี้ด่านบ้านฮวกจะเป็นด่านชายแดนถาวรได้ภายในปีนี้ ซึ่งหากเป็นไปตามการคาดการณ์ของปานทอง สระคูพันธ์ นั่นหมายความว่า จังหวัดพะเยาคงต้องเร่งดำเนินการพัฒนาทั้งระบบเพื่อให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึง เส้นทางโลจิสติกส์ที่น่าจะเป็นตัวเชื่อมสำคัญสำหรับการค้าการลงทุนระหว่าง

Read More