Home > ลาว

นักวิจัยเตือนเฝ้าระวังอาฟเตอร์ช็อกแผ่นดินไหว แนะชาวน่านสำรวจโครงสร้างบ้าน-โบราณสถาน

นักวิจัยเตือนอาจมีอาฟเตอร์ช็อกอีกหลายครั้งหลังเกิดแผ่นดินไหวที่ลาว แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ถึงจังหวัดน่าน ขอให้ประชาชนสำรวจโครงสร้างบ้านและโบราณสถาน หากพบรอยร้าวให้แจ้งเจ้าหน้าที่ แนะไทยควรมีระบบแจ้งเหตุแผ่นดินไหว และสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการอนุรักษ์โบราณสถาน ศ. ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย และนักวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 5.8 ที่เกิดขึ้นที่ประเทศลาวเมื่อเช้ามืดของวันที่ 20 ธันวาคม 2564 ได้ส่งผลให้หลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ โดยพบร่องรอยกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถและองค์พระประธานจตุรพักตร์ 4 ด้าน ซึ่งตั้งประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถวัดภูมินทร์ พบรอยร้าวขยายเพิ่มจากความเสียหายแผ่นดินไหวครั้งก่อน 6.4 ริกเตอร์เมื่อปี 2562 และพบรอยร้าวใหม่อีกหลายจุดเป็นแนวยาวจนมองเห็นปูนภายในอย่างเห็นได้ชัด สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้เกิดขึ้นนอกประเทศไทย โดยมีระยะห่างจากจังหวัดน่านประมาณ 20 กิโลเมตร ซึ่งแผ่นดินไหวขนาด 5.8 ถือว่าได้มีความรุนแรงระดับปานกลาง จึงทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทยได้ แต่ด้วยระยะทางที่ห่างออกไปไม่ไกลมากนัก จึงเชื่อว่าอาจจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างอาคารบ้าง แต่ก็คาดว่าจะรุนแรงถึงขั้นที่ทำให้โครงสร้างอาคารในประเทศไทยเกิดการถล่มลงมา อย่างไรก็ตามโครงสร้างอาคารในพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณที่ใกล้แผ่นดินไหวมากกว่านี้อาจเกิดการแตกร้าวเสียหายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารหลายหลังที่ไม่ได้ออกแบบและก่อสร้างมาให้ต้านแผ่นดินไหวหรือเป็นอาคารที่ไม่ได้มาตรฐานทางวิศวกรรม “ประชาชนจึงควรสำรวจโครงสร้างบ้านเรือนของตนเองด้วยว่ามีรอยร้าวเกิดขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่โคนเสาด้านล่างและกำแพง หากสังเกตเห็นรอยร้าวหรือปูนกะเทาะออกมา จะต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้เข้าตรวจสอบโดยละเอียดทันที ทั้งนี้อาจเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกได้ในช่วงระยะเวลา

Read More

นวัตกรรม 5G, AI, IoT ยกระดับอุตสาหกรรมคมนาคม ทางด่วนอัจฉริยะ “เวียงจันทน์-วังเวียง”

เมื่อนวัตกรรม 5G, AI, IoT ยกระดับอุตสาหกรรมคมนาคม เกิดเป็นทางด่วนอัจฉริยะ “เวียงจันทน์-วังเวียง” ผสานเทคโนโลยีแห่งอนาคตเพื่อการเดินทางที่สะดวก ปลอดภัย เมื่อกล่าวถึงการนำเทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่าง 5G, AI, ICT, และ IoT มาประยุกต์ใช้กับบริการหรือสาธารณูปโภคต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เรามักจะนึกถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มความสะดวกสบายในอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายเป็นหัวใจสำคัญอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นในอุตสาหกรรมไอทีซึ่งนำนวัตกรรมใหม่ดังกล่าวมาช่วยให้การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว การนำ 5G มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเพื่อให้บริการเครือข่ายการเชื่อมต่อความเร็วสูงสุดแก่ทั้งผู้บริโภคและองค์กร หรือแม้แต่ด้านสาธารณสุขที่นำ ICT มาประยุกต์ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีดังกล่าวนอกจากจะส่งผลให้บริการมีความรวดเร็วมากกว่าเดิมหลายเท่าตัว ยังช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่กระบวนการดำเนินงานในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ได้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การนำนวัตกรรมล้ำสมัยดังกล่าวมาปรับใช้ด้านคมนาคมและการสัญจรนั้น ยังเป็นเรื่องที่ไม่ได้รับการพูดถึงอย่างแพร่หลายมากนัก ทั้งที่การคมนาคมถือเป็นหัวใจสำคัญของเมืองใหญ่ทุกแห่งบนโลก เมื่อไม่นานมานี้ หัวเว่ยได้ร่วมนำนวัตกรรมดังกล่าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับการเปิดให้บริการทางด่วนอัจฉริยะจากเวียงจันทน์ถึงวังเวียง ซึ่งร่วมก่อสร้างและพัฒนาโดยบริษัท Yunnan Construction and Investment Holding Group ด้วยความร่วมมือจากรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทางด่วนเวียงจันทน์-วังเวียงนี้ถือเป็น “ทางด่วนอัจฉริยะแห่งแรก” ของประเทศลาว ทั้งนี้ หัวเว่ยและพันธมิตร Yunnan Huayuan Electronics

Read More

‘ผลิตไฟฟ้าลาว’ ปลื้มกระแสโรดโชว์คึกคัก เผยนักลงทุนไทยสนใจลงทุนหุ้นกู้วงเงิน 17,500 ล้านบาท เตรียมขายผ่าน 5 แบงก์ กรกฎาคมนี้

บริษัท ผลิต-ไฟฟ้าลาว มหาชน (EDL-GEN) ปลื้มนักลงทุนไทยให้การตอบรับคึกคัก หลังการโรดโชว์ต่อนักลงทุนสถาบัน นำเสนอข้อมูลการระดมทุน ด้วยการออกหุ้นกู้สกุลเงินบาท วงเงินไม่เกิน 17,500 ล้านบาท เตรียมกำหนดรายละเอียดการเสนอขายพร้อมผลตอบแทนจากการลงทุนต้นเดือนกรกฎาคมนี้ โดยมี 5 แบงก์เป็นผู้ร่วมจัดการการจัดจำหน่าย มั่นใจกระแสตอบรับดี ด้วยความมั่นคงของบริษัทฯ และโอกาสในการเติบโต ชี้ธุรกิจหลักที่มุ่งเน้นด้านพลังงานทำให้ EDL-GEN เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ นายอดิศร วสุคุปต์ สิงห์สัจจะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทวิน ไพน์ กรุ๊ป จำกัด ผู้บุกเบิกด้านการระดมทุนข้ามพรมแดน ด้วยการเป็นที่ปรึกษาให้กับกิจการในกลุ่มประเทศ CLMV ที่ต้องการระดมทุนในประเทศไทย ในฐานะที่ปรึกษา (Sole Advisor) ของบริษัท ผลิต-ไฟฟ้าลาว มหาชน หรือ EDL-GEN เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้จัดโรดโชว์เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ EDL-GEN รวมถึงแผนการระดมทุนด้วยการออกและเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินบาท อันดับความน่าเชื่อถือ BBB+ จากทริสเรทติ้ง วงเงินไม่เกิน 17,500

Read More

เที่ยวเมืองคำม่วน ให้ม่วนซื่นรับ AEC

  อากาศร้อนแทบจะทะลุปรอทขนาดนี้ หลายคนอาจจะหงุดหงิดจนทำให้ความรื่นรมย์ในชีวิตขาดหายไปชั่วขณะ “ผู้จัดการ 360 ํ” ขอถือโอกาสนี้ พาผู้อ่านไป “ม่วนซื่น” กันที่ “คำม่วน” แขวงที่อยู่กึ่งกลางประเทศ สปป.ลาว เพื่อดับความร้อนและเพิ่มความเย็นให้กับหัวใจกันดีกว่า แต่ก่อนจะข้ามไปยัง “แขวงคำม่วน” เราตั้งต้นที่จังหวัดที่อยู่ติดกับแขวงคำม่วน มีเพียงลำน้ำโขงกั้นกลาง และเป็นจังหวัดที่ดัชนีชี้วัดความสุขของผู้คนในเมืองติดอันดับหนึ่งของประเทศไทย อย่างจังหวัดนครพนมกันก่อน รับรองว่าม่วนซื่นไม่แพ้กัน เพราะเขาว่ากันว่า “มาอีสานต้องสนุก” นครพนมตั้งอยู่ทางภาคอีสานของเมืองไทย อยู่ตรงข้ามกับแขวงคำม่วนของ สปป.ลาว เป็นเมืองที่เงียบสงบ ไม่เร่งรีบ และความที่เป็นเมืองชายแดนติดกับ สปป.ลาว เพราะฉะนั้นจึงมีการผสมผสานทางวัฒนธรรม ประเพณี วิถีความเป็นอยู่ ระหว่างไทย ลาว รวมถึงเวียดนาม และฉายภาพออกมาให้เราสัมผัสได้ ทั้งวัดวาอาราม อาหารการกิน และประเพณี โปรแกรมที่เรียกว่าขาดไม่ได้เลยสำหรับการมาเยือนนครพนมคือ “นมัสการพระธาตุพนม” พระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองและเป็นพระธาตุประจำตัวผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พระธาตุพนมเป็นพุทธเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตามตำนานกล่าวว่า องค์พระธาตุสร้างในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร ซึ่งอาณาจักรศรีโคตรบูรนี้ครอบคลุมไปถึงแขวงคำม่วนของ สปป.ลาว ด้วยเช่นกัน พระธาตุพนมไม่เพียงแต่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวนครพนมเท่านั้น ยังเป็นที่เคารพของชาวไทยภาคอื่นๆ และชาวลาวอีกด้วย ว่ากันว่า ถ้าใครได้มานมัสการพระธาตุครบ 7 ครั้ง

Read More

ยลธรรมชาติกลางขุนเขา จากเชียงขวางสู่หัวพัน

เสียงเพลงลาวที่บรรยายถึงความงดงามของธรรมชาติและความอุดมสมบูรณ์ของแขวงหัวพัน ดังแว่วอยู่ในรถโดยสารระหว่างเมืองที่มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่เมืองซำเหนือ แขวงหัวพัน ภาษาที่ตรงไปตรงมา บวกกับท่วงทำนองของเครื่องดนตรีที่ดูเรียบง่าย ผสานกับทิวทัศน์สองข้างทาง ทำให้เราอิ่มเอมไปกับความงดงามของแขวงหัวพัน แม้จะยังเดินทางไปไม่ถึงจุดหมายปลายทางก็ตามจากนครหลวงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว ศูนย์กลางความเจริญ และจุดตั้งต้นสำหรับการเดินทางต่อไปยังเมืองต่างๆ ของลาว เรามุ่งหน้าสู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศตามรอยเส้นทางยุทธศาสตร์สมัยสงครามอินโดจีน ผ่านเมืองโพนสะหวัน แขวงเชียงขวาง ก่อนเข้าสู่แขวงหัวพัน ระยะทางจากนครหลวงเวียงจันทน์ไปยังแขวงหัวพันราวๆ 640 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยทางรถเกือบ 22 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลามาตรฐานสำหรับการเดินทางโดยทางรถในลาว ดังนั้นเราเลือกจึงเลือกแวะพักเก็บบรรยากาศตามเมืองต่างๆ เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์และทอนเวลาการเดินทางไม่ให้แต่ละครั้งยาวนานเกินไป จากเวียงจันทน์เราแวะพักที่เมืองโพนสะหวัน แขวงเชียงขวาง อดีตเมืองที่ถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักช่วงสงครามอินโดจีน เมืองที่มีประวัติศาสตร์และร่องรอยของสงครามให้เราได้เห็นจนถึงทุกวันนี้ต่อจากเมืองโพนสะหวัน แขวงเชียงขวาง เราเดินทางด้วยรถโดยสารระหว่างเมืองจากสถานีขนส่งของแขวงเชียงขวาง สปป.ลาว เพื่อเดินทางไปยังเมืองซำเหนือ แขวงหัวพัน การเดินทางด้วยวิธีนี้ ดูจะเป็นวิธีการเดินทางหลักของทั้งชาวลาวและนักท่องเที่ยว ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้โดยสารที่อัดแน่นกันอยู่ภายในรถที่มีทั้งชาวลาว ชาวเขา และนักท่องเที่ยว ไม่เพียงแต่จำนวนผู้โดยสารที่เต็มทุกที่นั่งของรถเท่านั้น แต่ปริมาณและขนาดของสัมภาระที่แต่ละคนนำมามีปริมาณมากจนเราไม่เชื่อว่าทั้งหมดนั้นจะสามารถเดินทางไปพร้อมเจ้าของได้สัมภาระทั้งหมดถูกจัดวางไว้ทุกซอกมุมของทั้งในตัวรถและบนหลังคา และทุกที่ที่พอจะวางได้ เป็นการจัดสรรพื้นที่ได้อย่างน่าทึ่งจริงๆ ด้วยความที่เมืองโพนสะหวันเป็นเมืองใหญ่ มีตลาดขนาดใหญ่ บรรดาชาวบ้านต่างเมืองจึงนิยมมาซื้อข้าวของเครื่องใช้ที่เมืองนี้ ไปใช้และขายต่อในหมู่บ้านที่อยู่ไกลออกไป จึงไม่แปลกที่รถโดยสารจะอัดแน่นด้วยสัมภาระเหล่านั้นรถโดยสารระหว่างเมืองดูจะเป็นที่นิยมของทั้งคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว สำหรับคนท้องถิ่นมันคือการเดินทางที่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมากนัก สำหรับนักท่องเที่ยวมันคือการได้สัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้านและเสพความงามของธรรมชาติด้วยต้นทุนที่ถูกแสนถูก

Read More

“เชียงขวาง” จากสมรภูมิรบสู่เมืองท่องเที่ยว

  สงครามอินโดจีนหรือสงครามเวียดนามได้สิ้นสุดลงไปแล้ว ด้วยชัยชนะของฝ่ายนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ทั้งในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา แม้จะผ่านไปแล้วกว่า 4 ทศวรรษ แต่ร่องรอยของสงครามยังคงมีให้ชนรุ่นหลังได้เห็นถึงความโหดร้ายของมันอยู่ โดยเฉพาะที่แขวงเชียงขวาง ประเทศลาว เชียงขวาง (Xiangkhoang) คือแขวงหนึ่งของ สปป.ลาว ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ ด้วยชัยภูมิที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ราวๆ 400 กิโลเมตร มีชายแดนติดกับประเทศเวียดนาม สามารถใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงกองกำลังและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ จากเวียดนามเหนือ มาสู่ขบวนการปะเทดลาวได้อย่างดี  ด้วยชัยภูมิดังกล่าวขบวนการปะเทดลาวจึงได้ตั้งกองบัญชาการใหญ่ขึ้นที่เชียงขวาง กองทัพอากาศสหรัฐฯ ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดแบบปูพรมเพื่อทำลายล้างขบวนการปะเทดลาว ระเบิดไม่ต่ำกว่า 3 ล้านตัน ถูกระดมทิ้งลงที่นี่ บ้านเรือนราษฎร วัดวาอารามพังพินาศ ผู้คนอพยพออกจากเมือง ที่นี่จึงเป็นสมรภูมิรบที่ดุเดือดและเป็นพื้นที่ที่ได้รับอย่างหนัก ปัจจุบันเชียงขวางฟื้นตัวขึ้นเรื่อยๆ บ้านเรือน ถนนหนทาง ส่วนราชการถูกสร้างขึ้นใหม่ เป็นเมืองที่สะอาดและเป็นระเบียบ แต่ร่องรอยของสงครามก็ยังมีให้เห็นอยู่ โดยเฉพาะที่เมืองคูน ซึ่งเป็นเมืองเอกเดิมของแขวงเชียงขวาง เป็นเมืองที่โดนทำลายอย่างหนัก รัฐบาลจึงสร้างเมือง “โพนสะหวัน” เป็นเมืองเอก ทดแทนเมืองคูนที่ถูกทำลายลง ซากปรักหักพังบางอย่างได้รับการอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความโหดร้ายของสงคราม หลุมระเบิดขนาดใหญ่ยังคงมีให้เห็นอยู่ทั่วไป เศษของลูกระเบิดถูกนำมาดัดแปลงเป็นเสาบ้าน รางปลูกต้นไม้ ที่นั่งเล่น หรือประดับตามร้าน เป็นการสร้างบ้านแปงเมืองโดยแท้ นโยบายการเปิดประเทศของลาวตั้งแต่

Read More