Home > พลังงานหมุนเวียน

อินฟอร์มาฯ จับมือ TESTA เสริมทักษะ ความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน ขานรับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด

อินฟอร์มาฯ จับมือ TESTA เสริมทักษะ ความรู้ ความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน ในงาน "Energy Storage Asia 2024" ขานรับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ปักธงเตรียมความพร้อมภาคอุตสาหกรรมไทยร่วมเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) จับมือ สมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย (TESTA) จัดการประชุม “International Energy Storage Forum” พร้อมนำผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ภายในงาน Energy Storage Asia 2024 ตั้งเป้าส่งเสริมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทยและภูมิภาค ซึ่งงานนี้จะมาเสริมความแข็งแกร่งกับงาน ASEAN Sustainable Energy Week ให้มีความครอบคลุมทุกด้านของพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน จากเทรนด์พลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น เพื่อสอดรับกับเป้าหมายของโลกสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) แต่ความท้าทายจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนนี้คือความผันผวนที่ไม่สม่ำเสมอ หัวใจสำคัญคือ การนำเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานมาผนวกใช้ ทั้งในรูปแบบแบตเตอรี่ที่ใช้ในโรงไฟฟ้า ยานยนต์ไฟฟ้า

Read More

ลอนจิ กรีน เอ็นเนอร์จี เทคโนโลยี เผยแผนสุดอลังการเพื่อขับเคลื่อน “เทคโนโลยี PV”

ลอนจิ กรีน เอ็นเนอร์จี เทคโนโลยี เผยแผนสุดอลังการเพื่อขับเคลื่อน “เทคโนโลยี PV” และโซลูชั่นพลังงานยั่งยืนใหม่ ๆ ณ ASEAN Sustainable Energy Week 2023 บริษัท ลอนจิ กรีน เอ็นเนอร์จี เทคโนโลยี จำกัด (ลอนจิ) ผู้นำด้านพลังงานแสงอาทิตย์ระดับโลก พร้อมปฏิวัติวงการพลังงานหมุนเวียนด้วยเทคโนโลยีพีวีรุ่นบุกเบิกของแบรนด์ที่พร้อมรองรับทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ด้วยวิสัยทัศน์ที่ครอบคลุม 5 กลุ่มสินค้าหลัก ได้แก่ เวเฟอร์โมโนคริสตัลไลน์ เซลล์และโมดูล โซลูชั่นพลังงานแสงอาทิตย์แบบกระจายการผลิต โซลูชั่นสถานีผลิตไฟฟ้าและระบบพลังงานไฮโดรเจน ด้วยความมุ่งมั่นจะที่สนับสนุนการใช้งานพลังงานหมุนเวียน ลอนจิมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมงาน ASEAN Sustainable Week 2023 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2566 เพราะนับเป็นเวทีชั้นนำระดับอาเซียนด้านความก้าวหน้าภาคพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนรอคอย โดยมีองค์กรธุรกิจตบเท้าเข้าร่วมจัดแสดงนวัตกรรมล่าสุดของวงการการเข้าร่วมงานดังกล่าวฉายชัดถึงความมุ่งมั่นของลอนจิที่มีต่อตลาดอาเซียนและเข้าใจในความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละรายอย่างจริงจัง ซึ่งส่งผลให้ลอนจิมีการบริการที่โดดเด่น ในงาน ASEAN

Read More

บี.กริม เพาเวอร์ ทุ่มงบฯ กว่า 400 ล้านบาท ลงทุน “โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์” ในสาธารณรัฐเกาหลี

บี.กริม เพาเวอร์ ทุ่มงบฯ กว่า 400 ล้านบาท ลงทุน “โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์” ในสาธารณรัฐเกาหลี เพิ่มกำลังการผลิต 98.99 เมกะวัตต์ ขยายพอร์ท “พลังงานหมุนเวียน” ก้าวสู่เป้าหมาย Net Zero ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยว่า B.Grimm Power Korea Limited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ บี.กริม เพาเวอร์ ถือหุ้นในสัดส่วน 100% ได้เข้าถือหุ้นใน Saemangeum Sebit Power Co., Ltd. (“บริษัทฯ”) เพื่อลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังการผลิตติดตั้ง 98.99 เมกะวัตต์ ในสาธารณรัฐเกาหลี

Read More

เจาะเบื้องหลังการขยายธุรกิจไฟฟ้าของ “BPP” ในต่างแดน กุญแจสำคัญเพื่อเร่งสร้างการเติบโตที่แข็งแกร่ง

การมีความมั่นคงด้านพลังงานคือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับ บมจ.บ้านปู เพาเวอร์ หรือ BPP ซึ่งเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าคุณภาพระดับสากล มีความมุ่งมั่นในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง ผ่านการขยายเมกะวัตต์คุณภาพด้วยสมดุลของพอร์ตธุรกิจทั้งจากพลังงานความร้อนและพลังงานหมุนเวียน ควบคู่ไปกับการขยายธุรกิจในพื้นที่ยุทธศาสตร์ทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งการขยายธุรกิจในต่างแดนนี้เอง คือจุดสำคัญที่ทำให้ BPP เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งตามกลยุทธ์ Greener & Smarter พร้อมสู่การขยายกำลังผลิตให้ได้ 5,300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568 “ความพร้อมของ BPP ทั้งในด้านการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ และการมีระบบนิเวศของ BPP (BPP Ecosystem) ที่แข็งแกร่ง เป็นแต้มต่อที่ช่วยให้การขยายตลาดในต่างประเทศเป็นไปได้อย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ ปัจจัยในด้านแนวโน้มด้านพลังงาน ความพร้อมของตลาด นโยบาย และกฎเกณฑ์ของประเทศนั้น ๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ BPP นำมาประมวลและวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจในการลงทุนในพื้นที่ต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน” กิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ BPP เล่าแนวคิดการขยายธุรกิจไฟฟ้าในต่างประเทศที่เป็นกำลังการผลิตส่วนใหญ่ของ BPP ในปัจจุบัน กว่า 30 ปีที่

Read More

3เอ็ม บริจาคเงินติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้โรงพยาบาลขุนยวม สนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน

3เอ็ม ประเทศไทย เดินหน้าตามปณิธานในการเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญ และรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาภาวะโลกร้อนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มอบเงินสนับสนุนแก่มูลนิธิแพทย์ชนบท เพื่อนำไปติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ให้แก่โรงพยาบาลในเขตพื้นที่ห่างไกลเพื่อลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล และนำเงินส่วนนั้นมาพัฒนาโรงพยาบาลหรือนำไปจัดซื้อเวชภัณฑ์ที่จำเป็นในการดูแลผู้รับบริการได้มากขึ้น นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน พร้อมยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจนำไปสู่วิกฤตโลกร้อนอีกด้วย การบริจาคเงินครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก 3Mgives ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการลงทุนในสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของ 3เอ็ม ในประเทศสหรัฐอเมริกา นางวิยะดา ศรีนาคนันทน์ ประธานบริหาร บริษัท 3เอ็ม ประเทศไทย กล่าวว่า 3เอ็ม ประเทศไทย เรามีความมุ่งมั่นในการให้ความช่วยเหลือสังคม และชุมชนในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยครั้งนี้เราได้มอบเงินสนับสนุนจำนวน 805,765.95 บาท หรือ 25,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ให้แก่โรงพยาบาลขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนแก่องค์กรที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชน นอกจากนี้ยังถือเป็นการช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้นในปัจจุบันอีกด้วย ด้านนายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้รับผิดชอบโครงการ จากมูลนิธิแพทย์ชนบทเผยว่า เนื่องด้วยโรงพยาบาลตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ห่างไกล และประสบปัญหาขาดแคลนด้านทุนทรัพย์ การได้รับความช่วยเหลือจาก 3เอ็มในครั้งนี้ ถือเป็นการช่วยสานต่อความตั้งใจของโรงพยาบาลที่ต้องการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในโรงพยาบาลด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ทำให้สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายภายในโรงพยาบาล และนำมาพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพ รวมถึงให้บริการด้านสาธารณสุขกับคนในชุมชนให้ได้รับการรักษาอย่างเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนระยะยาวได้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น

Read More

แอลจี ตั้งเป้าเดินหน้าสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2593

แอลจี ตั้งเป้าเดินหน้าสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2593 สานต่อพันธสัญญาการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ภายในปี 2573 แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดเผยถึงความมุ่งมั่นในการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2593 ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของกลยุทธ์ความยั่งยืน โดยการประกาศในรายงานความยั่งยืนของแอลจีนี้เป็นการสานต่อคำมั่นสัญญาก่อนหน้านี้ที่ตั้งเป้าบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2573 ผ่านโครงการ Zero Carbon 2573 ซึ่งแอลจีให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยคาร์บอนในขั้นตอนการผลิตเป็น 50% ของมาตรฐานปี 2560 ภายในปี 2573 โครงการการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2593 จะถูกขับเคลื่อนในระดับภูมิภาค เริ่มตั้งแต่อเมริกาเหนือ ซึ่งจะริเริ่มให้สำนักงานและโรงงานผลิตทุกแห่งใช้พลังงานหมุนเวียนภายในปีที่ตั้งเป้า นอกจากนี้ โรงงานผลิตของแอลจีที่ตั้งอยู่นอกประเทศเกาหลีใต้ยังตั้งเป้าที่จะเปลี่ยน 50% ของความต้องการใช้ไฟฟ้าไปเป็นพลังงานหมุนเวียนในอีก 4 ปีข้างหน้า การบรรลุเป้าหมายในระดับโลกนี้จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ประสิทธิภาพสูงของแอลจีบนตัวอาคาร การทำข้อตกลงซื้อขายไฟฟ้าที่อนุญาตให้บริษัทต่าง ๆ สามารถซื้อไฟฟ้าได้โดยตรงจากบริษัทผู้ให้บริการ การใช้ใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Credit: REC) และการเข้าร่วมโปรแกรม Green Premium ในประเทศเกาหลีซึ่งเป็นตลาดต้นกำเนิดของแอลจี เพื่อซื้อพลังงานสะอาดโดยตรงจากบริษัทไฟฟ้าแห่งชาติของเกาหลีใต้ (Korea

Read More

บ้านปู เพาเวอร์ โชว์ความสำเร็จของแผนฟื้นฟูและพัฒนาจังหวัดฟุกุชิมะ

บ้านปู เพาเวอร์ฯ โชว์ความสำเร็จของแผนฟื้นฟูและพัฒนาจังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เปิดโซลาร์ฟาร์มนาริไอสึให้คณะวิจัยจากสหรัฐฯ เข้าเยี่ยมชม บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้นำธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากทั้งพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป (Conventional Power Generation) และพลังงานหมุนเวียน (Renewable Power Generation) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นำโดย มร. วาตารุ ชิมะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ (เจแปน) จำกัด ในฐานะตัวแทนผู้บริหารของบ้านปู เพาเวอร์ฯ ได้นำเสนอแผนการฟื้นฟูจังหวัดฟุกุชิมะโดยการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแก่อาจารย์ เจสสิก้า แม็กมานัส วอร์เนล พร้อมด้วยคณะวิจัยจากภาควิชาการบริหารและการจัดการ วิทยาลัยบริหารธุรกิจเมนโดซา มหาวิทยาลัยนอเทรอดาม (The Department of Management & Organization - Mendoza College of Business, University

Read More

‘ผลิตไฟฟ้าลาว’ ปลื้มกระแสโรดโชว์คึกคัก เผยนักลงทุนไทยสนใจลงทุนหุ้นกู้วงเงิน 17,500 ล้านบาท เตรียมขายผ่าน 5 แบงก์ กรกฎาคมนี้

บริษัท ผลิต-ไฟฟ้าลาว มหาชน (EDL-GEN) ปลื้มนักลงทุนไทยให้การตอบรับคึกคัก หลังการโรดโชว์ต่อนักลงทุนสถาบัน นำเสนอข้อมูลการระดมทุน ด้วยการออกหุ้นกู้สกุลเงินบาท วงเงินไม่เกิน 17,500 ล้านบาท เตรียมกำหนดรายละเอียดการเสนอขายพร้อมผลตอบแทนจากการลงทุนต้นเดือนกรกฎาคมนี้ โดยมี 5 แบงก์เป็นผู้ร่วมจัดการการจัดจำหน่าย มั่นใจกระแสตอบรับดี ด้วยความมั่นคงของบริษัทฯ และโอกาสในการเติบโต ชี้ธุรกิจหลักที่มุ่งเน้นด้านพลังงานทำให้ EDL-GEN เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ นายอดิศร วสุคุปต์ สิงห์สัจจะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทวิน ไพน์ กรุ๊ป จำกัด ผู้บุกเบิกด้านการระดมทุนข้ามพรมแดน ด้วยการเป็นที่ปรึกษาให้กับกิจการในกลุ่มประเทศ CLMV ที่ต้องการระดมทุนในประเทศไทย ในฐานะที่ปรึกษา (Sole Advisor) ของบริษัท ผลิต-ไฟฟ้าลาว มหาชน หรือ EDL-GEN เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้จัดโรดโชว์เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ EDL-GEN รวมถึงแผนการระดมทุนด้วยการออกและเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินบาท อันดับความน่าเชื่อถือ BBB+ จากทริสเรทติ้ง วงเงินไม่เกิน 17,500

Read More

พลังงานทดแทน ภาระหรือตัวช่วย?

ข่าวการส่งสัญญาณทบทวนนโยบายพลังงานทั้งระบบของ ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งได้ส่งแรงสั่นสะเทือนต่ออุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ที่ก่อนหน้านี้ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วจากผลการส่งเสริมของภาครัฐให้ต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันไปโดยปริยาย ขณะเดียวกันกรณีดังกล่าวยังเป็นภาพสะท้อนวิถีทางความคิดว่าด้วยพลังงานของรัฐไทย ที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่า นิยามของพลังงานทดแทนในทัศนะของกลไกผู้กำหนดนโยบายประเมินพลังงานทดแทนในฐานะที่เป็นทางเลือกตัวช่วย หรืออยู่ในฐานะที่เป็นภาระต่อทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างไร ความกังวลใจที่เกิดขึ้นกับผู้ลงทุนในโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานทดแทน เป็นผลมาจากข่าวการระงับการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งจากโรงไฟฟ้าขยะ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทน พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ที่ก่อนหน้านี้ได้รับการส่งเสริมในฐานะที่เป็นโรงไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด ภายใต้เหตุผลที่ว่าราคาการรับซื้อไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานทดแทนเหล่านี้ไม่ควรจะอยู่ในอัตราที่สูงกว่าราคาไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานหลัก และไม่ควรเป็นภาระต่อประเทศ กระทรวงพลังงานยังระบุด้วยว่า สถานการณ์ด้านพลังงานของไทยไม่ได้อยู่ในภาวะขาดแคลนไฟฟ้า และมีไฟฟ้าเพียงพอที่จะรองรับกับความต้องการใช้พลังงานในช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่เป็นโครงการใหม่ๆ ทั้งในรูปแบบโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) และโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) เพิ่มเติม ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานระบุว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา มีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบ 7,529 เมกะวัตต์ จากผู้ประกอบการ 7,083 ราย แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 189 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวมวล 3,202 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวภาพ 377 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

Read More