Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 17)

วัคซีนต้านโควิด-โรงพยาบาลสนาม ความหวัง ความพร้อม และการจัดการของรัฐไทย

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งถือเป็นระลอก 3 และมีการกระจายตัวในหลายกลุ่มคลัสเตอร์ เฉพาะระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน พบผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 17,000 ราย (ข้อมูลวันที่ 1-17 เมษายน 2564) ระลอกคลื่นแห่งหายนะในครั้งนี้ก่อให้เกิดคำถามอันนำมาซึ่งความขัดแย้งหลายประเด็นในสังคม การถามหาจิตสำนึกรับผิดชอบที่มีต่อสังคมส่วนรวม ไม่ว่าจะในแวดวงใดก็ตามเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อประชาชนบางส่วนยังไร้การตระหนักรู้ เมินเฉยต่อความเสี่ยงที่อาจได้รับ จนในที่สุดกลายเป็นต้นเหตุของการกระจายตัวของเชื้อไวรัสในระลอกสามที่ดูจะทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้น นอกจากนี้ สังคมยังคงตั้งคำถามไปยังภาครัฐถึงเรื่องการสั่งซื้อวัคซีนต้านโควิด-19 และความพร้อมของโรงพยาบาลสนามในหลายพื้นที่ เพื่อรองรับกรณีที่จำนวนผู้ติดเชื้อมีจำนวนสูงขึ้น แน่นอนว่าโรงพยาบาลสนามนั้นมีไว้สำหรับรองรับผู้ติดเชื้อที่อาการไม่หนักหรือไม่มีอาการ และพร้อมจะส่งต่อผู้ติดเชื้อไปยังโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนที่มีรูปแบบการรักษาที่ได้มาตรฐาน คำถามต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในโลกโซเชียล ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะขาดการสื่อสารที่ครบถ้วนจากภาครัฐเอง อีกส่วนหนึ่งอาจเกิดจากความพยายามบิดเบือนข้อมูลอันมีผลประโยชน์แอบแฝงจากฝ่ายไม่หวังดี เมื่อขาดข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนบวกกับตาชั่งที่มีบรรทัดฐานไม่เท่ากันของแต่ละคน จึงไม่น่าแปลกใจที่คนไทยจะเกิดความขัดแย้งภายใต้สถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ ทั้งที่ห้วงยามนี้น่าจะเป็นช่วงเวลาที่เรียกหาความสามัคคีให้ก่อตัวขึ้นได้ในหมู่มวลประชาชน ความจริงที่ว่า วัคซีนด้านโควิด-19 คือความหวังอันเรืองรองที่จะพลิกฟื้นวิกฤตครั้งนี้ และเป็นอาวุธสำคัญของมนุษยชาติให้เอาชนะเชื้อไวรัสได้ ประเด็นสำคัญของวัคซีนจึงเป็นเรื่องที่หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า เพราะเหตุใดประเทศไทยจึงมีการสั่งซื้อและนำเข้าวัคซีนต้านโควิด-19 ได้เพียงแค่ 2 ล้านโดส จากบริษัทซิโนแวค และจากแอสตราเซเนกาอีก 117,600 โดส เท่านั้น อีกคำถามที่ตามมาคือ การสั่งซื้อและนำเข้าวัคซีนผูกขาดอยู่แต่กับภาครัฐเท่านั้นใช่หรือไม่ เหตุใดจึงไม่อนุญาตให้บริษัทเอกชนที่มีศักยภาพจัดหาเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เมื่อวัคซีนจะเป็นตัวแปรสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอันนำไปสู่การเปิดประเทศในที่สุด พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตอบข้อสงสัยของคำถามดังกล่าวหลังจบการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 เมษายน

Read More

“หนังสือ” เพื่อนที่ดีที่สุด ที่ใครหลายคนอาจลืม

งานสัปดาห์หนังสือครั้งที่ 46 ที่จัดขึ้นเมื่อ 3 ปีก่อน คงจะเป็นช่วงเวลาในความทรงจำของคนในวงการหนังสือเลยก็ว่าได้ เมื่อเป็นปีที่เกิดปรากฏการณ์ใหม่ นั่นคือ หนังสือแนวประวัติศาสตร์ กลายเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสำหรับนักอ่าน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ชื่อดังเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ที่ปลุกกระแสรักการอ่านให้ก่อตัวขึ้น ซึ่งความนิยมของหนังสือขายดี ไม่ได้จำกัดวงอยู่เพียงแค่นวนิยายชื่อดังเท่านั้น แต่ยังขยายวงไปยังหนังสือแนวประวัติศาสตร์ ไล่เรียงไปถึงจดหมายเหตุที่บันทึกเรื่องราวสมัยกรุงศรีอยุธยา เวลานั้นกระแสดังกล่าวสร้างให้เกิดนักอ่านหน้าใหม่ขึ้นจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะนักอ่านรุ่นเยาว์ ถัดจากนั้นอีก 2 ปี เป็นปีที่โลกได้เผชิญหน้ากับความท้าทาย นั่นคือไวรัสโควิด-19 ที่เข้าเล่นงานอุตสาหกรรมที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไม่เว้นแม้แต่อุตสาหกรรมหนังสือ ที่เดิมทีก็ถูก Disrupt จากยุคดิจิทัล ซึ่งฝากบาดแผลไว้อย่างสาหัส เพราะนอกจากจะไม่สามารถจัดงานสัปดาห์หนังสือในรูปแบบ Offline เฉกเช่นเดิมได้ แต่การจัดงานในรูปแบบ Online ก็ไม่ได้รับกระแสตอบรับจากนักอ่านดีเช่นเดิม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่บีบบังคับให้ต้องระมัดระวังในการจับจ่าย ผู้คนจำนวนมากตัดสินใจตัดงบการซื้อหนังสือออก เมื่อยังมีความไม่แน่นอนที่เป็นผลมาจากการชะลอทางเศรษฐกิจ กระนั้นอุตสาหกรรมหนังสือและผู้คนที่อยู่ในแวดวง ยังคงมุมานะ และเดินหน้าทำงานกันต่อไป ด้วยการเสาะแสวงหาต้นฉบับแห่งการสร้างสรรค์ ที่จะเพิ่มพูนความรู้ ความบันเทิงให้แก่นักอ่านต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ หากจะกล่าวว่า ไม่ว่าสถานการณ์ใด “หนังสือจะยังคงเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์” ก็คงไม่ผิดนัก การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่มีวิวัฒนาการล้ำหน้าในหลายมิติ ส่งผลโดยตรงต่อวิถีชีวิตของเรา ก่อนที่ดิจิทัลจะมีอิทธิพลต่อเราเฉกเช่นทุกวันนี้ มือของใครหลายคนมักจะมีหนังสือให้ถืออยู่บ่อยครั้ง หลายคนเลือกหนังสือเป็นเครื่องมือในการใช้เศษเวลา ในขณะเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ

Read More

ฟังเสียงหัวใจตัวเองบ้าง แล้วจะมีความสุขขึ้น

โลกอินเทอร์เน็ตขยายอิทธิพลเข้ามาในชีวิตประจำวันของมนุษย์ในทุกช่วงเวลา ตั้งแต่ตื่นลืมตา กระทั่งหลับตานอนอีกครั้งในยามราตรี จนทำให้เราแทบจะตัดขาดจากโลกโซเชียลไม่ได้ บางคนใช้เวลาอยู่กับโลกโซเชียลนานเกินไปจนความรู้สึกนึกคิดที่เป็นของตัวเองอย่างแท้จริงได้ถูกครอบงำ หรือรูปแบบวิถีชีวิตถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เดิมทีมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่หาความรื่นรมย์ในชีวิตด้วยการดื่มด่ำกับกลิ่นกรุ่นของกาแฟยามเช้า เดินสำรวจต้นไม้ในสวนหลังบ้าน มือหนึ่งถือแก้วกาแฟที่ยังมีควันลอยฟุ้งส่งกลิ่นกาเฟอีนปลุกให้เราตื่นตัว อีกมือถือกรรไกรตัดกิ่ง คอยเล็ม ริด ใบไม้ที่แห้งเหี่ยวโรยราออกจากต้น ทว่า ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีเจริญรุดหน้าแบบก้าวกระโดด ความรื่นรมย์ในยามเช้าเปลี่ยนไปจากเดิม กาแฟแก้วโปรดถูกจับคู่กับโทรศัพท์มือถือที่ตอบรับสัญญาณของโลกออนไลน์ตัวแปรสำคัญที่นำพาให้เราหลุดจากโลกแห่งความเป็นจริง และสร้างความบันเทิงจากเรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดลงในโลกอินเทอร์เน็ต ทั้งความขัดแย้ง ปมดราม่าของผู้คนจากหลากหลายวงการ การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยทำให้ผู้คนจำนวนมากไม่สามารถอยู่กับตัวเองได้ และแทบไม่เคยฟังเสียงตัวเอง เสียงหัวใจ หรือแม้แต่เสียงลมหายใจของตัวเอง บ่อยครั้งที่เราปล่อยความคิดของตัวเองให้เอนเอียงไปกับมายาคติของโลกออนไลน์ ปล่อยให้ตัวเองถูกชักจูงได้ง่ายขึ้น น่าแปลกที่คนแปลกหน้าเหล่านี้สร้างอิทธิพลต่อเราขึ้นมาจากตัวอักษรที่ลอยเคว้งอยู่กลางอากาศที่มีเพียงช่องสัญญาณอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมต่อเท่านั้น หลายคนแทบไม่รู้ตัวเองเลยว่า การปล่อยให้มายาภาพเหล่านี้เข้ามามีอิทธิพลในความคิดเรานั้น เราเหลือความสุขที่แท้จริงน้อยลง แต่เรากลับคิดเป็นจริงเป็นจังกับทัศนะที่เปิดเผยเพียงด้านเดียวบนโลกออนไลน์ แม้โลกคู่ขนานใบนี้จะมีความเป็นจริงอยู่บ้าง ทว่า อีกมิติของโลกใบดังกล่าวก็อัดแน่นไปด้วยมายาลวงเช่นกัน ความสุขของเราถูกลดทอนให้น้อยลง ความเครียดสะสมมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง พื้นที่ส่วนตัวลดลง แม้กระทั่งเราเห็นคุณค่าของตัวเอง และคนรอบข้าง คนในครอบครัวน้อยลง จะดีกว่าไหม ถ้าเราสร้างสมดุลระหว่างโลกแห่งความเป็นจริง และการใช้ประโยชน์จากโลกคู่ขนานที่เรียกว่า “โซเชียลมีเดีย” ให้เกิดขึ้น เริ่มจากการปิด เปิดโลกออนไลน์ให้เป็นเวลา เพื่อสร้างเวลาส่วนตัวอย่างแท้จริง ในเมื่อเราฟังเสียงจาก “คนอื่น” มามากมาย แล้วเพราะอะไรเราจะหยุดและฟังเสียงของตัวเองบ้างไม่ได้ ตื่นนอนตอนเช้า ใช้เวลากับการจิบกาแฟ ทอดสายตาไปกับต้นไม้ใบหญ้า สีเขียวของใบไม้ และสีสันของดอกไม้จะช่วยให้สายตาของเราได้พักผ่อน หลับตาลง ปล่อยให้สรรพเสียงเดินทางเข้าสู่โสตประสาทเราอย่างช้าๆ

Read More

สงกรานต์ ’64 กับโควิดระลอก 3 ความซบเซาที่มาพร้อมความตระหนก

อีกปีที่เทศกาลสงกรานต์ของไทยจะดำเนินไปด้วยรูปแบบวิถีใหม่ หรือ New Normal เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทยระอุขึ้นอีกครั้ง และครั้งนี้อาจดับฝันของบรรดาผู้ประกอบการเลยก็ว่าได้ ก่อนหน้านี้ภาครัฐประกาศเพิ่มวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่ 12-15 เมษายน โดยมีเป้าประสงค์ให้เกิดการจับจ่ายของภาคประชาชนในช่วงเวลาดังกล่าวมากขึ้น ผู้ประกอบการแบกความหวังและรอคอยให้เทศกาลแห่งความสุขนี้เดินทางมาถึงโดยเร็ว เพราะนั่นหมายถึงช่วงเวลาที่สามารถคาดหวังรายได้ที่จะเข้ามา ทว่า เพียงแค่พริบตาเดียว ความหวังที่ว่าดูเหมือนจะหลุดลอยและแทบจะสูญสลายไป หลังจากพบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอก 3 เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายน ต้องยอมรับว่าด้านสาธารณสุขของไทยสามารถควบคุมวงการแพร่ระบาดให้อยู่ในพื้นที่จำกัดได้ เหมือนที่เคยทำมาได้แล้วในการระบาดครั้งแรกและครั้งที่สอง ทว่า ครั้งนี้อาจสร้างความตระหนกให้แก่ประชาชนมากพอสมควร เมื่อการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 นี้ กระจายอยู่ในหลายวงการ เช่น กลุ่มพริตตี้-พีอาร์ กลุ่มศิลปิน-นักแสดง กลุ่มนักการเมือง และวงการแพทย์ ซึ่งหมายความว่าประชาชนทั่วไปอาจมีอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากขึ้น สิ่งที่ตามมาจากการระบาดระลอก 3 คือ บรรยากาศในช่วงสงกรานต์ที่หลายคนคาดหวังว่าจะคึกคักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการท่องเที่ยวและการจับจ่าย อาจจะเงียบเหงาและซบเซากว่าเดิม เหตุการณ์ในครั้งนี้อาจเป็นตัวแปรสำคัญของการได้มาซึ่งรายได้ในอนาคตของประชาชน ไม่ว่าจะในฐานะของผู้ประกอบการหรือบุคคลทั่วไป แน่นอนว่าตัวเลขรายได้เป็นเหตุผลสำคัญของการระมัดระวังการใช้จ่าย โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ค่าใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้เฉลี่ยต่อคนอาจอยู่ที่ 5,700 บาท (คำนวณที่วันหยุดเฉลี่ย 6 วัน) ส่งผลให้เม็ดเงินใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2564 รวมน่าจะอยู่ที่ 24,000

Read More

หนี้ครัวเรือน’63 สูง เงินเฟ้อมีนา’64 ติดลบ ข่าวร้ายและดีของเศรษฐกิจไทย

สถานการณ์โควิดในปัจจุบันคล้ายเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า เชื้อไวรัสตัวร้ายจะยังคงอยู่บนโลกนี้ไปอีกระยะหนึ่ง ตราบใดที่วัคซีนยังไม่ถูกแพร่กระจายและฉีดให้ประชากรอย่างทั่วถึงในเวลาอันรวดเร็ว แน่นอนว่าสัญญาณดังกล่าวย่อมส่งผลต่อเนื่องมายังเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก แม้ว่าฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจบางตัวจะทำงานได้เกือบเต็มประสิทธิภาพแล้วก็ตาม แต่นั่นยังไม่อาจพลิกฟื้นสถานการณ์ที่เคยตกต่ำให้ฟื้นคืนได้ในทันที วิกฤตดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทย และภาพสะท้อนที่บอกว่าเศรษฐกิจไทยอ่อนแอเป็นทุนเดิมก่อนโควิด-19 จะมาถึง และถูกฤทธิ์ไวรัสเข้าเล่นงาน คือ ตัวเลขจีดีพีในปี 2563 ที่หดตัว -6.1% ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำสุดในรอบ 22 ปี นับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ขณะที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ว่าจีพีดีปี 2564 จะขยายตัวอยู่ที่ 2.5-3.5% ซึ่งนั่นเป็นการคาดการณ์ตามกรอบและเงื่อนไขของการระบาดระลอกใหม่เมื่อช่วงต้นปี ทว่า เมื่อเริ่มต้นไตรมาส 2/2564 สถานการณ์โควิดในไทยเริ่มสร้างความหวาดวิตกให้แก่ประชาชนอีกครั้ง ด้วยการพบกลุ่มคลัสเตอร์ใหม่ และกระจายอยู่ในหลายวงการ เช่น วงการแพทย์ วงการบันเทิง การเมือง กลุ่มพริตตี้ เซเลบ ไฮโซ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความชะล่าใจของผู้คนในสังคม เมื่อได้รับรู้ถึงการมาถึงของวัคซีนโควิด-19 และเริ่มมีการฉีดให้กับกลุ่มคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง กระนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังออกโรงเตือนอย่างต่อเนื่องว่า แม้จะได้รับวัคซีนแล้ว แต่ยังต้องหมั่นล้างมือ และสวมใส่หน้ากากอนามัยอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุดไตรมาส 4/2563 บ่งชี้ว่า หนี้ครัวเรือนของไทยปิดสิ้นปี 2563 ด้วยจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 18 ปี โดยระดับหนี้ครัวเรือนทะลุ 14

Read More

ส่งออกไทยปี 64 สดใส? จับตาตลาดโลกฟื้นตัว

ข่าวเรือขนส่งสินค้า Ever Given ที่ติดอยู่ในคลองสุเอซ และส่งผลกระทบต่อการเดินเรือจำนวนมาก สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความวิตกกังวลให้ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะใช้เวลาในการคลี่คลายนานเท่าไร และสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจมากน้อยเพียงใด ทว่า ในที่สุดเรือ Ever Given ก็สามารถกลับมาเดินเรือได้เป็นปกติ และตอนนี้อยู่ระหว่างหาสาเหตุที่ทำให้เรือติดริมตลิ่ง การที่เรือ Ever Given ขวางคลองสุเอซอยู่นั้นส่งผลต่อการค้าโลก และแน่นอนว่าภาคการส่งออกไทยได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน โดยตลาดยุโรปเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยที่ใช้เส้นทางผ่านคลองสุเอซ ซึ่งไทยส่งสินค้าไปยุโรปปีละไม่น้อยกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ สัดส่วนประมาณ 9% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย และเป็นตลาดส่งออกหลักอันดับ 4 ของไทย รองจากสหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น โดยในแต่ละเดือนสินค้าไทยส่งออกไปยังตลาดยุโรปมีมูลค่าประมาณ 1,500-2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสินค้าส่งออกที่ผ่านเส้นทางนี้ได้แก่ อาหารสด เช่น ไก่แปรรูป โดยไทยส่งออกในรูปแช่เย็นแช่แข็ง และพึ่งพาตลาดยุโรปอย่างมากถึง 30% ของการส่งออกไก่แปรรูปทั้งหมดของไทย นอกจากนี้ ยังมีสินค้าฟุ่มเฟือยไม่ต่ำกว่า 40% อาจกล่าวได้ว่ายุโรปเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อที่แข็งแกร่งอย่างมาก โดยสินค้าไทยแต่ละรายการพึ่งพาตลาดยุโรปพอสมควร โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศพึ่งพาตลาดยุโรป 20% รถยนต์และส่วนประกอบ 5.2% รถจักรยานยนต์

Read More

หลุมพรางของโซเชียลมีเดีย อิทธิพลด้านลบที่เกิดกับผู้ใช้งาน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า เราได้ก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างเต็มตัวแล้ว เมื่อรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนในปัจจุบันไม่อาจตัดขาดโลกโซเชียลมีเดียได้ เมื่อเหล่าวิศวกรผู้ออกแบบ นักพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือโปรแกรมเมอร์ ได้ย่อส่วนและรวบรวมความสะดวกสบายมาไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แม้โลกโซเชียลจะมีข้อดีนานัปการ ทั้งการย่นระยะทางการสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่คนละฟากฝั่งโลกให้เหมือนอยู่ใกล้กัน มีส่วนสำคัญในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ทว่า อีกด้านหนึ่งที่เหล่านักพัฒนาไม่ได้สร้างไว้คือ เครื่องมือป้องกันกับดักหรือหลุมพรางที่เกิดขึ้นในโลกคู่ขนานแห่งนี้ เพราะปัจจุบันโลกเสมือนที่ว่า ไม่เพียงแต่มีข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นไปในสังคม อีกแง่มุมหนึ่งคือ มีข่าวสารปลอมว่อนอยู่ทั่วทุกซอกมุมบนโลกอินเทอร์เน็ต มิติด้านบวกที่สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่ชาญฉลาดคือ ค้นคว้าหาข้อมูล สำหรับการวิเคราะห์ แยกแยะ และประมวลผลด้วยมันสมองของแต่ละบุคคล ภายใต้พื้นฐานการหาข้อเท็จจริง ขณะที่มิติด้านลบ คือ สร้างข้อมูลและปั่นกระแสเพื่อให้ผู้ใช้งานบางส่วนเชื่อข้อมูลเหล่านั้นโดยปราศจากการวิเคราะห์ใดๆ นี่อาจเป็นหลุมพรางที่เกิดในโลกโซเชียล แน่นอนว่า ส่วนหนึ่งมาจากกรอบความเชื่อเดิมที่เป็นเสมือนรากเหง้าในอุดมคติของแต่บุคคล อันนำมาสู่การ “เลือก” และ “คลิก” เพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลนั้นๆ กำเนิดผู้พิพากษาบนโลกโซเชียล อิทธิพลในแง่ลบที่ตามมาหลังจากหลุมพรางของโซเชียลเริ่มทำงานคือ เปลี่ยนผู้คนให้กลายเป็นประหนึ่งผู้พิพากษาทางสังคมภายในเวลาอันรวดเร็ว หลายต่อหลายครั้งที่ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย มักตัดสินชีวิตของบุคคลอื่นจากข้อมูลที่ปรากฎอยู่บนโลกออนไลน์ ความง่ายดายของการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้งานแชร์ข้อมูลเดิมๆ ซ้ำๆ พร้อมกับความคิดเห็นแบบเปิดเผยที่ขาดการตระหนักถึงผลที่จะตามมาต่อชีวิตผู้อื่น เพียงเพราะ “เห็นเขาแชร์กัน” และต้องการที่จะมีส่วนร่วมในกระแสสังคมในขณะนั้น ท้ายที่สุดความจริงปรากฏและพบว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการเข้าใจผิดของบุคคลเพียงไม่กี่คน เราจะพบวลีซ้ำซากที่บ่งบอกถึงความมักง่ายอันไร้สามัญสำนึกว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” อ่านน้อยลง พาดหัวยืนหนึ่ง หลุมพรางของโซเชียลมีเดียที่สร้างอิทธิพลแง่ลบ ไม่ได้มีเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ผู้ใช้งานจำนวนไม่น้อย กลายเป็นนักอ่านที่มีโควตาไม่เกิน 2 บรรทัด แม้ว่าหลายปีก่อน จะมีคำพูดว่า

Read More

เทรนด์คนรักสุขภาพโต บีเจ รีไวฟ์ เซลล์ ส่งผลิตภัณฑ์ใหม่บุกตลาด

การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ประชาชนใส่ใจสุขภาพตัวเองมากขึ้น ทั้งการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพิจารณาข้อมูลโภชนาการหลังผลิตภัณฑ์มากขึ้น หรือการเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและวิตามิน สวนดุสิตโพลเผยผลสำรวจ พบว่าประชาชนไทยหันมาใส่ใจกับสุขภาพเพิ่มขึ้น 45.39 เปอร์เซ็นต์ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคเป็นปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทิศทางตลาด หากพิจารณาจากมูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปี 2562 ที่มีมูลค่าสูงถึง 20,876 ล้านบาท และการคาดการณ์ของ Euromonitor International ระบุว่าปี 2563 การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบสังคมที่นำไปสู่วิถี New Normal อาจส่งผลให้มูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไทยสูงถึง 23,916 ล้านบาท แม้ว่าไวรัสโคโรนาจะสร้างหายนะให้แก่ธุรกิจจำนวนมาก ทว่า ธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่โตสวนกระแสอย่างมีนัยสำคัญ เห็นได้จากมีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่มองเห็นโอกาสและโดดเข้ามาเล่นในตลาดนี้ ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ในปี 2560 ระบุว่า ผู้ประกอบธุรกิจอาหารเสริมของไทยที่จดทะเบียนพบว่า มีรายได้รวมอยู่ที่ 8.7 หมื่นล้านบาท มีผู้ประกอบการจำนวนกว่า 6,300 ราย โดยเจ้าตลาดเป็นของผู้ประกอบการรายใหญ่เพียง 10 ราย ซึ่งกินส่วนแบ่งตลาดไปแล้วกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแบ่งตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล เป็นความหอมหวานที่ใครๆ ก็ต้องการที่จะเข้าฟาดฟันและแย่งชิง เพราะช่วงเวลานี้ดูจะเหมาะสมที่สุดในการคลุกวงในธุรกิจนี้ จึงไม่น่าแปลกใจหากเราจะได้เห็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเปิดตัวในตลาดนี้มากขึ้น ล่าสุด รมิดา รัสเซลล์

Read More

สรรพเสียงจากธรรมชาติ บำบัดจิตใจ ฟื้นฟูร่างกาย

ปัจจุบันนับเป็นยุคทองของอินเทอร์เน็ต ผู้คนใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านทางโลกโซเชียลมีเดีย ก้มหน้าและฝังตัวอยู่กับโลกเสมือนที่ถูกย่อส่วนลงมาในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เราตอบสนองต่อสิ่งเร้าทั้งที่เราเป็นผู้กำหนดความอยากรู้นั้นเอง และจากความคาดหวังของผู้คนรายล้อมรอบตัว บ่อยครั้งที่สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นจนเกินความพอดี และสะสมจนก่อให้เกิดความเครียดทีละเล็กทีละน้อย จนกลายเป็นอาการป่วย หรือโรคเครียด คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตผ่านทุกอุปกรณ์ 9 ชั่วโมง 1 นาทีต่อวัน สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก อีกข้อมูลที่น่าสนใจคือ ผลสำรวจจาก บมจ. ซิกน่า ประกันภัย พบว่า ไทยเป็นประเทศที่มีความเครียดสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก จากทั้งหมด 23 ประเทศที่ทำการสำรวจ โดยมีคนไทยถึง 91 เปอร์เซ็นต์ยอมรับว่าตัวเองมีความเครียด ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 84 เปอร์เซ็นต์ และที่แย่ไปกว่านั้น มีอยู่ประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า ความเครียดที่ตัวเองกำลังเผชิญอยู่เกิดจากสาเหตุใด ซึ่งทำให้ไม่สามารถจัดการและรับมือกับความเครียดได้ การใช้ชีวิตของคนไทยในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่ในบ้านมากกว่าอยู่นอกบ้าน และนั่นทำให้เราใช้เวลาอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ตมากกว่าโลกแห่งความเป็นจริง ผลคือ แม้เราจะใช้เวลาในช่วงวันหยุดเพื่อพักผ่อนอยู่กับบ้าน ทว่า เรายังไม่ได้ปลดปล่อยตัวเองออกจากโลกที่อุดมไปด้วยความเครียด ความกดดัน และยิ่งห่างไกลจากธรรมชาติมากขึ้นไปด้วย ผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถสลัดตัวเองให้หลุดจากความเครียดที่เกาะกินจิตใจได้ อาจเพราะเข้าใจว่า การที่จะหลีกหนีให้พ้นจากภาวะความเครียดได้จำเป็นต้องออกเดินทางไปหาธรรมชาติ แน่นอนว่าหากสามารถทำได้คงจะดีไม่น้อย

Read More

แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 13 พุ่งเป้าเศรษฐกิจมูลค่าสูง สังคมเสมอภาค

ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอตัวลง นับตั้งแต่ชาวโลกได้ทำความรู้จักเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มากว่า 1 ปี แต่ละประเทศมีภารกิจสำคัญที่ต้องดำเนินการแก้ไขให้สถานการณ์อยู่ภายใต้การควบคุม พร้อมกับที่ต้องหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการระบาดของเชื้อไวรัส เช่นเดียวกับประเทศไทยที่นอกจากความพยายามควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัดแล้ว ขณะเดียวกันคือการออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนในประเทศให้ผ่านพ้นช่วงเวลาอันยากลำบากด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก นับเป็นเป้าหมายสำคัญเพราะนั่นเป็นหนทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับมหภาคอย่างยั่งยืน แม้ว่าภาครัฐจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมาหลายโครงการ แต่ต้องยอมรับว่าปัญหาเศรษฐกิจที่ไทยกำลังประสบอยู่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะดำเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาอันสั้น ตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจคือ วัคซีนถูกกระจายและฉีดให้ประชาชนอย่างทั่วถึง การเกิดการระบาดระลอกใหม่และแนวทางการรับมือของภาครัฐ รวมไปถึงการประคับประคองเศรษฐกิจในปัจจุบัน ด้านสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2565) ที่จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2565 โดยแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เป็นเสมือนก้าวที่ 2 ของการวางรากฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาวตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สาระของกรอบแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มีเป้าหมายเพื่อพลิกโฉมประเทศไทยสู่เศรษฐกิจสร้างคุณค่าสังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน โดยสิ่งที่ต้องทำคือ การเปลี่ยนผ่านประเทศหรือ การ Transform ประเทศใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ การเปลี่ยนผ่านจากเศรษฐกิจฐานทรัพยากรไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและองค์ความรู้ หรือการมุ่งสู่เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีเป้าหมายให้เศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูง บนพื้นฐานของการสร้างมูลค่าเพิ่ม จากการพัฒนาต่อยอดและใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

Read More