Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 16)

ค่า GP ของ Food Delivery ทางรอด ความหวัง หรือการซ้ำเติม

จากมาตรการของภาครัฐที่มีเป้าประสงค์ที่จะสกัดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ให้ทวีความรุนแรงมากขึ้น เป็นผลให้ร้านค้า ร้านอาหาร ไม่สามารถเปิดให้ผู้บริโภคเข้ามานั่งรับประทานอาหารภายในร้านได้ ทำได้เพียงการบริการซื้อกลับบ้าน เหตุผลดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องมองหาช่องทางอื่นในการจำหน่ายอาหาร เพียงหวังให้มีรายได้เพิ่มขึ้น แม้เม็ดเงินที่จะเข้ามาอาจไม่เท่ากับช่วงเวลาในสถานการณ์ปกติ Food Delivery จึงเป็นทางออกที่ดูจะเหมาะเจาะกับสถานการณ์อันยากลำบากนี้ บริษัทผู้พัฒนาแอปพลิเคชันจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทย โดยมุ่งหวังจะเข้ามาเป็นตัวกลางระหว่างร้านอาหารและผู้บริโภค แม้เข้ามาดำเนินธุรกิจอยู่ในไทยได้ระยะหนึ่งแล้วก็ตาม ทว่า ยังไม่สามารถสร้างความนิยมได้มากนักในช่วงแรก ทั้งจากการที่ยังมีร้านค้าเข้าร่วมใช้บริการไม่มากนัก รวมไปถึงข้อจำกัดของเส้นทางการขนส่ง และพนักงานขับรถส่งอาหารยังมีไม่มากพอ ปัจจุบัน Food Delivery แอปพลิเคชันแทบจะกลายเป็นแอปพลิเคชันพื้นฐานที่ปรากฏอยู่บนอุปกรณ์สื่อสารของคนไทย และช่วงเวลาที่สถานการณ์อันเลวร้ายที่สร้างข้อจำกัดการเข้าถึงร้านอาหารของผู้บริโภคในการนั่งรับประทานอาหารภายในร้าน นับตั้งแต่ที่โคโรนาไวรัสระบาดในไทยตั้งแต่ต้นปี 2563 หากพูดถึงในแง่มุมของผลประโยชน์ที่ร้านอาหารจะได้จากการเข้าร่วมแอป นั่นคือ Food Delivery แอปพลิเคชัน เป็นเสมือนเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ร้านอาหาร ร้านค้า มีโอกาสสร้างรายได้ในช่วงเวลาวิกฤตเพิ่มขึ้น เจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวที่ใช้บริการแอปพลิเคชันส่งอาหารถึงสองค่ายบอกกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ว่า “ถึงจะโดนหักค่าคอมมิชชั่นที่ค่อนข้างสูง แต่ก็ต้องยอม อย่างน้อยก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เราจะมีรายได้เพิ่มขึ้น ในเมื่อเราเห็นว่าช่องทางนี้สร้างรายได้แน่ๆ ทำไมจะไม่ทำล่ะ ถึงเวลาที่เราต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง” ขณะที่ร้านอาหารขนาดเล็กหรือร้าน Street food หลายร้านคล้ายกับถูกกระแสความนิยมของแอปพลิเคชัน Food Delivery เข้ามาแผ่อิทธิพล ซึ่งมีตัวเลขรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาเป็นแรงจูงใจ กระทั่งตัดสินใจเข้าร่วมเป็นผู้ใช้บริการในระยะแรก ทว่า

Read More

คลัสเตอร์โควิดในกลุ่มแรงงาน ส่งผลร้ายต่อธุรกิจ เศรษฐกิจไทย

การติดเชื้อไวรัสโคโรนาระลอกสาม ดูเหมือนจะขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ทั้งแรงงานชาวไทย และแรงงานข้ามชาติ มีความเป็นไปได้ว่าสาเหตุที่ส่งผลให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในกลุ่มแรงงานเกิดได้ง่ายขึ้น อาจมาจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด สถานที่ทำงานหรือที่พักที่ยังขาดมาตรฐานการเฝ้าระวังทางสาธารณสุข ปัจจุบันเกิดคลัสเตอร์ผู้ติดเชื้อทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยจำนวนผู้ติดเชื้อจากคลัสเตอร์ทั้งหมดในระลอกนี้หลายพันคน ซึ่งเกิดขึ้นในคลัสเตอร์คนงานก่อสร้างรัฐสภา คลัสเตอร์คนงานก่อสร้าง บ. แสงฟ้า เขตบางพลัด คลัสเตอร์โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าทุ่งครุ คลัสเตอร์แคมป์คนงานก่อสร้าง จ.นนบุรี คลัสเตอร์โรงงานอาหารทะเลกระป๋อง จ.สมุทรปราการ คลัสเตอร์คนงานบริษัทแคลคอมพ์ จ.เพชรบุรี และคลัสเตอร์โรงงานปลากระป๋อง จ.สงขลา สถานการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลต่อภาคการผลิต ธุรกิจและเศรษฐกิจไทยไม่น้อย เมื่อไทยเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาแรงงานทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติที่เป็นฐานรากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย จำนวนผู้ติดเชื้อที่เกิดขึ้นในกลุ่มก้อนแรงงานต่างๆ ส่งผลให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงักเป็นการชั่วคราว จนกว่าสถานการณ์ผู้ติดเชื้อในพื้นที่ หรือในโรงงานนั้นๆ ลดลงจนถึงจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์ ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อปี 2563 ระบุว่า ปัจจุบันไทยมีแรงงานที่อยู่ในระบบประมาณ 37 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครประมาณ 5.3 ล้านคน นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยจากสำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน รายงานข้อมูลล่าสุดเมื่อตุลาคม 2563 พบว่า มีแรงงานต่างด้าวอนุญาตให้ทำงานทั่วราชอาณาจักร 2,482,256 คน โดยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ

Read More

สร้างเกราะเสริมภูมิ ป้องกันตัวเองจากโควิด

คนไทยเผชิญกับเชื้อไวรัสโควิด-19 มานานกว่า 1 ปี แม้เราจะรู้หลักเบื้องต้นในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส ทั้งการใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างจากบุคคลอื่น การล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ที่ทำให้เราลดความเสี่ยงการติดเชื้อได้ ทว่า ประการสำคัญที่เราควรหันกลับมาใส่ใจ คือ การเสริมภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้นจากภายในร่างกายตัวเอง เพราะการสร้างความแข็งแรงให้ตัวเองนั้นเป็นเกราะชั้นดีที่จะทำให้เราปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ด้วยวิธีง่าย ๆ ที่ “ผู้จัดการ 360 องศา” รวบรวมมา ได้แก่ ห่างจากภาวะความเครียด มีงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องความเครียด ที่ระบุว่า เมื่อคุณประสบกับสภาวะเครียดเพียงแค่ 4 นาที ภูมิในร่างกายของคนเราจะตกไปนาน 4-6 ชั่วโมง อย่าเอาตัวเองเข้าไปอยู่กับสิ่งที่บั่นทอนกำลังใจ หรือความเศร้า วิธีง่ายๆ ที่ทำได้ในช่วงนี้คือ หาหนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจ เรื่องราวที่ชวนให้คิดบวก ภาพยนตร์หรือซีรีส์แนวตลก เฮฮา ที่ทำให้เราได้หัวเราะ ได้ยิ้มบ่อยๆ เมื่อเราเครียดร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนที่ชื่อคอร์ติซอลออกมามากกว่าปกติ ดังนั้น เราต้องทำให้ร่างกายปล่อยฮอร์โมนตรงข้าม นั่นคือ เอ็นโดรฟิน หรือสารแห่งความสุขนั่นเอง ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเรื่องเครียดได้ เช่น การทำงานที่เคร่งเครียด เร่งรีบ ความวิตกกังวลต่อสภาพการเงิน เศรษฐกิจในครอบครัว อาจต้องไปปรึกษาจิตแพทย์ การนอน

Read More

ภาวะโรคอ้วน เพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตจากเชื้อโควิด

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกที่ 3 ในไทย นอกจากจะมีตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันสูงแตะหลักพันแล้ว สิ่งที่น่าเป็นกังวลอย่างยิ่งคือ อัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้น ล่าสุดผู้เสียชีวิตในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ทำนิวไฮที่ 34 ราย และเมื่อพิจารณาจากโรคประจำตัว ปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรคแล้ว ผู้ที่เสียชีวิตจากโรคโควิดส่วนใหญ่ นอกจากจะมีโรคประจำตัวอย่าง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ พบว่ามีภาวะอ้วนประกอบด้วย ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ หัวหน้าสาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยให้ข้อมูลไว้ในปี 2563 ว่า ความเสี่ยงของผู้สูงอายุและคนอ้วนกับโควิดว่า ผู้สูงอายุวัย 65 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 มากขึ้น รวมถึงผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ หรือแม้แต่โรคมะเร็ง มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่าย และเมื่อติดเชื้อแล้วทำให้โรคมีความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ง่าย นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาของสหรัฐอเมริกา พบว่า ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการติดเชื้อโควิด-19 เกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูง

Read More

โควิดระลอกสามทุบตลาดอีเวนต์ รายได้หายกว่าหมื่นล้านบาท

อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ถูกพิษโควิด-19 เล่นงานอย่างหนัก คือ ธุรกิจอีเวนต์ นับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในช่วงต้นปี 2563 และรัฐบาลประกาศใช้มาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปในวงกว้าง ในแต่ละปีตลาดธุรกิจอีเวนต์มีมูลค่าสูงกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท แม้สภาพของเศรษฐกิจไทยในช่วง 5-10 ปีหลังจะอยู่ในภาวะลุ่มๆ ดอนๆ ก็ตาม แต่ในช่วงปลายปี 2560 ธุรกิจอีเวนต์เริ่มส่งสัญญาณกลับมาคึกคักอีกครั้ง ซึ่งนั่นส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจอีเวนต์ในปี 2561 ฟื้นตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ปี 2562 มูลค่าตลาดรวมของธุรกิจอีเวนต์อยู่ที่ประมาณ 12,000 ล้านบาท ในปีนั้นแม้จะมีปัจจัยลบหลายด้านมากระทบ แต่ยังมีแนวโน้มที่สดใสต่อเนื่อง ขณะที่ปี 2563 เป็นปีที่แทบทุกอุตสาหกรรมหยุดชะงัก ในด้านของธุรกิจอีเวนต์ บริษัทออแกไนเซอร์ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ได้รับผลกระทบเนื่องจากไม่สามารถจัดงานส่งเสริมการขาย หรืองานแสดงสินค้าใดๆ ได้ ตามคำสั่งของ ศบค. ส่งผลให้รายได้หลักของผู้ประกอบการเหล่านี้หายไปกว่าครึ่ง ธุรกิจอีเวนต์เป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากรองจากธุรกิจท่องเที่ยว สถานการณ์โควิด-19 ในไทยช่วงกลางปี 2563 เริ่มผ่อนคลายลง มาตรการหลายอย่างถูกยกเลิกเพื่อให้เศรษฐกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้ บรรยากาศการจัดอีเวนต์เริ่มกลับมามีให้เห็นอีกครั้ง จนผู้ประกอบการหลายรายคาดหวังว่าบรรยากาศการจัดงานอีเวนต์จะมีมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2564 ทว่า จุดพลิกผันที่ส่งผลให้ยอดจองสถานที่จัดงานและกิจกรรม รวมไปถึงการจ้างงานของบริษัทออแกไนซ์ต้องถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด คือการระบาดระลอกสาม ที่ดูจะสร้างบาดแผลสาหัสกว่าสองครั้งที่ผ่านมา แน่นอนว่า

Read More

เทรนเนอร์ออนไลน์บูม โควิดระลอกไหนก็สยบไม่ลง

“ในวิกฤตมักมีโอกาสเสมอ” คำพูดนี้ดูจะเหมาะสมกับสถานการณ์อันยากลำบากนี้ยิ่งนัก เมื่อโลกต้องเผชิญหน้ากับเชื้อไวรัสโควิด-19 มานานกว่า 1 ปี หลายธุรกิจถูกคลื่นความร้ายกาจของไวรัสนี้กลืนกิน บางรายไม่สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้ ในขณะที่อีกหลายธุรกิจพยายามเร่งปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด วิถี New Normal คือกุญแจสำคัญของธุรกิจที่จะไปต่อได้ในช่วงเวลาอันแสนลำเค็ญ แน่นอนว่าการต่อยอดจากธุรกิจฟิตเนสแบบสาขา มาสู่รูปแบบออนไลน์ ก็เช่นเดียวกัน ธุรกิจฟิตเนสได้รับผลกระทบเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ เพราะฟิตเนสคืออีกหนึ่งสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อสูงมาก เนื่องจากผู้คนมีความใกล้ชิดกัน การหยิบจับและใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายร่วมกัน เกือบทุกประเทศออกมาตรการคำสั่งเด็ดขาดให้ฟิตเนสปิดบริการในช่วงที่มีการแพร่ระบาดหนัก แม้ว่าต่อมาจะออกมาตรการผ่อนปรนให้สามารถเปิดบริการได้ แต่ยังมีการควบคุมจำนวนผู้เข้าใช้บริการ กำหนดเวลาเปิดปิด หรือเพิ่มข้อบังคับให้ผู้ใช้บริการต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่มาออกกำลังกาย แน่นอนว่าเป็นเรื่องยากมาก เพราะสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายแล้ว จะเข้าใจได้เป็นอย่างดีว่า การใส่หน้ากากอนามัยเวลาออกกำลังกาย จะทำให้เหนื่อยเพิ่มขึ้น แม้จะปลอดภัยมากขึ้นก็ตาม เหตุผลข้างต้นอาจเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเทรนเนอร์ออนไลน์ ค่อยๆ กลับมาอยู่ในกระแสความนิยมอีกครั้ง แม้ว่าธุรกิจนี้จะมีมานานแล้วก็ตาม แต่ด้วยวิถี New Normal เป็นแรงขับเคลื่อนชั้นดี ที่เร่งเร้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เร็วขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อสถานการณ์ที่ยังไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้ว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดจะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ และกิจการฟิตเนสจะสามารถกลับมาดำเนินกิจการได้เมื่อใด ในเมื่อธุรกิจฟิตเนสยังต้องแสวงหารายได้เพื่อมารองรับกับค่าใช้จ่าย การปั้นธุรกิจเทรนเนอร์ออนไลน์ดูจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ธุรกิจเทรนเนอร์ออนไลน์ในไทยเกิดขึ้นมาสักระยะหนึ่งแล้ว และได้รับความนิยมไม่น้อย แม้จะเป็นเพียงลูกค้ากลุ่มเล็กๆ ก็ตาม แต่ด้วยสถานการณ์ของธุรกิจฟิตเนสที่ไม่สามารถเปิดบริการได้เต็มรูปแบบเช่นเดิม ส่งผลให้ธุรกิจนี้สามารถต่อยอดและค่อยๆ ขยายวงกว้างมากขึ้น บางรายเริ่มต้นธุรกิจนี้ด้วยการเป็น InFluencer

Read More

โควิดระลอก 3 หายนะทางเศรษฐกิจ ธุรกิจร้านอาหารช้ำกระอัก

โลกได้พบเจอกับมหันตภัยของเชื้อไวรัสโควิด-19 นับตั้งแต่ปลายปี 2562 ในขณะที่ไทยพบการแพร่ระบาดภายในประเทศในช่วงต้นปี 2563 ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงบททดสอบการรับมือกับวิกฤตของระบบสาธารณสุขของไทยเท่านั้น แต่เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ความร้ายกาจของเชื้อไวรัสได้ขยายวงไปสู่เศรษฐกิจทั้งประเทศ ภาคการส่งออกติดลบ ภาคธุรกิจไม่มีการขยายตัว การลงทุนหยุดชะงัก ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมติดลบ เส้นกราฟอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไต่ระดับลงอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงที่ไทยสามารถควบคุมวงจรการแพร่ระบาดได้ในช่วงเวลาหนึ่ง รัฐบาลประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นหลายตัว เพื่อหวังให้เครื่องจักรทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากขับเคลื่อนไปได้ แน่นอนว่าหลังประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ บรรยากาศในหลายมิติดูมีชีวิตชีวามากขึ้น สถานการณ์ความเป็นไปในสังคมดำเนินไปตามปกติด้วยรูปแบบ New Normal ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง เมื่อมนุษย์ยังไม่อาจประกาศชัยชนะเหนือเชื้อไวรัสร้ายนี้ได้ หลายคนเริ่มยิ้มได้มากขึ้นภายใต้หน้ากากอนามัย เมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้นจากการที่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศลดลง กระทั่งเป็นศูนย์ในบางวัน และวัคซีนเดินทางมาถึงไทย พร้อมกับได้ฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในหลายพื้นที่ ทว่ารอยยิ้มอยู่ได้ไม่นาน เมื่อการติดเชื้อระลอก 3 เกิดขึ้น เส้นกราฟทางเศรษฐกิจที่กำลังกลับมาไต่ระดับสูงขึ้นอย่างช้าๆ กลับถูกดึงให้ดิ่งลงอย่างรวดเร็ว เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทวีความรุนแรงมากขึ้น ยอดผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งสูงขึ้นและทำนิวไฮอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงยอดผู้เสียชีวิตรายวันที่เพิ่มจำนวนอย่างน่าตกใจ ศบค. ประกาศยกระดับมาตรการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดงเข้ม) ประกอบด้วย 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ โดยห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 20 คน ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มให้จำหน่ายในลักษณะการนำกลับไปบริโภคที่อื่นได้เท่านั้น

Read More

วัคซีนใจภูมิคุ้มกัน ปัญหาสุขภาพจิต

แม้ว่าคนไทยจะกำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์โรคระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเวลานานกว่า 1 ปี แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า คนไทยจะไม่มีอาการวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้ เมื่อการระบาดของเชื้อไวรัสระลอก 3 ดูจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งอาจมาจากมีการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส ที่พัฒนาตัวเองให้ร้ายกาจกว่าระลอกก่อน ส่งผลให้มีการติดเชื้อกันง่ายขึ้น และความรุนแรงของโรคเข้าขั้นอันตราย สำหรับผู้คนที่มีโรคประจำตัว เมื่อระยะเวลาการเพาะเชื้อและแสดงอาการรวดเร็วขึ้น บางเคสเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่วันหลังพบเชื้อ ความรุนแรงดังกล่าวก่อให้เกิดความกังวลใจต่อผู้คนอย่างมาก ทั้งกังวลต่อความเสี่ยงที่อาจได้รับ กังวลต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่อาจจะชะลอตัวลงจากปัจจุบัน แน่นอนว่า ปัญหาความกังวลดังกล่าวย่อมส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพจิต สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “คนไทยกับโควิด-19 ระลอก 3” จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,082 คน สำรวจวันที่ 16-22 เมษายน 2564 พบว่า ประชาชนมองว่าการระบาดระลอก 3 นี้มีการแพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ อย่างรวดเร็ว ร้อยละ 74.29 ทำให้ตื่นตระหนก และวิตกกังวลมากกว่าครั้งที่ผ่านมา ร้อยละ 68.40 มองว่าระลอก 3 นี้มีความรุนแรงมากที่สุดร้อยละ 70.51 จะป้องกันตัวเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัยและล้างมือบ่อยๆ ร้อยละ 83.90 มองว่ารัฐบาลน่าจะรับมือได้

Read More

วัคซีนต้านโควิด-โรงพยาบาลสนาม ความหวัง ความพร้อม และการจัดการของรัฐไทย

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งถือเป็นระลอก 3 และมีการกระจายตัวในหลายกลุ่มคลัสเตอร์ เฉพาะระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน พบผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 17,000 ราย (ข้อมูลวันที่ 1-17 เมษายน 2564) ระลอกคลื่นแห่งหายนะในครั้งนี้ก่อให้เกิดคำถามอันนำมาซึ่งความขัดแย้งหลายประเด็นในสังคม การถามหาจิตสำนึกรับผิดชอบที่มีต่อสังคมส่วนรวม ไม่ว่าจะในแวดวงใดก็ตามเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อประชาชนบางส่วนยังไร้การตระหนักรู้ เมินเฉยต่อความเสี่ยงที่อาจได้รับ จนในที่สุดกลายเป็นต้นเหตุของการกระจายตัวของเชื้อไวรัสในระลอกสามที่ดูจะทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้น นอกจากนี้ สังคมยังคงตั้งคำถามไปยังภาครัฐถึงเรื่องการสั่งซื้อวัคซีนต้านโควิด-19 และความพร้อมของโรงพยาบาลสนามในหลายพื้นที่ เพื่อรองรับกรณีที่จำนวนผู้ติดเชื้อมีจำนวนสูงขึ้น แน่นอนว่าโรงพยาบาลสนามนั้นมีไว้สำหรับรองรับผู้ติดเชื้อที่อาการไม่หนักหรือไม่มีอาการ และพร้อมจะส่งต่อผู้ติดเชื้อไปยังโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนที่มีรูปแบบการรักษาที่ได้มาตรฐาน คำถามต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในโลกโซเชียล ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะขาดการสื่อสารที่ครบถ้วนจากภาครัฐเอง อีกส่วนหนึ่งอาจเกิดจากความพยายามบิดเบือนข้อมูลอันมีผลประโยชน์แอบแฝงจากฝ่ายไม่หวังดี เมื่อขาดข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนบวกกับตาชั่งที่มีบรรทัดฐานไม่เท่ากันของแต่ละคน จึงไม่น่าแปลกใจที่คนไทยจะเกิดความขัดแย้งภายใต้สถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ ทั้งที่ห้วงยามนี้น่าจะเป็นช่วงเวลาที่เรียกหาความสามัคคีให้ก่อตัวขึ้นได้ในหมู่มวลประชาชน ความจริงที่ว่า วัคซีนด้านโควิด-19 คือความหวังอันเรืองรองที่จะพลิกฟื้นวิกฤตครั้งนี้ และเป็นอาวุธสำคัญของมนุษยชาติให้เอาชนะเชื้อไวรัสได้ ประเด็นสำคัญของวัคซีนจึงเป็นเรื่องที่หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า เพราะเหตุใดประเทศไทยจึงมีการสั่งซื้อและนำเข้าวัคซีนต้านโควิด-19 ได้เพียงแค่ 2 ล้านโดส จากบริษัทซิโนแวค และจากแอสตราเซเนกาอีก 117,600 โดส เท่านั้น อีกคำถามที่ตามมาคือ การสั่งซื้อและนำเข้าวัคซีนผูกขาดอยู่แต่กับภาครัฐเท่านั้นใช่หรือไม่ เหตุใดจึงไม่อนุญาตให้บริษัทเอกชนที่มีศักยภาพจัดหาเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เมื่อวัคซีนจะเป็นตัวแปรสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอันนำไปสู่การเปิดประเทศในที่สุด พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตอบข้อสงสัยของคำถามดังกล่าวหลังจบการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 เมษายน

Read More

“หนังสือ” เพื่อนที่ดีที่สุด ที่ใครหลายคนอาจลืม

งานสัปดาห์หนังสือครั้งที่ 46 ที่จัดขึ้นเมื่อ 3 ปีก่อน คงจะเป็นช่วงเวลาในความทรงจำของคนในวงการหนังสือเลยก็ว่าได้ เมื่อเป็นปีที่เกิดปรากฏการณ์ใหม่ นั่นคือ หนังสือแนวประวัติศาสตร์ กลายเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสำหรับนักอ่าน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ชื่อดังเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ที่ปลุกกระแสรักการอ่านให้ก่อตัวขึ้น ซึ่งความนิยมของหนังสือขายดี ไม่ได้จำกัดวงอยู่เพียงแค่นวนิยายชื่อดังเท่านั้น แต่ยังขยายวงไปยังหนังสือแนวประวัติศาสตร์ ไล่เรียงไปถึงจดหมายเหตุที่บันทึกเรื่องราวสมัยกรุงศรีอยุธยา เวลานั้นกระแสดังกล่าวสร้างให้เกิดนักอ่านหน้าใหม่ขึ้นจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะนักอ่านรุ่นเยาว์ ถัดจากนั้นอีก 2 ปี เป็นปีที่โลกได้เผชิญหน้ากับความท้าทาย นั่นคือไวรัสโควิด-19 ที่เข้าเล่นงานอุตสาหกรรมที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไม่เว้นแม้แต่อุตสาหกรรมหนังสือ ที่เดิมทีก็ถูก Disrupt จากยุคดิจิทัล ซึ่งฝากบาดแผลไว้อย่างสาหัส เพราะนอกจากจะไม่สามารถจัดงานสัปดาห์หนังสือในรูปแบบ Offline เฉกเช่นเดิมได้ แต่การจัดงานในรูปแบบ Online ก็ไม่ได้รับกระแสตอบรับจากนักอ่านดีเช่นเดิม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่บีบบังคับให้ต้องระมัดระวังในการจับจ่าย ผู้คนจำนวนมากตัดสินใจตัดงบการซื้อหนังสือออก เมื่อยังมีความไม่แน่นอนที่เป็นผลมาจากการชะลอทางเศรษฐกิจ กระนั้นอุตสาหกรรมหนังสือและผู้คนที่อยู่ในแวดวง ยังคงมุมานะ และเดินหน้าทำงานกันต่อไป ด้วยการเสาะแสวงหาต้นฉบับแห่งการสร้างสรรค์ ที่จะเพิ่มพูนความรู้ ความบันเทิงให้แก่นักอ่านต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ หากจะกล่าวว่า ไม่ว่าสถานการณ์ใด “หนังสือจะยังคงเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์” ก็คงไม่ผิดนัก การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่มีวิวัฒนาการล้ำหน้าในหลายมิติ ส่งผลโดยตรงต่อวิถีชีวิตของเรา ก่อนที่ดิจิทัลจะมีอิทธิพลต่อเราเฉกเช่นทุกวันนี้ มือของใครหลายคนมักจะมีหนังสือให้ถืออยู่บ่อยครั้ง หลายคนเลือกหนังสือเป็นเครื่องมือในการใช้เศษเวลา ในขณะเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ

Read More