Home > Cover Story (Page 71)

ผลจาก COVID-19 ย้ำภาพเหลื่อมล้ำการศึกษาไทย

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบจำกัดอยู่เฉพาะต่อประเด็นว่าด้วยกิจกรรมทางด้านสาธารณสุข และสร้างความเสียหายให้กับระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างหนักหน่วงเท่านั้น หากแต่ในอีกด้านหนึ่งยังสะท้อนภาพความไร้ประสิทธิภาพในการกำหนดมาตรการในเชิงสังคมที่ทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยต่อยุทธศาสตร์และนโยบายที่กำหนดโดยรัฐตามมาอีกด้วย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อีกประการหนึ่งก็คือ การแพร่ระบาดของโรคนี้ส่งผลต่อระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก และทำให้รัฐบาลหลายประเทศ ประกาศปิดสถานศึกษาทั้งประเทศ มีผู้เรียนได้รับผลกระทบกว่า 1.5 พันล้านคน หรือมากกว่าร้อยละ 90 ของผู้เรียนทั้งหมด สำหรับประเทศไทยสถานการณ์การระบาดเกิดขึ้นในช่วงสถานศึกษาขั้นพื้นฐานปิดภาคเรียน โดยในช่วงต้นเดือนเมษายน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เลื่อนวันเปิดเทอมภาคเรียนที่ 1 ไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ไทยจึงมีโอกาสทบทวนบทเรียนจากต่างประเทศเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่สอดรับกับมาตรการป้องกันการระบาด พร้อมกับเตรียมมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เรียนได้รับผลกระทบจากรูปแบบการเรียนที่เปลี่ยนไป หากแต่ความเป็นไปของมาตรการด้านการศึกษาของไทยเพื่อรองรับกับการแพร่ระบาดของโรคกลับกลายเป็นภาพสะท้อนความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทั้งในมิติเชิงโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร และในมิติของเศรษฐสภาพที่หนักหน่วงของสังคมไทยให้เด่นชัดขึ้นไปอีก เพราะในขณะที่สถานการณ์ระบาดยังคงอยู่ ทำให้ระบบการศึกษาต้องปรับให้การเรียนรู้ของนักเรียนไม่ขาดช่วง การเรียนการสอนออนไลน์ที่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นทางเลือกหนึ่ง กลับดำเนินไปท่ามกลางความไม่พร้อมทั้งในมิติของบุคลากรทางการศึกษาในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ รวมถึงความต้องการสิ่งสนับสนุนจากโรงเรียนและรัฐบาลเพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ในส่วนของผู้เรียนก็พบว่ามีนักเรียนจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการเรียนการสอนออนไลน์ได้ จนนำไปสู่ข้อเรียกร้องความช่วยเหลือจากโรงเรียน และรัฐบาล ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ อย่างเร่งด่วน รวมถึงการจัดหาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและอุปกรณ์สื่อสารสำหรับนักเรียนทุกคน ข้อมูลของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) บ่งชี้ว่าประเทศไทยมีข้อจำกัดในการเรียนทางไกลค่อนข้างสูง โดยสัดส่วนของครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนี้ การสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติยังสะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำสูงในการเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัล โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีฐานะยากจน และครัวเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีนักเรียนกว่า 8 หมื่นคนอยู่ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ดังนั้น

Read More

ฟื้นฟู การบินไทย ทางเลือกเพื่ออยู่รอด?

การตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่นำไปสู่มติยกเลิกแผนฟื้นฟูตามมติเดิมของ คนร. เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563 และนำเสนอแผนใหม่ในการประชุม คนร. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา ภายใต้แนวทางการนำการบินไทย เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลายของไทย เพราะเห็นว่า หากยังยึดแนวทางแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ จะไม่เปลี่ยนอะไรมาก จึงหันมาเปลี่ยนวิธีในการแก้ปัญหา กลายเป็นจังหวะก้าวสำคัญที่สั่นสะเทือนสถานภาพของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการอุ้มชูจากรัฐมาอย่างยาวนานไปโดยปริยาย เพราะการแก้ไขปัญหาตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลายครั้งนี้ จะทำให้การบินไทยพ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจไปเลย ไม่ใช่แค่ลดชั้นเป็นรัฐวิสาหกิจระดับ 3 เพื่อให้การดำเนินงานคล่องตัวและลดทอนอำนาจของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ขององค์กรแห่งนี้ลง ข้อเท็จจริงก่อนนำมาสู่ทางเลือกเพื่อความอยู่รอดครั้งนี้เกิดขึ้นจากเหตุที่ว่าการเพิ่มเงินจากการคํ้าประกันเงินกู้ของกระทรวงการคลัง หรือหาเงินทุนเพื่อมาลงทุนเพิ่มสำหรับการบินไทยภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันดูจะเป็นสิ่งที่ยากลำบากและไม่สอดรับกับความเป็นไปในธุรกิจการบินที่กำลังเผชิญกับอุปสรรค ทางออกว่าด้วยการฟื้นฟูการบินไทยภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องมีขั้นตอนทำไปพร้อมกับการปรับโครงสร้างผู้บริหารการบินไทย เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้จึงดูจะเป็นแนวทางที่เป็นไปได้มากกว่า สถานะของการบินไทย ณ สิ้นปี 2562 มีภาวะขาดทุนสะสม 19,383.39 ล้านบาท มีภาระหนี้สินรวม 244,899.44 ล้านบาท มีสินทรัพย์อยู่ 256,664 ล้านบาท ขณะที่การมีเครื่องบินจอดทิ้งรอขายอยู่หลายลำอาจทำให้สินทรัพย์ด้อยค่าลงไปมาก ทำให้มีส่วนของผู้ถือหุ้นเหลือเพียง 11,765.11 ล้านบาท ถ้าคิดเป็นอัตราส่วนของหนี้สินต่อทุน (D/E ratio) คือ 20.81:1 หมายความว่ามีภาระหนี้สูงกว่าส่วนของทุนมาก ซึ่งนับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง

Read More

ส่งออกไทยติดลบหนัก ผลจากทั่วโลก Lockdown หนีโควิด-19

นอกเหนือไปจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยที่เป็นเครื่องจักรสำคัญในการสร้างรายได้เข้าประเทศแล้ว ภาคการส่งออกก็เป็นอีกฟันเฟืองสำคัญที่ไทยหวังพึ่งพิงตลอดมา การมาถึงของเชื้อไวรัสโคโรนาหรือ โควิด-19 เป็นเสมือนการดับฝันที่เป็นความหวังของเศรษฐกิจไทยในห้วงยามนี้ จากสถานการณ์การส่งออกของไทยในปีที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยตัวเลขที่เป็นการติดลบในรอบ 4 ปี และปัจจัยที่ส่งผลลบโดยตรงคือภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน ราคาน้ำมัน รวมไปถึงการแข่งขันกันเองของผู้ประกอบการส่งออก หลายฝ่ายวิเคราะห์ว่า สถานการณ์การส่งออกของไทยในปี 2563 อาจจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นบ้าง เมื่อตลาดส่งออกสินค้าไทยน่าจะผ่านพ้นจุดตกต่ำไปแล้ว โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 สินค้าส่งออกของไทยลดลงในทุกตลาด ตั้งแต่ตลาดญี่ปุ่นติดลบ 1.3 เปอร์เซ็นต์ ยุโรปลดลง 7 เปอร์เซ็นต์ จีนลดลง 4.7 เปอร์เซ็นต์ เอเชียใต้ลดลง 7.7 เปอร์เซ็นต์ ฮ่องกงลดลง 6.8 เปอร์เซ็นต์ เกาหลีใต้ลดลง 5.4 เปอร์เซ็นต์ ตะวันออกกลางลดลง 2.9 เปอร์เซ็นต์ แอฟริกาลดลง 10.9 เปอร์เซ็นต์ ทว่า โรคอุบัติใหม่กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ตัวเลขการส่งออกในเดือนเมษายน 2563 ติดลบอย่างหนัก แม้ว่าภาพรวมมูลค่าการส่งออกรวมในเดือนเมษายนจะมีการขยายตัวที่

Read More

คลายล็อกระยะสอง โอกาสฟื้นตัวของธุรกิจ

ความผันผวนทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจมีต้นเหตุปัจจัยมาจากหลายด้าน ทั้งสงครามการค้า ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้า ความขัดแย้งระหว่างประเทศ Digital Disruption และการแพร่ระบาดของโรคร้าย ทั้งหมดทั้งมวลกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องสร้างความพร้อมที่ไม่ใช่แค่เพียงการตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่เป็นความพร้อมในการที่จะฟันฝ่าอุปสรรคที่จะส่งผลกระทบและอาจสร้างความเสียหายต่อธุรกิจด้วย สงครามการค้า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ หรือ Digital Disruption เสมือนด่านหน้าที่เข้ามาปะทะกับผู้ประกอบการธุรกิจ และเหมือนเป็นบททดสอบความแข็งแกร่ง รวมไปถึงศักยภาพที่จะต่อกรกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ทว่า การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 คล้ายจะเป็นตัวร้ายในด่านสุดท้ายของการประลองสรรพกำลังของผู้ประกอบการธุรกิจ ว่าจะสามารถยืนหยัดต่อสู้และผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้หรือไม่ เมื่อความแตกต่างของอุปสรรคในครั้งนี้ส่งผลให้ธุรกิจจำต้องหยุดดำเนินกิจการเป็นการชั่วคราวในช่วงที่มีการระบาด ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในไทยอยู่ในหลักหน่วยเป็นเวลาหลายสัปดาห์ติดต่อกัน ทำให้ภาครัฐตัดสินใจผ่อนคลายมาตรการหลายด้านเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับไปดำเนินชีวิตในวิถีใหม่ได้ รวมไปถึงเศรษฐกิจในระดับฐานรากค่อยๆ ขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ด้วย รัฐบาลประกาศคลายล็อกในระยะที่สอง เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีผลให้ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร หลายกิจการและกิจกรรมสามารถเปิดดำเนินการได้ ภายใต้กรอบความปลอดภัยด้านสาธารณสุขเป็นที่ตั้ง นักวิเคราะห์เศรษฐกิจจากหลายสถาบันเริ่มประเมินสถานการณ์ว่า หลังจากภาครัฐผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ลงแล้ว ธุรกิจที่ถูกฟรีซไว้ในช่วงล็อกดาวน์ จะใช้เวลานานแค่ไหนในการฟื้นตัว ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ประเมินการฟื้นของธุรกิจหลังปลดล็อกโควิด-19 ออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก ฟื้นแบบ V-Shape กลุ่มสินค้าจำเป็นและพึ่งพิงตลาดในประเทศ กลุ่มสอง ฟื้นแบบ U-Shape กลุ่มที่ได้รับผลดีจากการทยอยปลดล็อกดาวน์ตลาดในประเทศและตลาดส่งออก ซึ่งธุรกิจที่ฟื้นตัวแบบ V และ U

Read More

โควิด-19 พิษร้ายซึมลึก เศรษฐกิจไทยอ่วมถึงฐานราก

นับตั้งแต่ไวรัสโควิด-19 ได้อุบัติขึ้นในช่วงปลายปี 2562 เป็นต้นมา มนุษยชาติได้ตระหนักแล้วว่า พิษสงของเชื้อร้ายชนิดนี้ไม่ใช่แค่มีความสามารถในการทำลายอวัยวะภายในที่เป็นส่วนสำคัญในการทำงานของร่างกายมนุษย์เท่านั้น แต่ทว่า เชื้อไวรัสชนิดนี้กลับแทรกซึมเข้าไปทำลายได้ถึงฐานรากทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส แม้ว่าประเทศไทยและคนไทยจะเคยผ่านวิกฤตทางเศรษฐกิจมานักต่อนัก ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจครั้งแรกของไทย ที่เกิดจากการเปิดตลาดหุ้นครั้งแรกในปี 2518 จากนั้นตลาดหุ้นเริ่มพังทลายในปี 2521 ทำให้ค่าเงินบาทเสียหายด้วย ทำให้เงินไหลออกจากระบบ ทำให้สภาพคล่องเสียหาย ต้องลดค่าเงินบาท ทางการต้องเข้าควบกิจการ 25 ไฟแนนซ์ และเครดิตฟองซิเอร์ 25 แห่ง ที่รู้จักกันในชื่อโครงการ 4 เมษายน 2527 เอกชนล้มลง เกิดหนี้เสียจำนวนมาก คนตกงานมาก เงินเฟ้อสูงและต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF เป็นครั้งแรก และวิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ 2 ของประเทศไทย เกิดจากการนำระบบ Maintenance margin และ Force sell มาใช้ในตลาดหุ้นในเดือนตุลาคม 2536 ทำให้ Hedge Fund ลากตลาดหุ้นไทยขึ้นไปทิ้งในต้นปี 2537 ที่ 1,750 จุด

Read More

วิกฤตโรงแรม “ปิด-เจ๊ง” ระดมแผนสกัดต่างชาติฮุบ

ธุรกิจโรงแรมเจอมรสุมลูกมหึมาจากพิษโควิด-19 ชนิดที่โรงแรมหรูย่านช้อปปิ้งสตรีท “เชอราตันแกรนด์สุขุมวิท” และ ดิ เอมเมอรัลด์ ต้องประกาศปิดตัวชั่วคราว ยังไม่นับรวมรายกลางและรายเล็กอีกหลายแห่งทั่วประเทศ ส่วนโรงแรมหรูระดับ 5-6 ดาว กัดฟันหันมาให้บริการเดลิเวอรี่อาหารและอัดแคมเปญแรงๆ ชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นอย่าง “ชาเทรียม ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพ” แค่สั่งอาหาร 2,020 บาท รับสิทธิ์เข้าพักห้องแกรนด์รูม ริมสายน้ำเจ้าพระยา ขนาด 60 ตารางเมตร ฟรี 1 คืนทันที ทั้งหมดล้วนเป็นผลกระทบโดยตรงจากธุรกิจท่องเที่ยวที่แทบกลายเป็น 0 ทันที เพราะพิษการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสมรณะที่กระจายไปทั่วโลก ครอบคลุมประเทศเป้าหมายด้านท่องเที่ยว ทั้งฝั่งสหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชีย และอาเซียน ข้อมูลจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาระบุว่า ไตรมาส 1 (เดือนมกราคม-มีนาคม) ปี 2563 ไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.69 ล้านคน ลดลง 38% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สร้างรายได้ 3.3 แสนล้านบาท ลดลง

Read More

โรงหนังลุ้นปลดล็อกรอบ 3 แอนดรอยด์ทีวี-สตรีมมิ่ง คึกคัก

กลุ่มธุรกิจโรงภาพยนตร์ต้องรอลุ้นมาตรการคลายล็อกดาวน์รอบใหม่ เนื่องจากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ยังยกเว้นไว้ในการผ่อนปรนรอบที่ 2 ซึ่งตามเป้าหมายไทม์ไลน์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. คาดว่าจะผ่อนปรนรอบที่ 3 ประมาณต้นเดือนมิถุนายน และรอบที่ 4 กลางเดือนมิถุนายน หรืออย่างช้าที่สุดในเดือนกรกฎาคม หากไม่เกิดการระบาดรอบใหม่ อย่างไรก็ตาม กลุ่มโรงภาพยนตร์ โดยเฉพาะเบอร์ 1 ค่ายเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ พยายามสื่อสารข้อมูลการซักซ้อมมาตรการ Safety & Hygiene Measures ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ เริ่มตั้งแต่การคัดกรองอย่างเข้มงวด (Screening) เมื่อก้าวเข้าสู่พื้นที่ มีการวัดไข้ หยดเจลล้างมือลูกค้า และกำหนดให้เดินเข้าคิวเว้นระยะห่าง 1-2 เมตรต่อคน รวมทั้งเว้นระยะห่างการชมภาพยนตร์ในโรงหนัง (Distancing) โดยผู้ชม 1 คน เว้นที่นั่งว่าง 2-3 ที่ สลับกับผู้ชมคนถัดไปต่อเนื่อง การจองตั๋ว หากจองผ่านตู้

Read More

สงครามยุค New Normal บุฟเฟต์-ปิ้งย่าง ทุ่มแหลก

ธุรกิจร้านอาหารหลังมาตรการคลายล็อกดาวน์กำลังระเบิดสงครามช่วงชิงกลุ่มลูกค้าขนานใหญ่ตามวิถี New Normal ชนิดที่ต้อง Reset กระบวนการทั้งหมดตามเงื่อนไขของภาครัฐ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มบุฟเฟต์-หมูกระทะ พลิกกลยุทธ์หนีตาย ห้ำหั่นแจกหม้อ แจกกระทะ เปิดศึกอย่างดุเดือด ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากศูนย์วิจัยธนาคารออมสินคาดการณ์ว่า หากประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสได้อย่างดี ภายใน 3 เดือน ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มในประเทศจะสูญเสียรายได้ประมาณ 16,000 ล้านบาท แต่หากสถานการณ์การแพร่ระบาดลากยาวไปจนถึง 6 เดือน อาจสูญเสียรายได้มากถึง 34,000 ล้านบาท ที่ผ่านมา ภาครัฐ โดยศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เริ่มทยอยคลายล็อกดาวน์ ประเดิมอนุญาต 6 กลุ่มกิจกรรมและกิจการเสี่ยงน้อยเมื่อวันที่ 3 พ.ค. ซึ่งรอบแรกมีกลุ่มร้านจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม นอกห้างสรรพสินค้า ร้านริมทาง หาบแร่แผงลอย ตามด้วยมาตรการผ่อนปรนรอบที่ 2 อีก 3 กลุ่มกิจการ ซึ่งกลุ่มธุรกิจร้านอาหารขยายเพิ่มเติมร้านจำหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่มในภัตตาคาร

Read More

ปัจจัยลบรุมเร้า ธุรกิจค้าปลีก’63 หดตัว

นับเป็นอีกศักราชหนึ่งที่ธุรกิจค้าปลีกของไทยต้องเผชิญกับความวิกฤตรอบด้าน นับตั้งแต่ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ที่ได้รับอิทธิพลจากการฟาดฟันกันระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา การงัดข้อกันในเชิงกลยุทธ์ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกเริ่มระส่ำระสาย และค้าปลีกไทยยิ่งต้องเจอคลื่นลูกใหญ่ซัดกระหน่ำอีกครั้ง ด้วยการบุกเชิงรุกของธุรกิจ E-Commerce ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค และด้วยฐาน Big Data ทำให้บรรดาธุรกิจ E-Commerce สามารถเจาะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ปัจจัยข้างต้นคล้ายเป็นตัวกำหนดทิศทางใหม่ให้กับธุรกิจค้าปลีกไทยไปโดยปริยาย ที่นอกจากจะต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์แล้ว โจทย์สำคัญคือทำอย่างไรที่จะทำให้ค้าปลีกไทยสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ได้ ทั้งในรูปแบบ offline และ online นอกจากการจะต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีเทคโนโลยีนำหน้าแล้ว สถานการณ์ความเป็นไปทางเศรษฐกิจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการค้าปลีกต้องเผชิญ เมื่อกำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มอ่อนแรงลง โดยมุ่งเน้นไปจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าเฉพาะที่จำเป็น และงดใช้จ่ายฟุ่มเฟือย นักวิเคราะห์หลายสถาบันเห็นไปในทางเดียวกันว่า ผู้ประกอบการค้าปลีกไทยจะฝ่าฟันมรสุมนี้ไปได้ก็ต่อเมื่อรู้จักปรับเปลี่ยนตัวเอง รู้จักผู้บริโภค และรู้เท่าทันเทคโนโลยี อุปสรรคข้างต้นสร้างความลำบากให้แก่ธุรกิจค้าปลีกไม่น้อย เพราะแม้ว่าผู้ประกอบการจะมีการปรับกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อรักษาฐานลูกค้า หรือการสร้างการเข้าถึงลูกค้าด้วยการลงมาเล่นธุรกิจ E-Commerce ด้วย ทว่า สิ่งที่โลกกำลังเผชิญอยู่ขณะนี้คล้ายเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เมื่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สร้างความยากลำบากให้เกิดขึ้นทั่วโลก กระทั่งรัฐบาลไทยประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม ที่ผ่านมา รวมไปถึงการประกาศปิดสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไวรัส เช่น ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ สถานบันเทิง เป็นต้น การประกาศปิดห้างสรรพสินค้าส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกถูกแช่แข็งไปครึ่งหนึ่ง แม้จะมีการอนุโลมให้พื้นที่ในส่วนของซูเปอร์มาร์เกตยังสามารถเปิดได้ก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเคยคาดการณ์เอาไว้ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกสูญเสียรายได้ประมาณ

Read More

ผ่อนปรนคลายล็อกดาวน์ กับความเสี่ยงโควิด-19 ระบาดซ้ำ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยดูจะสามารถควบคุมให้อยู่ในวงจำกัดและได้ผลดีในการยับยั้งโรคอุบัติใหม่ หากแต่ในอีกมิติหนึ่งมาตรการทางการสาธารณสุขที่ได้นำมาใช้ในครั้งนี้กลับส่งผลลบเป็น ยาแรง ที่ทำให้สังคมเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปได้รับผลสั่นสะเทือนและนำไปสู่การที่รัฐต้องออกมาตรการเยียวยาอย่างต่อเนื่อง การประกาศต่ออายุพระราชกำหนดฉุกเฉินออกไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ในด้านหนึ่งสะท้อนความไม่มั่นใจในศักยภาพการบริหารราชการแผ่นดินด้วยกลไกปกติของรัฐ ขณะเดียวกันมาตรการผ่อนคลายกิจการ กิจกรรมบางประเภท หรือการผ่อนคลายล็อกดาวน์ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ติดเชื้อโรคโควิด-19 สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามที่จะให้สังคมเศรษฐกิจไทยกลับมาขับเคลื่อนอีกครั้ง หลังจากที่ต้องหยุดชะงักไปพร้อมๆ กับการควบคุมโรค กระนั้นก็ดี การผ่อนคลายซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคมดังกล่าวจะมีการประเมินผลอีกครั้งใน 14 วัน บนฐานความคิดที่ว่าหากมีตัวเลขคงที่ของการติดเชื้อแสดงให้เห็นถึงการร่วมมือ รู้วิธีการจัดการตัวเองและกิจกรรมของตัวเอง การผ่อนคลายก็อาจจะเลื่อนลำดับในกิจกรรมที่ผ่อนคลายได้มากขึ้น แต่หากในช่วง 14 วัน มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ก็อาจจะต้องถอยหลังกลับมาเข้มงวดในมาตรการต่างๆ ในกิจกรรมและกิจการใหม่ทั้งหมด การผ่อนคลายมาตรการของรัฐเพื่อให้ผู้ประกอบการบางส่วนสามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้ต่อและประชาชนสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุขมากขึ้นนี้ ในด้านหนึ่งได้นำไปสู่ข้อกังวลในขีดความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ของรัฐ เพราะภายใต้แนวความคิดว่าด้วย ชีวิตวิถีใหม่ หรือ new normal ที่กำลังโหมประโคมให้เป็นสำนึกใหม่ของสังคมไทยนั้น ดูเหมือนว่ากลไกภาครัฐยังย่ำเดินอยู่บนวิถีเดิมว่าด้วยการออกมาตรการควบคุมและขู่บังคับ มากกว่าการเอื้ออำนวยให้เกิดความเข้าใจในสถานการณ์ที่ดำเนินไป ทัศนะคิดที่ประเมินว่าประชาชนรวมถึงผู้ประกอบการอาจอาศัยมาตรการผ่อนคลายดังกล่าวกระทำการที่ไร้ความรับผิดชอบ หรือขาดวินัย เป็นทัศนะล้าหลัง ที่นำเสนอในมิติของความปรารถนาดีที่ไร้เหตุผลและในทางกลับกันทัศนะที่ว่านี้ยังมีลักษณะดูแคลนสติปัญญาของผู้คนในสังคมอย่างไร้ความรับผิดชอบที่สุด ความสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ภายใต้สถานการณ์ที่ยังไม่มีวัคซีนเพื่อป้องกันโรค ดำเนินอยู่ในทุกวินาทีและมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา สิ่งที่กลไกรัฐและผู้บริหารนโยบายด้านการสาธารณสุขควรให้ความสำคัญและบริหารจัดการจึงควรอยู่ที่การขยายขีดความสามารถและศักยภาพในการรองรับผู้ป่วย ควบคู่กับการเปิดเผยข้อเท็จจริงว่าปัจจุบันมีเตียงหรือกลไกในการรองรับผู้ป่วยติดเชื้อทั่วประเทศได้มากน้อยเพียงใด ความตื่นตัวในการป้องกันและหลีกเลี่ยงที่จะเป็นกลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อของผู้คนในสังคมไทยดำเนินไปอย่างกว้างขวางมาตลอดช่วงเวลาเดือนเศษของการแพร่ระบาดโควิด-19 แล้ว ความวิตกกังวลว่าการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์อาจนำไปสู่การแพร่ระบาดครั้งใหม่ในลักษณะของ

Read More