Home > Cover Story (Page 70)

เซเว่นฯ เร่งยอดขายรัวๆ อัดโปรเดลิเวอรี่บุกถึงบ้าน

เจ้าตลาดคอนวีเนียนสโตร์ “เซเว่น-อีเลฟเว่น” กำลังเปิดสงครามยุค New Normal ชนิดเกาะติดกลุ่มเป้าหมายแบบบุกถึงบ้าน ทั้งออฟไลน์ ออนไลน์ บางสาขาจัดเต็มให้พนักงานส่งสินค้าตามตลาดและชุมชน เพื่อเร่งผลักดันยอดขาย หลังเจอพิษ “โควิด-19” ช่วงล็อกดาวน์ฉุดรายได้ติดลบ ที่สำคัญ ในช่วงจังหวะเดียวกันนั้นคู่แข่งเบอร์ใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC ประกาศซื้อหุ้นในบริษัท เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท จำกัด (CFM) ที่บริษัท Japan FamilyMart Co., Ltd. (JFM) ถือหุ้นที่เหลืออยู่ 49% กลายเป็นเจ้าของกิจการร้านแฟมิลี่มาร์ทในประเทศไทยเบ็ดเสร็จ 100% ซึ่งคาดว่า กลุ่มเซ็นทรัลพร้อมลุยศึก โดยอาศัยความแข็งแกร่งของบริษัทลูกในเครือทั้งหมด เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งให้ได้มากที่สุด นายเกรียงชัย บุญโพธิอภิชาติ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL

Read More

สวนสนุกดิ้นเฮือกสุดท้าย “สยามพาร์ค” กางแผนพร้อมปลดล็อก

ธุรกิจสวนสนุกกำลังดิ้นเฮือกสุดท้ายหลังเจอพิษ “โควิด-19” ปิดให้บริการนานมากกว่า 2 เดือนและรอประกาศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ระยะที่ 4 โดยเฉพาะกรณีที่เกิดขึ้นล่าสุด เมื่อ “พีน่า กรุ๊ป” ตัดสินใจยุติกิจการ ซานโตรินี พาร์ค ชะอำ สวนสนุก สวนน้ำ และแหล่งชอปปิ้ง พื้นที่ 60 ไร่ ชั่วคราว 12 เดือน หรือจนกว่าสถานการณ์การระบาดทั่วโลกจะยุติ และการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ต้องยอมรับว่าธุรกิจสวนสนุกเกี่ยวโยงโดยตรงกับการท่องเที่ยว ซึ่งข้อมูลจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เฉพาะตัวเลขไตรมาสแรก (เดือนมกราคม-มีนาคม) ปี 2563 ประเทศไทยมีรายได้รวมจากการท่องเที่ยว 5.1 แสนล้านบาท หดตัว 38.15% เมื่อเทียบกับปีก่อน และอีก 2 เดือนถัดมาซึ่งเป็นหน้าไฮซีซั่นหยุดชะงักทั้งหมด รายได้เป็น “ศูนย์” วุฒิชัย เหลืองอมรเลิศ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามพาร์ค บางกอก จำกัด ผู้บริหารสวนน้ำและสวนสนุก “สวนสยาม” และนายกสมาคมสวนสนุก

Read More

ศูนย์การค้ารื้อระบบค่าเช่า เอเชียทีคปิด 3 เดือนปรับใหญ่

ผลพวงพิษ “โควิด-19” พลิกโฉมธุรกิจศูนย์การค้าอย่างสิ้นเชิง ทั้งการปรับพื้นที่ตามมาตรการ Social Distancing จัดระบบการป้องกันการแพร่ระบาด และที่สำคัญ คือ “ค่าเช่า” ซึ่งเคยเป็นรายได้หลักก้อนใหญ่ เพราะบรรดาร้านค้าเจอปัญหารายได้เป็น “ศูนย์” ทันทีหลังประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ปิดให้บริการชั่วคราว แม้ล่าสุดมีการคลายล็อกดาวน์บ้างแล้ว แต่คาดว่าจำนวนลูกค้าจะฟื้นกลับมาไม่ถึง 50% ภาพสะท้อนที่เห็นชัดเจน กรณีผู้ประกอบการร้านค้าศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ รวมตัวเรียกร้องขอลดค่าเช่า ซึ่งต้องยอมรับว่าฝ่ายผู้บริหารรีบออกมาจัดการปัญหาทั้งหมด เพื่อไม่ให้เสียบรรยากาศการจับจ่าย โดยนายสุเวทย์ ธีรวชิรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) ตัดสินใจนัดประชุมผู้ประกอบการร้านค้าและได้ข้อตกลงอย่างรวดเร็ว 4 ข้อ ข้อแรก ผู้เช่าสัญญาระยะสั้น แบ่งเป็น ผู้ประกอบการร้านค้าที่ดำเนินธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จะได้รับส่วนลดเรียงตามลำดับ เริ่มจากส่วนลด 70% ในเดือนมิถุนายน 60% ในเดือนกรกฎาคม และ 50% ในเดือนสิงหาคม ผู้ประกอบการร้านค้าประเภทอื่นๆ

Read More

ผลจาก COVID-19 ย้ำภาพเหลื่อมล้ำการศึกษาไทย

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบจำกัดอยู่เฉพาะต่อประเด็นว่าด้วยกิจกรรมทางด้านสาธารณสุข และสร้างความเสียหายให้กับระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างหนักหน่วงเท่านั้น หากแต่ในอีกด้านหนึ่งยังสะท้อนภาพความไร้ประสิทธิภาพในการกำหนดมาตรการในเชิงสังคมที่ทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยต่อยุทธศาสตร์และนโยบายที่กำหนดโดยรัฐตามมาอีกด้วย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อีกประการหนึ่งก็คือ การแพร่ระบาดของโรคนี้ส่งผลต่อระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก และทำให้รัฐบาลหลายประเทศ ประกาศปิดสถานศึกษาทั้งประเทศ มีผู้เรียนได้รับผลกระทบกว่า 1.5 พันล้านคน หรือมากกว่าร้อยละ 90 ของผู้เรียนทั้งหมด สำหรับประเทศไทยสถานการณ์การระบาดเกิดขึ้นในช่วงสถานศึกษาขั้นพื้นฐานปิดภาคเรียน โดยในช่วงต้นเดือนเมษายน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เลื่อนวันเปิดเทอมภาคเรียนที่ 1 ไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ไทยจึงมีโอกาสทบทวนบทเรียนจากต่างประเทศเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่สอดรับกับมาตรการป้องกันการระบาด พร้อมกับเตรียมมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เรียนได้รับผลกระทบจากรูปแบบการเรียนที่เปลี่ยนไป หากแต่ความเป็นไปของมาตรการด้านการศึกษาของไทยเพื่อรองรับกับการแพร่ระบาดของโรคกลับกลายเป็นภาพสะท้อนความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทั้งในมิติเชิงโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร และในมิติของเศรษฐสภาพที่หนักหน่วงของสังคมไทยให้เด่นชัดขึ้นไปอีก เพราะในขณะที่สถานการณ์ระบาดยังคงอยู่ ทำให้ระบบการศึกษาต้องปรับให้การเรียนรู้ของนักเรียนไม่ขาดช่วง การเรียนการสอนออนไลน์ที่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นทางเลือกหนึ่ง กลับดำเนินไปท่ามกลางความไม่พร้อมทั้งในมิติของบุคลากรทางการศึกษาในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ รวมถึงความต้องการสิ่งสนับสนุนจากโรงเรียนและรัฐบาลเพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ในส่วนของผู้เรียนก็พบว่ามีนักเรียนจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการเรียนการสอนออนไลน์ได้ จนนำไปสู่ข้อเรียกร้องความช่วยเหลือจากโรงเรียน และรัฐบาล ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ อย่างเร่งด่วน รวมถึงการจัดหาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและอุปกรณ์สื่อสารสำหรับนักเรียนทุกคน ข้อมูลของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) บ่งชี้ว่าประเทศไทยมีข้อจำกัดในการเรียนทางไกลค่อนข้างสูง โดยสัดส่วนของครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนี้ การสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติยังสะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำสูงในการเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัล โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีฐานะยากจน และครัวเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีนักเรียนกว่า 8 หมื่นคนอยู่ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ดังนั้น

Read More

ฟื้นฟู การบินไทย ทางเลือกเพื่ออยู่รอด?

การตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่นำไปสู่มติยกเลิกแผนฟื้นฟูตามมติเดิมของ คนร. เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563 และนำเสนอแผนใหม่ในการประชุม คนร. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา ภายใต้แนวทางการนำการบินไทย เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลายของไทย เพราะเห็นว่า หากยังยึดแนวทางแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ จะไม่เปลี่ยนอะไรมาก จึงหันมาเปลี่ยนวิธีในการแก้ปัญหา กลายเป็นจังหวะก้าวสำคัญที่สั่นสะเทือนสถานภาพของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการอุ้มชูจากรัฐมาอย่างยาวนานไปโดยปริยาย เพราะการแก้ไขปัญหาตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลายครั้งนี้ จะทำให้การบินไทยพ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจไปเลย ไม่ใช่แค่ลดชั้นเป็นรัฐวิสาหกิจระดับ 3 เพื่อให้การดำเนินงานคล่องตัวและลดทอนอำนาจของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ขององค์กรแห่งนี้ลง ข้อเท็จจริงก่อนนำมาสู่ทางเลือกเพื่อความอยู่รอดครั้งนี้เกิดขึ้นจากเหตุที่ว่าการเพิ่มเงินจากการคํ้าประกันเงินกู้ของกระทรวงการคลัง หรือหาเงินทุนเพื่อมาลงทุนเพิ่มสำหรับการบินไทยภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันดูจะเป็นสิ่งที่ยากลำบากและไม่สอดรับกับความเป็นไปในธุรกิจการบินที่กำลังเผชิญกับอุปสรรค ทางออกว่าด้วยการฟื้นฟูการบินไทยภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องมีขั้นตอนทำไปพร้อมกับการปรับโครงสร้างผู้บริหารการบินไทย เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้จึงดูจะเป็นแนวทางที่เป็นไปได้มากกว่า สถานะของการบินไทย ณ สิ้นปี 2562 มีภาวะขาดทุนสะสม 19,383.39 ล้านบาท มีภาระหนี้สินรวม 244,899.44 ล้านบาท มีสินทรัพย์อยู่ 256,664 ล้านบาท ขณะที่การมีเครื่องบินจอดทิ้งรอขายอยู่หลายลำอาจทำให้สินทรัพย์ด้อยค่าลงไปมาก ทำให้มีส่วนของผู้ถือหุ้นเหลือเพียง 11,765.11 ล้านบาท ถ้าคิดเป็นอัตราส่วนของหนี้สินต่อทุน (D/E ratio) คือ 20.81:1 หมายความว่ามีภาระหนี้สูงกว่าส่วนของทุนมาก ซึ่งนับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง

Read More

ส่งออกไทยติดลบหนัก ผลจากทั่วโลก Lockdown หนีโควิด-19

นอกเหนือไปจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยที่เป็นเครื่องจักรสำคัญในการสร้างรายได้เข้าประเทศแล้ว ภาคการส่งออกก็เป็นอีกฟันเฟืองสำคัญที่ไทยหวังพึ่งพิงตลอดมา การมาถึงของเชื้อไวรัสโคโรนาหรือ โควิด-19 เป็นเสมือนการดับฝันที่เป็นความหวังของเศรษฐกิจไทยในห้วงยามนี้ จากสถานการณ์การส่งออกของไทยในปีที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยตัวเลขที่เป็นการติดลบในรอบ 4 ปี และปัจจัยที่ส่งผลลบโดยตรงคือภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน ราคาน้ำมัน รวมไปถึงการแข่งขันกันเองของผู้ประกอบการส่งออก หลายฝ่ายวิเคราะห์ว่า สถานการณ์การส่งออกของไทยในปี 2563 อาจจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นบ้าง เมื่อตลาดส่งออกสินค้าไทยน่าจะผ่านพ้นจุดตกต่ำไปแล้ว โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 สินค้าส่งออกของไทยลดลงในทุกตลาด ตั้งแต่ตลาดญี่ปุ่นติดลบ 1.3 เปอร์เซ็นต์ ยุโรปลดลง 7 เปอร์เซ็นต์ จีนลดลง 4.7 เปอร์เซ็นต์ เอเชียใต้ลดลง 7.7 เปอร์เซ็นต์ ฮ่องกงลดลง 6.8 เปอร์เซ็นต์ เกาหลีใต้ลดลง 5.4 เปอร์เซ็นต์ ตะวันออกกลางลดลง 2.9 เปอร์เซ็นต์ แอฟริกาลดลง 10.9 เปอร์เซ็นต์ ทว่า โรคอุบัติใหม่กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ตัวเลขการส่งออกในเดือนเมษายน 2563 ติดลบอย่างหนัก แม้ว่าภาพรวมมูลค่าการส่งออกรวมในเดือนเมษายนจะมีการขยายตัวที่

Read More

คลายล็อกระยะสอง โอกาสฟื้นตัวของธุรกิจ

ความผันผวนทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจมีต้นเหตุปัจจัยมาจากหลายด้าน ทั้งสงครามการค้า ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้า ความขัดแย้งระหว่างประเทศ Digital Disruption และการแพร่ระบาดของโรคร้าย ทั้งหมดทั้งมวลกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องสร้างความพร้อมที่ไม่ใช่แค่เพียงการตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่เป็นความพร้อมในการที่จะฟันฝ่าอุปสรรคที่จะส่งผลกระทบและอาจสร้างความเสียหายต่อธุรกิจด้วย สงครามการค้า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ หรือ Digital Disruption เสมือนด่านหน้าที่เข้ามาปะทะกับผู้ประกอบการธุรกิจ และเหมือนเป็นบททดสอบความแข็งแกร่ง รวมไปถึงศักยภาพที่จะต่อกรกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ทว่า การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 คล้ายจะเป็นตัวร้ายในด่านสุดท้ายของการประลองสรรพกำลังของผู้ประกอบการธุรกิจ ว่าจะสามารถยืนหยัดต่อสู้และผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้หรือไม่ เมื่อความแตกต่างของอุปสรรคในครั้งนี้ส่งผลให้ธุรกิจจำต้องหยุดดำเนินกิจการเป็นการชั่วคราวในช่วงที่มีการระบาด ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในไทยอยู่ในหลักหน่วยเป็นเวลาหลายสัปดาห์ติดต่อกัน ทำให้ภาครัฐตัดสินใจผ่อนคลายมาตรการหลายด้านเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับไปดำเนินชีวิตในวิถีใหม่ได้ รวมไปถึงเศรษฐกิจในระดับฐานรากค่อยๆ ขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ด้วย รัฐบาลประกาศคลายล็อกในระยะที่สอง เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีผลให้ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร หลายกิจการและกิจกรรมสามารถเปิดดำเนินการได้ ภายใต้กรอบความปลอดภัยด้านสาธารณสุขเป็นที่ตั้ง นักวิเคราะห์เศรษฐกิจจากหลายสถาบันเริ่มประเมินสถานการณ์ว่า หลังจากภาครัฐผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ลงแล้ว ธุรกิจที่ถูกฟรีซไว้ในช่วงล็อกดาวน์ จะใช้เวลานานแค่ไหนในการฟื้นตัว ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ประเมินการฟื้นของธุรกิจหลังปลดล็อกโควิด-19 ออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก ฟื้นแบบ V-Shape กลุ่มสินค้าจำเป็นและพึ่งพิงตลาดในประเทศ กลุ่มสอง ฟื้นแบบ U-Shape กลุ่มที่ได้รับผลดีจากการทยอยปลดล็อกดาวน์ตลาดในประเทศและตลาดส่งออก ซึ่งธุรกิจที่ฟื้นตัวแบบ V และ U

Read More

โควิด-19 พิษร้ายซึมลึก เศรษฐกิจไทยอ่วมถึงฐานราก

นับตั้งแต่ไวรัสโควิด-19 ได้อุบัติขึ้นในช่วงปลายปี 2562 เป็นต้นมา มนุษยชาติได้ตระหนักแล้วว่า พิษสงของเชื้อร้ายชนิดนี้ไม่ใช่แค่มีความสามารถในการทำลายอวัยวะภายในที่เป็นส่วนสำคัญในการทำงานของร่างกายมนุษย์เท่านั้น แต่ทว่า เชื้อไวรัสชนิดนี้กลับแทรกซึมเข้าไปทำลายได้ถึงฐานรากทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส แม้ว่าประเทศไทยและคนไทยจะเคยผ่านวิกฤตทางเศรษฐกิจมานักต่อนัก ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจครั้งแรกของไทย ที่เกิดจากการเปิดตลาดหุ้นครั้งแรกในปี 2518 จากนั้นตลาดหุ้นเริ่มพังทลายในปี 2521 ทำให้ค่าเงินบาทเสียหายด้วย ทำให้เงินไหลออกจากระบบ ทำให้สภาพคล่องเสียหาย ต้องลดค่าเงินบาท ทางการต้องเข้าควบกิจการ 25 ไฟแนนซ์ และเครดิตฟองซิเอร์ 25 แห่ง ที่รู้จักกันในชื่อโครงการ 4 เมษายน 2527 เอกชนล้มลง เกิดหนี้เสียจำนวนมาก คนตกงานมาก เงินเฟ้อสูงและต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF เป็นครั้งแรก และวิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ 2 ของประเทศไทย เกิดจากการนำระบบ Maintenance margin และ Force sell มาใช้ในตลาดหุ้นในเดือนตุลาคม 2536 ทำให้ Hedge Fund ลากตลาดหุ้นไทยขึ้นไปทิ้งในต้นปี 2537 ที่ 1,750 จุด

Read More

วิกฤตโรงแรม “ปิด-เจ๊ง” ระดมแผนสกัดต่างชาติฮุบ

ธุรกิจโรงแรมเจอมรสุมลูกมหึมาจากพิษโควิด-19 ชนิดที่โรงแรมหรูย่านช้อปปิ้งสตรีท “เชอราตันแกรนด์สุขุมวิท” และ ดิ เอมเมอรัลด์ ต้องประกาศปิดตัวชั่วคราว ยังไม่นับรวมรายกลางและรายเล็กอีกหลายแห่งทั่วประเทศ ส่วนโรงแรมหรูระดับ 5-6 ดาว กัดฟันหันมาให้บริการเดลิเวอรี่อาหารและอัดแคมเปญแรงๆ ชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นอย่าง “ชาเทรียม ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพ” แค่สั่งอาหาร 2,020 บาท รับสิทธิ์เข้าพักห้องแกรนด์รูม ริมสายน้ำเจ้าพระยา ขนาด 60 ตารางเมตร ฟรี 1 คืนทันที ทั้งหมดล้วนเป็นผลกระทบโดยตรงจากธุรกิจท่องเที่ยวที่แทบกลายเป็น 0 ทันที เพราะพิษการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสมรณะที่กระจายไปทั่วโลก ครอบคลุมประเทศเป้าหมายด้านท่องเที่ยว ทั้งฝั่งสหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชีย และอาเซียน ข้อมูลจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาระบุว่า ไตรมาส 1 (เดือนมกราคม-มีนาคม) ปี 2563 ไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.69 ล้านคน ลดลง 38% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สร้างรายได้ 3.3 แสนล้านบาท ลดลง

Read More

โรงหนังลุ้นปลดล็อกรอบ 3 แอนดรอยด์ทีวี-สตรีมมิ่ง คึกคัก

กลุ่มธุรกิจโรงภาพยนตร์ต้องรอลุ้นมาตรการคลายล็อกดาวน์รอบใหม่ เนื่องจากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ยังยกเว้นไว้ในการผ่อนปรนรอบที่ 2 ซึ่งตามเป้าหมายไทม์ไลน์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. คาดว่าจะผ่อนปรนรอบที่ 3 ประมาณต้นเดือนมิถุนายน และรอบที่ 4 กลางเดือนมิถุนายน หรืออย่างช้าที่สุดในเดือนกรกฎาคม หากไม่เกิดการระบาดรอบใหม่ อย่างไรก็ตาม กลุ่มโรงภาพยนตร์ โดยเฉพาะเบอร์ 1 ค่ายเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ พยายามสื่อสารข้อมูลการซักซ้อมมาตรการ Safety & Hygiene Measures ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ เริ่มตั้งแต่การคัดกรองอย่างเข้มงวด (Screening) เมื่อก้าวเข้าสู่พื้นที่ มีการวัดไข้ หยดเจลล้างมือลูกค้า และกำหนดให้เดินเข้าคิวเว้นระยะห่าง 1-2 เมตรต่อคน รวมทั้งเว้นระยะห่างการชมภาพยนตร์ในโรงหนัง (Distancing) โดยผู้ชม 1 คน เว้นที่นั่งว่าง 2-3 ที่ สลับกับผู้ชมคนถัดไปต่อเนื่อง การจองตั๋ว หากจองผ่านตู้

Read More