Home > Cover Story (Page 105)

ความมั่นคงพลังงานไทย บนทางแพร่งและทางเลือก

ความเป็นไปของโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ ทั้งที่จังหวัดกระบี่ ด้วยกำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ และที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา กำลังการผลิตรวม 2,000 เมกะวัตต์ กำลังสะท้อนภาพมิติความคิดของทั้งระบบการบริหารจัดการ และยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านพลังงานของไทยได้อย่างน่าสนใจ เนื่องเพราะภายใต้ “แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579” (Thailand Power Development Plan: PDP ฉบับปี 2015) หรือ PDP2015 ซึ่งเป็นแผนแม่บทในการจัดหาพลังงานไฟฟ้าในระยะยาวในกรอบเวลา 20 ปี ระบุถึงความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งไว้ ในฐานะที่เป็นการตอบสนองต่อความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นและเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงทางพลังงานในภาคใต้ ภายใต้แผนดังกล่าวระบุว่าความต้องการพลังงานในภาคใต้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ทำให้ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี 2562-2567 ต้องมีการพัฒนาโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 3 โรง จำแนกเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ในปี 2562 โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เครื่องที่ 1 ในปี 2564 และเครื่องที่ 2 ในปี 2567 แม้ว่าความเคลื่อนไหวล่าสุด รัฐมนตรีพลังงานจะลงนามในข้อตกลงร่วมกับ “เครือข่ายปกป้องสองฝั่งทะเลกระบี่-เทพา ยุติโรงไฟฟ้าถ่านหิน” เพื่อให้เริ่มกระบวนการ

Read More

บ้านปูผลประกอบการดี มุ่งเป็นผู้นำธุรกิจพลังงานครบวงจร

ข่าวคราวกรณีการคัดค้าน “โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา” ของกลุ่มต่อต้านที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องให้ยุติโครงการ โดยชุมนุมอยู่บริเวณด้านหน้าสำนักงานสหประชาชาติ หรือ UN เพิ่งได้ข้อยุติเมื่อสัปดาห์ก่อน ด้วยการลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและกลุ่มเครือข่ายฯ ในการถอนการศึกษา EHIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา ขณะที่บริษัทเอกชนที่มีความชำนาญด้านธุรกิจพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินอย่างบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เพิ่งแถลงข่าวเปิดเผยตัวเลขผลประกอบการประจำปี 2560 ว่าบริษัท บ้านปู มีรายได้จากการขายรวม 2,877 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 97,640 ล้านบาท ถือเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากถึง 27 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อีกทั้งบ้านปูฯ ยังมีกำไรสุทธิรวม 234 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7,942 ล้านบาท มากกว่าปีก่อนถึง 4 เท่าตัว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาถ่านหินที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลมาจากปริมาณการผลิตถ่านหินที่จำกัดของประเทศส่งออกหลัก และปริมาณการขายไฟฟ้าที่สม่ำเสมอของธุรกิจไฟฟ้า ตัวเลขรายได้และกำไรไม่ได้มีเพียงเฉพาะบริษัทบ้านปูใหญ่เท่านั้น ขณะที่บริษัทลูกอย่าง บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากทั้งพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป (Conventional Power Generation)

Read More

สมาร์ทไทยแลนด์ บนกระแส Industrial 4.0

ภาพยนตร์ต่างชาติที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ หรือจักรกลสังหาร ครั้งหนึ่งเป็นเพียงจินตนาการของผู้ประพันธ์หรือผู้เขียนบท ที่จะสร้างตัวละครหุ่นยนต์เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินให้แก่ผู้ชม หากแต่ในวันนี้ที่ยุคสมัยกำลังเดินทางสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ พัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำสมัย ทำให้เรื่องที่เคยเป็นเพียงจินตนาการกลายเป็นเรื่องจริง แน่นอนว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหุ่นยนต์ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งเคยเกิดขึ้น แต่ความพยายามที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ในโลกแห่งความจริงนั้นมีมาให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีล้ำหน้าและก้าวแซงหลายๆ ประเทศ AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เริ่มมีบทบาทและแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมบางประเภทที่ปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้ถูกออกแบบให้สามารถทำงานทดแทนแรงงานคนได้ นัยหนึ่งของการมาถึงของยุคปัญญาประดิษฐ์ ไม่ใช่เพียงหลักฐานที่บ่งบอกถึงความสามารถของมนุษย์ในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์เพื่อทุ่นแรงงานคนเท่านั้น หากแต่เป็นการย้ำเตือนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่มีนัยที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยต่อประเด็นที่ว่า เหล่า AI กำลังเข้ามาแทนที่แรงงานคนในอุตสาหกรรมหรืองานบางประเภท นั่นน่าจะนำมาซึ่งความวิตกกังวลว่า ในอนาคตข้างหน้าแรงงานคนจะเป็นอย่างไร เมื่อเหล่า AI ที่ถูกพัฒนามานั้นคล้ายกับว่ากำลังแย่งงานของมนุษย์ สำหรับบางคนอาจจะประเมินและมองเห็นถึงข้อดีต่อการถือกำเนิดของยุคปัญญาประดิษฐ์ว่า เมื่อมนุษย์สามารถใช้ AI ทำงานแทนได้แล้ว นั่นจะทำให้นักคิดนักพัฒนาทั้งหลายมีเวลามากขึ้นในการสร้างสรรค์หรือคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาต่อไป แต่แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถเป็นนักคิดนักพัฒนาได้ กระแสการมาของ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ น่าจะสร้างความตื่นตัวรวมไปถึงความวิตกกังวลต่อผู้คนที่แวดล้อมอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย ที่ตัวเลขเงินลงทุนรวมไปถึงนักลงทุนที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ถือเป็นรายได้สำคัญของประเทศ และที่สำคัญคือไทยมีทรัพยากรหลักอย่าง “แรงงานคน” ที่แม้จะเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ในระบบ แต่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเครื่องจักรตัวใหญ่ เมื่อไม่นานมานี้ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตัดสินใจจะย้ายฐานการผลิตกลับประเทศญี่ปุ่นของบางแบรนด์ ก็เป็นเรื่องที่น่าจับตามองไม่น้อย เมื่อมองถึงเหตุผลของการตัดสินใจของแบรนด์ชื่อดังอย่าง Casio ก็พบว่า มีด้วยกันหลายสาเหตุ ทั้งเรื่องการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำของไทยที่จะอนุมัติใช้ในวันที่ 1 เมษายนนี้

Read More

CP กับบทบาทแบงกิ้งเอเยนต์ พลิกภูมิทัศน์ใหม่การเงินไทย??

ข่าวการอนุญาตให้เครือข่ายร้านสะดวกซื้อ 7-11 สามารถขยายการให้บริการธุรกรรมทางการเงินในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากจะก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ครั้งใหม่ถึงการขยายแนวรุกเข้าครอบครองธุรกิจ และแผ่อิทธิพลครอบงำวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมไทยยิ่งขึ้นแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง ได้สะท้อนปรากฏการณ์ของการปรับตัวของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารพาณิชย์ไทย ที่ก่อนหน้านี้พยายามเร่งลดทอนค่าใช้จ่ายด้วยการทยอยปิดสาขาลง และหลายแห่งกำหนดแผนที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจ้างงานและระบบการบริหาร การบริการมาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดี ความคลาดเคลื่อนของการอนุญาตให้เครือข่ายร้านสะดวกซื้อ 7-11 สามารถให้บริการธุรกรรมทางการเงิน แม้จะไม่ใช่การให้ใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์หากแต่เป็นเพียงการเพิ่มสถานะการเป็นตัวแทนธนาคารพาณิชย์หรือ banking agent เพื่อทำหน้าที่แทนธนาคารพาณิชย์ได้ในบางธุรกรรม เช่น รับฝากเงิน รับชำระเงิน จ่ายค่าบริการ ก็ดูจะเป็นอีกก้าวที่เพียงพอให้เครือข่ายร้านสะดวกซื้อ 7-11 มีความได้เปรียบคู่แข่งขันไปอีกไกลพอสมควร และเป็นจังหวะก้าวที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าอาจมีผลต่อการขยับขยายธุรกิจของ 7-11 ในอนาคต รูปแบบธุรกิจที่ก้าวจากการเป็นร้านสะดวกซื้อ ขยายไปสู่ธุรกิจธนาคารในนาม Seven Bank ที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ร่มธงของ Seven & I Holdings ซึ่งนับเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ 1 ใน 5 ของโลก ถูกหยิบยกขึ้นมาเปรียบเทียบกับจังหวะก้าวของ 7-11 ในประเทศไทย จนทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องออกมายืนยันว่ายังไม่มีนโยบายในการออกใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่แต่อย่างใด ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถแต่งตั้งตัวแทนธนาคารพาณิชย์ (banking agent) มาตั้งแต่ปี 2553

Read More

เศรษฐกิจไทย ปีหมา 2561 บนความหวังของ “อีอีซี”

ความพยายามของกลไกภาครัฐที่จะโหมประโคมความก้าวหน้าในนโยบายเศรษฐกิจว่าประสบผลสำเร็จและกำลังดำเนินไปท่ามกลางการฟื้นตัวขึ้น ดูจะเป็นข่าวดีที่ต้องรีบประชาสัมพันธ์ ไม่ต่างจากการโฆษณาสินค้าชั้นดีที่ต้องเร่งทำตลาด เพราะประเด็นดังกล่าวผูกพันอยู่กับดัชนีความเชื่อมั่น ไม่ว่าข้อเท็จจริงของสภาพการณ์ที่ปรากฏจะสอดรับกับความมุ่งหมายของรัฐหรือไม่ก็ตาม รายงานตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงปี 2560 ที่นำเสนอโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ซึ่งระบุว่าในปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวร้อยละ 3.9 ดูจะสร้างความเชื่อมั่นและสร้างความพึงพอใจให้กับสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล คสช. ไม่น้อย ก่อนที่จะระบุว่า เป้าหมายการเติบโตของปี 2561 ที่กำหนดไว้ในระดับร้อยละ 4.1 ดูจะเป็นเป้าหมายที่ทุกฝ่ายมั่นใจว่าจะผ่านไปได้อย่างไม่ลำบากนัก เป็นการโหมประโคมข่าวดีอย่างกึกก้อง ไม่ต่างจากเสียงสนั่นของประทัดแห่งการเฉลิมฉลองต้อนรับปีหมา ในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่เพิ่งผ่านมา สอดรับกับดัชนีตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ได้รับการตีความว่าเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของหลากหลายสำนัก กระนั้นก็ดี ประเด็นหลักสำคัญของกลไกในการบรรลุสู่เป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยนับจากนี้ อยู่ที่การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการปรับฐานอุตสาหกรรมเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นกระแสโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะสินค้าส่งออกที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อขยายฐานการส่งออกให้ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ ความมั่นใจของทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลในด้านหนึ่งผูกพันอย่างแนบแน่นกับความพยายามผลักดันโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งมีร่างพระราชบัญญัติเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. … หรือกฎหมายอีอีซีได้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เป็นประหนึ่งแรงกระตุ้นที่ทำให้เชื่อว่าโครงการอีอีซี ซึ่งเป็นความหวังใหม่ของไทยในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและดึงดูดการลงทุนในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้าจะสามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มรูปแบบ ความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจไทยดังกล่าว ดูจะเป็นความเชื่อมั่นที่วางเดิมพันไว้กับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง จับต้องไม่ได้ และอาจต้องรอให้โครงการ EEC ที่หวังจะเป็นประหนึ่งหัวรถจักรที่จะลากจูงองคาพยพเศรษฐกิจไทยให้เคลื่อนผ่านหลักไมล์และเส้นทางยากลำบากไปถึงฝั่งฝัน ด้วยแรงขับเคลื่อนแห่งความหวังท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วรอบข้าง ได้เริ่มต้นทำงานอย่างมีรูปธรรมเสียก่อน ความหวังที่เกิดขึ้นจากการคาดการณ์ผลสำเร็จจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่โครงการพัฒนา EEC

Read More

สงครามค้าปลีก “วันไพร์ส” แบรนด์เกาหลีเร่งแซงญี่ปุ่น

สงครามค้าปลีกกลุ่ม “One Price Store” แข่งขันกันดุเดือด แม้ “ไดโซะ (Daiso)” ต้นตำรับร้านร้อยเยนจากญี่ปุ่น ในฐานะผู้บุกเบิกตลาดไทยเป็นเจ้าแรกเมื่อ 15 ปีก่อน ยังสามารถยึดตำแหน่งผู้นำในเซกเมนต์นี้ แต่ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้เล่นหน้าใหม่แห่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่ง โดยเฉพาะแบรนด์สไตล์เกาหลี ที่เริ่มรุกขยายฐานเจาะกลุ่มแฟนคลับวัยรุ่นตามกระแสคลื่นวัฒนธรรมเกาหลีที่ยังร้อนแรงต่อเนื่อง แน่นอนว่า หากเปรียบเทียบกัน วัฒนธรรมญี่ปุ่นสอดแทรกเข้าสู่ประเทศไทยมายาวนานกว่าวัฒนธรรมเกาหลี สีสันอาจดูคล้ายกัน แต่กระแสความแรงต่างกัน กระแสเกาหลี (Korean Wave) หรือ “Hallyu” ซึ่งเป็นศัพท์ที่นักหนังสือพิมพ์ชาวจีนบัญญัติขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1990 หมายถึงกระแสความเย็นของความนิยมเกาหลีที่ค่อยๆ คืบคลานมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยถือเป็นปรากฏการณ์เหนือความคาดหมายของนักวิชาการหรือบรรดาสื่อมวลชน เพราะเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมข้ามชาติที่ข้ามพ้นอิทธิพลทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคมของชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา กระแสนี้ก่อตัวมากว่าสิบปีและยังมีแนวโน้มมาแรง เป็นความนิยมชมชอบทางวัฒนธรรมร่วมสมัยของเกาหลี (Korean Pop Culture) ที่มาจากภาพยนตร์ เพลงป๊อป และดารานักร้องเกาหลี จนสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศเกาหลีใต้เป็นเงินมากกว่า 4,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผ่านการส่งออกวัฒนธรรมรูปแบบต่างๆ ในประเทศไทย กระแสเกาหลีเริ่มต้นช่วงปี 2544 จากความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่อง My Sassy Girl

Read More

เมียงดง มิดิโอะ รีเทลเกาหลีบุกไทย

โมเดิร์นเทรดเริ่มมีสีสันแปลกตามากขึ้น เมื่อทุนเกาหลีเริ่มเข้ามาบุกตลาดค้าปลีกเมืองไทย ต่อยอดจากธุรกิจร้านอาหาร ร้านกาแฟ เครื่องสำอาง และธุรกิจศัลยกรรมความงาม ที่ได้รับความนิยมตามกระแสคลื่นวัฒนธรรมเกาหลีที่ไหลเข้ามาต่อเนื่อง มีกลุ่มแฟนคลับเกาะติดเทรนด์อย่างเหนียวแน่น แม้ขณะนี้ยังไม่มีนักลงทุนเกาหลีเข้ามาบุกเบิกศูนย์การค้าขนาดใหญ่ แต่มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการชิมลางขยายธุรกิจของกลุ่มบริษัทล็อตเต้ (Lotte) ผู้ประกอบกิจการธุรกิจขนาดใหญ่และร้านค้าสินค้าปลอดภาษี (ดิวตี้ฟรี) รายใหญ่ในเกาหลีใต้ โดยเช่าพื้นที่ขนาด 10,000 ตร.ม. เปิดร้านค้าระดับเวิลด์คลาส เพื่อทดลองใช้ไทยเป็นฐานการลงทุน และทำตลาดแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากขยายสาขาดิวตี้ฟรีชอปในประเทศอินโดนีเซีย สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เนื่องจากกลุ่มล็อตเต้มีธุรกิจในเครือข่ายจำนวนมาก ทั้งธุรกิจอาหาร ร้านค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า โรงแรม สวนสนุก ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจการเงิน ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไอที รวมถึงธุรกิจที่อยู่อาศัย กลุ่มเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ล่าสุด กลุ่มสเปเชียลตี้สโตร์ของเกาหลีเริ่มบุกรีเทลตามมาอีกระลอก อย่าง อาร์โควา (Arcova Korean Lifestyle Stores) ร้านจำหน่ายสินค้าราคาเดียว เริ่มต้นที่ 50 บาท ซึ่งเน้นสินค้าเจาะกลุ่มวัยรุ่น คนทำงาน คนรุ่นใหม่ มีสินค้ามากกว่า

Read More

ศึกกาแฟ 3 ยักษ์สะดวกซื้อ แฟมิลี่มาร์ทปั้น Arigato

การเผยโฉม “ลอว์สันคาเฟ่” แห่งแรกในร้านลอว์สัน 108 สาขาตลาดนัดเมืองไทยภัทร โดยตั้งใจให้เป็นแฟลกชิปสโตร์ เน้นภาพลักษณ์หรูหรารับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ไม่ใช่แค่การปลุกแนวรบคอนวีเนียนสโตร์ให้ร้อนเดือด แต่ยังเป็นการประชันจุดขายใหม่ “คอฟฟี่คาเฟ่” ของ 3 ค่ายยักษ์คอนวีเนียนสโตร์ที่ซุ่มปลุกปั้นแบรนด์ร้านกาแฟ เพื่อสร้างแม็กเน็ตแย่งชิงกลุ่มลูกค้าในสถานการณ์ที่ร้านสะดวกซื้อต่างค่ายต่างแบรนด์ต่างเปิดสาขาแทบจะชนกันในทุกพื้นที่ หากวัดจำนวนสาขาล่าสุดของแต่ละฝ่าย เซเว่นอีเลฟเว่นนำโด่งปูพรมสาขาครบแล้ว 10,000 แห่ง และบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) ยังวางแผนผุดเพิ่มอย่างน้อยอีก 700 สาขาในปี 2561 เพื่อสกัดคู่แข่งชนิด 360 องศา ขณะที่เบอร์ 2 แฟมิลี่มาร์ท มีจำนวนสาขารวม 1,139 แห่ง และตั้งเป้าหมายเปิดครบ 3,000 สาขาภายใน 3 ปีข้างหน้า ส่วนลอว์สัน108 หลังเปิดสาขาตลาดนัดเมืองไทยภัทร ร้านแห่งที่ 100 เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา บริษัทสหลอว์สัน เตรียมขยายเพิ่ม 20 สาขา ทั้งร้านแบรนด์ LAWSON 108 และ

Read More

อาณาจักรแสนล้าน ITD บนบรรษัทภิบาลที่สั่นคลอน

หากเปรมชัย กรรณสูต ซึ่งจะมีอายุครบ 64 ปี ในวันที่ 9 มีนาคม 2561 หรือในช่วงเวลาไม่กี่วันข้างหน้านี้ มีโอกาสได้นั่งย้อนเวลาพินิจความเป็นมาและเป็นไปทั้งในส่วนของเขาและอาณาจักรธุรกิจที่ครอบครัวกรรณสูตได้สืบต่อเนื่องมาจากยุคของชัยยุทธ กรรณสูต พ่อของเขาและจิโอจิโอ แบร์ลิงเจียรี หุ้นส่วนวิศวกร ชาวอิตาลี ที่ได้ร่วมก่อตั้งบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (ไอทีดี) เมื่อ 64 ปีก่อน ภาพที่ปรากฏขึ้นในวาบความคิดของเขาคงมีความน่าสนใจไม่น้อย แต่จะมีใครหรือผู้ใดสามารถล่วงรู้ได้บ้างว่าภายในจิตใจของเปรมชัย กรรณสูต จะคิดถึงหรือจัดลำดับความสำคัญให้กับสิ่งใดอย่างเป็นด้านหลัก จากจุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จในการได้รับสัมปทานการกู้เรือเดินทะเล เมื่อปี พ.ศ. 2497 ที่นำไปสู่การก่อตั้งเป็นบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (ITD) ในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2501 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้นจากเงินจำนวน 2 ล้านบาท ก่อนจะเติบใหญ่และขยายบริบททางธุรกิจออกไปอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งในปัจจุบัน ITD ได้รับการกล่าวถึงในฐานะอาณาจักรธุรกิจที่มีมูลค่านับแสนล้าน และมีโครงข่ายธุรกิจครอบคลุมหลากหลายไม่เฉพาะในบริบทของสังคมไทยเท่านั้น หากยังขยายไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน อาเซียน และในประเทศที่อยู่ห่างไกลออกไป ทั้งอินเดีย

Read More

ดัชนีอสังหาฯ แนวตั้ง ชี้เศรษฐกิจไม่ปังอย่างที่รัฐคิด

ช่วงปลายปี 2560 มาถึงช่วงเดือนแรกของศักราชใหม่ หลายสำนักออกมาคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2561 ว่ามีทิศทางและอนาคตที่สดใส อีกทั้งยังประเมินตัวเลข GDP ว่าจะมีการเติบโตถึง 4 เปอร์เซ็นต์ จนถึงเวลานี้แม้จะยังไม่มีใครให้คำตอบที่ชัดเจนได้ว่า คำทำนายเกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจนั้นจะถูกต้องไปทั้งหมดหรือไม่ กระนั้นตัวเลขจากการคาดการณ์ดังกล่าวก็ยังเป็นเสมือนน้ำหล่อเลี้ยงให้กับนักลงทุนทั้งหน้าเก่า หน้าใหม่ ที่กำลังตัดสินใจลงทุน แม้เราจะไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การลงทุนของภาครัฐเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรม และธุรกิจอื่นๆ อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลังประเมินว่าปี 2561 การลงทุนภาครัฐน่าจะขยายตัวอยู่ที่ 11.90 เปอร์เซ็นต์ ปัจจัยสำคัญคือการขับเคลื่อนการใช้จ่ายของภาครัฐผ่านโครงการขนาดใหญ่ อัตราการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เติบโตขึ้นเสมือนเงาตามตัวของเส้นทางรถไฟฟ้า เพราะเมื่อใดที่ภาครัฐเปิดเผยแผนก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนชนิดนี้ บรรดานักลงทุนทั้งแบรนด์ใหญ่และค่ายเล็กต่างพากันปักหมุดจับจองพื้นที่สำหรับก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่อาศัยแนวตั้ง ที่เกิดขึ้นแบบประกบคู่ขนานไปกับเส้นทางของโครงการรถไฟฟ้า ในช่วงเวลานั้นหลายค่ายคงจะประเมินถึงกระแสตอบรับต่อที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม ว่าน่าจะได้รับการตอบรับที่ดี รวมไปถึงการเจาะตลาดกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความสะดวกสบาย และการประเมินยอดผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า จึงไม่น่าแปลกใจที่จำนวนที่อยู่อาศัยแนวตั้งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนโดมิเนียมบนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่มีโครงการที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นจำนวนมากจนเรียกได้ว่าเกินความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค นั่นน่าจะมาจากผลสำรวจของภาครัฐในช่วงก่อนก่อสร้างโครงการว่าจะมีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าในเส้นทางดังกล่าวประมาณ 2 แสนคนต่อวัน หากแต่หลังโครงการเสร็จสิ้นและมีการสร้างเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงินแล้วก็ตาม แต่ยังมีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าประมาณ 5 หมื่นคนต่อวัน การลดลงของผู้โดยสารบนเส้นทางดังกล่าวน่าจะมีสาเหตุมาจากอัตราค่าโดยสารที่สูงขึ้นโดยเฉลี่ยไป-กลับ ประมาณ 200 บาทต่อวัน และปัญหาดังกล่าวก็ย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง เมื่อค่าใช้จ่ายในการเดินทางเป็นปัจจัยสำคัญให้ประชาชนนำมาพิจารณาเรื่องการซื้อที่อยู่อาศัยในย่านดังกล่าว นั่นทำให้เกิดปัญหาคอนโดมิเนียมบนเส้นทางสายสีม่วงโอเวอร์ซัปพลาย ทั้งนี้จำนวนหน่วยของที่อยู่อาศัยแนวตั้งในช่วงก่อนการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงนั้นมีประมาณ 1.3 หมื่นหน่วย

Read More