Home > Miniso

สวัสดี Moshi Moshi ได้ฤกษ์ติดจรวดขายแฟรนไชส์

อาณาจักรร้านสินค้าไลฟ์สไตล์แนวใหม่ สีสันน่ารักๆ Moshi Moshi ที่มีสาขาทั่วประเทศไทยมากกว่าร้อยร้าน เริ่มต้นจากร้านกิฟต์ช็อป “พร้อมภัณฑ์” ย่านฝั่งธนบุรีเมื่อห้าสิบกว่าปีก่อน ซึ่ง สง่า บุญสงเคราะห์ ลุยบุกเบิกจนกลายเป็นร้านที่ลูกค้าแถวนั้นรู้จักอย่างดี ก่อนปรับกลยุทธ์เน้นสินค้าที่มีดีไซน์และสินค้านำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อจำหน่ายให้ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และร้านค้าต่างๆ แน่นอนว่า ฐานลูกค้ากว้างขึ้น ตลาดใหญ่ขึ้นและยอดขายเติบโตมากขึ้น ปี 2530 นายสง่าขยายธุรกิจ เปิดร้านค้าส่งแบบดั้งเดิมในตลาดสำเพ็ง แต่ใช้วิธีตกแต่งร้านและเพิ่มจำนวนสินค้าเหมือนย่านค้าส่งในประเทศญี่ปุ่น ฉีกแนวคู่แข่งกลายเป็นร้านฮอตฮิตของลูกค้า กระทั่งปี 2543 ตัดสินใจเปิด บริษัท บีกิฟท์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจร้านค้าส่งแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) ในตลาดสำเพ็ง ในช่วงจังหวะที่ตลาดกิฟต์ช็อปและสินค้าไลฟ์สไตล์เติบโตสูงมาก พร้อมๆ กับกลุ่มลูกค้าต่างเรียกหาสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น อชิระ บุญสงเคราะห์ ลูกชายของสง่า มองเห็นโอกาสและแนวทางใหม่ๆ หลังเรียนรู้การทำธุรกิจและสั่งสมประสบการณ์จากผู้เป็นพ่อ เขาปรึกษาครอบครัวและลงมติร่วมกัน จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัท บี กิฟท์ เป็นบริษัท โมชิ โมชิ เจแปน จำกัด

Read More

ไลฟ์สไตล์ กิฟต์ช็อป 8 พันล้าน ไดโซะ มินิโซ โมชิ ชิงเม็ดเงิน

นับจาก “ไดโซะ (Daiso)” ร้านขายสินค้าจิปาถะราคา 100 เยนจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาบุกตลาดไทย ผุดสาขาแรกเมื่อปี 2546 ปลุกกระแสร้านค้าไลฟ์สไตล์ สร้างสีสันใหม่ๆ ให้ลูกค้าคนไทย จนกลายเป็นอีกเซกเมนต์ที่มาแรงไม่หยุด โดยคาดการณ์มูลค่าตลาดรวมในปี 2566 เม็ดเงินสูงถึง 5,500 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มเป็น 6,400 ล้านบาทในปี 2567 แถมปี 2568 จะพุ่งพรวดเป็น 7,400 ล้านบาท ก่อนทะยานไปถึง 8,600 ล้านบาท ในปี 2569 ต้องยอมรับว่า ไดโซะจุดประกายการชอปปิ้งของผู้บริโภคชาวไทยพร้อมๆ กับการเติบโตของกลุ่มคนกำลังซื้อปานกลางที่มีระดับการศึกษาสูงขึ้น เกิดพฤติกรรมการจับจ่ายแนวใหม่ๆ ไม่ใช่แค่กิฟต์ช็อป หรือสินค้าทั่วไป แต่ต้องคุ้มค่า มีดีไซน์ สินค้าทุกชิ้นต้องสะท้อนบุคลิก ความชอบและตัวตน หลังไดโซะเข้ามาลุยตลาดได้ไม่นานและได้รับความนิยมสูงมาก แบรนด์ต่างๆ จึงกระโดดตามมาติดๆ อย่าง KOMONOYA หรือร้าน 100 Yen Shop ของบริษัท

Read More

สงครามค้าปลีก “วันไพร์ส” แบรนด์เกาหลีเร่งแซงญี่ปุ่น

สงครามค้าปลีกกลุ่ม “One Price Store” แข่งขันกันดุเดือด แม้ “ไดโซะ (Daiso)” ต้นตำรับร้านร้อยเยนจากญี่ปุ่น ในฐานะผู้บุกเบิกตลาดไทยเป็นเจ้าแรกเมื่อ 15 ปีก่อน ยังสามารถยึดตำแหน่งผู้นำในเซกเมนต์นี้ แต่ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้เล่นหน้าใหม่แห่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่ง โดยเฉพาะแบรนด์สไตล์เกาหลี ที่เริ่มรุกขยายฐานเจาะกลุ่มแฟนคลับวัยรุ่นตามกระแสคลื่นวัฒนธรรมเกาหลีที่ยังร้อนแรงต่อเนื่อง แน่นอนว่า หากเปรียบเทียบกัน วัฒนธรรมญี่ปุ่นสอดแทรกเข้าสู่ประเทศไทยมายาวนานกว่าวัฒนธรรมเกาหลี สีสันอาจดูคล้ายกัน แต่กระแสความแรงต่างกัน กระแสเกาหลี (Korean Wave) หรือ “Hallyu” ซึ่งเป็นศัพท์ที่นักหนังสือพิมพ์ชาวจีนบัญญัติขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1990 หมายถึงกระแสความเย็นของความนิยมเกาหลีที่ค่อยๆ คืบคลานมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยถือเป็นปรากฏการณ์เหนือความคาดหมายของนักวิชาการหรือบรรดาสื่อมวลชน เพราะเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมข้ามชาติที่ข้ามพ้นอิทธิพลทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคมของชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา กระแสนี้ก่อตัวมากว่าสิบปีและยังมีแนวโน้มมาแรง เป็นความนิยมชมชอบทางวัฒนธรรมร่วมสมัยของเกาหลี (Korean Pop Culture) ที่มาจากภาพยนตร์ เพลงป๊อป และดารานักร้องเกาหลี จนสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศเกาหลีใต้เป็นเงินมากกว่า 4,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผ่านการส่งออกวัฒนธรรมรูปแบบต่างๆ ในประเทศไทย กระแสเกาหลีเริ่มต้นช่วงปี 2544 จากความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่อง My Sassy Girl

Read More