Home > สงครามค้าปลีก

ศึก 1 แถม 1 สู้ “คนละครึ่ง” ยักษ์ค้าปลีกอัดโปรถี่ยิบ

สงครามค้าปลีก “คนละครึ่ง” เปิดฉากดุเดือดอีกครั้งและแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะบรรดายักษ์ค้าปลีกและเครือข่ายร้านอาหารแบรนด์ดังต่างอัดโปรโมชั่น “1 แถม 1” ถี่ยิบ เพื่อช่วงชิงกำลังซื้อแข่งขันกับกลุ่มร้านโชวห่วยและสตรีทฟู้ดที่เข้าโครงการ "คนละครึ่ง" เฟส 2 ตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2564 หลังเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ จนส่งผลกระทบซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของคนไทย แน่นอนว่า โครงการคนละครึ่งของรัฐบาล ซึ่งให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชนในการซื้อสินค้า โดยภาครัฐช่วยจ่าย 50% ในวงเงิน 3,000 บาทต่อคนในเฟสแรก และเพิ่มเป็น 3,500 บาทต่อคนในเฟส 2 วันละไม่เกิน 150 บาทต่อคน กลายเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สามารถลดค่าใช้จ่ายแบบเห็นชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการที่ผ่านมา จนกลายเป็นกลยุทธ์ชนะใจชาวบ้านในทุกโพลล์ของทุกสำนัก อย่างโพลล์ RIDC ของศูนย์นวัตกรรมดิจิทัล วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อผลงานของรัฐบาลประจำปี 2563 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง การถดถอยของเศรษฐกิจและเหตุการณ์อื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนอย่างต่อเนื่อง

Read More

สงครามค้าปลีก “วันไพร์ส” แบรนด์เกาหลีเร่งแซงญี่ปุ่น

สงครามค้าปลีกกลุ่ม “One Price Store” แข่งขันกันดุเดือด แม้ “ไดโซะ (Daiso)” ต้นตำรับร้านร้อยเยนจากญี่ปุ่น ในฐานะผู้บุกเบิกตลาดไทยเป็นเจ้าแรกเมื่อ 15 ปีก่อน ยังสามารถยึดตำแหน่งผู้นำในเซกเมนต์นี้ แต่ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้เล่นหน้าใหม่แห่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่ง โดยเฉพาะแบรนด์สไตล์เกาหลี ที่เริ่มรุกขยายฐานเจาะกลุ่มแฟนคลับวัยรุ่นตามกระแสคลื่นวัฒนธรรมเกาหลีที่ยังร้อนแรงต่อเนื่อง แน่นอนว่า หากเปรียบเทียบกัน วัฒนธรรมญี่ปุ่นสอดแทรกเข้าสู่ประเทศไทยมายาวนานกว่าวัฒนธรรมเกาหลี สีสันอาจดูคล้ายกัน แต่กระแสความแรงต่างกัน กระแสเกาหลี (Korean Wave) หรือ “Hallyu” ซึ่งเป็นศัพท์ที่นักหนังสือพิมพ์ชาวจีนบัญญัติขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1990 หมายถึงกระแสความเย็นของความนิยมเกาหลีที่ค่อยๆ คืบคลานมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยถือเป็นปรากฏการณ์เหนือความคาดหมายของนักวิชาการหรือบรรดาสื่อมวลชน เพราะเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมข้ามชาติที่ข้ามพ้นอิทธิพลทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคมของชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา กระแสนี้ก่อตัวมากว่าสิบปีและยังมีแนวโน้มมาแรง เป็นความนิยมชมชอบทางวัฒนธรรมร่วมสมัยของเกาหลี (Korean Pop Culture) ที่มาจากภาพยนตร์ เพลงป๊อป และดารานักร้องเกาหลี จนสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศเกาหลีใต้เป็นเงินมากกว่า 4,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผ่านการส่งออกวัฒนธรรมรูปแบบต่างๆ ในประเทศไทย กระแสเกาหลีเริ่มต้นช่วงปี 2544 จากความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่อง My Sassy Girl

Read More