Home > Cover Story (Page 106)

สิมิลัน: เหยื่อการท่องเที่ยวที่ไร้การจัดการ?

ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวกำลังดำเนินความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการโหมประโคมส่งเสริมการท่องเที่ยว ภายใต้คำขวัญที่หวังสร้างกระแสทั้ง “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างลึกซึ้ง” และ “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน” หากแต่ข่าวความเป็นไปของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันในช่วงเวลา 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ดูจะสร้างมิติที่แตกต่างออกไปจากอย่างสิ้นเชิง ปรากฏการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังหมู่เกาะสิมิลันอย่างหนาแน่น จนเกิดภาวะนักท่องเที่ยวล้นเกาะ ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้การดูแลและอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างไม่ทั่วถึงแล้ว ประเด็นที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือสภาพแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาติของหมู่เกาะสิมิลัน จะมีความเสี่ยงต่อการถูกทำลายให้เสียหายมากน้อยเพียงใด จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น ในด้านหนึ่งอาจจะทำให้หน่วยงานด้านการท่องเที่ยวระบุถึงผลความสำเร็จในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่ทำให้สิมิลันกลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยม โดยเฉพาะในกลุ่มนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวจากจีนที่มีสัดส่วนมากถึงกว่าร้อยละ 90 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด ขณะที่ในปีที่ผ่านมา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา กลายเป็นสถานที่ที่สามารถจัดเก็บรายได้จากค่าธรรมเนียมนักท่องเที่ยวได้มากถึง 201 ล้านบาท จากการเปิดฤดูท่องเที่ยวประจำปี 2560 (1 พฤศจิกายน 2559-30 เมษายน 2560) รายได้ที่เพิ่มมากขึ้นเป็นประวัติการณ์เมื่อปีที่ผ่านมา ได้รับการบันทึกว่าเป็นสถิติใหม่ในการจัดเก็บรายได้สูงสุดในรอบ 35 ปีนับตั้งแต่มีการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เมื่อปี 2525 และนับเป็นสถานที่ที่จัดเก็บรายได้จากนักท่องเที่ยวได้มากเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย กระนั้นก็ดี ตัวเลขของรายได้และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมไม่สามารถเป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการบริหารจัดการกิจกรรมท่องเที่ยว ที่มุ่งหมายทั้งในมิติของความลึกซึ้งและยั่งยืน ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามนำเสนอได้ ในทางตรงข้ามกลับสะท้อนภาพความบกพร่องในการบริหารจัดการและการเตรียมการที่จะรองรับผลสืบเนื่องที่สามารถคาดการณ์ได้จากปรากฏการณ์ในช่วงปีที่ผ่านมา ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ ในช่วงเดือนมกราคม 2560 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันรายงานว่าสามารถจัดเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมนักท่องเที่ยวได้มากถึง 57 ล้านบาท

Read More

ททท. เร่งเครื่องสร้างแรงบันดาลใจ ท่องเที่ยววิถีไทย 2561

เพิ่งจบไปหมาดๆ กับงาน “เทศกาลเที่ยวเมืองไทย 2561” ครั้งที่ 38 ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยแทบจะยกจุดเด่นของแต่ละภูมิภาคมานำเสนอไว้ที่สวนลุมพินี เพื่อให้คนกรุง รวมไปถึงนักท่องเที่ยวได้สัมผัสบรรยากาศและทำความรู้จักกับประเพณี วัฒนธรรม อาหารพื้นบ้านของไทยในเบื้องต้น ซึ่งผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ยุทธศักดิ์ สุภสร คาดหวังว่างานนี้จะเป็นเสมือนจุดเริ่มต้นและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเหล่านักเดินทางทั้งไทยและต่างชาติ ให้ได้ออกเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวจริง เบื้องต้นที่มีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้เข้าร่วมชมงานไม่ต่ำกว่า 6 แสนคน หากการทำงานของ ททท.ในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ และเป็นไปตามเป้าหมาย ผู้เข้ามาร่วมชมงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย ครั้งที่ 38 จำนวนไม่น้อยกว่า 61 เปอร์เซ็นต์ ออกเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ นั่นอาจจะหมายถึงตัวเลขรายได้ที่จะได้รับประมาณ 1 ล้านล้านบาท ภายใต้ยุทธศาสตร์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคนใหม่ ผสมผสานกับกรอบโครงของนโยบายรัฐบาลที่ต้องการจะลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม รวมไปถึงความต้องการที่จะปลุกฟื้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก การเติมน้ำมันเพื่อเร่งเครื่อง ฟันเฟืองสำคัญอย่างการท่องเที่ยวในห้วงยามนี้ ดูจะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุด แน่นอนว่า ความคาดหวังของภาครัฐในเรื่องที่ต้องการให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาซัปพลายที่จะนำเสนอให้กับเหล่านักท่องเที่ยว ที่ไม่เพียงแต่เฉพาะเจาะจงว่าจะต้องพร้อมสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเท่านั้น หากแต่ยังต้องคำนึงถึงนักท่องเที่ยวไทยที่นิยมเดินทางภายในประเทศอีกด้วย และงาน “เทศกาลเที่ยวเมืองไทย” ที่ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 38 เป็นส่วนหนึ่งในแผนการที่แม้จะมองว่าไม่ใช่แผนการที่แยบยลอะไรมากนัก หากแต่เป็นการเดินเกมแบบง่ายๆ แต่น่าจะเห็นผลได้ชัดเจน ด้วยรูปแบบของงานที่ยกเอาของดีจากหลายภูมิภาคมาไว้ในใจกลางกรุงเทพฯ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เริ่มทำความรู้จัก สร้างจุดสนใจ และในที่สุดคือ ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจจนเกิดการเดินทางเข้าไปยังพื้นที่จริง แน่นอนว่ากว่าจะวัดผลของงานครั้งนี้ได้ก็ต่อเมื่อขึ้นศักราชใหม่แล้ว

Read More

ททท. ชูเมืองรองแคมเปญใหม่ หวังสร้างรายได้สู่เศรษฐกิจฐานราก

ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีรายได้จากหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมการส่งออก การลงทุนจากภาคเอกชน และที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่ดูเหมือนจะเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจไทย ในหลายยุคหลายสมัย เมื่อประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่เกื้อหนุนต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี จึงไม่น่าแปลกใจที่รายได้จากการท่องเที่ยวไทยคิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ของประเทศ โดยเฉพาะเมื่อศักราชที่ผ่านมา ประเทศไทยมียอดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเที่ยวไทยมากกว่า 35 ล้านคน จากตัวเลขดังกล่าวทำให้ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวมกว่า 2.754 ล้านล้านบาท รายได้รวมขยายตัวขึ้นถึง 9.47 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อน ซึ่งเมื่อพิจารณาจากภาพรวมที่ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ได้อธิบายให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวของชาวต่างชาติในปี 2560 ไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวจำนวนทั้งสิ้น 35,381,210 คน จำนวนดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีการขยายตัว 8.77 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติคือ 1,824,042.35 ล้านบาท ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศปี 2560 มีจำนวน 152 ล้านคน-ครั้ง เป็นตัวเลขที่ขยายตัวถึง 4.39 เปอร์เซ็นต์จากปีที่ผ่านมา และรายได้จากการท่องเที่ยวของคนไทยเองประมาณ 930,000 ล้านบาท แม้ว่าตัวเลขทั้งในด้านของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ จะเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นปรากฏการณ์

Read More

เปิดใจ ดร.ฝน ศิษย์เอก “ธนินท์” ปั้นไก่ทอดเจนใหม่ ฟรายด์เดส์

ไก่ทอด “ฟรายด์เดส์” (Fried Days) ผลผลิต 1 ใน 10 แบรนด์ที่เปิดตัวเข้ามาบุกสมรภูมิร้านอาหารภายใต้โครงการสร้างผู้นำผ่านธุรกิจเพื่ออนาคตของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ซึ่งคัดเลือกจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ Young Talents ระดับหัวกะทิตามแนวคิดของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ กำลังสร้างปรากฏการณ์น่าตื่นเต้น โดยเฉพาะการฉีกกลยุทธ์ร้านไก่ทอดแบบหลุดกรอบชนิดที่คู่แข่งยักษ์ใหญ่ทั้งเคเอฟซีและแมคโดนัลด์ต้องเตรียมรับมือสู้ศึกครั้งใหญ่ เพราะ “ฟรายด์เดส์” มีทั้งทุนยักษ์ใหญ่ระดับ “ซีพี” เป็นผู้หนุนหลังบวกกับไอเดียการตลาดแนวใหม่จากกลุ่ม Young Talents ที่มีวรรณวิรัช วิรัชนิภาวรรณ หรือ ดร.ฝน กรรมการผู้จัดการ บริษัท วายแอนด์โอ จำกัด เป็นแกนหลักปลุกปั้นแบรนด์ ในฐานะศิษย์เอกที่เจ้าสัวธนินท์ลงมือถ่ายทอดวิชาอย่างเข้มข้น พร้อมสั่งให้เดินทางติดตามไปศึกษาธุรกิจร้านอาหารชื่อดังทั่วโลกอยู่เป็นประจำ วรรณวิรัช วิรัชนิภาวรรณ หรือ ดร.ฝน เปิดใจกับ “ผู้จัดการ360” ว่า ได้โอกาสจากประธานธนินท์เข้ามาร่วมในโครงการ Young Talents เมื่ออายุ 29 ปี โดยก่อนหน้านั้น เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Read More

ธนินท์ เจียรวนนท์ ลุยภารกิจใหญ่ ปั้นซีอีโอในอนาคต

ธนินท์ เจียรวนนท์ ทุ่มทั้งเวลาและเงินทุนสร้าง “สถาบันผู้นำ” ลุยภารกิจใหญ่ ปั้นผู้นำรุ่นใหม่และซีอีโอในอนาคต เพื่อรองรับอาณาจักรธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ที่มีการลงทุนในเกือบ 20 ประเทศ มีการค้าระหว่างประเทศอีกมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ใน 8 สายกลุ่มธุรกิจ ทั้งธุรกิจเกษตรอาหาร ธุรกิจการตลาดและลอจิสติกส์ ธุรกิจโทรคมนาคมและมีเดีย ธุรกิจเวชภัณฑ์ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมหนัก ธุรกิจสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และธุรกิจการเงิน มูลค่าเม็ดเงินจำนวนมหาศาล “อนาคตของซีพี ที่สำคัญที่สุดคือ คน ซีพีจะยืนหยัดมั่นคงเหมือนดาวฤกษ์ได้ต้องมีผู้นำรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งจะนำพาให้คนในเครือฯ พร้อมที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปด้วยกัน” นั่นถือเป็นวรรคทองและหัวใจสำคัญที่สุด ซึ่งธนินท์เคยกล่าวผ่านสื่อ ย้ำถึงความจำเป็นในการลงทุนเกือบ 4,000 ล้านบาท ตั้งสถาบันเพื่อการพัฒนาผู้นำ C.P. Leadership Institute ในพื้นที่ 145 ไร่ ตำบลหนองน้ำแดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยศึกษาข้อมูลเรื่องการสร้างคนที่ดีที่สุดขององค์กรชั้นนำระดับโลก และนำคณะผู้บริหารระดับสูงไปเยี่ยมชมองค์กรชั้นนำเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นบริษัท จีอี บริษัทซัมซุง และบริษัทโบอิง

Read More

ซีพีงัดแผน Young Talent บุก 10 แบรนด์ ผุดดีลิเวอรี่ “แดชดี”

“ท่านประธานอาวุโส ธนินท์ เจียรวนนท์ บอกว่า โครงการสร้างผู้นำในธุรกิจเพื่ออนาคตเป็นการออกค่าเล่าเรียน ไม่ได้มองว่า จะได้กำไรตั้งแต่โมเดลแรก แต่วันหนึ่งจะประสบความสำเร็จ และสิ่งที่ได้มากกว่าร้านอาหาร คือ ผู้นำ เห็นใครมุมานะ ใครไม่ย่อท้อ ใครคิดมีชั้นเชิง คนเหล่านี้ประมาณค่าไม่ได้ เขาอาจทำธุรกิจอาหารไม่สำเร็จ แต่อาจไปสำเร็จในธุรกิจเทเลคอม เราเห็นแววจากการทำธุรกิจนี้ และไม่ได้มีคอนแทร็กต์ผูกมัดต้องอยู่ซีพี มีสิทธิ์เลือกกันและกัน...” ดร.วรรณวิรัช วิรัชนิภาวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วายแอนด์โอ จำกัด และรองผู้อำนวยการสถาบันผู้นำ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) หรือ C.P. Leadership Institute กล่าวถึงแนวคิดและเป้าหมายในโครงการสร้างผู้นำในธุรกิจเพื่ออนาคตของธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือซีพี ซึ่งเริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อปี 2560 และกำลังต่อยอดสร้างโมเดลธุรกิจที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มีอาชีพและสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจ ภายใต้โครงการปั้นเถ้าแก่น้อยสู่เวทีโลก โดยมีบริษัทวายแอนด์โอเป็นเวทีเปิดโอกาสให้ผู้นำรุ่นใหม่เหล่านี้เข้ามาประลองฝีมือชั้นเชิงการทำธุรกิจ ทั้งนี้ การค้นหาโมเดลธุรกิจต้นแบบจะเริ่มต้นจากการหาไอเดียของกลุ่มผู้นำคนรุ่นใหม่ หรือ Young Talent ซึ่งคัดเลือกจากกลุ่มนักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่จากมหาวิทยาลัย ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงพนักงานในเครือซีพีที่มีอายุไม่เกิน 28 ปี เข้ามาทำงานร่วมกัน

Read More

ปีจอของคิง เพาเวอร์ จังหวะก้าวของจิ้งจอกสยาม

ข่าวการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV ในช่วงก่อนสิ้นปี 2560 ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งอาจเป็นกรณีปกติของธุรกิจและการลงทุนที่เต็มไปด้วยพลวัตและกลยุทธ์การเคลื่อนย้ายเงินทุนเพื่อสร้างผลประโยชน์กำไร หากแต่กรณีดังกล่าวนี้ มีประเด็นให้สนใจติดตามไม่น้อย ไม่ใช่เพราะ AAV เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มีผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้เสียในวงกว้างเท่านั้น หากแต่เป็นเพราะความเคลื่อนไหวของกลุ่มคิง เพาเวอร์และครอบครัวศรีรัตนประภา กำลังดำเนินไปท่ามกลางสปอตไลต์ ที่ฉายคลุมให้สังคมได้ร่วมพิจารณาและศึกษาวิถีความคิดในการดำเนินธุรกิจไม่น้อยเลย เนื่องเพราะก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนมิถุนายน 2559 กลุ่มคิง เพาเวอร์ได้เข้าซื้อหุ้นจำนวนกว่าร้อยละ 39 ใน AAV ซึ่งมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และผู้ประกอบการสายการบินต้นทุนต่ำ (low cost airline) รายใหญ่ของไทยในนามไทยแอร์เอเชีย จากกลุ่มของธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ด้วยมูลค่าการลงทุนเกือบ 8 พันล้านบาท ภายใต้เหตุผลที่ว่ากลุ่มคิง เพาเวอร์ต้องการขยายธุรกิจครอบคลุมไปสู่การท่องเที่ยวและเติมเต็มช่องทางธุรกิจที่มีอยู่ให้ครบวงจร แม้ว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะได้รับการอธิบายว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขยายตัวทางธุรกิจมูลค่ารวมกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท ภายใต้กรอบระยะเวลา 5 ปี เพื่อหนุนนำให้คิง เพาเวอร์ก้าวไปสู่การเป็นผู้ประกอบการร้านค้าปลอดภาษีระดับนำ 1 ใน 5

Read More

ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 61 กับการขับเคลื่อนของ 3 เครื่องจักร

ศักราชใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นท่ามกลางบรรยากาศของความสดชื่น สดใส กระนั้นดูจะอุดมไปด้วยความคาดหวังในหลากหลายมิติ ทั้งในแง่มุมของการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งไทยและต่างประเทศ ซึ่งเศรษฐกิจต่างประเทศดูจะมีอิทธิพลต่อไทยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หรือความคาดหวังเกี่ยวกับการเมือง ที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้นในเร็ววัน ซึ่งหากมีการกำหนดวันเลือกตั้ง น่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับบรรดานักลงทุนทั้งในไทยและโดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติได้มากโข อย่างไรก็ตาม ในช่วงท้ายไตรมาสสุดท้ายของปี 2560 ตัวเลขเศรษฐกิจไทย ทั้งตัวเลขจีดีพี การส่งออก และจำนวนนักท่องเที่ยว ดูจะเป็นไปตามการคาดการณ์และคาดหวังของหลายฝ่าย สถานการณ์ที่ค่อยๆ ดีขึ้นส่งผลต่อทิศทางความเป็นไปของเศรษฐกิจไทยในปีพุทธศักราชใหม่นี้ด้วย แม้ว่าเครื่องจักรสำคัญยังคงเป็นเครื่องจักรตัวเดิมอย่างการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุน หลายฝ่ายเริ่มเปิดเผยถึงการคาดการณ์เศรษฐกิจภาพรวมของไทยว่า น่าจะมีแรงบวกมากขึ้นจากอานิสงส์ของสถานการณ์ช่วงปลายปี 2560 โดยเฉพาะเรื่องของการส่งออกที่มีแรงหนุนในช่วงท้ายปีที่ผ่านมา แม้จะยังเป็นเพียงกระแสที่ค่อนข้างจะแผ่วไปจากความคาดหวังก็ตาม กระนั้นจากที่เคยคาดการณ์กันว่าตัวเลขส่งออกที่ตั้งเป้าเอาไว้ตั้งแต่ต้นปี 2560 ที่ตัวเลขการเติบโตเพียง 2-3 เปอร์เซ็นต์นั้น ต้องปรับเป้าหมายขึ้นมาเป็น 6.7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อมีการเติบโตที่ค่อนข้างเห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจากปี 2560 ส่งผลให้หลายฝ่ายยังมั่นใจว่าไตรมาสแรกของปี 2561 น่าจะยังคงดำเนินไปได้ด้วยตัวเลขสถิติการส่งออกที่ดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แม้ว่าในปัจจุบันค่าเงินบาทจะแข็งตัวอยู่ในระดับ 32.63 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไม่เอื้อต่อการส่งออกมากนัก ขณะที่การส่งออกจำต้องอาศัยปัจจัยจากภายนอกมากกว่าปัจจัยภายใน โดยเฉพาะสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ค่าเงินบาท และสถานการณ์การเมืองของประเทศมหาอำนาจเช่นสหรัฐอเมริกา และจีน ทั้งนี้ปัจจัยดังกล่าวไม่ได้มีผลต่อตัวเลขการส่งออกเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังหมายความรวมถึงสถานการณ์การลงทุนของภาคเอกชนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แม้ว่าการลงทุนภาคเอกชนจะไม่ใช่ตัวแปรสำคัญต่อภาพรวมของเศรษฐกิจไทยก็ตาม กระนั้นสิ่งที่จะเกื้อหนุนให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนคงหนีไม่พ้นนโยบายหลักทางเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มี ดร.สมคิด

Read More

ไทยเบฟในอาเซียน คู่ปรับขนาบข้าง ศึกนี้ไม่ง่าย

ความพยายามที่จะขยายอาณาจักรธุรกิจให้แผ่กว้างครอบคลุมบริบทของอาเซียนภายใต้วิสัยทัศน์ 2020 ของไทยเบฟเวอเรจ ดูจะไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่นไร้อุปสรรคหากแต่เต็มไปด้วยความท้าทาย ซึ่งมีทั้งคู่แข่งขันที่เป็นทั้งคู่ปรับเก่าที่เคยฝากรอยแผลทางธุรกิจและคู่ต่อสู้ที่ประเมินอาเซียนในฐานะที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำทางธุรกิจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน การเข้าซื้อหุ้นโรงงานเบียร์ในเวียดนามด้วยเงินลงทุนกว่า 1.6 แสนล้านบาทโดยกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ เมื่อไม่นานมานี้ อาจให้ภาพของจังหวะก้าวและการรุกคืบไปในอนาคตตามแผนที่วางไว้ ตลาดเบียร์อาเซียนยังมีผู้ประกอบการระดับนานาชาติที่ร่วมแสดงบทบาทนำในภูมิภาคแห่งนี้ และต่างมีสรรพกำลังที่พร้อมจะบดบังและทำลายจังหวะโอกาสของไทยเบฟเวอเรจไม่น้อยเลย บทบาทของ Carlsberg และ Heineken ในห้วงเวลาหลังจากการรุกคืบของไทยเบฟเวอเรจเป็นกรณีที่น่าสนใจติดตามอย่างยิ่ง เพราะแม้ผู้ผลิตเบียร์ระดับนำของโลกทั้งสองรายนี้ ต่างเคยมีประสบการณ์และรอยอดีตเกี่ยวเนื่องให้จดจำไทยเบฟเวอเรจในมิติที่ต่างกัน หากแต่ความเป็นไปในทางธุรกิจ ต้องถือว่านี่เป็นการขับเคี่ยวแข่งขันในสมรภูมิที่เดิมพันสูงย่อมไม่มีใครประสงค์จะเพลี่ยงพล้ำ Carlsberg บริษัทผู้ผลิตเบียร์สัญชาติเดนมาร์ก เคยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยผ่านอดีตพันธมิตรและเครือข่ายของเจริญ สิริวัฒนภักดี ก่อนจะนำไปสู่การร่วมจัดตั้งคาร์ลสเบอร์ก ประเทศไทย ก่อนที่จะมีกรณีพิพาท เมื่อ Carlsberg ยกเลิกการเป็นหุ้นส่วนกับเบียร์ช้างในปี 2003 โดยระบุว่าเบียร์ช้างไม่ได้ทำตามพันธะผูกพันซึ่งระบุไว้ในข้อตกลงร่วมลงทุน โดยฝ่ายเบียร์ช้างของเจริญ สิริวัฒนภักดี ตอบโต้ด้วยการเรียกร้องค่าชดเชยเป็นมูลค่า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการที่ Carlsberg บอกเลิกและฉีกสัญญาร่วมลงทุนในครั้งนั้น ผลจากการยกเลิกการร่วมทุนกับเบียร์ช้างดังกล่าว ทำให้ชื่อของ Carlsberg เลือนหายไปจากการรับรู้ของนักดื่มชาวไทยไปอย่างช้าๆ หากแต่ในอีกด้านหนึ่ง Carlsberg กลับลงหลักปักฐานในเอเชียและอาเซียนอย่างต่อเนื่อง หากกล่าวเฉพาะในอาเซียน Carlsberg ลงทุนทั้งในเวียดนามผ่าน Hue Brewery และ Hanoi

Read More

ธุรกิจความงามพุ่งแสนล้าน “ยักษ์ใหญ่-หน้าใหม่” บุกหนัก

ศ.ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการ บริษัท วุฒิศักดิ์ กรุ๊ป จำกัด เคยออกมาเปิดเผยตัวเลขการเติบโตของธุรกิจเพื่อสุขภาพและความงามอย่างน่าตื่นเต้นว่า ถ้าวัดจากตลาดระดับโลกมีมูลค่ามากกว่า 900,000 ล้านบาท ตลาดอาเซียนมีมูลค่ามากถึง 500,000 ล้านบาท และในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึง 250,000 ล้านบาท โดยมีอัตราเติบโตต่อเนื่อง 15-20% ทุกปี ขณะเดียวกัน ในตัวเลขกว่า 250,000 ล้านบาท หยิบเฉพาะตลาดคลินิกความงาม มีมูลค่ามากกว่า 30,000 ล้านบาท และตลาดศัลยกรรมความงามอีก 30,000 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 2 ตลาดเติบโตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปี นั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พยายามผลักดันร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพ ระยะ 10 ปี โดยตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของโลก 4 ด้าน ได้แก่ ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub) ศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical

Read More