Home > Cover Story (Page 102)

อาลีบาบา-สยามเกตเวย์ ย้อนรอยเจาะตลาดจีน

ในขณะที่รัฐบาลไทยกำลังตื่นเต้นกับความร่วมมือหลายๆ ด้านกับอาลีบาบากรุ๊ป เว็บไซต์ค้าปลีก (B2C) ที่ใหญ่ที่สุดในจีน และเข้าถึงผู้บริโภคกว่า 1,400 ล้านคน โดยเฉพาะการเปิดตัว Thai Rice Flagship Store บนเว็บไซต์ของ Tmall.com ในเครืออาลีบาบากรุ๊ป เพื่อนำร่องผลักดันผู้ประกอบการและผู้ส่งออกข้าวเข้าถึงตลาดซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ (e-Commerce) และเปิดตัวแคมเปญส่งเสริมการขายทุเรียนผ่านเว็บไซต์อย่างเต็มรูปแบบก่อนขยายไปยังผลไม้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมังคุด มะม่วง มะพร้าว และน้อยหน่า บริษัทไทย 2 แห่ง เกิดบิ๊กไอเดียสร้างธุรกิจเทรดดิ้งที่ให้บริการผู้ประกอบการเจาะตลาดต่างประเทศภายใต้คอนเซ็ปต์บริการแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว ตั้งแต่การสนับสนุนด้านเงินทุน กระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายผ่านช่องทางการจัดจำหน่าย เหมือน “ศูนย์กลางส่งออกสินค้าครบวงจร” ทั้ง online, offline, B2B, B2C และช่องทางร้านค้าปลอดภาษี การบริหารการส่งออก โดยตั้งเป้าหมายแรก คือ ตลาดจีนและวางแผนขยายครอบคลุมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่น เกาหลี หนึ่งบริษัท คือ กลุ่ม ที.เอ.ซี.คอนซูเมอร์ ผู้ประกอบธุรกิจจัดหา ผลิต และจำหน่ายเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ และสินค้าไลฟ์สไตล์

Read More

เมเจอร์เดินหน้ากินรวบ งัดโรงหนังเด็กขยายฐาน

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป เดินหน้าเร่งปูพรมสาขาอย่างต่อเนื่อง และงัดกลยุทธ์ทุกรูปแบบตามแผนการก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 ตั้งเป้าปี 2020 หรือภายในปี พ.ศ. 2563 จะขยายเครือข่ายโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศไทยและกลุ่มประเทศ CLMV ครบ 1,000 โรง และเจาะยึดตลาดทุกกลุ่มลูกค้า ตั้งแต่เด็ก 5 ขวบจนถึงวัยเกษียณ ที่สำคัญ คือ การสร้างเมืองหนังและศูนย์รวมความบันเทิงระดับโลกที่ดีที่สุด ทั้งรูปโฉม นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านระบบการฉายภาพยนตร์ แน่นอนว่า หากเปรียบเทียบคู่แข่งอย่าง “เอสเอฟ คอร์ปอเรชั่น” ของกลุ่มตระกูลทองร่มโพธิ์แล้ว การดำเนินธุรกิจของ “วิชา พูลวรลักษณ์” เน้นการหาพันธมิตรเพื่อเสริมความแข็งแกร่ง เพราะสามารถขยายฐานลูกค้าแบบ “ดับเบิ้ล” และ “วิน-วิน” ทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะการดึงบริษัทยักษ์ใหญ่เข้ามาร่วมเป็นเนมสปอนเซอร์ สร้างความแตกต่างของตัวโรงภาพยนตร์ เน้นความหรูหราและภาพลักษณ์ระดับพรีเมียม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอิออน กลุ่มกรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารออมสิน เอไอเอส กลุ่มทรู อย่างสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ซึ่งเมเจอร์ฯ ดึงเข้ามาเป็นเนมสปอนเซอร์ เปิดโรงภาพยนตร์

Read More

เชื่อ EEC ฉุดเศรษฐกิจโต หลังบริษัทยักษ์ใหญ่แห่ร่วมวง

ความเป็นไปของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กำลังเป็นประหนึ่งยาชูกำลังให้รัฐบาลไทยเดินหน้าและมั่นใจกับผลงานชิ้นเอกทางเศรษฐกิจที่หมายมั่นจะให้เป็นกลไกหนุนนำภาวะเศรษฐกิจของชาติในยุคสมัยถัดไปจากนี้ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้พระราชบัญญัติเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ที่ผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำให้หลายฝ่ายเชื่อมั่นว่า โครงการ EEC จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวไปสู่ระดับร้อยละ 5 ได้ไม่ช้า เมื่อมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ EEC สามารถเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ที่ประมาณ 3 แสนล้านบาท โดยล่าสุดมีนักลงทุนจากหลายประเทศให้ความสนใจเข้าลงทุนในพื้นที่เป้าหมายนี้ ความน่าสนใจที่น่าจับตามองจากปรากฏการณ์ความเคลื่อนไหวของผู้ลงทุนจากต่างประเทศในช่วงที่ผ่านมาอยู่ที่การประกาศเจตจำนงของบริษัท เอ็กซอน โมบิลฯ บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ที่จะขยายการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยมีความประสงค์จะตั้งโรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่ มูลค่าการลงทุนประมาณ 2 แสนล้านบาท เพื่อผลิตปิโตรเคมีและส่งออกให้กับลูกค้าในต่างประเทศเป็นหลัก จากที่ในปัจจุบัน บริษัทในเครืออย่างบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีการตั้งโรงงานกลั่นน้ำมันอยู่ใน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี อยู่แล้ว การขยายลงทุนครั้งใหม่ของเอ็กซอนโมบิลดำเนินไปท่ามกลางเงื่อนไขที่ว่า เอ็กซอนโมบิลต้องการใช้พื้นที่มากถึง 600-900 ไร่ และอยู่ใกล้กับท่าเรือของโรงกลั่นเอสโซ่ เพื่อดำเนินการต่อท่อรับและขนถ่ายวัตถุดิบใช้ในการผลิต แต่พื้นที่ของโรงกลั่นเอสโซ่ปัจจุบันค่อนข้างมีจำกัด เอ็กซอนโมบิลจึงขอให้รัฐบาลดำเนินการจัดหาที่ดินตั้งโรงงานดังกล่าวให้ ล่าสุดสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) ได้รับมอบหมายให้ไปดำเนินการเร่งหาที่ดินให้เป็นไปตามความประสงค์ของเอ็กซอนโมบิล เพื่อลงทุนโครงการก่อสร้างปิโตรเคมีส่วนต่อขยาย โดยปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่กำลังการผลิต 1.74 แสนบาร์เรลต่อวัน ที่มีอยู่ปัจจุบัน ให้ได้แนฟทาเป็นวัตถุดิบป้อนให้กับโรงงานแครกเกอร์

Read More

พืชมงคลและ Alibaba ความหวังเกษตรกรไทยยุค 4.0

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2561 ที่ดำเนินต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคมและวันที่ 14 พฤษภาคม นอกจากจะเป็นประหนึ่งสัญญาณของการเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูกครั้งใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยขวัญและกำลังใจสำหรับเกษตรกร วันดังกล่าวยังถือเป็นวันเกษตรกรไทย ที่สะท้อนคุณค่าความหมายและความสำคัญของการประกอบสัมมาชีพกสิกรรมหล่อเลี้ยงสังคมอีกด้วย ผลของการเสี่ยงทายจากพระโค ที่ได้รับการแปลนิยามความหมายในแต่ละปีในด้านหนึ่งเป็นภาพสะท้อนหลักวิธีคิดของการเกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาฟ้าฝน และดำเนินอยู่ท่ามกลางเหตุปัจจัยหลากหลาย ซึ่งบ่อยครั้งอาจอยู่นอกเหนือความสามารถในการบังคับควบคุม หากแต่ในยุคสมัยปัจจุบันที่เทคนิควิทยาการได้เจริญรุดหน้าไปมาก ดูเหมือนว่าวาทกรรมว่าด้วยการบริหารจัดการจะได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่องไม่นับรวมกรณีว่าด้วย Smart Farming และการจัดการเกษตรแปลงใหญ่ที่เป็นกระแสครึกโครมในช่วงปีที่ผ่านมา แต่สำหรับในปีนี้ ดูเหมือนว่าเกษตรกรไทยจะได้รับความหวังและแนวทางการประกอบอาชีพครั้งใหม่ เมื่อผู้ประกอบการธุรกิจการค้าออนไลน์ในนาม อาลีบาบากรุ๊ป ลงนามกับรัฐบาลไทยในการนำพาผลิตผลทางการเกษตรหลากหลายของไทยออกไปสู่ตลาดโลกผ่านช่องทางและเครือข่ายของ Alibaba ซึ่งดูเหมือนจะช่วยตอบรับกับความพยายามของภาครัฐที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจไทยผ่านการค้าในระบบ e-commerce และการหนุนนำ digital economy ไม่น้อยเลย กระนั้นก็ดี ประเด็นปัญหาของเกษตรกรไทยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา มิได้จำกัดอยู่เพียงประเด็นว่าด้วยช่องทางการจัดจำหน่าย หรือกรณีว่าด้วยการเพิ่มผลผลิตหรือการปรับโครงสร้างราคาพืชผลทางการเกษตรให้สอดรับกับต้นทุนการผลิตเท่านั้น หากยังมีปัจจัยว่าด้วยความสามารถในการแข่งขันเพื่อการส่งออกไปยังตลาดระดับนานาชาติ และการบริหารจัดการในเชิงยุทธศาสตร์ว่าด้วยชนิดและประเภทของผลิตผลทางการเกษตรเป้าหมายด้วย การมาถึงของอาลีบาบาในการแสดงบทบาทสถานะการเป็นช่องทางการค้าขนาดใหญ่ให้กับผลิตผลทางการเกษตรของไทย ในด้านหนึ่งจึงอาจเป็นเพียงข้อต่อข้อสุดท้ายที่จะเชื่อมโยงเกษตรกรไทยเข้ากับตลาดขนาดใหญ่ของโลก แต่ย่อมไม่ใช่ข้อต่อที่สำคัญที่สุดในกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องถึงกันในฐานะที่เป็นห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) และเป็นห่วงโซ่แห่งคุณค่า (value chain) ที่รัฐไทยควรจะตระหนักและดำเนินมาตรการผลักดันให้เกิดขึ้นจากฐานความคิดและภูมิปัญญาของสังคมไทยมากกว่าการรอหรือหวังพึ่งการช่วยเหลือจากภายนอก ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่ารัฐไทยประเมินและให้ความสำคัญต่อ “คุณค่า” ของผลิตผลทางการเกษตรของไทยไว้อย่างไร เพราะนอกจาก “คุณค่า” จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเสนอสินค้าหรือบริการให้กับผู้ที่ต้องการในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งแล้ว การวิเคราะห์มูลค่าของ “คุณค่า”

Read More

การเดินทางของไม้โกงกาง เรื่องเล่าจากคนเอาถ่าน “เขายี่สาร” (ตอนจบ)

MGR Features หลังจากทำความเข้าใจขั้นตอนการเผาถ่านในเบื้องต้นไปแล้ว ถึงเวลาที่ต้องลงเรือบุกป่าชายเลน เข้าไปดูขั้นตอนการตัดไม้โกงกาง เราเปิดประสบการณ์ครั้งนี้ด้วยการลงเรืออีป๊าบจากท่าน้ำของโรงเผาถ่าน ไปยังป่าปลูกของกำนันปริญญา สองข้างคลองมีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นเรียงรายทอดกิ่งระริมน้ำ ทั้งต้นลำพู โกงกาง แสม ต้นจาก ต้นตะบูน มีเสียงนก เสียงจั๊กจั่น ขับขานรับเราเป็นช่วงๆ กระทั่งถึงทางแยกเข้าไปในแพรกหนึ่ง คนขับเรือจึงดับเครื่องยนต์ แล้วใช้ไม้พายพายแทน เกือบ 20 นาที เราเดินทางมาถึงป่าปลูก จุดที่คนงานกำลังลงมือตัดไม้ สุนัขมอมแมม 3 ตัวเห่าต้อนรับคนแปลกหน้า สร้างความกริ่งเกรงไม่น้อย จากเสียงเห่าที่บอกว่า “เอาจริง” เสียงเลื่อยยนต์เงียบไปชั่วอึดใจก่อนเราจะจอดเรือเทียบท่า ที่ทำขึ้นอย่างง่ายๆ ด้วยไม้โกงกาง “กำลังพักเที่ยง” เสียงคนงานบอกเล่า หลังเราแนะนำตัวและบอกจุดประสงค์ที่ดั้นด้นมา เพิงพักแบบง่ายๆ ที่เพียงแค่กันแดด กันฝน ยามที่ต้องตัดไม้เท่านั้น ภายในมีมุ้ง เสื่อ หมอน และจานชามเพียงไม่กี่ใบ เนื่องจากที่พักแห่งนี้ไม่ได้ใช้อยู่แบบถาวร หลังจากพักกินข้าวกินปลา ดื่มน้ำดับกระหาย พร้อมมวนยาสูบ คนงานชายหยิบเลื่อยยนต์ มุ่งหน้ากลับเข้าไปในป่าโกงกาง ตัดไม้อีกครั้ง ชายหนุ่มค่อยๆ เลื่อยเพื่อตัดรากโกงกางที่ยึดลำต้นออกอย่างชำนาญ ต้นโกงกางที่ไร้รากยึดเหนี่ยวแล้ว ค่อยๆ ล้มลงไปยังทิศทางเดิมทุกครั้ง กิ่งก้านใบ

Read More

สัญญาณเตือนภัย Alibaba ธุรกิจไทยปรับตัวรับผลกระทบ

ข่าวการเยือนไทยพร้อมกับลงนามความร่วมมือผ่านบันทึกความเข้าใจ (MOU) 4 ฉบับของ แจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัท อาลีบาบา เมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากจะกลายเป็นประเด็นข่าวใหญ่ให้ภาครัฐได้ใช้โหมประโคมความมั่นใจในการลงทุน เพื่อกระตุ้นและขับเคลื่อนการพัฒนาในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่รัฐไทยหมายมั่นปั้นมือจะผลักดันให้เกิดขึ้นในฐานะผลงานหลักแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง การลงทุนและการมาถึงของ Alibaba ที่กำลังรุกคืบเข้าสู่สังคมไทยในรอบใหม่นี้ ยังได้รับการคาดหวังว่าจะเป็นจักรกลสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัลที่สังคมไทยพยายามจะก้าวเดินไปบนทิศทางของไทยแลนด์ 4.0 ที่เป็นประหนึ่งนโยบายการพัฒนาในระยะถัดจากนี้ หากแต่เหรียญย่อมมี 2 ด้าน และสรรพสิ่งไม่ได้มีแต่แง่งามให้ชื่นชมเท่านั้น แต่ยังมีมิติด้านลบและผลกระทบที่อาจเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ เบียดแทรกและพร้อมจะบดบังทำลายศักยภาพการพัฒนาด้านอื่นๆ ลงไปพร้อมกันด้วย ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่าง Alibaba กับรัฐบาลไทย แผนงานการลงทุนและความร่วมมือที่อาลีบาบาจะดำเนินการประกอบด้วย การส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทยคือข้าวและผลไม้ โดยภายในปี 2561 อาลีบาบามีเป้าหมายช่วยส่งออกข้าวไทย 45,000 ตัน และปี 2562 จำนวน 120,000 ตัน การส่งออกสินค้าไทยสู่นานาชาติมีเป้าหมายส่งออกสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ หรือโอทอปของไทย 10 รายต่อปี หรือขั้นต่ำจำนวน 50 รายการสินค้า ขณะที่ด้านการท่องเที่ยว

Read More

โรงไฟฟ้าขยะ-วินัยคนไทย แก้ปัญหาขยะล้นเมือง

“อ๊ะ อ๊ะ อย่าทิ้งขยะ ตาวิเศษเห็นนะ” ข้อความรณรงค์โฆษณาเชิญชวนให้คนไทยทิ้งขยะให้ถูกที่เพื่อลดปัญหาขยะเกลื่อนเมือง แม้ข้อความดังกล่าวจะถูกสร้างสรรค์เมื่อหลายสิบปีก่อน กระนั้นก็ยังพบว่าปัญหาขยะในประเทศไทย โดยเฉพาะในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ยังคงเป็นปัญหาระดับชาติที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่หลายคนให้การยอมรับทั้งด้านความเจริญก้าวหน้าที่ดูจะรุดหน้าไปไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจริญด้านวัตถุ กระนั้นความเจริญดังกล่าวดูจะสวนทางกันกับความเจริญด้านจิตสำนึกที่มีต่อสังคม และดูเหมือนว่าปัญหาที่เติบโตจนเกือบจะคู่ขนานกับความเจริญด้านวัตถุเทคโนโลยี คือปัญหาขยะ ที่ต้องยอมรับโดยดุษณีว่า กรุงเทพมหานครมีปัญหาขยะมูลฝอยล้นเมือง รายงานจากสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ซึ่งตามรายงานที่บันทึกไว้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 31 มีนาคม 2561 มีปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่กรุงเทพฯ ถึง 1,920,294.96 ตัน หรือโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 10,551.07 ตันต่อวัน ตัวเลขดังกล่าวอาจจะค้านสายตาผู้คนทั่วไป หากมองเพียงตามถนนหนทางที่ต้องยอมรับว่าน่ามองขึ้น ในที่นี้หมายถึงสะอาดตากว่าแต่ก่อน แม้ปัจจุบันภาครัฐจะมีวิธีกำจัดขยะทั้งรูปแบบของโรงเผาขยะ และการกำจัดขยะโดยการฝังกลบ โดยปัจจุบัน กทม. มีสถานที่รองรับปริมาณขยะด้วยกัน 3 แห่ง 1. อ่อนนุช สามารถรองรับขยะได้ 4 พันตันต่อวัน ซึ่งนำไปฝังกลบถึง 3,400 ตัน และที่เหลือนำไปทำปุ๋ย 2. หนองแขม

Read More

การเดินทางของไม้โกงกาง เรื่องเล่าจากคนเอาถ่าน “เขายี่สาร”

MGR Feature  แม้ว่าในยุคนี้หลายครัวเรือนจะเลิกใช้ถ่านในการหุงต้ม ประกอบอาหาร และเปลี่ยนมาใช้เตาแก๊ส ที่ให้ความสะดวกสบายและรวดเร็วกว่า กระนั้น “ถ่าน” ที่แม้จะเหลือบทบาทในครัวเรือนไม่มากนัก หากแต่ก็ยังมีคุณค่า และมีความสำคัญกับธุรกิจบางประเภท เช่น ธุรกิจร้านอาหารปิ้งย่าง ถึงแม้ว่าก๊าซหุงต้มจะอำนวยความสะดวกมากเพียงใด แต่บางบ้านยังนิยมใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิงสำหรับประกอบอาหาร เพราะอาหารที่ได้จากการใช้ถ่านเป็นเชื้อไฟนั้น ให้กลิ่นหอมที่มีเอกลักษณ์มากกว่า อาหารที่ปรุงบนเตาแก๊ส แน่นอนว่าเรื่องราวความเป็นมาของถ่านไม้โกงกาง บ้านเขายี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม ไม่ใช่เรื่องที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน กระนั้น ทีมงาน MGR Feature ยังมองว่า “ถ่านไม้โกงกาง” ยังคงเป็นเรื่องที่น่าสนใจในหลายมิติ ทั้งเรื่องของภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่อุดมไปด้วยศิลปวิทยาการ ดังนั้นการตัดสินใจ ขึ้นรถ ลงเรือ ลุยป่าโกงกางจึงเกิดขึ้น เราเดินทางออกจากกรุงเทพฯ ช่วงสายๆ บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ เพียง 2 ชั่วโมงเศษ ก็มาถึง จ.สมุทรสงคราม จังหวัดที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของประเทศไทย คือประมาณ 416.7 ตารางกิโลเมตร และยังมีจำนวนประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ กระนั้นก็ยังนับว่า สมุทรสงครามเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สมบูรณ์มาก เพราะเป็นดินดอนปากแม่น้ำ มีชายฝั่งทะเลติดอ่าวไทย และเหนืออื่นใด

Read More

แนวรบธุรกิจ รพ. แข่งเดือด ไทย-เทศ รุกเจาะอาเซียน

ธุรกิจโรงพยาบาลที่คาดการณ์กันว่ามีมูลค่าเม็ดเงินไม่ต่ำกว่า 6 แสนล้านบาท ยังถือเป็นสมรภูมิการแข่งขันที่ดุเดือดและต้องอาศัยกลยุทธ์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายรอบด้าน แต่อีกด้านหนึ่งไม่มีใครปฏิเสธความเป็นธุรกิจดาวรุ่งที่มีปัจจัยบวกสนับสนุนการเติบโตอย่างโดดเด่น ซึ่งเหล่ากูรูนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ต่างฟันธงในทิศทางเดียวกันว่า กลุ่มโรงพยาบาลจะสามารถทำกำไรสุทธิในปี 2561 ไม่ต่ำกว่า 15% ที่สำคัญ ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่และขนาดกลางที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีรายได้รวมกันสูงถึง 65-70% ของรายได้โรงพยาบาลเอกชนทั้งหมด และหากดูข้อมูลปี 2560 กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถสร้างผลกำไรรวมกัน 17,352 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.5% จากปี 2559 โดยบริษัท โรงพยาบาลมหาชัย (M-CHAI) จำกัด (มหาชน) มีอัตราเติบโตสูงสุด 256% ทำกำไรได้ 1,284 ล้านบาท รองลงมาคือ โรงพยาบาลราชธานี (RJH) มีกำไร 231 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 49% อันดับ 3 โรงพยาบาลเอกชล (AHC) มีกำไร 127

Read More

เพ็ญศิริ ทองสิมา ปั้นภาพลักษณ์ใหม่ “นครธน” สู้เชนยักษ์

“นครธนไม่ใช่แค่โรงพยาบาลรักษาโรคทั่วไป หรือแค่โรคหวัด แต่เราเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่พร้อมดูแลรักษาสุขภาพผู้เข้ารับบริการทุกเพศ ทุกช่วงวัย ทุกครอบครัว ไม่จำเป็นต้องวิ่งเข้าไปหาโรงพยาบาลใจกลางกรุงเทพฯ” เพ็ญศิริ ทองสิมา รองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด โรงพยาบาลนครธน ย้ำกับสื่อถึงเป้าหมายในปีนี้ที่จะแก้โจทย์ทางการตลาดชิ้นสำคัญ การสร้างภาพลักษณ์ใหม่ เปลี่ยนจาก General Hospital หรือโรงพยาบาลรักษาโรคทั่วไป สู่การเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่มีความพร้อมรอบด้าน หลังจากดำเนินธุรกิจอย่างเงียบๆ มานานกว่า 22 ปี ท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันอย่างรุนแรงบนถนนพระราม 2 กับเครือข่ายโรงพยาบาลยักษ์ใหญ่ที่ปักหมุดรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโรงพยาบาลบางปะกอกที่พยายามขยายเน็ตเวิร์คครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และรอบนอก ทั้งโรงพยาบาลบางปะกอก 1 โรงพยาบาลบางปะกอก 3 โรงพยาบาลบางปะกอก 8 โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล มีสถานพยาบาลบางปะกอก 2 บางบอน บางปะกอกคลินิกเวชกรรม และซื้อหุ้นกิจการโรงพยาบาลปิยเวทจากกลุ่มกระทิงแดงเมื่อปี 2559 ก่อนรุกเข้าสู่ย่านรังสิตภายใต้แบรนด์โรงพยาบาลบางปะกอกรังสิต 2 หรือกลุ่มกรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) ที่มีทั้งโรงพยาบาลพญาไท 3 และโรงพยาบาลสมิติเวชธนบุรี เป็นเครือข่ายเจาะฐานลูกค้าย่านฝั่งธนบุรี โดยเฉพาะย่านพระราม 2 เขตบางขุนเทียน ซึ่งมีกลุ่มชุมชนขนาดใหญ่และกลุ่มกำลังซื้อใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก ขณะที่โรงพยาบาลนครธน

Read More