Home > Alibaba

New Retail: วิสัยทัศน์ Daniel Zhang อนาคตของ Alibaba?

แม้ว่าการประกาศวางมือของ Jack Ma และการส่งมอบตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร Alibaba ให้กับ Daniel Zhang เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาจะทำให้ผู้คนจำนวนมากฉงนฉงายและสืบเสาะประวัติความเป็นมาเป็นไปเพื่อทำความรู้จักกับ Daniel Zhang บุรุษที่จะก้าวขึ้นมากุมบังเหียนอาณาจักรธุรกิจมูลค่าหลายล้านล้านบาทคนนี้ให้มากขึ้น หากแต่ในความเป็นจริงกระบวนการในการส่งผ่านและเปลี่ยนถ่ายอำนาจใน Alibaba ดูจะได้รับการออกแบบและวางแผนมาแล้วเป็นอย่างดี เป็นกระบวนการที่ดำเนินการอย่างมีรูปธรรมและต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่เมื่อครั้งที่ Jack Ma มอบตำแหน่ง CEO ให้กับ Jonathan Lu ในช่วงปี 2013-2015 ซึ่ง Alibaba กำลังจะเข้าจดทะเบียนใน NYSE ในห้วงเวลาขณะนั้น Daniel Zhang ซึ่งเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Alibaba ตั้งแต่ปี 2007 ด้วยการดำรงตำแหน่ง CFO ของ Taobao Marketplace เว็บไซต์ขายของออนไลน์ของ Alibaba ที่ในขณะนั้นยังไม่ทำกำไร และมีผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์ม 10 ล้านคนต่อวัน กำลังสร้างปรากฏการณ์และได้รับการขนานนามให้เป็น “ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าการชอปปิ้งของคนจีน” แม้จะได้รับมอบหมายตำแหน่งเป็น

Read More

แจ็ค หม่า อำลา Alibaba สะท้อนพัฒนาการเอกชนจีน?

การประกาศของ Jack Ma เพื่อก้าวลงจากตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท Alibaba เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งอาจเป็นข่าวที่สร้างความตื่นตาตื่นใจและดึงความสนใจต่อสาธารณชนวงกว้างว่า การเปลี่ยนผ่านของอาณาจักรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีมูลค่ามากกว่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 13 ล้านล้านบาทแห่งนี้จะดำเนินไปอย่างไร ขณะเดียวกันความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญนี้ ย่อมไม่ใช่สิ่งที่อยู่เหนือความคาดหมาย เพราะก่อนหน้านี้ Jack Ma ได้ขยับบทบาทด้วยการส่งมอบตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ Alibaba ให้กับ Jonathan Lu เมื่อปี 2013-2015 ในช่วงขณะที่ Alibaba กำลังยื่นขอเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป (IPO) ซึ่งทำให้ Alibaba สามารถระดมทุนได้มากถึง 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และกลายเป็นการระดมทุนครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กอีกด้วย แต่ความสำเร็จของการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ไม่ใช่หลักประกันในความสำเร็จและความท้าทายของ Alibaba ในอนาคต และเป็นเหตุให้ Jack Ma ผลักดัน Daniel Zhang ให้ขึ้นมาเป็น CEO แทน

Read More

อาลีบาบา-สยามเกตเวย์ ย้อนรอยเจาะตลาดจีน

ในขณะที่รัฐบาลไทยกำลังตื่นเต้นกับความร่วมมือหลายๆ ด้านกับอาลีบาบากรุ๊ป เว็บไซต์ค้าปลีก (B2C) ที่ใหญ่ที่สุดในจีน และเข้าถึงผู้บริโภคกว่า 1,400 ล้านคน โดยเฉพาะการเปิดตัว Thai Rice Flagship Store บนเว็บไซต์ของ Tmall.com ในเครืออาลีบาบากรุ๊ป เพื่อนำร่องผลักดันผู้ประกอบการและผู้ส่งออกข้าวเข้าถึงตลาดซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ (e-Commerce) และเปิดตัวแคมเปญส่งเสริมการขายทุเรียนผ่านเว็บไซต์อย่างเต็มรูปแบบก่อนขยายไปยังผลไม้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมังคุด มะม่วง มะพร้าว และน้อยหน่า บริษัทไทย 2 แห่ง เกิดบิ๊กไอเดียสร้างธุรกิจเทรดดิ้งที่ให้บริการผู้ประกอบการเจาะตลาดต่างประเทศภายใต้คอนเซ็ปต์บริการแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว ตั้งแต่การสนับสนุนด้านเงินทุน กระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายผ่านช่องทางการจัดจำหน่าย เหมือน “ศูนย์กลางส่งออกสินค้าครบวงจร” ทั้ง online, offline, B2B, B2C และช่องทางร้านค้าปลอดภาษี การบริหารการส่งออก โดยตั้งเป้าหมายแรก คือ ตลาดจีนและวางแผนขยายครอบคลุมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่น เกาหลี หนึ่งบริษัท คือ กลุ่ม ที.เอ.ซี.คอนซูเมอร์ ผู้ประกอบธุรกิจจัดหา ผลิต และจำหน่ายเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ และสินค้าไลฟ์สไตล์

Read More

พืชมงคลและ Alibaba ความหวังเกษตรกรไทยยุค 4.0

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2561 ที่ดำเนินต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคมและวันที่ 14 พฤษภาคม นอกจากจะเป็นประหนึ่งสัญญาณของการเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูกครั้งใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยขวัญและกำลังใจสำหรับเกษตรกร วันดังกล่าวยังถือเป็นวันเกษตรกรไทย ที่สะท้อนคุณค่าความหมายและความสำคัญของการประกอบสัมมาชีพกสิกรรมหล่อเลี้ยงสังคมอีกด้วย ผลของการเสี่ยงทายจากพระโค ที่ได้รับการแปลนิยามความหมายในแต่ละปีในด้านหนึ่งเป็นภาพสะท้อนหลักวิธีคิดของการเกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาฟ้าฝน และดำเนินอยู่ท่ามกลางเหตุปัจจัยหลากหลาย ซึ่งบ่อยครั้งอาจอยู่นอกเหนือความสามารถในการบังคับควบคุม หากแต่ในยุคสมัยปัจจุบันที่เทคนิควิทยาการได้เจริญรุดหน้าไปมาก ดูเหมือนว่าวาทกรรมว่าด้วยการบริหารจัดการจะได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่องไม่นับรวมกรณีว่าด้วย Smart Farming และการจัดการเกษตรแปลงใหญ่ที่เป็นกระแสครึกโครมในช่วงปีที่ผ่านมา แต่สำหรับในปีนี้ ดูเหมือนว่าเกษตรกรไทยจะได้รับความหวังและแนวทางการประกอบอาชีพครั้งใหม่ เมื่อผู้ประกอบการธุรกิจการค้าออนไลน์ในนาม อาลีบาบากรุ๊ป ลงนามกับรัฐบาลไทยในการนำพาผลิตผลทางการเกษตรหลากหลายของไทยออกไปสู่ตลาดโลกผ่านช่องทางและเครือข่ายของ Alibaba ซึ่งดูเหมือนจะช่วยตอบรับกับความพยายามของภาครัฐที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจไทยผ่านการค้าในระบบ e-commerce และการหนุนนำ digital economy ไม่น้อยเลย กระนั้นก็ดี ประเด็นปัญหาของเกษตรกรไทยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา มิได้จำกัดอยู่เพียงประเด็นว่าด้วยช่องทางการจัดจำหน่าย หรือกรณีว่าด้วยการเพิ่มผลผลิตหรือการปรับโครงสร้างราคาพืชผลทางการเกษตรให้สอดรับกับต้นทุนการผลิตเท่านั้น หากยังมีปัจจัยว่าด้วยความสามารถในการแข่งขันเพื่อการส่งออกไปยังตลาดระดับนานาชาติ และการบริหารจัดการในเชิงยุทธศาสตร์ว่าด้วยชนิดและประเภทของผลิตผลทางการเกษตรเป้าหมายด้วย การมาถึงของอาลีบาบาในการแสดงบทบาทสถานะการเป็นช่องทางการค้าขนาดใหญ่ให้กับผลิตผลทางการเกษตรของไทย ในด้านหนึ่งจึงอาจเป็นเพียงข้อต่อข้อสุดท้ายที่จะเชื่อมโยงเกษตรกรไทยเข้ากับตลาดขนาดใหญ่ของโลก แต่ย่อมไม่ใช่ข้อต่อที่สำคัญที่สุดในกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องถึงกันในฐานะที่เป็นห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) และเป็นห่วงโซ่แห่งคุณค่า (value chain) ที่รัฐไทยควรจะตระหนักและดำเนินมาตรการผลักดันให้เกิดขึ้นจากฐานความคิดและภูมิปัญญาของสังคมไทยมากกว่าการรอหรือหวังพึ่งการช่วยเหลือจากภายนอก ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่ารัฐไทยประเมินและให้ความสำคัญต่อ “คุณค่า” ของผลิตผลทางการเกษตรของไทยไว้อย่างไร เพราะนอกจาก “คุณค่า” จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเสนอสินค้าหรือบริการให้กับผู้ที่ต้องการในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งแล้ว การวิเคราะห์มูลค่าของ “คุณค่า”

Read More

สัญญาณเตือนภัย Alibaba ธุรกิจไทยปรับตัวรับผลกระทบ

ข่าวการเยือนไทยพร้อมกับลงนามความร่วมมือผ่านบันทึกความเข้าใจ (MOU) 4 ฉบับของ แจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัท อาลีบาบา เมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากจะกลายเป็นประเด็นข่าวใหญ่ให้ภาครัฐได้ใช้โหมประโคมความมั่นใจในการลงทุน เพื่อกระตุ้นและขับเคลื่อนการพัฒนาในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่รัฐไทยหมายมั่นปั้นมือจะผลักดันให้เกิดขึ้นในฐานะผลงานหลักแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง การลงทุนและการมาถึงของ Alibaba ที่กำลังรุกคืบเข้าสู่สังคมไทยในรอบใหม่นี้ ยังได้รับการคาดหวังว่าจะเป็นจักรกลสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัลที่สังคมไทยพยายามจะก้าวเดินไปบนทิศทางของไทยแลนด์ 4.0 ที่เป็นประหนึ่งนโยบายการพัฒนาในระยะถัดจากนี้ หากแต่เหรียญย่อมมี 2 ด้าน และสรรพสิ่งไม่ได้มีแต่แง่งามให้ชื่นชมเท่านั้น แต่ยังมีมิติด้านลบและผลกระทบที่อาจเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ เบียดแทรกและพร้อมจะบดบังทำลายศักยภาพการพัฒนาด้านอื่นๆ ลงไปพร้อมกันด้วย ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่าง Alibaba กับรัฐบาลไทย แผนงานการลงทุนและความร่วมมือที่อาลีบาบาจะดำเนินการประกอบด้วย การส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทยคือข้าวและผลไม้ โดยภายในปี 2561 อาลีบาบามีเป้าหมายช่วยส่งออกข้าวไทย 45,000 ตัน และปี 2562 จำนวน 120,000 ตัน การส่งออกสินค้าไทยสู่นานาชาติมีเป้าหมายส่งออกสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ หรือโอทอปของไทย 10 รายต่อปี หรือขั้นต่ำจำนวน 50 รายการสินค้า ขณะที่ด้านการท่องเที่ยว

Read More

E-Commerce แข่งระอุ สนามประลองกำลังไทย-เทศ

ข่าวคราวการเข้ามาบุกตลาด E-Commerce ไทย ของนักลงทุนต่างชาติในช่วงนี้ น่าจะเป็นผลมาจากทิศทางการเติบโตของตลาดนี้ ที่เติบโตจากปี 2558 ถึง 12.42 เปอร์เซ็นต์ โดยมูลค่าตลาด E-Commerce ไทยในปัจจุบันอยู่ที่ 2.5 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ยังเปิดเผยผลสำรวจอีกว่า ตลาด E-Commerce แบบ B2B (Business-to-Business) ยังกินส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุดด้วยตัวเลข 1.3 ล้านล้านบาท และแบบ B2C (Business-to-Customer) มีมูลค่ากว่า 7 แสนล้านบาท อันดับสุดท้ายคือ แบบ B2G (Business-to-Government) มีมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท การเติบโตของตลาด E-Commerce ดูจะสวนทางกับสภาพเศรษฐกิจของไทยโดยรวม เมื่อสภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงเวลาปัจจุบันดูจะขับเคลื่อนไปได้เฉพาะเครื่องจักรที่เรียกว่า “การส่งออกและบริการ” ตามรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม 2560 ว่า มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวดี สอดคล้องกับอุปสงค์ต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Read More