Home > Cover Story (Page 103)

นักอ่านตื่นกระแส หนังสือแนวประวัติศาสตร์ขายดี

ปิดฉากไปแล้วสำหรับงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 46 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 (46th National Book Fair and 16th Bangkok International Book Fair 2018) พร้อมๆ กับคำนิยามที่บ่งบอกถึงปรากฏการณ์ทางสังคมว่า “เกินคาด” ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นทั่วโลก สร้างความวิตกกังวลไม่น้อยกับผู้คนที่อยู่ในวงการหนังสือ โดยเฉพาะในสังคมไทย ว่าจะทำอย่างไรให้หนังสือเล่มสามารถยืนหยัดอยู่ใน “สังคมก้มหน้า” แห่งนี้ได้อย่างตลอดรอดฝั่ง แน่นอนว่าหลายสำนักพิมพ์เริ่มยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และพัฒนาด้วยการหยิบจับเอาเทคโนโลยีมาต่อยอดในธุรกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หันมานิยมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น กระนั้น หนังสือเล่ม หนังสือกระดาษ ก็ยังเป็นที่ชื่นชอบและยังได้รับความสนใจจากนักอ่าน โดยหลายคนให้เหตุผลว่า “การได้สัมผัสหน้ากระดาษทำให้การอ่านได้อรรถรสมากกว่า” แม้ว่างานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติที่จัดขึ้นปีละหนึ่งครั้ง จะมีบรรยากาศไม่แตกต่างไปจากปีก่อนๆ มากนัก หากแต่ปีนี้กลับมี “ปรากฏการณ์” ใหม่เกิดขึ้น นั่นคือ “หนังสือแนวประวัติศาสตร์” ได้รับความนิยมอย่างสูงจากนักอ่าน ซึ่งแน่นอนว่าส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์มาจากกระแสละคร “บุพเพสันนิวาส” ซึ่งละครเรื่องนี้ก็ส่งผลให้นวนิยายเล่มนี้ของรอมแพง ตีพิมพ์ซ้ำกว่า 70 ครั้ง โดยสุชาดา สหัสกุล นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) อธิบายว่า “น่าจะเป็นครั้งแรกๆ ในงานสัปดาห์หนังสือฯ

Read More

พลังงานทดแทน ภาระหรือตัวช่วย?

ข่าวการส่งสัญญาณทบทวนนโยบายพลังงานทั้งระบบของ ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งได้ส่งแรงสั่นสะเทือนต่ออุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ที่ก่อนหน้านี้ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วจากผลการส่งเสริมของภาครัฐให้ต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันไปโดยปริยาย ขณะเดียวกันกรณีดังกล่าวยังเป็นภาพสะท้อนวิถีทางความคิดว่าด้วยพลังงานของรัฐไทย ที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่า นิยามของพลังงานทดแทนในทัศนะของกลไกผู้กำหนดนโยบายประเมินพลังงานทดแทนในฐานะที่เป็นทางเลือกตัวช่วย หรืออยู่ในฐานะที่เป็นภาระต่อทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างไร ความกังวลใจที่เกิดขึ้นกับผู้ลงทุนในโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานทดแทน เป็นผลมาจากข่าวการระงับการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งจากโรงไฟฟ้าขยะ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทน พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ที่ก่อนหน้านี้ได้รับการส่งเสริมในฐานะที่เป็นโรงไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด ภายใต้เหตุผลที่ว่าราคาการรับซื้อไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานทดแทนเหล่านี้ไม่ควรจะอยู่ในอัตราที่สูงกว่าราคาไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานหลัก และไม่ควรเป็นภาระต่อประเทศ กระทรวงพลังงานยังระบุด้วยว่า สถานการณ์ด้านพลังงานของไทยไม่ได้อยู่ในภาวะขาดแคลนไฟฟ้า และมีไฟฟ้าเพียงพอที่จะรองรับกับความต้องการใช้พลังงานในช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่เป็นโครงการใหม่ๆ ทั้งในรูปแบบโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) และโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) เพิ่มเติม ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานระบุว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา มีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบ 7,529 เมกะวัตต์ จากผู้ประกอบการ 7,083 ราย แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 189 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวมวล 3,202 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวภาพ 377 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

Read More

บทบาทของ NEDA กับเส้นทาง R12 และความคาดหวังที่ต้องแบก

ภารกิจของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization) (NEDA) ในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน จุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญให้เกิดความจำเริญในด้านอื่นๆ ตามมา ตลอดระยะเวลา 13 ปี ดำเนินการไปแล้วกว่า 70 โครงการ ภาพจำที่หลายคนมีต่อเนด้า (NEDA) คือโครงการทั้งหมดเกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งการพัฒนาสาธารณูปโภค เส้นทางการคมนาคม กระนั้นผลสำเร็จของโครงการดังกล่าวล้วนยังประโยชน์ให้หวนกลับมาสู่ประเทศไทยในรูปแบบคู่ขนาน ทว่าโครงการล่าสุดที่เนด้าต้องก้าวเข้ามารับผิดชอบในครั้งนี้ เมื่อมองผิวเผินคงจะไม่ยี่หระนักสำหรับเนด้า และไม่แตกต่างจากเส้นทางคมนาคมเส้นทางอื่นที่เนด้าเคยเข้าไปรับผิดชอบในการพัฒนา หากแต่เส้นทางนี้น่าจะเป็นอีกหนึ่งบททดสอบใหม่ของเนด้า เมื่อหลายฝ่ายให้ความสำคัญ เพราะเส้นทางดังกล่าวเสมือนอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ของไทยในการขับเคลื่อน Logistics ที่มีผลต่อการขยายหน้าสัมผัสให้สินค้าส่งออกของไทยมากยิ่งขึ้น นั่นคือ ถนน R12 เส้นทาง R12 มีบทบาทสำคัญต่อโครงข่ายคมนาคมและการขนส่งในอนุภูมิภาค โดยเส้นทางดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการผลักดันให้เกิดการพิจารณาขยายขอบเขตข้อตกลงการขนส่งข้ามพรมแดน (Greater Mekong Sub-region Cross-Border Transport Agreement: CBTA) จากถนน R9 เส้นทางเดียว ให้ครอบคลุมเพิ่มเติมตั้งแต่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว

Read More

นครพนมฝันไกล จากเมืองซอยตัน สู่ฮับโลจิสติกส์

ย้อนกลับไปก่อนที่จะมีการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 จังหวัดนครพนมมักจะถูกกล่าวถึงในฐานะเป็นเมืองซอยตัน และหลังจากปี พ.ศ. 2554 ที่มีการเปิดใช้สะพาน คำว่า “เมืองซอยตัน” ถูกลบออกไปจากพจนานุกรมของนครพนมทันที แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทั้งในแง่มุมทางเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยว รวมไปถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กลายเป็นที่จับตามองจากบรรดานักลงทุนทั้งในและนอกพื้นที่ ในฐานะที่วันนี้นครพนมกลายเป็นเมืองหน้าด่านที่สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยัง สปป.ลาว และเวียดนามได้ด้วยระยะทางที่สั้นที่สุด เมื่อเทียบกับ จ.มุกดาหาร หรือ จ.หนองคาย แม้ว่าก่อนหน้าหลายฝ่ายจะเคยกังวลว่า สถานการณ์ของจังหวัดนครพนมหลังจากเปิดใช้สะพานมิตรภาพ 3 ทิศทางจะเป็นอย่างไร จะเหมือนหรือแตกต่างจากจังหวัดมุกดาหารและจังหวัดหนองคายหรือไม่ ที่เมื่อครั้งก่อนจะมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ทั้งแห่งที่ 1 และ 2 นักเก็งกำไร นักลงทุนต่างคาดหวังถึงผลลัพธ์เอาไว้มากมาย หากแต่ผลที่ได้การณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น หากวันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตกับนครพนม คล้ายเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เมืองแห่งพระธาตุศักดิ์สิทธิ์แตกต่างจาก 2 จังหวัดข้างต้น ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะตัวแปรสำคัญอย่างมหาวิทยาลัยนครพนม และสนามบิน ซึ่งเป็นเสมือนศักยภาพขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการถูกเลือกให้นครพนมเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขอันเป็นแรงหนุนสำคัญที่ทำให้นครพนมโดดเด่นขึ้น การเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของนครพนม โดยเฉพาะในมิติของการเป็นเส้นทางโลจิสติกส์ที่สำคัญตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เห็นได้จากตัวเลขสถิตินับตั้งแต่การเปิดใช้สะพาน มูลค่าการค้าชายแดนจังหวัดนครพนมจากที่เคยซบเซากลับขยายตัวสูงขึ้น โดยมูลค่าการค้าชายแดนจังหวัดนครพนมในปี

Read More

วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล 4 ปี ดัน “วอริกซ์” เข้าตลาดหุ้น

“วอริกซ์เข้ามาเป็นตัวแทนผลิต จัดจำหน่ายเสื้อทีมชาติไทยตั้งแต่ปี 2559 เซ็นสัญญา 4 ปี 400 ล้านบาท ตอนนั้นหลายๆ คนบอกว่าเจ๊งแน่ๆ แต่ดูยอดและตัวเลขตอนนี้ บริษัทได้ยอดขายจากเฉพาะตัวสินค้าของทีมชาติไทยเติบโตขึ้นถึง 200 ล้านบาท มียอดขายรวมสินค้าอื่นๆ เติบโต 300% และเตรียมดันบริษัทเข้าตลาดหุ้นในปีนี้หรืออย่างช้าไม่เกินต้นปีหน้า” วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด ย้ำกับสื่อถึงความสำเร็จในวันนี้หลังจากใช้เวลาฟันฝ่าธุรกิจอยู่ในวงการอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้ามานานกว่า 10 ปี โดยใช้กลยุทธ์เจาะตลาดนิชมาร์เก็ตในกลุ่มเสื้อผ้ายูนิฟอร์มและชุดนักเรียน จนกระทั่งเห็นช่องทางและโอกาสบุกตลาดชุดกีฬาที่เน้นนวัตกรรมใหม่ฉีกแนวจากเจ้าตลาดหน้าเก่า ก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านไลฟ์สไตล์สปอร์ตแวร์ แน่นอนว่า การคว้าสิทธิ์ออกแบบ ผลิต และจัดจำหน่ายชุดแข่งขันและเครื่องแต่งกายทัพช้างศึกไทยอย่างเป็นทางการสามารถผลักดันให้แบรนด์ “วอริกซ์” ติดตลาดทอปทรีในตลาดไทย และสร้างยอดขายเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะปี 2560 มีรายได้รวมเติบโตถึง 3 เท่าตัว ปิดยอดขายที่ 564 ล้านบาท โดยเป็นยอดขายจากเสื้อฟุตบอลทีมชาติไทยประมาณ 200 ล้านบาท หรือขายได้ 5 แสนตัว

Read More

ธุรกิจคึกรับ “สปอร์ตซิตี้” ตลาดโตเม็ดเงินแสนล้าน

ประมาณกันว่า อุตสาหกรรมกีฬาในประเทศไทยมีมูลค่าตลาดมากกว่า 2 แสนล้านบาท อัตราเติบโตอย่างน้อย 4-5% ต่อปี และสำรวจกันอีกว่า มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการจัดการแข่งขันกิจกรรมการกีฬาของการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) สามารถสร้างเม็ดเงินสะพัดสูงถึง 27,663 ล้านบาท ที่สำคัญมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วง 5 ปีนับจากนี้ ตัวเลขที่พุ่งไม่หยุดส่งผลกระตุ้นให้ธุรกิจหลากหลายกลุ่มกระโดดเข้ามาเล่นในสมรภูมิการแข่งขัน เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งและสร้างโอกาสใหม่ๆ โดยเฉพาะเมื่อกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬากำหนดนโยบายและแผนการขับเคลื่อนตามแผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560-2564) มีการส่งเสริมกิจกรรม “สปอร์ต ทัวริซึม” และพัฒนา”สปอร์ต ซิตี้” หรือ สร้างเมืองกีฬาแห่งแรกในไทย ซึ่งนโยบาย “สปอร์ต ทัวริซึม” ชัดเจนและเห็นผลในระดับหนึ่งแล้ว เหลือแต่การผลักดันและกำหนดกฎเกณฑ์ การประกาศส่งเสริมเมืองกีฬา “สปอร์ต ซิตี้” ให้เป็นทางการ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามุ่งหวังทำให้สำเร็จในปี 2561 หรืออย่างช้าภายในปี 2562 ในเบื้องต้นนั้นกระทรวงการท่องเที่ยวฯ วางแนวทางกำหนดกฎเกณฑ์และการประกาศเป็นเมือง “สปอร์ต ซิตี้” โดยอาจให้แต่ละภาคของไทย รวม 6 ภาค เสนอตัวแทน

Read More

วอริกซ์-สเตเดี้ยมวัน เมื่อ DNA นักรบธุรกิจเจอกัน

เดือนพฤษภาคมนี้ บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จะเผยโฉม “วอริกซ์ช็อป” ภายใต้แนวคิด “ช้างศึกเมกะสโตร์” แฟลกชิปสโตร์แห่งแรกในโครงการสเตเดี้ยมวัน ซึ่งถือเป็นสปอร์ตคอมมูนิตี้มอลล์แห่งแรกในประเทศไทย และเป็นแห่งแรกในอาเซียนด้วย ที่สำคัญเป็นการผนึกกำลังของนักธุรกิจคนรุ่นใหม่ที่มี DNA เหมือนกัน การพยายามหาจุดต่าง โอกาส และช่องว่างการเติบโต ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายทั้งในแง่เงินทุนและชื่อเสียงเมื่อเทียบกับทายาทเครือข่ายขนาดใหญ่ในประเทศไทย วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360” ว่า แบรนด์วอริกซ์ หรือ Warrix จากคำว่า นักรบ หรือ Warrior และมาจากชื่อที่มี “ว” 2 ตัว รวมทั้งสะท้อนเส้นทางธุรกิจที่ผ่าน “วิกฤต” มากมายกว่าจะมาถึงวันนี้ ที่บริษัทสามารถสร้างรายได้ยอดขายพุ่งกระฉูดถึง 300% วิศัลย์ถือเป็นนักธุรกิจหนุ่ม วัยเพียง 44 ปี จบชั้นประถมและมัธยมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ช่วงวัยเด็กที่บ้านมีฐานะดีมากจากธุรกิจค้าขายไม้ จนกระทั่งอายุ 14

Read More

วัฒนธรรมการ “อ่าน” ของไทย บนหนทางตีบตันและล่มสลาย?

กระแสความนิยมของละคร “บุพเพสันนิวาส" ที่พัฒนาจากนวนิยายที่มียอดพิมพ์ซ้ำหลายครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การพิมพ์ครั้งแรกในปี 2552 ขณะที่ความสนใจจากแฟนละครและนักอ่านกำลังช่วยผลักให้นวนิยายเล่มนี้มียอดพิมพ์ครั้งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น นอกจากจะได้รับการกล่าวถึงในฐานะปรากฏการณ์บุพเพสันนิวาสของสังคมไทยแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังสะท้อนมิติความคิดของการอ่านในสังคมไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ ฉากหลังของนวนิยายที่นำช่วงเวลาประวัติศาสตร์มานำเสนอและดำเนินเรื่องราวส่งผลให้ผู้ชมและผู้อ่านจำนวนไม่น้อยเพลิดเพลินไปกับบรรยากาศย้อนอดีต และมีอีกจำนวนไม่น้อยสนใจใฝ่รู้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นไปด้วยความรู้สึกสำนึกที่ต้องการจะเข้าถึงอรรถรสของบทประพันธ์ให้มากขึ้น หรือจะโดยแรงกระตุ้นที่ประสงค์จะเรียนรู้ให้ถึงรากแห่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เป็นประหนึ่งเบ้าหลอมสำนึกทางสังคมในปัจจุบัน กระนั้นก็ดี ความเป็นไปในมิติที่ว่านี้ คงไม่สามารถอธิบายสำนึกทางประวัติศาสตร์ของสังคมไทยที่ดำเนินไปอย่างฉาบฉวย แม้ว่าบทประพันธ์นี้จะดำเนินไปท่ามกลางฉากหลังของอดีตกาลที่ล่วงเลยมากว่า 300 ปีก็ตาม เพราะสำหรับสังคมไทยคำว่าประวัติศาสตร์ดูจะเป็นเรื่องราวสำหรับการท่องจำและเก็บรายละเอียดปลีกย่อย ที่ห่างไกลไปจากการศึกษาทำความเข้าใจเรียนรู้ที่พร้อมจะวิพากษ์และเก็บรับเป็นบทเรียน มิพักต้องกล่าวถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยที่ดูเหมือนจะถูกทิ้งให้เลือนหายไปจากความทรงจำอย่างช้าๆ ความเป็นไปที่ดำเนินประหนึ่งโลกคู่ขนานกับปรากฏการณ์ละครบุพเพสันนิวาส ซึ่งออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ก็คือ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีกิจกรรมเสวนาว่าด้วย “ทางรอดหรือทางตายแห่งอนาคตของประเทศและรัฐบาลที่ไม่มี ‘ระบบหนังสือของชาติ’” ซึ่งจัดโดย วิชาบรรณาธิการศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่ามกลางบรรยากาศแห่งวิกฤตเรื่องความรู้ประชาชาติ การจัดการระบบหนังสือ และระบบความรู้ของประเทศไทย รวมถึงการสูญหายปิดตัวลงของสื่อสิ่งพิมพ์ที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่ผ่านมา ข้อเสนอว่าด้วยแนวความคิดและการสร้างความเข้าใจกับภาครัฐ ในการพัฒนาสังคมเพื่อการอ่านที่ยั่งยืน ท่ามกลางกระแสธารแห่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากพัฒนาการของเทคโนโลยีและระบบดิจิทัล แต่ดูเหมือนว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐจะตอบกลับมาด้วยความว่างเปล่า กรณีที่ว่านี้ ดูจะสอดรับกับท่วงทำนองและความเป็นไปของงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 46 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคมไปจนถึงสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน (29 มีนาคม-8 เมษายน) ที่มีแนวความคิดของงานประจำปีนี้ว่า

Read More

รัฐไทยพึ่งคาถา Alibaba หวังเสก “ดิจิทัลฮับ” ปลุก EEC

การเดินทางเยือนไทยของ Angel Zhao Ying ประธานกลุ่มความเป็นผู้นำด้านโลกาภิวัตน์ อาลีบาบา (Alibaba Globalization Leadership Group) เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ดูจะได้รับความสนใจและพยายามประเมินค่าในฐานะที่เป็นประหนึ่งการปลุกประกายความหวังของรัฐบาลในการผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคจะวันออก หรือ EEC ไม่น้อยเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาจากถ้อยแถลงของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี หลังจากที่คณะผู้บริหารบริษัท อาลีบาบา กรุ๊ป จำกัด เข้าเยี่ยมคารวะ ซึ่งระบุว่า อาลีบาบายืนยันจะเข้ามาลงทุนในไทย เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค และจะตัดสินใจเลือกพื้นที่เพื่อทำเป็น Startup Digital Hub CLMVT ในเร็ววันนี้ ก่อนที่สมคิดจะระบุว่า การที่อาลีบาบาตัดสินใจจะเข้ามาลงทุนในไทยจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทย และเชื่อว่าบริษัทยักษ์ใหญ่อื่นๆ ก็จะเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอีกด้วย ถ้อยแถลงดังกล่าว หากพิจารณาอย่างผิวเผินก็คงไม่มีประเด็นใดๆ น่าเสียหาย แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดและลึกลงไปในข้อเท็จจริง อาลีบาบาซึ่งเป็นเพียงผู้ประกอบการธุรกิจรายหนึ่ง กลับมีความเคลื่อนไหวหรือการตัดสินใจที่มีบทบาทอิทธิพลและสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับรัฐไทยมากเสียยิ่งกว่าความพยายามของรัฐไทยในการสื่อสารและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาคมโลกไปเสียแล้ว ประเด็นดังกล่าว ทำให้อาลีบาบาอยู่ในสถานะประหนึ่ง change agent ที่รัฐไทยกำลังต้องพึ่งพา หลังจากที่ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมายังไม่สามารถกอบกู้ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นจากนักลงทุนได้มากนัก แม้จะพยายามระดมมาตรการส่งเสริม และขายฝันโครงการ EEC เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกแล้วก็ตาม มิติความคิดที่สะท้อนผ่านการให้สัมภาษณ์สื่อของสมคิด รองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล ครั้งล่าสุด ยังเป็นการตอกย้ำภาพการพัฒนาและอนาคตที่น่ากังวลของไทย เพราะบทบาทและสถานะของอาลีบาบาในอีกด้านหนึ่งก็คือการเป็นเพียงผู้ประกอบการที่มีฐานะเป็นคนกลางขนาดใหญ่ ที่ไม่เพียงแต่จะไม่มีวัตถุดิบหรือระบบการผลิตสินค้าใดๆ หากแต่สิ่งที่อาลีบาบามีและสื่อแสดงอย่างเด่นชัด ก็คือแนวความคิดที่สอดรับกับการแบ่งงานกันทำ (division

Read More

บุพเพสันนิวาส บนกระแสธารไทยแลนด์ 4.0

หลังจากการออกอากาศตอนแรกของละคร “บุพเพสันนิวาส” ไปเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 เพียงข้ามคืนละครเรื่องนี้ได้สร้าง “ปรากฏการณ์ทางสังคม” จนเกิดกระแสฟีเวอร์ที่ใครต่างพากันพูดถึง ไม่เว้นแม้แต่คนที่ไม่ใช่คอละคร ละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” กลายเป็น talk of the town จากหลักฐานที่บ่งบอกว่า มีการค้นหาความหมายของคำสรรพนามที่ใช้เรียกบุรุษที่สองในละครอย่างคำว่า “ออเจ้า” ภาษาโบราณที่เคยใช้จริงในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการบันทึกอยู่ในหนังสือ “จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม” เขียนโดย มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ การค้นหาไม่ได้มีเพียงแค่คำโบราณที่ใช้ในละครเท่านั้น เมื่อตัวละครที่ปรากฏเพียงไม่กี่วินาทีในบางฉาก แต่สร้างความสงสัยให้หลายคนว่าบุคคลนั้นแสดงเป็นใคร กระทั่งได้คำตอบว่าเป็นบุคคลสำคัญที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีการค้นหาต้นฉบับหนังสือนวนิยายเรื่องนี้ และที่สำคัญคือ “รอมแพง” นามปากกาของผู้ประพันธ์นวนิยายเรื่องนี้ แน่นอนว่าหลังจากละครออกอากาศไปเพียงไม่กี่ตอนคำว่า “ออเจ้า” คำโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา กลายเป็นคำฮิตในยุคดิจิทัล เมื่อโลกโซเชียลพากันใช้คำนี้จนฮิตติดปาก ความนิยมที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่นาน ทำให้เรตติ้งละครเรื่องนี้ของช่อง 3 สูงขึ้นแซงหน้าละครช่องอื่นๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน ส่วนหนึ่งต้องยกความดีความชอบให้ผู้จัด นักแสดง ผู้กำกับ คนเขียนบทโทรทัศน์ และเหล่าทีมงานผู้อยู่เบื้องหลังที่มีส่วนสำคัญให้การสร้างสรรค์ละครจนเป็นที่กล่าวถึง กระนั้นต้องยอมรับว่า

Read More