Home > เกษตรกรไทย

เจียไต๋ชวนเด็กไทยสร้างแบรนด์ชุมชน กับโครงการ Chia Tai Young Farmer Challenge

เจียไต๋จัดโครงการ Chia Tai Young Farmer Challenge ชวนเด็กไทยสร้างแบรนด์ชุมชน เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคม ตลอดระยะเวลา 98 ปีที่อยู่เคียงคู่สังคมไทย เจียไต๋ ในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรครบวงจร ได้สัมผัสวิถีชีวิตของเกษตรกรอย่างลึกซึ้ง และตระหนักถึงปัญหาของเกษตรกรไทย นั่นคือปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ อีกทั้งทัศนคติของคนทั่วไปยังมองว่าเกษตรกรเป็นอาชีพที่รายได้น้อยและไม่น่าภูมิใจ ทำให้อาชีพเกษตรกรถูกมองข้ามและนับวันจะถูกลดความสำคัญลง โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ ด้วยเหตุนี้ เจียไต๋ จึงขออาสาจูงมือเยาวชนไทยไปทำความรู้จักอาชีพเกษตรกร พร้อมสนับสนุนเยาวชนให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างแบรนด์สินค้าจากผลผลิตทางการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตในชุมชน ในโครงการ Chia Tai Young Farmer Challenge การประกวดโครงงานระดับชั้นมัธยมปลายภายใต้หัวข้อ “ผลิตภัณฑ์เกษตรไทย เยาวชนรุ่นใหม่สร้างแบรนด์ชุมชน” ด้วยความมุ่งหวังจะให้เมล็ดพันธุ์แห่งอนาคตของสังคมไทยช่วยผลักดันอุตสาหกรรมเกษตรให้เติบโตต่อไปอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน คุณดวงพร จิราพิพัฒนชัย ผู้จัดการทั่วไปธุรกิจโฮมการ์เด้น อธิบายว่า “เราเลือกจะทำโครงการนี้กับกลุ่มเยาวชน เพราะเด็กคือบุคลากรที่มีศักยภาพจะสร้างความเปลี่ยนแปลงในระยะยาว เราอยากให้ต้นกล้าน้อยๆ เหล่านี้เติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ที่สร้างประโยชน์ให้แก่สังคม จึงจัดทำโครงการนี้เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ที่จะเป็นรากฐานให้น้องๆ ใช้ต่อยอดในอนาคต ที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์ซึ่งเกิดจากผลผลิตทางการเกษตรที่น้องๆ นักเรียนส่งเข้าประกวดยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิตในชุมชน สามารถต่อยอดเป็นสินค้าที่วางจำหน่ายได้จริง ช่วยให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่งที่เจียไต๋อยากผลักดันให้เกิดขึ้นในสังคม” โครงการ Chia Tai Young

Read More

พืชมงคลและ Alibaba ความหวังเกษตรกรไทยยุค 4.0

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2561 ที่ดำเนินต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคมและวันที่ 14 พฤษภาคม นอกจากจะเป็นประหนึ่งสัญญาณของการเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูกครั้งใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยขวัญและกำลังใจสำหรับเกษตรกร วันดังกล่าวยังถือเป็นวันเกษตรกรไทย ที่สะท้อนคุณค่าความหมายและความสำคัญของการประกอบสัมมาชีพกสิกรรมหล่อเลี้ยงสังคมอีกด้วย ผลของการเสี่ยงทายจากพระโค ที่ได้รับการแปลนิยามความหมายในแต่ละปีในด้านหนึ่งเป็นภาพสะท้อนหลักวิธีคิดของการเกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาฟ้าฝน และดำเนินอยู่ท่ามกลางเหตุปัจจัยหลากหลาย ซึ่งบ่อยครั้งอาจอยู่นอกเหนือความสามารถในการบังคับควบคุม หากแต่ในยุคสมัยปัจจุบันที่เทคนิควิทยาการได้เจริญรุดหน้าไปมาก ดูเหมือนว่าวาทกรรมว่าด้วยการบริหารจัดการจะได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่องไม่นับรวมกรณีว่าด้วย Smart Farming และการจัดการเกษตรแปลงใหญ่ที่เป็นกระแสครึกโครมในช่วงปีที่ผ่านมา แต่สำหรับในปีนี้ ดูเหมือนว่าเกษตรกรไทยจะได้รับความหวังและแนวทางการประกอบอาชีพครั้งใหม่ เมื่อผู้ประกอบการธุรกิจการค้าออนไลน์ในนาม อาลีบาบากรุ๊ป ลงนามกับรัฐบาลไทยในการนำพาผลิตผลทางการเกษตรหลากหลายของไทยออกไปสู่ตลาดโลกผ่านช่องทางและเครือข่ายของ Alibaba ซึ่งดูเหมือนจะช่วยตอบรับกับความพยายามของภาครัฐที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจไทยผ่านการค้าในระบบ e-commerce และการหนุนนำ digital economy ไม่น้อยเลย กระนั้นก็ดี ประเด็นปัญหาของเกษตรกรไทยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา มิได้จำกัดอยู่เพียงประเด็นว่าด้วยช่องทางการจัดจำหน่าย หรือกรณีว่าด้วยการเพิ่มผลผลิตหรือการปรับโครงสร้างราคาพืชผลทางการเกษตรให้สอดรับกับต้นทุนการผลิตเท่านั้น หากยังมีปัจจัยว่าด้วยความสามารถในการแข่งขันเพื่อการส่งออกไปยังตลาดระดับนานาชาติ และการบริหารจัดการในเชิงยุทธศาสตร์ว่าด้วยชนิดและประเภทของผลิตผลทางการเกษตรเป้าหมายด้วย การมาถึงของอาลีบาบาในการแสดงบทบาทสถานะการเป็นช่องทางการค้าขนาดใหญ่ให้กับผลิตผลทางการเกษตรของไทย ในด้านหนึ่งจึงอาจเป็นเพียงข้อต่อข้อสุดท้ายที่จะเชื่อมโยงเกษตรกรไทยเข้ากับตลาดขนาดใหญ่ของโลก แต่ย่อมไม่ใช่ข้อต่อที่สำคัญที่สุดในกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องถึงกันในฐานะที่เป็นห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) และเป็นห่วงโซ่แห่งคุณค่า (value chain) ที่รัฐไทยควรจะตระหนักและดำเนินมาตรการผลักดันให้เกิดขึ้นจากฐานความคิดและภูมิปัญญาของสังคมไทยมากกว่าการรอหรือหวังพึ่งการช่วยเหลือจากภายนอก ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่ารัฐไทยประเมินและให้ความสำคัญต่อ “คุณค่า” ของผลิตผลทางการเกษตรของไทยไว้อย่างไร เพราะนอกจาก “คุณค่า” จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเสนอสินค้าหรือบริการให้กับผู้ที่ต้องการในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งแล้ว การวิเคราะห์มูลค่าของ “คุณค่า”

Read More