Home > แจ็ค หม่า

New Retail: วิสัยทัศน์ Daniel Zhang อนาคตของ Alibaba?

แม้ว่าการประกาศวางมือของ Jack Ma และการส่งมอบตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร Alibaba ให้กับ Daniel Zhang เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาจะทำให้ผู้คนจำนวนมากฉงนฉงายและสืบเสาะประวัติความเป็นมาเป็นไปเพื่อทำความรู้จักกับ Daniel Zhang บุรุษที่จะก้าวขึ้นมากุมบังเหียนอาณาจักรธุรกิจมูลค่าหลายล้านล้านบาทคนนี้ให้มากขึ้น หากแต่ในความเป็นจริงกระบวนการในการส่งผ่านและเปลี่ยนถ่ายอำนาจใน Alibaba ดูจะได้รับการออกแบบและวางแผนมาแล้วเป็นอย่างดี เป็นกระบวนการที่ดำเนินการอย่างมีรูปธรรมและต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่เมื่อครั้งที่ Jack Ma มอบตำแหน่ง CEO ให้กับ Jonathan Lu ในช่วงปี 2013-2015 ซึ่ง Alibaba กำลังจะเข้าจดทะเบียนใน NYSE ในห้วงเวลาขณะนั้น Daniel Zhang ซึ่งเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Alibaba ตั้งแต่ปี 2007 ด้วยการดำรงตำแหน่ง CFO ของ Taobao Marketplace เว็บไซต์ขายของออนไลน์ของ Alibaba ที่ในขณะนั้นยังไม่ทำกำไร และมีผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์ม 10 ล้านคนต่อวัน กำลังสร้างปรากฏการณ์และได้รับการขนานนามให้เป็น “ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าการชอปปิ้งของคนจีน” แม้จะได้รับมอบหมายตำแหน่งเป็น

Read More

แจ็ค หม่า อำลา Alibaba สะท้อนพัฒนาการเอกชนจีน?

การประกาศของ Jack Ma เพื่อก้าวลงจากตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท Alibaba เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งอาจเป็นข่าวที่สร้างความตื่นตาตื่นใจและดึงความสนใจต่อสาธารณชนวงกว้างว่า การเปลี่ยนผ่านของอาณาจักรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีมูลค่ามากกว่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 13 ล้านล้านบาทแห่งนี้จะดำเนินไปอย่างไร ขณะเดียวกันความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญนี้ ย่อมไม่ใช่สิ่งที่อยู่เหนือความคาดหมาย เพราะก่อนหน้านี้ Jack Ma ได้ขยับบทบาทด้วยการส่งมอบตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ Alibaba ให้กับ Jonathan Lu เมื่อปี 2013-2015 ในช่วงขณะที่ Alibaba กำลังยื่นขอเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป (IPO) ซึ่งทำให้ Alibaba สามารถระดมทุนได้มากถึง 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และกลายเป็นการระดมทุนครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กอีกด้วย แต่ความสำเร็จของการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ไม่ใช่หลักประกันในความสำเร็จและความท้าทายของ Alibaba ในอนาคต และเป็นเหตุให้ Jack Ma ผลักดัน Daniel Zhang ให้ขึ้นมาเป็น CEO แทน

Read More

สัญญาณเตือนภัย Alibaba ธุรกิจไทยปรับตัวรับผลกระทบ

ข่าวการเยือนไทยพร้อมกับลงนามความร่วมมือผ่านบันทึกความเข้าใจ (MOU) 4 ฉบับของ แจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัท อาลีบาบา เมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากจะกลายเป็นประเด็นข่าวใหญ่ให้ภาครัฐได้ใช้โหมประโคมความมั่นใจในการลงทุน เพื่อกระตุ้นและขับเคลื่อนการพัฒนาในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่รัฐไทยหมายมั่นปั้นมือจะผลักดันให้เกิดขึ้นในฐานะผลงานหลักแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง การลงทุนและการมาถึงของ Alibaba ที่กำลังรุกคืบเข้าสู่สังคมไทยในรอบใหม่นี้ ยังได้รับการคาดหวังว่าจะเป็นจักรกลสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัลที่สังคมไทยพยายามจะก้าวเดินไปบนทิศทางของไทยแลนด์ 4.0 ที่เป็นประหนึ่งนโยบายการพัฒนาในระยะถัดจากนี้ หากแต่เหรียญย่อมมี 2 ด้าน และสรรพสิ่งไม่ได้มีแต่แง่งามให้ชื่นชมเท่านั้น แต่ยังมีมิติด้านลบและผลกระทบที่อาจเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ เบียดแทรกและพร้อมจะบดบังทำลายศักยภาพการพัฒนาด้านอื่นๆ ลงไปพร้อมกันด้วย ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่าง Alibaba กับรัฐบาลไทย แผนงานการลงทุนและความร่วมมือที่อาลีบาบาจะดำเนินการประกอบด้วย การส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทยคือข้าวและผลไม้ โดยภายในปี 2561 อาลีบาบามีเป้าหมายช่วยส่งออกข้าวไทย 45,000 ตัน และปี 2562 จำนวน 120,000 ตัน การส่งออกสินค้าไทยสู่นานาชาติมีเป้าหมายส่งออกสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ หรือโอทอปของไทย 10 รายต่อปี หรือขั้นต่ำจำนวน 50 รายการสินค้า ขณะที่ด้านการท่องเที่ยว

Read More