Home > ผลกระทบโควิด (Page 4)

เรียนรู้จากการทำงานที่บ้านสู่การทำงานที่ไหนก็ได้ กลับมาครั้งนี้ไมโครซอฟท์มีอะไรมาช่วยตอบโจทย์ที่ดีกว่าเดิม

หลังจากการระบาดระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กระจายไปแล้วเกือบทั่วประเทศไทย คนทำงานก็กลับมาสู่หนทางของการทำงานแบบ Work From Home อีกครั้ง ถึงแม้สิ่งเหล่านี้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องปรับตัว พัฒนาความรู้ และสรรหาเครื่องมือใหม่ๆ มาช่วยให้เราทำงานได้เก่งขึ้นกว่าเดิม ต้องทำงานสะดวก รวดเร็ว ยืดหยุ่น และทำงานไปพร้อมกับทีมอย่างมีประสิทธิภาพเพราะทักษะเหล่านี้ พวกเราคงต้องอยู่และพัฒนาเพื่อใช้กันต่อไปในอนาคตจนเราเองอาจลืมวิธีการทำงานเดิมๆ ไปเลย ซึ่งจากบทเรียนครั้งที่แล้ว ไมโครซอฟท์เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ได้เรียนรู้ไปพร้อมกับทุกคนบนโลกใบนี้ และด้วยความมุ่งมั่นที่ต้องการเป็นกำลังสำคัญของทุกคนเราจึงได้มีการอัปเดท และพัฒนาโซลูชัน เพื่อช่วยให้ทุกคนก้าวต่อไปได้ในยุคที่เราเรียนรู้ว่าความไม่แน่นอนคือธรรมชาติของชีวิต สิ่งสำคัญที่ต้องเน้นย้ำตั้งแต่ตอนนี้ คือ เราต้องพร้อมตั้งแต่เครื่องมือการทำงานร่วมกัน อุปกรณ์และการติดต่อสื่อสารที่ทำได้เสมือนทำงานที่ออฟฟิศ ต้องเข้าถึงข้อมูล ไฟล์ และแอปพลิเคชันได้ไม่ต่างจากยกคอมพิวเตอร์ของออฟฟิศมาใช้ที่บ้าน และแน่นอนว่าต้องใช้งานได้อย่างปลอดภัยไร้กังวลระดับมืออาชีพ ถูกต้องตามกฎระเบียบ พร้อมปรับเปลี่ยนได้ตามโจทย์ ตามกระแส และฟังก์ชั่นการใช้งานของแต่ละบุคคล Microsoft Teams มากกว่าการทำงานด้วยกัน แต่เพื่อการทำงานร่วมกัน ในยุคต่อจากนี้ที่แค่แชทหรือวิดิโอคอลเรียกได้ว่าธรรมดาเกินไป สิ่งแรกที่ไมโครซอฟท์ขอนำเสนอ แน่นอนว่านั่นก็คือศูนย์รวมของการทำงานระดับพรีเมี่ยม อย่าง Microsoft Teams ที่มีอะไรใหม่ๆ มาช่วย ซึ่งล้ำหน้าขึ้นทุกวัน โดยการนำ AI มาตอบโจทย์ความต้องการการใช้งานหลายมิติการทำงาน ทุกวันนี้หลายคนคงเริ่มชินกับการประชุมออนไลน์กันแล้ว

Read More

โควิดระบาดยืดเยื้อ ทุนยักษ์แห่เจาะธุรกิจเฮลท์แคร์

ธุรกิจทางการแพทย์และธุรกิจสุขภาพกลับมาร้อนแรง หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ยืดเยื้อและมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วโลก ซึ่งฝ่ายโครงการฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก (WHO) เคยคาดการณ์จำนวนประชากรราว 1 ใน 10 จากทั่วโลก หรือประมาณ 760 ล้านคน จะติดเชื้อไวรัสอันตรายตัวนี้ ส่วนในประเทศไทย ล่าสุดยอดผู้ป่วยยืนยันทะลุหลักหมื่นคน และกระจายไปมากกว่า 50 จังหวัดแล้ว ขณะเดียวกัน ทีมระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เคยประเมินการระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทยไว้ 3 ฉากทัศน์ ฉากทัศน์ที่ 1 หากไม่มีการควบคุมหรือมาตรการใดๆ จะพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นวันละ 1,000-2,000 ราย จนถึงวันที่ 14 มกราคม 2564 และจะพบเพิ่มขึ้น 18,000 รายต่อวัน ฉากทัศน์ที่ 2 ใช้มาตรการปานกลาง จะพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเกือบ 4,000 รายต่อวัน และฉากทัศน์ที่ 3 ใช้มาตรการเข้มข้น เช่น สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ จะพบผู้ป่วยน้อยกว่า 1,000 รายต่อวัน นั่นทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการรักษาพยาบาลและอุปกรณ์ทางการแพทย์สามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสการเติบโตสวนทางธุรกิจอื่นๆ

Read More

ไอคอนสยาม เปิดประสบการณ์ช้อปปิ้งไร้ขีดจำกัด “ICONSIAM The Ultimate Shopping Experience” ช้อปสะดวกสบายได้ทุกที่

ไอคอนสยาม เปิดประสบการณ์ช้อปปิ้งไร้ขีดจำกัด “ICONSIAM The Ultimate Shopping Experience” ช้อปสะดวกสบายได้ทุกที่ อัพเดทเทรนด์ได้ทุกเวลา ด้วย 4 ช่องทางบริการใหม่ ไอคอนสยาม แลนด์มาร์คระดับโลกริมแม่น้ำเจ้าพระยา ขานรับนโยบายรัฐเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในทุกสถานการณ์ ให้ work from home ได้อย่างเพลิดเพลิน และเปิดประสบการณ์การช้อปปิ้งไร้ขีดจำกัดด้วยบริการช้อปปิ้งรูปแบบพิเศษ “ICONSIAM The Ultimate Shopping Experience” (ไอคอนสยาม ดิ อัลทิเมท ช้อปปิ้ง เอ็กซพีเรียนซ์) ส่งตรงสินค้าครอบคลุมทุกกลุ่มประเภท ทั้ง Health & Beauty , Gadget & IT, Home & Lifestyle, Women’s & Men’s fashion, Sports & Travel

Read More

โควิด-19 รอบใหม่ ส่งผลผู้บริโภคตื่นตัวหันมาใส่ใจสุขภาพ ‘ไลอ้อน’ ขนไลน์สินค้าเสริมอาหาร-ดูแลสุขอนามัยบุกตลาด

‘ไลอ้อน ประเทศไทย’ เผยโควิด-19 หนุนผู้บริโภคตื่นตัวดูแลสุขภาพ ดันยอดขายสินค้ากลุ่มป้องกันไวรัสเพิ่ม ขนทัพผลิตภัณฑ์กลุ่มดูแลสุขอนามัย จัดโปรโมชันรับกระแส พร้อมเปิดตัว ‘แอสคอร์-เท็น’ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดูแลสุขภาพองค์รวม รุกเจาะช่องทางออนไลน์ตอบโจทย์ความต้องการช่วง เวิร์คฟอร์มโฮม นายบุญฤทธิ์ มหามนตรี ประธานกรรมการ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า นับแต่เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และเกิดการระบาดระลอกใหม่ในขณะนี้ ได้ส่งผลต่อแนวโน้มยอดขายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน/ฆ่าเชื้อไวรัส (Anti virus) ให้เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และที่มีคุณสมบัติในการช่วยลดการสะสมเชื้อโรค เช่น โฟมล้างมือ, เจลล้างมือ, สเปรย์ฆ่าเชื้อ คิเรอิ คิเรอิ (KIREI KIREI), ครีมอาบน้ำโชกุบุสซึ โมโนกาตาริ, ลุค(LOOK) สเปรย์ฆ่าเชื้อโรคสำหรับพื้นผิวอเนกประสงค์, ผลิตภัณฑ์ซักผ้าเปา (PAO) , น้ำยาล้างจาน ไลปอนเอฟ และรวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เปิดตัวเมื่อไม่นานมานี้อย่าง แอสคอร์-เท็น

Read More

ร้านค้า-อาหารระส่ำหนัก หลัง COVID-19 ระบาดใหม่

การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาและมีแนวโน้มที่จะทวีความหนักหน่วงเพิ่มขึ้น หลังจากที่พบว่ากลไกรัฐมีความบกพร่องในการป้องปรามและป้องกันการแพร่ระบาดครั้งใหม่ ซึ่งนอกจากจะมีต้นทางมาจากการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของทั้งแรงงานไทยที่เดินทางกลับเข้าประเทศหลังไปทำงานอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน และแรงงานต่างชาติที่กลับเข้ามาหนุนนำกลไกเศรษฐกิจแล้ว ล่าสุดยังพบว่าการแพร่ระบาดในลักษณะของการติดเชื้ออย่างเป็นกลุ่มก้อนระลอกใหม่เกิดขึ้นจากการลักลอบเล่นการพนันในบ่อนการพนันผิดกฎหมายในหลายพื้นที่อีกด้วย ข้อน่าสังเกตว่าด้วยความฉ้อฉลของเจ้าหน้าที่ที่มีสังกัดอยู่ในกลไกรัฐ กลายเป็นคำถามที่รอคอยคำตอบต่อสาธารณชน และก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยถึงความโปร่งใสและความจริงจังในการนำพาประเทศออกจากวิกฤตโรคระบาดที่กำลังกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวางในห้วงเวลาปัจจุบัน เทศกาลแห่งความสุขในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมากลายเป็นช่วงเวลาแห่งความประหวั่นวิตกของคนไทย ที่ติดตามมาด้วยการชะลอการท่องเที่ยวเดินทางและชะลอกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมหลากหลาย ที่ส่งผลลบต่อภาวะฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เคยคาดว่าจะกระเตื้องขึ้นจากการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ให้หดตัวลดลงอย่างไม่อาจเลี่ยง ควบคู่กับการติดตามมาตรการของของรัฐว่าจะดำเนินไปในทิศทางแบบใด นอกจากนี้ การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ยังได้รับการประเมินว่าจะทำให้ภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ได้รับความสูญเสีย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 45,000 ล้านบาท และความสูญเสียเกี่ยวเนื่องกับสินค้าประมงและอาหารทะเล อาจมีมูลค่ารวมกัน 13,000 ล้านบาท จากการชะลอการบริโภคสินค้าประมงและอาหารทะเลในระยะสั้น โดย สมุทรสาคร ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบหลักในธุรกิจการประมงและการแปรรูปสัตว์น้ำ โดยปริมาณสัตว์น้ำสดที่ใช้ในธุรกิจการประมงและการแปรรูปสัตว์น้ำเค็ม มีสัดส่วนเกือบร้อยละ 40 ของทั้งประเทศ ไม่รวมวัตถุดิบนำเข้า การปิดเมืองตั้งแต่ 19 ธันวาคม 2563 ถึง 3 มกราคม 2564 จึงส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการค้าและการผลิตหมวดนี้ไม่น้อย ความพยายามของกลไกรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : ศบค. ที่จะเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่กระจายของโรคด้วยการจำแนกพื้นที่การแพร่ระบาดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุมและพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด ตามระดับความรุนแรงของการแพร่ระบาดและจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อในแต่ละพื้นที่มาเป็นเกณฑ์ในการจัดการ ควบคู่กับการหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำว่ามาตรการ lockdown ที่เชื่อมโยงกับมาตรการเยียวยา

Read More

LPP ประกาศ 12 มาตรการยกระดับการดูแล 200 ชุมชนให้ผ่านวิกฤติโควิด-19 ระลอกใหม่

LPP ประกาศ 12 มาตรการยกระดับการดูแลและการบริหารชุมชนกว่า 200 ชุมชน ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธ์ใหม่-2019 (โควิด-19) ระลอกใหม่ ภายใต้แนวคิด “ร่วมใจ ห่วงใย แบ่งปัน” นางสาวสมศรี เตชะไกรศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) บริษัทบริหารจัดการชุมชนในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) กล่าวว่า หลังจากที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ไปทั่วประเทศ บริษัท ได้ประกาศ 12 มาตรการเพื่อยกระดับการดูแลชุมชนภายใต้การบริหารงานของ LPP ที่มีอยู่ทั้งหมดมากกว่า 200 ชุมชน จำนวนผู้อยู่อาศัยประมาณ 300,000 คน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในชุมชน และมีส่วนในการตรวจคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ โควิด-19 ในชุมชน เป็นส่วนหนึ่งในการลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายใต้แนวคิด “ร่วมใจ

Read More

ผวาโควิดหนีตลาดสด เซ็นทรัล-ซีพี ยอดขายพุ่ง

พิษการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีต้นตอใหญ่มาจากตลาดค้ากุ้งในจังหวัดสมุทรสาคร ส่งผลดาวกระจายเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้าที่เดินทางมารับอาหารทะเลสดไปขายปลีกในหลายจังหวัด จนเกิดกระแสหวาดผวาอย่างหนัก ผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมเลิกเดินตลาดสดแห่เข้าซูเปอร์มาร์เก็ตที่ตอกย้ำมาตรฐานความปลอดภัย ไร้เชื้อ แถมมีโปรโมชั่นแรงๆ แข่งขันกันมากขึ้น ล่าสุด เครือข่ายสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งเปิดเผยสถานการณ์กุ้งของไทย ระบุว่า ผลผลิตกุ้งเลี้ยงปี 2563 โดยรวมอยู่ที่ 270,000 ตัน ลดลง 7% เมื่อเทียบกับปี 2562 อยู่ที่ประมาณ 290,000 ตัน เป็นผลจากปัญหาเรื่องโรคระบาดและความไม่มั่นใจต่อสถานการณ์โควิด-19 กระทบต่อตลาดและราคาตกต่ำ ขณะเดียวกัน การส่งออกกุ้งช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2563 มีปริมาณ 123,297 ตัน มูลค่า 35,872 ล้านบาท เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ส่งออกปริมาณ 135,249 ตัน มูลค่า 40,185 ล้านบาท ลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า ที่ร้อยละ 9 และร้อยละ 11 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกอาหารทะเลสดแช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป รวมทูน่ากระป๋องและแปรรูป แต่ไม่รวมกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป

Read More

COVID-19 ระบาดใหม่ ฉุดท่องเที่ยวไทยดิ่งลงเหว

การอุบัติขึ้นของ COVID-19 ที่ไม่ว่าจะถูกกำหนดนิยามว่าเป็นการระบาดรอบสองหรือการระบาดครั้งใหม่กำลังส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและการเดินทาง ที่คาดหมายว่าจะกลับมามีสีสันและบรรยากาศคึกคักในช่วงปลายปีนี้อย่างไม่อาจเลี่ยง แม้ว่าการระบาดระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นจะได้รับการประเมินว่าไม่รุนแรง จากผลของระบบติดตามไต่สวนโรคที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเชื่อว่ามีประสิทธิภาพและจำกัดการแพร่ระบาดได้ดี แต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อรายได้จากภาคธุรกิจและกิจกรรมการเดินทางท่องเที่ยว ที่ชะลอตัวกว่าที่เคยคาดหวังไว้เดิม โดยคาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวและกิจกรรมจับจ่ายใช้สอยที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวช่วงปีใหม่สูญเสียไปไม่ต่ำกว่า 1.4-1.7 หมื่นล้านบาทในช่วงปลายปีนี้ ความกังวลใจต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดรอบใหม่ในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในการเดินทางและกิจกรรม “ไทยเที่ยวไทย” ที่เป็นความหวังหลักในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2563 และลุกลามไปถึงกิจกรรมช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลปีใหม่ 2564 ซึ่งทำให้โรงแรมและรีสอร์ตทั่วประเทศได้รับผลกระทบเรื่องยอดจองห้องพักล่วงหน้า รวมถึงโอกาสการสร้างรายได้ในช่วงปีใหม่ที่ลดน้อยลง ตัวเลขที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562-2563 ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ประมาณ 28,200 ล้านบาท ขณะที่สำนักวิจัยหลายแห่งมีผลสำรวจตรงกันว่า ชาวไทยโดยเฉพาะคนกรุงเทพลดงบประมาณใช้จ่ายช่วงปีใหม่ลงมาอย่างชัดเจน เฉพาะในกรุงเทพฯ จะมีเงินสะพัดในช่วงเทศกาลปีใหม่ประมาณ 30,000 ล้านบาทต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เมื่อเจาะเฉพาะรายเมืองท่องเที่ยว พบว่าเมืองรองอย่างนครศรีธรรมราช น่าน และสุโขทัยที่นักท่องเที่ยวไทยนิยมเดินทางไปเยือน รวมถึงโรงแรมในย่านนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี อาจได้รับผลกระทบในช่วงปีใหม่น้อยกว่าเมืองท่องเที่ยวหลักอื่นๆ ส่วนโรงแรมในบุรีรัมย์ซึ่งเป็นเมืองที่พึ่งพิงรายได้ท่องเที่ยวจากการจัดงานอีเวนต์เป็นหลัก คาดว่าน่าจะได้รับผลกระทบมากพอสมควร สำหรับเมืองท่องเที่ยวหลักอย่างกรุงเทพฯ และหาดใหญ่ สงขลา ซึ่งพึ่งพิงฐานนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องเพราะยังไม่มีการเปิดประเทศ ซึ่งโรงแรมในกรุงเทพฯ ยังจำกัดความคึกคักอยู่เฉพาะเป็นบางโรงแรมเท่านั้น โดยยังมีโรงแรมอีกจำนวนมากที่ยังไม่กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง หลังจากวิกฤต COVID-19 ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจโรงแรมมาตั้งแต่ต้นปี

Read More

เศรษฐกิจไทยปีฉลู 2021 ความหวังที่เตรียมฉลองฉลุย?

ความเป็นไปของสังคมเศรษฐกิจไทยในช่วงปี 2020 ที่กำลังจะผ่านพ้นไปในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ ดูจะเป็นขวบปีแห่งความยากลำบากและเป็นปีแห่งการสูญเสียที่ทำให้ประเทศไทยต้อง ชวด โอกาสหลากหลายอย่างที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น แม้ว่าก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์และสถาบันวิจัยจำนวนมากต่างเชื่อว่าสถานการณ์เศรษฐกิจที่ซบเซาถดถอยต่อเนื่องมานาน ได้ถึงจุดต่ำสุดแล้วในช่วงปลายปี 2019 และมีแนวโน้มจะฟื้นตัวขึ้นในปี 2020 แต่เหตุไม่คาดฝันว่าด้วยการอุบัติขึ้นของการแพร่ระบาด COVID-19 ในลักษณะ pandemic หรือการระบาดใหญ่ที่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของโลกได้ฉุดให้สถานการณ์กลับตาลปัตร ผิดไปจากที่ผู้คนคาดหวังไว้ ประเด็นสำคัญซึ่งถือเป็นความเปราะบางของเศรษฐกิจสังคมไทยก็คือ ปัจจุบันเศรษฐกิจของไทยอยู่ในภาวะที่อ่อนแอกว่าเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ อย่างมาก เห็นได้จากการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF เทียบกับการคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดย IMF คาดการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2020 ว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะหดตัวลงร้อยละ 4.4 และจะกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ในปี 2021 พร้อมกับระบุว่าเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาและประเทศตลาดเกิดใหม่จะหดตัวลงร้อยละ 5.7 ในปี 2020 และจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปี 2021 ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่า GDP ไทยจะปรับลดลงร้อยละ 7.8 ในปีนี้และขยายตัวร้อยละ 3.5 ในปีหน้า กรณีดังกล่าวชี้ให้เห็นได้ชัดว่าเศรษฐกิจไทยตกต่ำรุนแรงกว่าเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ

Read More

ภาระหนี้ครัวเรือน แผลเรื้อรังสังคมไทย

ปัญหาว่าด้วยภาระหนี้ครัวเรือนของสังคมไทยเป็นประเด็นที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งติดตามมาด้วยภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลให้รายได้ของแต่ละครัวเรือนหดหาย ท่ามกลางค่าใช้จ่ายปกติและภาระหนี้ที่ยังดำรงอยู่ทำให้เกิดการสั่งสมของปัญหากลายเป็นบาดแผลที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ บาดแผลทางเศรษฐกิจของไทยที่เกิดขึ้นจากผลของการแพร่ระบาด COVID-19 นอกจากจะอยู่ที่ประเด็นว่าด้วยประสิทธิภาพของมาตรการภาครัฐแล้ว ข้อเท็จจริงว่าด้วยโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พึ่งพาสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวและการส่งออก ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำนวนมากต้องทยอยปิดหรือเลิกกิจการ ก่อให้เกิดการเลิกจ้างแรงงานจำนวนมาก และนำไปสู่ปัญหาการว่างงานติดตามมาอย่างไม่อาจเลี่ยง และจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศในอนาคต ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังจะต้องเผชิญกับบาดแผล จากปัญหาหนี้ครัวเรือนในระดับสูงที่ได้สะสมมาก่อนหน้า และกลายเป็นบาดแผลเรื้อรังที่ยังไม่ได้รับการรักษาเยียวยาอย่างจริงจัง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ ก็คือหนี้ครัวเรือนไม่ใช่ปัญหาใหม่ของเศรษฐกิจไทย เพราะก่อนการแพร่ระบาด COVID-19 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยก็อยู่ที่ระดับร้อยละ 80.2 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในบรรดากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอยู่แล้ว และเมื่อมีการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ในไตรมาสที่ 2 สัดส่วนของหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP จึงได้ปรับตัวสูงขึ้นไปสู่ระดับที่ร้อยละ 83.8 ซึ่งถือเป็นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในระดับสูงสุดของประเทศไทยเท่าที่เคยมีมา หลังจากเคยเร่งตัวต่อเนื่องในช่วงปี 2552 จนถึง 2558 จนไปสู่ระดับร้อยละ 81.2 ในไตรมาสที่ 4 ปี 2558 ก่อนจะปรับลดลงเล็กน้อยและค่อนข้างทรงตัวในช่วง 4

Read More