Home > ผลกระทบโควิด (Page 5)

ท่องเที่ยวไทยไร้ทางรอด เอกชนหวังเร่งเปิดประเทศ

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งให้ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยซึ่งถือเป็นจักรกลสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันด้วยเหตุที่นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้าออกประเทศได้อย่างอิสระ รวมถึงการปิดประเทศ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งร้างไร้ผู้คน จนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่างขาดรายได้ไปโดยปริยาย ภาพถนนข้าวสารที่เคยคึกคักและคลาคล่ำด้วยนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมาก จนทำให้เป็นประหนึ่งถนนที่ไม่มีวันหลับ หากแต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งติดตามมาด้วยการปิดเมืองในช่วงปลายเดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทำให้ถนนที่เป็นสัญลักษณ์ของการท่องเที่ยวไทยต้องร้างไร้ไม่มีนักท่องเที่ยว และเป็นเหตุให้ร้านค้า ร้านอาหาร บริษัทให้บริการท่องเที่ยว และโรงแรมต่างปิดตัวลงเป็นจำนวนมาก โดยมีการประเมินว่ารายได้ในส่วนนี้หดหายไปมากกว่าร้อยละ 70-80 อีกด้วย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลไกที่เกี่ยวข้องพยายามกระตุ้นการท่องเที่ยวแบบ “ไทยเที่ยวไทย” เพื่อชดเชยรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะพยุงภาคการท่องเที่ยวที่เคยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 2.9 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20 ของ GDP และมีการจ้างงานรวมมากกว่า 8.3 ล้านตำแหน่งในปี 2562 ได้ มูลเหตุสำคัญที่ทำให้มาตรการ “ไทยเที่ยวไทย” ไม่สามารถพยุงภาคการท่องเที่ยวโดยรวมได้มากนักเกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่ารายได้ในลักษณะของ “ไทยเที่ยวไทย” โดยปกติมีสัดส่วนเพียง 1 ใน 3 ของรายได้ภาคท่องเที่ยวทั้งหมดเท่านั้น ขณะที่ปัจจุบันการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวยังกระจุกตัวในบางจังหวัดและบางช่วงเวลา ยังไม่นับรวมประเด็นว่าด้วยผลของมาตรการกระตุ้นไทยเที่ยวไทยยังเป็นไปอย่างจำกัด ข้อเรียกร้องสำคัญที่ผู้ประกอบการในธุรกิจการท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมาว่าด้วยการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาในประเทศไทยจึงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่เป็นมาตรการจำเป็นต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและพยุงธุรกิจท่องเที่ยวให้รอดพ้นจากความล่มสลายจากผลของ COVID-19 อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการแต่ละรายต่างเชื่อว่าการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในห้วงเวลาจากนี้ ต้องเป็นไปอย่างระมัดระวังเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ที่คุ้มกับความเสี่ยง

Read More

ธุรกิจการบินอ่วมหนัก ยอดขาดทุนยังพุ่งไม่หยุด

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 และยังไม่มีแนวโน้มที่จะยุติลงโดยง่าย สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกในวงกว้างทั้งในภาคการบริการและภาคอุตสาหกรรมโดยหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างสูงคือธุรกิจสายการบิน โดยในระดับโลกจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้หลายประเทศทั่วโลกใช้มาตรการปิดเมือง (lock-down) หรือกระทั่งปิดประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเดินทางเข้ามาแพร่เชื้อโรค ส่งผลให้ปริมาณเที่ยวบินระหว่างประเทศที่เข้าหรือออกจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปรับลดลงอย่างมาก ผลจากการปรับลดจำนวนหรือยกเลิกเที่ยวบินในเส้นทางระหว่างประเทศดังกล่าว ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อการดำเนินงานของผู้ประกอบการสายการบินทั่วโลก เพราะในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจการบินต้องประสบกับความยากลำบากจากการแข่งขันด้านราคา และการแทรกตัวเข้ามาของสายการบินโลว์คอสต์ที่รุกคืบเข้ามาช่วงชิงลูกค้าของสายการบินฟูลเซอร์วิสในเส้นทางภายในประเทศและเส้นทางบินระยะสั้นไปจำนวนมาก ขณะที่การบินในเส้นทางระยะยาวก็ต้องแข่งขันกันด้านราคากับผู้ประกอบการอื่นเช่นกัน การหยุดให้บริการทั้งในเส้นทางระหว่างประเทศและในประเทศในช่วงที่ผ่านมา ทำให้หลายสายการบินต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินการด้วยการลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะด้านค่าใช้จ่ายพนักงานที่คิดเป็นร้อยละ 15-20 ของต้นทุนทั้งหมด รวมทั้งเพิ่มช่องทางในการหารายได้ใหม่ๆ โดยสายการบินไทยเน้นให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศเพิ่มขึ้น และให้ครัวการบินไทยปรับมาขายอาหารที่ปรุงโดยเชฟของครัวการบินไทย รวมถึงการขายเบเกอรี่ หรือแม้กระทั่ง ปาท่องโก๋ ผ่านทางร้าน Puff & Pie และเอาต์เล็ตอื่นๆ รวมถึงการจัดเที่ยวบินพิเศษบินวนไม่ลงจอดเพื่อสักการะสถานที่มงคลทั่วประเทศ ความพยายามดิ้นรนของสายการบินแต่ละแห่งในห้วงเวลายากลำบากนี้ดำเนินไปโดยไม่ได้จำกัดเฉพาะกรณีของการบินไทยเท่านั้น หากแต่สายการบินอื่นๆ ก็พยายามสร้างช่องทางรายได้ โดยสายการบินไทยแอร์เอเชีย มีการเปิดขายบัตรโดยสารล่วงหน้า และขายเบเกอรี่และเครื่องดื่มผ่านทางเดลิเวอรี่ ขณะที่สายการบินนกแอร์จัดโปรโมชัน “ซื้อก่อน บินทีหลัง” ด้วยการขาย voucher ล่วงหน้าเพื่อนำไปใช้ในช่วง 1 มิถุนายน ถึง 31

Read More

ศึกชิงเม็ดเงิน “ช้อปดีมีคืน” ยักษ์เอาท์เล็ตแข่งถล่มแคมเปญ

กระแสโครงการ “ช้อปดีมีคืน” ซึ่งกระทรวงการคลังตั้งเป้ากระตุ้นกำลังซื้อช่วงไตรมาสสุดท้ายปีนี้ มากกว่า 2 แสนล้านบาท และดึงเม็ดเงินจากผู้มีรายได้สูงมากกว่า 3.7 ล้านคน กำลังจุดชนวนสมรภูมิค้าปลีกช่วง 2 เดือนสุดท้าย โดยเฉพาะกลุ่มเอาท์เล็ตแบรนด์หรู ทั้งสยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ตและเซ็นทรัลวิลเลจ ต่างระดมอัดแคมเปญถล่มกันอย่างหนักหน่วง ขณะเดียวกัน ในจังหวะนี้กลุ่มเอาท์เล็ตที่เคยเจาะนักท่องเที่ยวต่างชาติต่างปรับแผนรุกขยายฐานลูกค้าคนไทยกำลังซื้อสูง เนื่องจากสถานการณ์การท่องเที่ยวยังต้องรอการฟื้นตัวและเพิ่งประเดิมเปิดประเทศรับทัวร์ต่างชาติประเภทพิเศษ หรือ Special Tourist Visa หรือ STV กลุ่มแรกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยกลุ่มแรกเดินทางมาจากเมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 41 คน ตามนักท่องเที่ยวกลุ่มที่ 2 จากกวางโจว ประเทศจีน เดินทางเข้ามาอีก 100 คน เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม แม้ล่าสุด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เสนอแผนการตลาดดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรป โดยเจาะกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียเป็นหลัก เช่น ฟินแลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก และนอร์เวย์

Read More

มื้ออิ่มเพื่อเด็กน้อย ช่วยเด็กกลุ่มเปราะบาง ช่วงโควิดระบาด

หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 กลุ่มเปราะบางจำนวนมาก โดยเฉพาะ “เด็ก” ในครอบครัวที่มีฐานะ ยากจน เด็กกำพร้าหรือพ่อแม่ตกงานในช่วงเศษฐกิจซบเซา พวกเขาไม่มีโอกาสได้รับอาหารที่เพียงพอตามหลักโภชนาการ และไม่เพียงพอต่อการพัฒนาทั้งทางร่างกายและสมอง ที่หนักกว่านั้นคือบางครั้งถึงขนาดต้องอดมื้อกินมื้อ มูลนิธิแพทย์ชนบท โรงพยาบาลท่าวุ้ง โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ และเทใจ จึงร่วมกันจัด โครงการ “มื้ออิ่มเพื่อเด็กน้อย” ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาต้นแบบสนับสนุนเด็กยากจนให้ได้รับอาหารที่เพียงพอ มีคุณภาพ และมีความปลอดภัย ในเครือข่ายปฏิรูปโรงพยาบาลชุมชน 6 พื้นที่ ได้แก่ (1) โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น (2) โรงพยาบาลท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี (3) โรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น (4) โรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี (5) โรงพยาบาลขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ (6) โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อมอบมื้ออาหารที่เต็มเปี่ยมด้วยโภชนาการให้น้องๆ 600 คน คนละ 100 มื้อ เป้าหมายระดมทุน 1,500,000 บาท 25

Read More

เอสเอ็มอีท่องเที่ยวไทย เผชิญวิกฤตที่ยังไร้ทางออก

อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าอุตสาหกรรมหลักๆ ของไทยที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ พึ่งพารายได้จากต่างประเทศเป็นหลัก และเมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้สร้างผลกระทบเชิงลบในทุกระนาบ โดยที่ไม่อาจรู้ได้เลยว่า เมื่อใดสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตโควิด-19 คือ ภาคการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุน แม้ว่าในห้วงเวลาปัจจุบันไวรัสจะยังคงอยู่บนโลกนี้อย่างไม่มีวี่แววว่าจะจางหายไป แต่สถานการณ์การส่งออกของไทยยังพอมีแรงที่จะขับเคลื่อนไปได้บ้าง เมื่อไทยยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกที่ประเทศคู่ค้าต้องการ ขณะที่ภาคการลงทุนที่เหล่านักลงทุนยังต้องมองสถานการณ์ในหลายๆ ด้านประกอบการตัดสินใจ ทั้งเศรษฐกิจโลก ปัญหาการเมืองที่เริ่มส่งสัญญาณความรุนแรงเพิ่มขึ้น อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนเลื่อนการลงทุนในไทยออกไป เมื่อยังมองหาเสถียรภาพที่มั่นคงได้ยากขึ้น สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหลายฝ่ายยอมรับว่าครั้งนี้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวประสบกับวิกฤตของจริง เมื่อรายได้หลักมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 70-80% โดยตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยปี 2562 ประมาณ 39.7 ล้านคน และสร้างรายได้มากถึง 1.93 ล้านล้านบาท ขณะที่ปีนี้ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับไวรัสร้ายนี้ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) มีจำนวนเพียง 6.69 ล้านคน และสร้างรายได้รวม 3.32 แสนล้านบาท ซึ่งหากเปรียบเทียบตัวเลขรายได้กับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วจะพบว่ารายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงไปประมาณ 4.89 แสนล้านบาท การสูญเสียรายได้หลักของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวส่งผลให้มีผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวจดทะเบียนขอเลิกประกอบกิจการประมาณ 90 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ 39 ราย เชียงใหม่ 9 ราย ภูเก็ต

Read More

การล่มสลายของธุรกิจไทย เปราะบาง-อิงต่างชาติมากเกินไป?

การประกาศปรับลดประมาณการตัวเลขจีดีพีไทยในปี 2563 ที่อาจติดลบถึง 9 เปอร์เซ็นต์ เสมือนเป็นการยอมรับโดยดุษณีว่า เศรษฐกิจไทยยังไร้กำลังฟื้นตัว และวิกฤตจากโควิด-19 ส่งผลเสียต่อระบบหนักกว่าเมื่อครั้งวิกฤตต้มยำกุ้ง ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์เศรษฐกิจในหลายสถาบันต่างมองหาความเป็นไปได้ว่า เศรษฐกิจไทยจะมีทิศทางการฟื้นตัวไปในรูปแบบใด ระหว่างรูปแบบตัว V รูปแบบตัว U หรือรูปแบบตัว L ซึ่งตัวแปรที่จะก่อให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยไม่ใช่อาศัยจังหวะที่เอื้ออำนวยอันนำมาซึ่งกำลังซื้อที่แข็งแรงขึ้นหรือนโยบายจากภาครัฐที่จะผลักดันให้อุปสงค์เพิ่มกำลังขึ้นเท่านั้น แค่เพียงนโยบายอุดหนุนจากรัฐบาลที่มุ่งหวังให้มีกระแสเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อคนในชาติด้วยกันเอง ดูจะไม่เพียงพอเสียแล้ว เมื่อทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการล้วนแต่ใช้มาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งดูจะเป็นการ์ดที่มีไว้ป้องกันตัวเอง เพราะสถานการณ์ในหลายด้านยังไม่ถึงจุดสิ้นสุด ไม่ว่าจะจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สงครามการค้ารอบใหม่ที่เริ่มร้อนแรงขึ้น หรือเหตุการณ์โศกนาฏกรรมคร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก หลังจากมาตรการผ่อนปรนที่รัฐบาลประกาศออกมา พร้อมทั้งนโยบายอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” โดยรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่พัก ค่าตั๋วเครื่องบิน ในสัดส่วน 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ประชาชนยังใช้สิทธิไม่มากอย่างที่หวังไว้ สัดส่วนการเข้าใช้สิทธิ์ที่เกิดขึ้นเพียงกระผีกลิ้นจากโครงการดังกล่าว เป็นภาพสะท้อนสถานการณ์ของกำลังซื้อภายในประเทศ และการระมัดระวังในการจับจ่ายของประชาชนมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เมื่อภาคเอกชนต่างเรียกร้องให้รัฐออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มขึ้น ด้วยหวังว่าจะมีเงินหมุนเวียนเข้ามายังสายใยของธุรกิจที่แบกความหวังอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ธุรกิจและอุตสาหกรรมจำนวนไม่น้อยที่นับถอยหลังสู่การล่มสลาย เมื่อมองไม่เห็นสัญญาณในทางบวกที่พอจะไปต่อได้ นั่นอาจเป็นเพราะโครงสร้างของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยเกาะติดและยึดโยงกับรายได้ที่มาจากต่างประเทศมาอย่างยาวนาน เวลานี้อาจดูเป็นเรื่องยาก หากผู้ประกอบการไทยจะมองหาตลาดใหม่เข้ามาทดแทนตลาดเดิม เมื่อหลายประเทศคู่ค้ายังประสบกับสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจไม่ต่างกัน วิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้ สร้างผลกระทบให้แก่ธุรกิจทุกขนาด และทุกแวดวง โดยเฉพาะธุรกิจ SME ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจผลกระทบโควิด-19 ต่อ

Read More

ธุรกิจไทยยังทรุดหนัก ทุกสำนักปรับลด GDP ติดลบ

สถานการณ์ในแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรมไทยยังคงทรุดตัวหนักและไม่มีท่าทีว่าจะฟื้นคืนกลับมาได้โดยง่ายและในเร็ววัน และทำให้ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 อยู่ในภาวะที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่มูลค่าทางเศรษฐกิจก็หดหายไปไม่ต่ำกว่า 2 ล้านล้านบาทอีกด้วย ความพยายามที่จะกระตุ้นภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่เป็นอุตสาหกรรมความหวังและเป็นจักรกลหนุนนำเศรษฐกิจไทยมาในช่วงก่อนหน้านี้กลายเป็นฝันสลายเมื่อแนวความคิดว่าด้วย Travel Bubble ที่เป็นการแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศคู่เจรจาถูกพับฐานลงไปเมื่อจำนวนยอดผู้ติดเชื้อในแต่ละประเทศยังคงพุ่งทะยานขึ้นสูงและทำให้ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวต้องรอคอยให้ COVID-19 คลี่คลายไปมากกว่านี้ ความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมามักได้รับการประเมินว่าเป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นไปทั่วทั้งโลก หากแต่ในความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งสภาพเศรษฐกิจไทยที่ปรากฏขึ้นอยู่นี้เป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการของรัฐที่ขาดความรอบคอบและการวางแผนเพื่อรับมือผลกระทบที่จะตามมาจากการดำเนินมาตรการดังกล่าว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีดังกล่าวอยู่ที่ผลของมาตรการปิดเมืองที่กระทบต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยว อุตสาหกรรมโรงแรมและร้านอาหารค้าปลีกค้าส่ง ธุรกิจขนส่งและธุรกิจบันเทิงที่มีผลกระทบรวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ขณะที่ภาคการผลิตและการส่งออกได้รับผลกระทบมากถึง 5 แสนล้านบาท ขณะที่สถานการณ์ภัยแล้งที่ดำเนินอยู่ก่อนหน้าโดยปราศจากความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมส่งผลกระทบรวมกว่า 7.6 หมื่นล้านบาท กรณีเช่นว่านี้ทำให้ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปรับประมาณการภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ให้อยู่ในระดับติดลบร้อยละ -8.4 ถึงลบร้อยละ -11.4 ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมไม่ต่ำกว่า 2.1 ล้านล้านบาท ท่ามกลางการส่งออกที่ติดลบร้อยละ 10.2 จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะติดลบร้อยละ -8.8 ถึงร้อยละ -12.0 การลงทุนรวมติดลบร้อยละ -8 จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบร้อยละ -5.4 ถึงร้อยละ -7.4 ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวหายไปถึงร้อยละ 82.3 จากเดิมที่คาดว่าจะหายไปร้อยละ 74.3-78.7 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบร้อยละ

Read More

ส่งออกติดลบฟื้นยาก สินค้าเกษตร-อาหาร ความต้องการพุ่ง

ส่งออกของไทยไม่อาจฟื้นตัวได้ไว แม้สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในประเทศจะอยู่ในเกณฑ์ดี ที่แสดงให้เห็นถึงการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ให้อยู่ในวงจำกัดได้ เมื่ออีกหลายประเทศยังมีจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับสูง และยังมีมาตรการคุมเข้มกึ่งล็อกดาวน์ ซึ่งป็นอุปสรรคต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการส่งออก เศรษฐกิจในประเทศต่างๆ อยู่ในภาวะชะลอตัว เมื่อกำลังซื้อของประชากรโลกยังจับกลุ่มอยู่ในหมวดสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์การส่งออกของไทยที่หดตัวลงในกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะตัวเลขมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยที่ พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2563 มีมูลค่า 16,444.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 23.17% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 14,833.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 18.05% การค้าเกินดุล 1,610.40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ภาพรวมครึ่งแรกของปี 2563 การส่งออกมีมูลค่า 114,342.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 7.09% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 103,642.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 12.62% และการค้าเกินดุล 10,700.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การหดตัวของการส่งออกไทยเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีความรุนแรงและการบังคับใช้มาตรการปิดเมืองในหลายระดับในต่างประเทศ ส่งผลให้อุปสงค์โลกอ่อนกำลังลงและสายโซ่อุปทานบางส่วนในต่างประเทศชะงักงัน รวมถึงการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศใช้ระยะเวลายาวนานมากขึ้น สินค้าส่งออกศักยภาพของไทยที่หดตัวสูงในเดือนมิถุนายน

Read More

ผลกระทบการทำแท้งแบบถูกกฎหมาย หลังการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19

Column: Women in wonderland ก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ โดยระบุว่า 25% ของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จะจบการตั้งครรภ์ด้วยการทำแท้ง และในช่วงเวลาหนึ่งปีมีผู้หญิงประมาณ 25 ล้านคน ทำแท้งแบบผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แม่เสียชีวิตระหว่างตั้งครรภ์ ในแต่ละปีจะมีผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เสียชีวิตประมาณ 4.7%-13.2% สาเหตุก็มาจากการทำแท้งแบบผิดกฎหมาย และที่น่าตกใจกว่าคือ มีเด็กผู้หญิงช่วงอายุระหว่าง 15-19 ปี ประมาณ 3 ล้านคนที่ทำแท้งแบบผิดกฎหมาย โดยไม่ได้คิดถึงผลเสียที่ตามมา การทำแท้งถูกกฎหมายเป็นเรื่องที่ถกเถียงในสังคมมานาน โดยทั่วไปแล้วการทำแท้งถูกกฎหมายสามารถทำได้ในทุกประเทศในกรณีการตั้งครรภ์ที่อาจส่งผลถึงอันตรายต่อชีวิต ถูกข่มขืน หรือมีการตรวจยืนยันว่าเด็กมีความผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์ บางประเทศอนุญาตให้การทำแท้งถูกกฎหมาย โดยผู้หญิงสามารถทำแท้งได้หากระยะเวลาครรภ์อยู่ในช่วงที่กฎหมายกำหนดให้ทำแท้งได้ เพราะรัฐบาลเล็งเห็นแล้วว่า ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ที่ทำแท้งแบบถูกกฎหมายนั้นน้อยกว่าหลายสิบเท่าเมื่อเปรียบเทียบกับรายจ่ายที่จะต้องมีในกรณีทำแท้งเถื่อนและส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ซึ่งร้ายแรงที่สุดอาจทำให้เสียชีวิตได้ นี่ยังไม่รวมเด็กที่คลอดแล้วพ่อแม่ไม่สามารถดูแลได้ กลายเป็นหน้าที่ของรัฐ การอนุญาตให้ทำแท้งจึงน่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่า ในขณะเดียวกันหลายประเทศก็ไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าการให้ทำแท้งถูกกฎหมายจะเป็นการส่งเสริมทางอ้อมให้วัยรุ่นไม่รู้จักการป้องกัน เพราะหากตั้งครรภ์ก็สามารถทำแท้งได้รวมไปถึงความเชื่อทางศาสนาที่ทุกศาสนาสอนไม่ให้ฆ่าคนตาย และการทำแท้งก็ถือเป็นการฆ่าคนด้วยเช่นกัน ดังนั้นประเทศที่การทำแท้งไม่สามารถทำแบบถูกกฎหมายได้ ผู้หญิงหลายคนที่มีเหตุจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์จึงจำเป็นต้องทำแท้งผิดกฎหมาย ทั้งที่รู้ว่าเป็นอันตรายและอาจส่งผลต่อสุขภาพของตัวเอง แต่ไม่มีทางเลือก เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2019

Read More

ผลกระทบพิษ COVID-19 ส่งแรงงาน-บัณฑิตใหม่ว่างงาน

การแพร่ระบาดของ COVID-19 กำลังส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและการจ้างงาน ซึ่งทำให้ภาครัฐต้องออกมาตรการช่วยเหลือทุกกลุ่ม ในขณะที่แนวโน้มการเลิกจ้างยังคงมีอยู่แม้ว่าสถานการณ์การระบาดในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มจะคลี่คลาย ก่อนที่จะเกิดกรณีผู้ได้รับการยกเว้นจากต่างประเทศนำเชื้อเข้ามาใหม่อย่างไร้การควบคุม จนเป็นเหตุให้ต้องมีการพิจารณามาตรการควบคุมใหม่อีกครั้ง ข้อมูลที่น่าสนใจจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ระบุว่า นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา มีสถานประกอบการมากถึง 4,458 แห่ง ที่ยื่นขอใช้มาตรา 75 หยุดกิจการชั่วคราว ซึ่งส่งผลกระทบต่อลูกจ้างเป็นจำนวน 896,330 คน รวม 247,031 วัน โดยในจำนวนนี้หยุดกิจการบางส่วน 2,117 แห่ง หยุดกิจการทั้งหมด 3,030 แห่ง สำหรับประเภทกิจการที่ใช้มาตรา 75 มากที่สุดอันดับ 1 อยู่ในกลุ่มของอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก อันดับ 2 เป็นกิจการโรงแรมและภัตตาคารและอันดับ 3 เป็นกิจการบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าและบริการทางธุรกิจ เช่น บริการจัดหางานและการสรรหาบุคลากร การให้เช่า การขาย

Read More