Home > ผลกระทบโควิด

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวสะดุด โอมิครอนทำทรุดทั้งระบบ

คงเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนคือตัวดับฝันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง แม้ว่าก่อนหน้าหลายภาคส่วนจะทำเพียงแค่จับตา และคาดการณ์สถานการณ์ไปในทางบวกว่า โอมิครอนจะไม่กระทบภาคการท่องเที่ยวของไทยเท่าใดนัก แต่หลังจากเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่เป็นต้นมา จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้น และมีหลายคลัสเตอร์ในหลายจังหวัด กระทั่งกระทรวงสาธารณสุขต้องประกาศแจ้งการเตือนภัยด้านสาธารณสุขจากระดับ 3 เป็นระดับ 4 ซึ่งมาตรการมีตั้งแต่การปิดสถานที่เสี่ยง ทำงานจากที่บ้าน 50-80 เปอร์เซ็นต์ ชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่ ใช้ระบบกักตัวผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ และรัฐบาลยกเลิกมาตรการเข้าประเทศแบบ Test&Go และปิดการลงทะเบียน Thailand Pass ชั่วคราว ซึ่งทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง ไม่ใช่เพียงในประเทศไทยเท่านั้นที่ประกาศใช้มาตรการควบคุมเข้มงวดสูงสุด ในขณะที่อีกหลายประเทศทั่วโลกที่เกิดการระบาดอย่างหนักก็เช่นเดียวกัน เช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เป็นต้น ผลคือนักท่องเที่ยวต่างชาติยกเลิกการเดินทางเพราะมีการระบาดจากประเทศต้นทาง เป็นเหตุให้โรงแรมและที่พักต่างๆ ถูกแจ้งยกเลิกการจอง หรือเลื่อนกำหนดเวลาการเข้าพัก ตั้งแต่ 25-50 เปอร์เซ็นต์ นอกจากสถานการณ์การเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เริ่มปรากฏชัดว่าอาจไม่เป็นไปตามเป้าแล้ว การท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทยก็ดูจะห่างไกลกับคำว่าประสบความสำเร็จเช่นกัน ซึ่งนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า โครงการทัวร์เที่ยวไทยภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณ 5,000 ล้านบาท ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายนนี้ โครงการดังกล่าวมีคนใช้สิทธิเดินทางท่องเที่ยวผ่านบริษัททัวร์น้อยมาก

Read More

โควิดทำเศรษฐกิจไทยช้ำหนัก อุทกภัยซ้ำเติม

โควิด-19 สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจไทยหากนับเป็นมูลค่าแล้วไม่ต่ำกว่าสิบล้านล้านบาท โดยเฉพาะเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตา ตัวแปรสำคัญที่ฉุดให้สถานการณ์โดยรวมทรุดหนักลง และนำมาสู่การล็อกดาวน์ในพื้นที่สีแดงเข้มรวม 29 จังหวัด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจคิดเป็น 77 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีประเทศ ความเสียหายทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นกับทุกหย่อมหญ้า โดยเฉพาะภาคครัวเรือนที่สภาพัฒน์เปิดเผยตัวเลขหนี้ครัวเรือนไตรมาสแรกของปี 2564 ว่ามีมูลค่าหนี้สูงถึง 14.13 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของไตรมาสแรกปี 2563 หากคิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีแล้วพุ่งสูงถึง 90.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อภาคครัวเรือนได้รับผลกระทบความสามารถในการจับจ่ายลดน้อยลง ด้านค้าปลีกสาหัสไม่แพ้กัน เมื่อดัชนีความเชื่อมั่นค้าปลีกในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 16.4 เป็นการลดต่ำสุดในรอบ 16 เดือน ติดลบ 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการลดลงของยอดขายสาขาเดิมเดือนกรกฎาคมปีนี้ การเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิมเกิดจากทั้งยอดใช้จ่ายต่อใบเสร็จ และความถี่ในการจับจ่ายลดลงพร้อมกันทั้งคู่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 270,000 ล้านบาท และมีกิจการกว่า 100,000 ร้านค้าเตรียมปิดกิจการ แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อการจ้างงานกว่าล้านคน เป็นภาพสะท้อนว่าการฟื้นตัวให้กลับสู่สภาพเดิมอาจต้องใช้เวลา ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะร้านขายของที่ระลึก ธุรกิจสปา นวดแผนไทย สถานบันเทิง และธุรกิจโรงแรม ที่มีการปิดกิจการถาวรมากที่สุด โดยเฉพาะการระบาดในระลอก

Read More

อสังหาฯ ไทยไม่ใช่แค่ขาลง แต่เป็นวิกฤตในวิกฤต

ทิศทางของตลาดอสังหาฯ ไทยในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา พบว่าการเติบโตและอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านของดีมานด์และซัปพลาย ส่วนหนึ่งมาจากการขยายตัวของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนแบบราง เป็นเหตุให้โครงการต่างๆ เลือกพื้นที่คู่ขนานไปกับเส้นทางรถไฟทั้งบนดินและใต้ดิน ซึ่งเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความต้องการบ้านหลังแรกประเภทที่อยู่อาศัยแนวตั้ง และกลุ่มนักเก็งกำไรในตลาดอสังหาฯ ได้เป็นอย่างดี ในเวลานั้นผู้ประกอบการเปิดโครงการใหม่เพื่อป้อนซัปพลายเข้าระบบอย่างต่อเนื่อง ทว่าในด้านของดีมานด์แม้จะมีอยู่จริง แต่ไม่ใช่ว่าทุกดีมานด์จะดูดซับซัปพลายออกไปได้ เมื่อขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อแหล่งธนาคารพาณิชย์เริ่มมีเงื่อนไขเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการวางเงินดาวน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการ LTV ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยบังคับใช้ เพื่อป้องกันหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นในระบบ กระทั่งซัปพลายที่อยู่อาศัยแนวตั้งเริ่มล้นตลาด และเวลาต่อมาเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ด้วยมูลเหตุปัจจัยทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ ความซบเซาของตลาดอสังหาฯ ค่อยๆ ปรากฏชัดขึ้นตั้งแต่โควิดแพร่ระบาดระลอกแรกในปี 2563 เชื้อไวรัสโควิดสร้างความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจไทยในทุกอุตสาหกรรม ยอดการเปิดโครงการใหม่ ยอดการจองที่อยู่อาศัยค่อยๆ ลดลงตามลำดับ กระทั่งปีนี้ 2564 สถานการณ์เลวร้ายไม่มีท่าทีจะเบาบางลง อีกทั้งยังเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดในกลุ่มแรงงาน ทั้งในธุรกิจก่อสร้าง แรงงานในภาคการผลิต จนในที่สุดรัฐบาลประกาศให้ล็อกดาวน์สถานที่ก่อสร้างเพื่อสกัดกั้นไม่ให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่เพิ่ม ธุรกิจอสังหาฯ ไทยเริ่มเข้าสู่ขาลงนับตั้งแต่เกิดสภาวะโอเวอร์ซัปพลาย แต่ปัจจุบันคงต้องเรียกว่านี่เป็นวิกฤตในวิกฤต สถานการณ์โควิดที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้สร้างบาดแผลขนาดใหญ่ให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ สภาพการณ์ปัจจุบันคงไม่ใช่แค่การเข้าสู่ภาวะชะลอตัวอีกต่อไป แต่เป็นสภาวะถดถอย แม้ธุรกิจอสังหาฯ จะไม่ได้เป็นอุตสาหกรรมหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย กระนั้นภาคอสังหาฯ ก็มีมูลค่าคิดเป็น 8 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีประเทศ นอกจากนี้ ความสำคัญของธุรกิจอสังหาฯ ยังเชื่อมโยงกับอีกหลายธุรกิจ เช่น

Read More

จับตาฟิตเนส ธุรกิจหมื่นล้าน ในวันที่กำลังกระอักเพราะพิษโควิด

ธุรกิจฟิตเนสเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การระบาดในระลอกแรก จนถึงระลอกล่าสุดที่ดูจะหนักหนาสาหัสและอาจทำให้ผู้ประกอบการกว่าครึ่งจำต้องโบกมือลา ก่อนการอุบัติขึ้นของโรคโควิด-19 ธุรกิจฟิตเนสถือเป็นธุรกิจดาวรุ่งที่มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดและมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด อันเนื่องมาจากเทรนด์ของคนในสังคมปัจจุบันที่หันมาใส่ใจในเรื่องการรักษาสุขภาพและออกกำลังกายกันมากขึ้น ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่รายย่อยต่างก้าวเข้าสู่สังเวียน เพื่อหาโอกาสทางธุรกิจและช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดก้อนโต ข้อมูลย้อนหลังจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า รายได้รวมของกลุ่มธุรกิจฟิตเนสในช่วงปี 2558-2560 เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยถึง 12.40% ต่อปี ฟิตเนสรายย่อยเปิดตัวมากขึ้นและกระจายตัวอยู่ในย่านชุมชนเพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการออกกำลังกายใกล้บ้าน ในขณะที่ฟิตเนสรายใหญ่ยังคงมีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อมูล ณ ปี 2562 พบว่า มูลค่าตลาดโดยรวมของธุรกิจฟิตเนสอยู่ที่ 9,000-10,000 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 10%-12% ต่อปี และคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องถ้าไม่ประสบกับวิกฤตโควิด-19 อย่างในปัจจุบัน การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยที่เริ่มมาตั้งแต่ต้นปี 2563 ทำให้รัฐออกมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการสั่งปิดสถานที่ออกกำลังกายและฟิตเนสเป็นการชั่วคราว เพราะมองว่าเป็นสถานที่สุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด โดยเป็นธุรกิจแรกๆ ที่ต้องปิดกิจการตามมาตรการรักษาความปลอดภัย แต่กลับเป็นกลุ่มท้ายๆ ที่จะสามารถกลับมาเปิดให้บริการตามปกติได้ ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นได้สร้างผลกระทบโดยตรงต่อผู้ให้บริการฟิตเนสทั้งรายใหญ่และรายย่อยอย่างถ้วนหน้า ผู้ประกอบการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ฟิตเนสจำนวนไม่น้อยมีรายได้ต่อเดือนเท่ากับ “ศูนย์” ในขณะที่รายจ่ายยังคงเท่าเดิม ศุกรีย์ สุภาวรีกุล นายกสมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ฟิตเนสต้องแบกรับค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ทั้งค่าเช่า

Read More

อุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม ผู้อยู่รอดในยุคโควิดครองเมือง?

มาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาลที่มีหมุดหมายเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ให้ขยายวงกว้างมากเกินกว่าความสามารถของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะทานไหว ส่งผลโดยตรงต่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ มาตรการดังกล่าวคล้ายเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดความต้องการอาหารมากกว่าสถานการณ์ปกติ นอกจากนี้ ยังมีตัวแปรอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการกักตุนอาหารทั้งในแง่ของผู้ประกอบการร้านค้าขนาดเล็ก หรือประชาชน เช่น แรงงานภาคขนส่งจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว แต่แรงงานบางส่วนยังไม่ได้รับการจัดสรรวัคซีน หรือเกิดคลัสเตอร์ในกลุ่มแรงงานภาคการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อาจทำให้ผลผลิตมีจำนวนลดลง รวมถึงระยะเวลาในการขนส่งที่อาจล่าช้ากว่าเดิม ซึ่งจะทำให้การกระจายสินค้าไปในพื้นที่ยากลำบากมากขึ้น ศูนย์วิจัยธนาคารออมสินเคยวิเคราะห์แนวโน้มภาพรวมของผู้ประกอบการรายใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นจากการขยายตัวของความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการที่หลายประเทศประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารจากการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกไปประเทศคู่ค้าหลักขยายตัว โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป อาหารพร้อมรับประทานพร้อมปรุง ตลอดจนอาหารที่สามารถเก็บรักษาได้นาน เช่น ไก่สดแช่แข็ง ไก่แปรรูป อาหารทะเลกระป๋อง น้ำมันพืช บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่คาดว่ามูลค่าการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 น่าจะเติบโตดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก โดย 3 ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกอาหารและเครื่องดื่มไทยเติบโต คือ 1. เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว 2. การบริหารจัดการวัคซีนมีประสิทธิภาพ และ 3. การขาดแคลนแรงงานคลี่คลาย ทั้งนี้อาจมีปัจจัยที่ต้องติดตามทั้งราคาวัตถุดิบและค่าขนส่งที่มีแนวโน้มสูงต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ช่วงครึ่งหลังปี 2564 มูลค่าการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มของไทยน่าจะเติบโตราว 4.9 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน ส่งผลให้ภาพรวมปี 2564

Read More

ฤา ธุรกิจการบินของไทย ถึงคราล่มสลายและอวสาน?

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ครั้งล่าสุดในสังคมไทยกำลังสั่นคลอนความเชื่อมั่นและความเป็นไปของสังคมไทยอย่างหนักหน่วง เพราะการแพร่ระบาดดังกล่าวไม่เพียงแต่จะทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นสถิติใหม่ในแต่ละวัน ซึ่งติดตามมาด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตรายวันกว่า 100 ราย จากผลของการขาดแคลนเตียงในการรักษาพยาบาล สะท้อนภาพความล่มสลายของระบบการสาธารณสุขไทยอย่างไม่อาจเลี่ยง ขณะเดียวกันมาตรการควบคุมเพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของกลไกรัฐครั้งใหม่ที่ดำเนินไปด้วยการล็อกดาวน์ หรือการสั่งห้ามการเดินทาง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมอีกหลากหลายประการกำลังทำให้ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำซบเซามาอย่างต่อเนื่องยาวนานนับตั้งแต่ก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่เมื่อต้นปี 2563 ทรุดหนักลงไปอีกและขยายวงกว้างส่งผลกระทบต่อธุรกิจแต่ละประเภทมากขึ้นไปอีก โดยบางธุรกิจได้ถึงคราวล่มสลายและยุติกิจการไปโดยปริยาย โดยเฉพาะธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและภาคบริการที่เคยเป็นกลไกในการหนุนนำเศรษฐกิจไทยมาก่อนหน้านี้ การแพร่ระบาดดังกล่าวทำให้การคาดการณ์ว่าด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2564 ถูกปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่องจนในที่สุดหลายสำนักได้ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้เพียงร้อยละ 1 จากเดิมที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 1.8 เพราะการแพร่ระบาดของ COVID-19 มีความรุนแรงกว่าที่เคยประเมินไว้ ทำให้ต้องมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดขึ้น ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการจ้างงานมากขึ้น ทำให้กำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทรุดตัวลงไปอีก ขณะที่มาตรการเยียวยาจากภาครัฐน่าจะช่วยประคองการดำรงชีพที่จำเป็น แต่ไม่สามารถชดเชยผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวมได้ และมีบางสำนักประเมินในทางลบถึงขั้นที่ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 อาจไม่เติบโตเลย และมีแนวโน้มที่จะเติบโตแบบติดลบอีกด้วย ข้อสังเกตที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งอยู่ที่การปรับลดประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2564 ลงมาอยู่ที่ 2.5-6.5 แสนคน จากเดิมประมาณการไว้ที่ 2.5 แสน-1.2 ล้านคน โดยแม้ว่าจะเริ่มมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในโครงการ “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” และ “สมุย พลัส โมเดล” แต่การจะเปิดรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่อื่น และจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามายังต้องขึ้นอยู่กับการแพร่ระบาดและการเร่งฉีดวัคซีนเป็นหลัก

Read More

หนี้ครัวเรือนไทยพุ่งสูง เศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ประชาชนขาดสภาพคล่อง

บ่อยครั้งที่ “ผู้จัดการ 360 องศา” นำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่ไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตโควิด ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจภาพรวมเกินคำว่าถดถอยไปมาก ปี พ.ศ. 2564 ล่วงเลยมาเป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้ว ทว่าสถานการณ์ของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่ทุเลา ขณะที่รัฐบาลไทยต้องประกาศล็อกดาวน์อีกครั้ง และกลับไปใช้มาตรการที่เคยนำมาใช้เมื่อช่วงเดือนเมษายนของปีก่อน หลายฝ่ายคาดหวังว่า “เจ็บแต่จบ” ครั้งนี้จะเป็นของจริงเสียที ภาคเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงพิจารณาได้จากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือจีดีพี ที่ติดลบมาอย่างต่อเนื่องนับแต่ปีก่อนหน้า รวมไปถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคประชาชน ที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับ “หนี้ครัวเรือนไทย” ดูจะทำสถิติสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปีที่แล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยรายงานตัวเลขหนี้ครัวเรือนของปี 2563 โดยไตรมาส 1 หนี้ครัวเรือนไทยสูงถึง 80.1% ต่อจีดีพี ในเวลานั้น สำนักข่าวส่วนใหญ่พาดหัวไปในลักษณะเดียวกันว่า หนี้ครัวเรือนไทยสูงเป็นประวัติการณ์ แต่ใครจะรู้ว่าสถิติในครั้งนั้นจะถูกทำลายลงในไตรมาสต่อมา ด้วยตัวเลขหนี้ครัวเรือนไทยที่ยังคงพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยไตรมาส 2/2563 พุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ 83.8% ต่อจีดีพี ไตรมาส 3/2563 อยู่ที่ 86.8% ต่อจีดีพี และไตรมาส 4/2563 แตะ 89.3%

Read More

ลุ้นเฮือกสุดท้าย ชิงเม็ดเงิน “คนละครึ่ง-ยิ่งใช้ยิ่งได้”

ธุรกิจในครึ่งหลังปี 2564 มีแนวโน้มเจอผลกระทบสาหัสยิ่งกว่าครึ่งปีแรก โดยเฉพาะพิษสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดสายพันธุ์ใหม่ ทั้งสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) เดลตา (อินเดีย) และเบต้า (แอฟริกาใต้) แถมล่าสุด องค์การอนามัยโลกค้นพบสายพันธุ์ใหม่ “แลมบ์ดา” (Lambda) ประเทศเปรู ทำให้รัฐบาลต้องงัดมาตรการควบคุมเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการสร้างรายได้และการจับจ่าย แม้รัฐบาลทุ่มงบประมาณหลายแสนล้านอัดฉีดมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อหลายรอบ หากดูเฉพาะช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจลุยโครงการช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน 5 มาตรการ ไม่ว่าจะเป็นโครงการ “เราชนะ” เพิ่มวงเงินอีกคนละ 2,000 บาท โครงการ ม.33 เรารักกัน เพิ่มวงเงินให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 อีกคนละ 2,000 บาท โครงการคนละครึ่ง เฟส 3 เพิ่มวงเงินให้ผู้มีสิทธิ์คนละไม่เกิน 3,000 บาท ใช้จ่ายวันละไม่เกิน 150 บาทเหมือนข้อกำหนดในเฟส 1-2 โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 เพิ่มกำลังซื้อให้ประชาชนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น

Read More

เศรษฐกิจไทยยังไปไม่รอด รอปี 2566 ค่อยฟื้นตัวอีกครั้ง

ขณะที่การจัดหาและกระจายวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังดำเนินไปท่ามกลางความสับสนอลหม่านที่ติดตามมาด้วยการเลื่อนนัดหมายการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในวงกว้าง ภารกิจอีกด้านหนึ่งว่าด้วยการกระตุ้นและสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเพื่อให้กลไกทางเศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อไปได้ก็ดูจะยังไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กลไกรัฐมุ่งประสงค์ได้ และมีแนวโน้มจะทรุดต่ำลงไปเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง การปรับลดประมาณการและการคาดการณ์ถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยของหลายสำนักในช่วงที่ผ่านมา ได้สะท้อนข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่อย่างไม่อาจเลี่ยง แม้ว่ากลไกรัฐจะพยายามโหมประโคมประชาสัมพันธ์ถึงมาตรการและผลงานความสำเร็จในช่วงที่ผ่านมา หากแต่ดูเหมือนว่ามาตรการที่รัฐมีออกมาจะเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือมาตรการบรรเทาเหตุเบื้องต้น ที่ขาดจินตภาพและวิสัยทัศน์ในการกำหนดนโยบายที่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่รัฐบาลได้พยายามนำเสนอแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติภายใต้กรอบระยะเวลา 20 ปีระหว่างปี 2561-2580 หากแต่แผนดังกล่าวดูจะไม่ช่วยผลักดันการพัฒนาให้ประเทศหรือสังคมไทยดำเนินก้าวไปสู่ความจำเริญข้างหน้ามากนัก และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นปัจจัยฉุดรั้งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคมของไทยให้ต้องชะงักงันหรือแม้แต่ถอยหลังด้วยความเฉื่อยช้าลงไปอีก ความด้อยประสิทธิภาพและความล้มเหลวบกพร่องของแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ดังกล่าวในด้านหนึ่งเห็นได้ชัดจากกรณีของการบริหารจัดการในสภาวะวิกฤตที่เผชิญอยู่เบื้องหน้าว่าด้วยการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ไม่ได้จำกัดวงอยู่เฉพาะประเด็นว่าด้วยความปลอดภัยและสวัสดิการของประชาชนในมิติด้านการสาธารณสุขเท่านั้น หากยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตในเชิงเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคมที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนผลิตภาพทางเศรษฐกิจ ดูจะเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความล้าหลังไม่ทันต่อสถานการณ์ของแผนยุทธศาสตร์ฉบับดังกล่าว ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีสถานะคู่ควรต่อการเรียกว่าเป็นแผนยุทธศาสตร์ของชาติเสียด้วยซ้ำ เพราะขาดการประเมินผลและปัจจัยแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วอยู่ตลอดเวลาในยุคสมัยปัจจุบัน ข้อมูลที่น่าสนใจประการหนึ่งในช่วงที่ผ่านมาพบว่าทิศทางเศรษฐกิจไทยในเดือนพฤษภาคม 2564 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้รับผลจากการระบาดของ COVID-19 ในประเทศ ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันยังคงเพิ่มขึ้นสูง ในขณะที่ภาครัฐยังใช้มาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของCOVID-19 ในประเทศอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ระลอก 3 ที่มีความรุนแรง รวมถึงการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่ดำเนินไปอย่างไร้ความแน่นอนชัดเจน ทำให้ความคาดหวังที่จะเห็นเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้นจากการจ่อมจมอยู่ในปลักแห่งความซบเซามาอย่างยาวนาน มีแนวโน้มที่จะทอดยาวต่อเนื่องออกไปอีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1.5-2 ปีนับจากนี้ หรือหากกล่าวอีกนัยหนึ่งคือต้องรอไปจนถึงไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 เลยทีเดียว การประเมินดังกล่าวดูจะไม่เกินเลยไปนัก เมื่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

Read More

รัฐไทยเร่งดึงต่างชาติลงทุน หวังฉุดเศรษฐกิจพ้นก้นเหว

การแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากจะคุกคามความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของประชาชนในทั่วทุกภูมิภาคของโลกแล้ว มหันตภัยร้ายครั้งใหญ่ดังกล่าวยังส่งผลให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมหลากหลายตกอยู่ในภาวะชะงักงันและชะลอการเติบโตอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดการระบาด ก่อนที่จะกลับมาฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ หลังจากที่นานาประเทศดำเนินความพยายามที่จะควบคุมและยับยั้งการแพร่ระบาดด้วยการปูพรมฉีดวัคซีนด้วยหวังจะให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติและขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจต่อไปได้ ความเป็นไปของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการลงทุนของไทย รวมถึงสถานการณ์ในระดับนานาชาติ ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และกำลังเริ่มส่งสัญญาณของการฟื้นตัวขึ้น หากแต่ในมิติของการลงทุน ซึ่งต้องอาศัยการเจรจาและการลงพื้นที่จริง ยังคงเผชิญกับอุปสรรคจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และทำให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ต้องปรับลดเป้าหมายยอดการขายหรือเช่าพื้นที่ในปีงบประมาณ 2564 ลงจากเดิมที่ระดับ 1,500 ไร่ เหลือเพียง 1,200 ไร่ โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ (ตุลาคม 2563-เมษายน 2564) การนิคมอุตสาหกรรมสามารถสร้างยอดขาย/เช่าได้แล้วรวมที่ระดับ 700 ไร่ แนวทางในการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น จึงอยู่ที่การร่วมหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นการนิคมอุตสาหกรรมฯ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เพื่อปรับสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนให้น่าสนใจมากขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เคยปรับลดสิทธิประโยชน์ในบางอุตสาหกรรม หากแต่สถานการณ์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปมาก โดยประเทศคู่แข่งของไทย โดยเฉพาะเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ต่างกำหนดสิทธิประโยชน์ที่มีจุดเด่นในการดึงดูดการลงทุน ที่ทำให้ไทยต้องปรับตัวรองรับการแข่งขันนี้ด้วย มาตรการส่งเสริมการลงทุนที่กลไกรัฐคิดและดำเนินการได้ในปัจจุบันในด้านหนึ่งอยู่ที่การต่ออายุสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเพื่อจูงใจนักลงทุน โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร รวม 4 ฉบับ

Read More