Home > ผลกระทบโควิด (Page 6)

ยานยนต์ไทยทรุดหนัก หวังโตใหม่ครึ่งปีหลัง

ผลพวงจากวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ส่งแรงกระทบกระเทือนไปในวงกว้างมากกว่าที่จะจำกัดอยู่เฉพาะประเด็นเรื่องสุขภาพพลานามัยของประชาชนทั่วไปเท่านั้น หากแต่ยังมีผลต่อภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ซึ่งดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยก็เป็นอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงจากพิษภัยของโรคระบาดนี้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็คือผลกระทบที่มีต่อยอดการจำหน่ายและการผลิตรถยนต์ในประเทศและการส่งออกที่อยู่ในภาวะชะลอตัวลงนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาด และยังกระทบต่อเนื่องไปยังผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ผู้ผลิตอุปกรณ์ตกแต่งภายในรถยนต์ รวมถึงตัวแทนจำหน่าย ในแต่ละลำดับ ซึ่งผู้ประกอบการรถยนต์ในประเทศแต่ละราย ต่างต้องปรับตัวด้วยการลดพนักงานให้สอดรับกับการผลิตที่ลดลง แต่จะปรับลดมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทยและทั่วโลกว่าจะยืดเยื้อไปในทิศทางไหน โดยกลไกที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ดังกล่าวนี้ มีแรงงานที่ได้รับผลกระทบรวมไม่ต่ำกว่า 750,000 คน ภาพสะท้อนความทรุดต่ำลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในช่วงที่ผ่านมา อาจพิจารณาได้จากยอดการจำหน่ายและผลิตในเดือนเมษายน 2563 ซึ่งมียอดการผลิตรวมเพียง 24,711 คันลดลงร้อยละ 83.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ซึ่งนับเป็นตัวเลขต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี โดยตัวเลขการผลิตดังกล่าวนี้เป็นการผลิตเพื่อส่งออกจำนวน 13,713 คัน ลดลงร้อยละ 81.76 และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 10,988 คัน ลดลงร้อยละ 85.35 และลดลงจากเดือนมีนาคม 2563 คิดเป็นร้อยละ 83.17 เนื่องจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ฉุดกำลังซื้อและการส่งออกให้ร่วงหนัก และเป็นเหตุให้โรงงานผลิตรถยนต์จำนวนไม่น้อยปิดทำการเป็นการชั่วคราว ตัวเลขการผลิตยานยนต์ในเดือนเมษายนที่ระดับ

Read More

จาก COVID-19 สู่วิกฤตการบินโลก

ข่าวการประกาศเลิกกิจการของสายการบินนกสกู๊ต (NokScoot) เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าจะไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมายของทั้งผู้คนในแวดวงการบินและประชาชนทั่วไป ที่ต่างประเมินทิศทางธุรกิจการบินและการท่องเที่ยวในยุคหลัง COVID-19 ว่าจะต้องดำเนินไปอย่างยากลำบาก และทำให้อุตสาหกรรมการบิน-การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่น่าจะฟื้นตัวได้ช้าในห้วงเวลานับจากนี้ก็ตาม การเดินทางท่องเที่ยวทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ดูจะเป็นไปภายใต้ข้อจำกัดและเงื่อนไขที่รัดกุมมากขึ้น ขณะที่การ lockdown หรือปิดเมืองของนานาประเทศก็ทำให้ผู้ประกอบการสายการบินต้องยกเลิกการให้บริการตลอดช่วงเวลาที่การแพร่ระบาด COVID-19 อยู่ในกระแสสูงและสร้างความตื่นตระหนกในวงกว้าง ซึ่งหมายถึงรายได้จากการประกอบการที่หดหายไป ควบคู่กับต้นทุนการดำเนินการที่ยังคงอยู่ในระดับเดิม ความเป็นไปของนกสกู๊ต สายการบินร่วมทุนราคาประหยัด ระหว่างสายการบินนกแอร์ของผู้ประกอบการชาวไทย และสายการบินสกู๊ต จากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2014 เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการประกอบการธุรกิจการบิน ท่ามกลางความท้าทายในสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงข้อจำกัดในการขยายเครือข่ายการบิน ภายใต้สภาพแวดล้อมการแข่งขันที่รุนแรง ขณะที่การระบาดของ COVID-19 ผลักให้สถานการณ์ของ นกสกู๊ต เลวร้ายลงอย่างรุนแรง จนไม่อาจเห็นหนทางสู่การฟื้นตัวและการเติบโตที่ยั่งยืนของสายการบินได้อีก และต้องยุติกิจการพร้อมกับชดเชยการเลิกจ้างพนักงานตามกฎหมายต่อไป ผลพวงของการแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งส่งผลให้มีการปิดท่าอากาศยานและระงับการเดินทางเพื่อควบคุมโรคในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีการประเมินรายได้ธุรกิจการบินสัญชาติไทยในปี 2020 ว่ามีแนวโน้มหดตัวติดลบที่ร้อยละ -60 (YoY) มาอยู่ที่ประมาณ 1.21 แสนล้านบาท ภายใต้สมมุติฐานการฟื้นตัวในธุรกิจสายการบินอย่างค่อยเป็นค่อยไปแบบ U-Shape ซึ่งทำให้สายการบินต้องลดค่าใช้จ่าย ลดจำนวนเครื่องบิน และในบางรายอาจได้รับผลกระทบถึงขั้นปิดกิจการ ทั้งนี้ประมาณการที่น่าสนใจอยู่ที่รายได้ธุรกิจการบินสัญชาติไทยจากเส้นทางระหว่างประเทศจะหดตัวติดลบถึงร้อยละ -65 (YoY)

Read More

ปลดล็อกเฟสห้า หวังค้าชายแดน-ส่งออกฟื้น

การเรียกร้องให้ ศบค. หรือศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกาศมาตรการผ่อนปรนเฟส 5 เพื่อให้กิจการและกิจกรรมในหลายๆ ส่วนสามารถเปิดดำเนินการได้ หลังจากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายวันลดลง โดยผู้ติดเชื้อในประเทศเป็นศูนย์ติดต่อกันเกิน 30 วัน ด้วยความคาดหวังว่า คำสั่งดังกล่าวจะเป็นเสมือนน้ำมันหล่อลื่นเครื่องจักรทางเศรษฐกิจไทย ให้สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ หลังจากหยุดชะงักมานานหลายเดือน คำสั่งปลดล็อกเฟสก่อนหน้า แม้ว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจภายในประเทศสามารถขับเคลื่อนไปได้ ทว่า นั่นไม่ใช่ทั้งหมดของโครงสร้างเครื่องจักรของเศรษฐกิจไทย ฟันเฟืองแต่ละตัวในระบบเศรษฐกิจไทยมีบริบทแตกต่างกันไป และสำหรับการค้าชายแดน และการส่งออก เป็นเสมือนกุญแจดอกสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เส้นกราฟของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจพุ่งสูงขึ้น คำสั่งประกาศปิดด่านชายแดนทั้งของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน หรือประเทศคู่ค้า ส่งผลกระทบในด้านลบต่อผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้า ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ นั่นเพราะไทยยังต้องพึ่งพาตลาดต่างชาติเสียเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกและไทยจะอยู่ในจุดที่เรียกได้ว่าอ่อนแรง และตัวเลขการส่งออกในระยะไม่กี่ปีให้หลัง จะไม่สวยหรูนัก แต่ก็ยังไม่เข้าขั้นติดลบ อีกทั้งการที่เศรษฐกิจไทยและอีกหลายประเทศไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อเจอกับเชื้อโควิดที่มีพิษแทรกซึมที่สามารถทำลายล้างไปทั่วโลก ส่งผลให้หลายตลาด หลายอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก และในบางอุตสาหกรรมต้องเจอกับความถดถอย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) ประเมินมูลค่าการส่งออกในเดือนพฤษภาคมว่ามีอัตราการหดตัวอยู่ในระดับสูงถึง -22.5% หากหักทองคำ การส่งออกจะหดตัวเพิ่มเติมเป็น -27.8% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า นับเป็นอัตราการหดตัวมากสุดในรอบเกือบ 11 ปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2009 เป็นต้นมา ทั้งนี้

Read More

ปลดล็อก COVID-19 ดึงดัชนีเศรษฐกิจฟื้นตัว

การประกาศผ่อนคลายมาตรการป้องกัน COVID-19 ที่ได้สร้างความเสียหายและตื่นตระหนกในวงกว้างมาก่อนหน้า กำลังช่วยผลักดันให้ดัชนีทางเศรษฐกิจที่ทรุดตัวต่ำลงอย่างหนักจากผลของการหยุดชะงักในกิจกรรมทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่การประกาศปิดเมืองในเดือนมีนาคม 2563 ก่อนที่จะนำมาสู่มาตรการผ่อนปรนในระยะต่างๆ ที่รัฐกำลังดำเนินการอยู่ เพื่อให้ผู้คนในสังคมและกลไกทางเศรษฐกิจกลับมามีชีวิตและสภาพปกติท่ามกลางความเสียหายที่รอการเยียวยา ซึ่งตั้งอยู่บนความสำเร็จในการป้องกันโรคที่ทำให้ประเทศไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศบนโลกที่มีความเสี่ยงต่ำในการแพร่ระบาดของ COVID-19 นี้ ความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจไทย ที่สะท้อนผ่านดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากมาตรการปิดเมืองในช่วงก่อนหน้า ที่ทำให้เกิดความกังวลของครัวเรือนในประเด็นว่าด้วยเรื่องรายได้และการมีงานทำ ซึ่งเมื่อรัฐดำเนินมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 1 และ 2 กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบบางกลุ่มเริ่มคลายความกังวล และสามารถกลับเข้าไปทำงานหรือประกอบการทางเศรษฐกิจได้อีกครั้ง แม้ว่าจะไม่ใช่ในระดับปกติเหมือนที่เคยดำเนินมาก็ตาม ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยอีก 3 เดือนข้างหน้ามีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นสอดรับกับข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยครัวเรือนประเมินว่า มาตรการผ่อนปรนที่รัฐบาลทยอยออกมาอย่างต่อเนื่องประกอบกับจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ใหม่รายวันที่อยู่ในระดับต่ำน่าจะเป็นสัญญาณเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 จึงดูเหมือนว่าจะอยู่ในสภาพที่พร้อมจะทยอยฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ แต่ยังมีความเปราะบางอยู่มาก ภายใต้สมมุติฐานที่ไม่มีการแพร่ระบาดซ้ำรอบ 2 จนนำไปสู่การบังคับใช้มาตรการปิดเมืองอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งภาครัฐจำเป็นต้องเร่งให้ความสำคัญกับมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและมาตรการสร้างงานเพื่อช่วยประคับประคองกำลังซื้อของครัวเรือนไทยที่อ่อนแอลงจากผลกระทบของ COVID-19 หลังมาตรการเยียวยาสิ้นสุดลง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในสังคมไทยดูจะดำเนินไปควบคู่กับการฟื้นตัวขึ้นของเศรษฐกิจโลกที่หลายฝ่ายประเมินว่าได้เคลื่อนผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และกำลังฟื้นตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 ที่เหลืออยู่นี้ โดยมีมาตรการทางการคลังและการเงินคอยช่วยประคับประคองเศรษฐกิจและลดความผันผวนในตลาดเงิน ซึ่งทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินปรับตัวดีขึ้น แต่ในระยะข้างหน้า ต้องจับตามองหนี้ภาคเอกชนและหนี้ภาครัฐที่อาจปรับสูงขึ้นเร็วด้วย การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีลักษณะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีความแตกต่างในแต่ละภาคส่วน (U-shaped and Uneven recovery) ทำให้ผู้บริโภคจะยังระมัดระวังในการใช้จ่ายและมีพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป รวมถึงการลงทุนภาคเอกชนที่จะถูกกดดันจากยอดขายที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ งบดุลที่เปราะบางมากขึ้น

Read More

BDMS ลมจับ งัดแผน Zero OT ลุ้น “ทราเวลบับเบิล” ฟื้นรายได้

ยักษ์ใหญ่อย่างกลุ่มกรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) ของมหาเศรษฐี นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ หนีไม่พ้นพิษโควิด-19 ต้องตัดสินใจใช้นโยบายหั่นค่าใช้จ่ายทุกทาง โดยเฉพาะแผน Zero OT ตัดโอทีเหลือ “0” เพื่อฝ่าวิกฤตธุรกิจโรงพยาบาล หลังเจอผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสอันตราย ฉุดรายได้และกำไรถึงขั้นติดลบ ขณะเดียวกัน แม้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีมติเห็นชอบในหลักการตามมาตรการเปิดประเทศท่องเที่ยวอย่างจำกัด หรือ Travel Bubble ซึ่งจะเป็นหนทางดึงดูดชาวต่างชาติกลับเข้ามา แต่ต้องรอลุ้นการพิจารณาอีกหลายรอบ เนื่องจากทุกฝ่ายยังหวั่นเกรงปัญหาการแพร่ระบาดรอบใหม่ ทั้งนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้ นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค เข้ามาดูแลวางหลักเกณฑ์ และให้ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เข้ามาหารือเจรจากับประเทศต่างๆ ที่สนใจร่วมกันจับคู่ ซึ่งเบื้องต้นมีเอกอัครราชทูต ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ เสนอเข้าหารือความร่วมมือ Travel Bubble ทั้งวิธีการท่องเที่ยวและการคัดกรองนักเดินทางบนพื้นฐานความปลอดภัยในการควบคุมโรค และเศรษฐกิจ โดยจะนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีและศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

Read More

เผาจริงแรงงานไทย โควิด-19 ก่อวิกฤตในวิกฤต

ตลาดแรงงานไทยเผชิญวิกฤตมาหลายระลอก เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนต่อสถานการณ์ความมั่นคงของตลาดแรงงานไทยในปัจจุบัน ในระยะหลัง ข่าวการประกาศหยุดดำเนินกิจการ การประกาศปิดโรงงานของผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และรายเล็กมีให้เห็นในหน้าข่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเหตุผลของการปิดกิจการมีทั้งปัญหาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ กำลังซื้อที่ลดลงของผู้บริโภค ส่งผลกระทบต่อรายได้หลักของโรงงาน และการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อหวังลดต้นทุนด้านค่าแรงของเจ้าของกิจการ แม้เราจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า แรงงานมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนทั้งภาคการผลิต ภาคบริการในทุกอุตสาหกรรม ทว่า เมื่อเศรษฐกิจในระดับมหภาคได้รับแรงกระทบไม่ว่าจะในระดับใด แรงงานกลับเป็นด่านหน้าที่ต้องถูกนำมาประเมินความอยู่รอดในธุรกิจนั้นๆ และไวรัสโควิด-19 เป็นต้นเหตุสำคัญในการสร้างผลกระทบต่อตลาดแรงงาน ซึ่งกำลังเผชิญกับวิกฤตที่ยากเข็ญอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจทั้งจากภายในประเทศและทั่วโลก แรงงานไทยเผชิญกับสถานการณ์การว่างงานมาหลายต่อหลายปี ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผย ผลสำรวจภาวะการมีงานทำของประชากรในเดือนธันวาคม 2562 พบว่า มีจำนวนผู้มีงานทำอยู่ที่ 37.66 ล้านคน ลดลง 2.1 แสนคน เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2561 ที่มีจำนวนผู้มีงานทำ 37.87 ล้านคน หรือลดลง 0.56% ส่วนจำนวนผู้ว่างงานอยู่ที่ 3.67 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราว่างงาน 1% เพิ่มขึ้น 1.8 หมื่นคน เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2561 ที่มีผู้ว่างงาน 3.49 แสนคน หรือเพิ่มขึ้น

Read More

เซ็นทรัล จัดคาราวานเปิดท้ายขายของ “Revival Market” เปิดพื้นที่ฟรีช่วยเหลือคนไทย

ครั้งแรก เซ็นทรัลพัฒนา จัดคาราวาน “Revival Market” ตลาดเปิดท้ายขายของ เปิดพื้นที่ฟรีช่วยเหลือคนไทยหลากหลายอาชีพ ชวนไทยอุดหนุนไทย เต็มลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัล 7 สาขา ตลอดเดือน มิ.ย.นี้ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัลพลาซา, เซ็นทรัลเฟสติวัล, เซ็นทรัล ภูเก็ต และเซ็นทรัล วิลเลจ เปิดพื้นที่ฟรี ณ ลานหน้าศูนย์การค้า 7 สาขาทั่วกรุงเทพฯ ชวนคนไทยมาช่วยกันช้อปในงาน “Revival Market” คาราวานเปิดท้ายขายของ ช่วยเหลือพี่น้องคนไทยหลากหลายอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 อาทิ กลุ่มพนักงานสายการบิน, กลุ่มไกด์ท่องเที่ยว, Pretty และ MC, นักดนตรี และดีเจ, กลุ่มผู้จัดอีเว้นท์, ผู้จัดรายการทีวี, พนักงานโรงแรมและเชฟ ช่วยสร้างรายได้ บรรเทาผลกระทบจากวิกฤตโควิด พร้อมเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าและประชาชนทั่วไปได้ช้อปสินค้าคุณภาพดี ในราคาเบาๆ งาน “Revival

Read More