Home > ผลกระทบโควิด (Page 3)

ตรุษจีนปีฉลูเงียบเหงา พิษ COVID ขวิดใช้จ่ายวูบ

บรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2564 ซึ่งหวังว่าจะช่วยพยุงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยให้กระเตื้องขึ้นบ้าง หลังจากตกอยู่ในความเงียบเหงาและซบเซาต่อเนื่องยาวนาน กำลังเผชิญกับข้อเท็จจริงที่เป็นไปในทางตรงข้ามกับความคาดหวังที่มี หลังจากที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงตรุษจีนปีนี้ได้ส่งผลให้กำลังการซื้อของประชาชนลดต่ำลง และทำให้การใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าปรับตัวลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือลดลงด้วยมูลค่ารวมกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งนับเป็นการลดต่ำลงมากเป็นประวัติการณ์ในรอบ 13 ปี ที่ได้มีการสำรวจตั้งแต่ปี 2552 การใช้จ่ายที่มีการปรับตัวลดลงดังกล่าวนี้ทำให้คาดว่ามูลค่าการใช้จ่ายในช่วงตรุษจีนปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับมูลค่าการใช้จ่ายที่ 5.75 หมื่นล้านบาทในปี 2563 หรือคิดเป็นการปรับตัวลดลงมากถึงร้อยละ 21.85 ซึ่งมูลค่าการใช้จ่ายที่ลดลงนี้ ในด้านหนึ่งนอกจากจะเป็นผลสืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำแล้ว การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังทำให้ประชาชนไทยมีรายได้ลดลง เป็นหนี้เพิ่มขึ้นขณะที่จำนวนไม่น้อยถูกเลิกจ้างและตกอยู่ในภาวะว่างงาน ส่งผลให้มีความระแวดระวังในการใช้จ่ายและทำให้ปริมาณการซื้อสินค้าลดลง ข้อน่าสังเกตที่น่าสนใจในกรณีของค่าใช้จ่ายในช่วงตรุษจีนปีนี้อยู่ที่เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการใช้จ่ายเมื่อปี 2563 ซึ่งลดลงร้อยละ 1.3 จากปี 2562 ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น่ากังวล การลดลงดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่ข่าวการแพร่ระบาดของ COVID-19 เริ่มปรากฏสู่การรับรู้ของสาธารณะ หากแต่การปรับตัวลดลงของค่าใช้จ่ายในปี 2564 ซึ่งลดลงมากถึงร้อยละ 21.85 จากปีก่อนหน้า นับเป็นภาพสะท้อนของข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งถูกซ้ำเติมด้วยการแพร่ระบาดของ COVID-19 และความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของกลไกภาครัฐ โดยเฉพาะในประเด็นว่าด้วยความเชื่อมั่นที่กำลังลดต่ำลงจากปัญหาหลากหลายที่รุมเร้าเข้ามา มูลค่าการใช้จ่ายช่วงตรุษจีนที่ลดหายไปในปีนี้ ทำให้การคาดการณ์ของกลไกรัฐที่ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพีไทย

Read More

โควิดฟาดไม่หยุด ภาคอสังหาฯ ซึมต่อเนื่อง หวัง “วัคซีนต้านไวรัส – มาตรการภาครัฐ” ปลุกตลาดฟื้นตัวเร็วขึ้น

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ แรงกระเพื่อมสำคัญต่อการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจ ผู้บริโภคเพิ่มความระมัดระวังการใช้จ่าย ส่งผลกระทบให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยกลับมาชะลอตัวอีกครั้ง ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 197 จุด จาก 201 จุด หรือลดลง 2% จากไตรมาสก่อน ถือเป็นดัชนีราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 14 ไตรมาส (นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2560) หลังจากเคยมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วงคลายล็อกดาวน์จากการแพร่ระบาดฯ รอบแรก คาดแนวโน้มราคาอสังหาฯ และอุปทานจะลดลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว และยังไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก หวังวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 และมาตรการเยียวยาเพิ่มเติมจากภาครัฐช่วยกระตุ้นให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาฟื้นตัวเร็วขึ้น นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า “คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี

Read More

Kantar คาด Global FMCG โต 10% ภายใน Q1 เปิดแบรนด์และผู้ผลิตที่ “โตสวนวิกฤติ” ที่สุดในเอเชีย

Kantar (คันทาร์) บริษัทวิจัยชั้นนำด้านข้อมูลเชิงลึกและที่ปรึกษาทางการตลาดระดับโลก เผยข้อมูลผลกระทบจากวิกฤติ COVID-19 ที่มีต่อพฤติกรรมการจับจ่ายสินค้า FMCG ระดับโลก ปี 2020 ที่ผ่านมาและส่งผลต่อเนื่องในปี 2021 ถึงแม้ว่าเราจะเข้าสู่ปีใหม่แล้วก็ตามแต่ในบางภูมิภาคก็ยังรู้สึกเหมือนกลับไปสู่ในยุคเริ่มต้นของการแพร่ระบาด โดย Kantar พิจารณาอัตราการเติบโตของ FMCG ทั่วโลก หมวดหมู่สินค้าที่ได้รับผลกระทบ แบรนด์และผู้ผลิตที่ทำได้ดีท่ามกลางวิกฤติและผลกระทบที่มีต่อพฤติกรรมการจับจ่ายอย่างแท้จริงของผู้บริโภค การเติบโตของ Global FMCG คาดว่าจะแตะ 10% ภายในสิ้นไตรมาสที่ 1 2021 และเราอาจจะไม่ได้เห็นการเติบโตแบบ Double-digit ของสินค้า FMCG อีก ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยความไม่แน่นอนต่างๆ เช่น แผนการเปิดตัววัคซีน ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย กระแสการทำงานที่บ้านหลังการแพร่ระบาด และการเปลี่ยนแปลงข้อจำกัดต่างๆ ที่ส่งผลโดยตรงกับผู้บริโภค สินค้า Health & Beauty กระทบหนัก จากเติบโตเร็วที่สุดกลายเป็นช้าที่สุด ท่ามกลางการแพร่ระบาด คาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งเมื่อผู้บริโภคออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านอย่างปกติอีกครั้ง แน่นอนตรงกันข้ามกับสินค้าหมวดอาหารที่เติบโตขึ้นขณะผู้บริโภคอยู่บ้าน แบรนด์และผู้ผลิตที่ "โตสวนวิกฤติ" ที่สุดในเอเชีย ไม่เพียงแต่สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าเชื้อโรคที่ได้รับอานิสงส์จากวิกฤตินี้

Read More

ธุรกิจโรงแรมปรับตัว ก่อนการฟื้นตัวของท่องเที่ยวไทย

นับเป็นฝันร้ายครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยที่ต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์โรคระบาดที่กระทบต่อการเติบโตและรายได้การท่องเที่ยวในระดับล้านล้านบาท ตั้งแต่เชื้อไวรัสโควิด-19 อุบัติขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2562 และส่งผลกระทบถึงไทยในทุกภาคอุตสาหกรรม ช่วงกลางปีที่ผ่านมาสถานการณ์ผู้ติดเชื้อในไทยเริ่มลดลงจนกระทั่งเป็นศูนย์ ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว รวมไปถึงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เริ่มหารือถึงมาตรการและความเป็นไปได้ที่ไทยจะเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา โดยใช้นโยบาย Travel Bubble ทว่า ก่อนจะได้คำตอบหรือการอนุมัติจากภาครัฐ สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในต่างประเทศเดินทางเข้าสู่ระลอกสอง และหลายประเทศสถานการณ์เลวร้ายลงกว่าการระบาดในครั้งแรก การยึดโยงอยู่กับตลาดต่างชาติจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดี การพึ่งพาตนเองจึงเป็นคำตอบที่เหมาะสมที่สุดในห้วงยามนี้ รัฐบาลไทยเริ่มใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นหลายรูปแบบ เพื่อให้เม็ดเงินกระจายลึกลงไปถึงเศรษฐกิจระดับฐานราก ซึ่งครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ภายใต้โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2563 พบว่า มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 6.59 ล้านคน โดยมีผู้ใช้สิทธิ์โรงแรม 3,508,008 สิทธิ์ คิดเป็นมูลค่าห้องพักที่จองทั้งสิ้น 9,543.4 ล้านบาท ขณะที่มีผู้ที่ได้รับคูปองอาหาร 782,568 ราย ยอดใช้จ่ายทั้งหมด 3,002.6 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดใช้จ่ายประชาชน 1,849.4 ล้านบาท รัฐสนับสนุน 1,153.2 ล้านบาท หลังจากการประกาศใช้โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” และมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนมาก สถานการณ์การท่องเที่ยวไทยพอจะมองเห็นทิศทางที่ดีขึ้นแม้จะเพียงเล็กน้อย แต่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคาดการณ์ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่มีการระบาดรุนแรงระลอกสองในไทยว่า

Read More

เศรษฐกิจโลกฟื้น แต่ไทยยังไร้สัญญาณบวก

ความเป็นไปของการแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลกและเป็นปัจจัยฉุดรั้งการจำเริญเติบโตทางสังคมเศรษฐกิจ-อุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง หากแต่การคาดการณ์ล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2564 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.2 มาสู่ระดับที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.5 ภายใต้ความเชื่อที่ว่าการอนุมัติและฉีดวัคซีนต้าน COVID-19 ในประเทศต่างๆ ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้ช่วยเกื้อหนุนความหวังที่จะเห็นการยุติการแพร่ระบาดของโรคระบาดในอนาคตอันใกล้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศยังประเมินว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2563 ที่ผ่านมามีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เดิม โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2563 จะหดตัวลดลงที่อัตราร้อยละ 3.5 ซึ่งดีกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ในเดือนตุลาคม ที่ IMF ระบุว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลดลงที่ระดับร้อยละ 4.4 ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นจากการคาดการณ์ไว้เดิมนี้ ในด้านหนึ่งเป็นผลจากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ทั้งจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในยุโรป ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกในภาพรวม แต่เศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอน ท่ามกลางการแพร่ระบาดรอบใหม่ และการกลายพันธุ์ของไวรัสที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การกระเตื้องขึ้นของเศรษฐกิจโลกดำเนินไปท่ามกลางการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในปี 2564 จะขยายตัวร้อยละ 5.1 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 3.1 โดยได้ปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาตรการภายใต้อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และหากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผ่านการอนุมัติเห็นชอบของรัฐสภาก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอีก ขณะเดียวกันเศรษฐกิจจีนในปี

Read More

โควิดระลอกใหม่กระทบหนี้ครัวเรือน ซ้ำเติมความเปราะบางทางเศรษฐกิจ

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยเริ่มฟื้นตัวนับตั้งแต่สถานการณ์ของผู้ติดเชื้อภายในประเทศเป็นศูนย์ และพบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในปัจจุบัน เป็นกลุ่มผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศเท่านั้น ความฝัน ความหวังของผู้คนในหลายแวดวงเริ่มปรากฏแจ่มชัดขึ้น เมื่อเริ่มมองเห็นสัญญาณอันดี จากสถานการณ์การติดเชื้อที่ลดลงภายในประเทศ ภาครัฐจึงเร่งประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ลงลึกในระดับฐานรากมากขึ้น โดยมุ่งหวังให้คนในประเทศช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่หยุดชะงักไป ให้กลับมาเดินหน้าได้อีกครั้ง ซึ่งต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ แม้เครื่องจักรทางเศรษฐกิจกำลังเดินเครื่องไปข้างหน้าอย่างช้าแต่ก็เป็นสัญญาณที่ดี ทว่า ทุกสิ่งกลับพังครืนลงมาก่อนศักราชใหม่จะเริ่มขึ้น จุดเริ่มต้นการระบาดระลอกใหม่มาจากกลุ่มคนที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน ทั้งการลักลอบนำแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามายังประเทศไทย โดยไม่ผ่านระบบตรวจคัดกรองโรค รวมไปถึงกลุ่มคนไทยที่เดินทางออกนอกประเทศเพื่อทำกิจกรรมในบ่อนพนันในต่างประเทศ และหลบหนีกลับเข้ามาหลังพบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นในบ่อน ขณะที่คนในประเทศตั้งการ์ดสูง ด้วยความพยายามอย่างสุดกำลังที่จะดึงกราฟผู้ติดเชื้อในประเทศให้เป็นศูนย์ และรอคอยวัคซีนที่เป็นตัวแปรสำคัญในการหยุดวงจรการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสครั้งนี้ เมื่อการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้นและขยายวงกว้างมากกว่าเดิม ส่งผลให้ภาครัฐต้องออกคำสั่งหยุดดำเนินกิจการ กิจกรรมบางจำพวก เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัส แม้จะส่งผลดีต่อการควบคุมด้านสาธารณสุข แต่กลับส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจในภาพรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับฐานราก รายได้ที่หดตัวอยู่ในช่วงพีคของการระบาดระลอกแรก กำลังกลับสู่สภาพเกือบปกติจากการดำเนินกิจการได้หลังการผ่อนคลายมาตรการในปีที่ผ่านมา แต่การระบาดระลอกใหม่ส่งผลเสียต่อสถานการณ์ทางการเงินหนักกว่าเดิม เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนลดลงจำนวนมาก จีดีพีของประเทศลดลงอย่างต่อเนื่องหลายไตรมาสติดต่อกัน และตัวที่ชี้วัดสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงทางเศรษฐกิจของไทยคือ สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยที่ค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น กระทั่งไตรมาส 3/2563 ที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปีที่ 86.6 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพี จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย แน่นอนว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ระลอกแรก และความเปราะบางทางเศรษฐกิจที่มีอยู่เป็นทุนเดิม ต้องยอมรับว่าความแข็งแรงด้านสภาพการเงินของครัวเรือนไทยดำเนินไปภายใต้กรอบโครงของการขอใช้สินเชื่อทั้งจากในระบบและนอกระบบ ในขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชนบางส่วนค่อยๆ ลดลงไปตามลำดับ ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน ตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นส่งผลโดยตรงกับสภาพคล่องด้านการเงินของประชากรไทย สถานการณ์ในปัจจุบันกลายเป็นตัวซ้ำเติมปัญหาที่เปราะบางเป็นทุนเดิมให้สาหัสมากขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่หนี้ครัวเรือนของไทยอาจเพิ่มขึ้นมาที่

Read More

COVID ระลอกใหม่พ่นพิษ ฉุดความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมไทย

ผลจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 นอกจากจะส่งผลกระเทือนต่อชีวิตความเป็นอยู่และการดำเนินไปของสังคมไทยอย่างกว้างขวางหนักหน่วงแล้ว ล่าสุดพิษของการระบาดครั้งใหม่นี้ได้ฉุดให้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2563 ทรุดต่ำลงอีกครั้ง ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงในทุกองค์ประกอบ ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือนนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคตั้งแต่เมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2563 ปรับตัวมาอยู่ที่ระดับ 85.8 ลดลงจากระดับ 87.4 ในเดือนพฤศจิกายน โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นที่ปรับลดลงนี้ เป็นการปรับลดลงในทุกองค์ประกอบ ทั้งคำสั่งซื้อโดยรวม, ยอดขายโดยรวม, ปริมาณการผลิต, ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ โดยมีปัจจัยลบจากการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ที่มีความรุนแรงกว่ารอบแรก และขยายวงกว้างไปในหลายจังหวัดอีกด้วย การแพร่ระบาดระลอกใหม่ได้ส่งผลให้ภาครัฐออกคำสั่งปิดสถานที่บางแห่ง และกำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุดในจังหวัดที่มีการระบาดสูง รวมทั้งงดจัดกิจกรรมปีใหม่และขอความร่วมมือประชาชนชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด อีกทั้งขอให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนและข้าราชการทำงานที่บ้าน (Work From Home) เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปัจจัยดังกล่าว ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศชะลอลง ทั้งการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนและการเดินทางท่องเที่ยวลดลง ส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าของผู้ประกอบการลดลงโดยเฉพาะ SMEs อย่างไม่อาจเลี่ยง นอกจากนี้ การขนส่งสินค้าข้ามจังหวัดยังมีความล่าช้าเนื่องจากมาตรการที่เข้มงวดของภาครัฐไปโดยปริยาย ก่อนหน้านี้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2563 ว่าอยู่ที่ระดับ 87.4 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 86.0 ในเดือนตุลาคม

Read More

COVID-19 ถล่มค้าปลีกไทย วอนร้องรัฐเร่งช่วยเหลือด่วน

พิษจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบกระเทือนไปทุกแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรม โดยล่าสุดสมาคมค้าปลีกไทยเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่ได้ออกมาเปิดเผยถึงตัวเลขผลกระทบที่ผู้ประกอบการค้าปลีกได้รับจากผลของการแพร่ระบาดและมาตรการป้องกันควบคุมโรคของรัฐในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกไทยสูญเสียรายได้ไปมากกว่า 5 แสนล้านบาท จากผลของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมที่ชะงักตัวลง ความสำคัญและเป็นไปของธุรกิจค้าปลีกไทย ซึ่งถือเป็นกลไกและฐานรากสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นกลไกที่ครอบคลุมและเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตการค้าทั้งระบบตั้งแต่ผู้ประกอบการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และมีผู้ประกอบการในห่วงโซ่ค้าปลีกรวมในระบบมากกว่า 1.3 ล้านราย และมีการสร้างงานโดยตรงมากกว่า 6.2 ล้านราย และเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ธุรกิจค้าปลีกได้รับผลกระทบ และทำให้ดัชนีค้าปลีกของสมาคมค้าปลีกไทยปี 2563 ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 2.8 ในปี 2562 มาอยู่ที่ระดับติดลบที่ร้อยละ -12 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ดัชนีติดลบด้วยตัวเลข 2 หลัก ความชะลอตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากผลของมาตรการควบคุมโรคของรัฐยังส่งผลต่อเนื่องมาสู่การคาดการณ์ตัวเลขในไตรมาสที่ 1/2564 หลังจากที่เกิดการระบาดระลอกใหม่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีความหนักหน่วงและรุนแรงมากกว่าการแพร่ระบาดระลอกแรกและยังไม่มีแนวโน้มจะกลับมาสู่ภาวะปกติได้ในเร็ววัน โดยคาดว่าดัชนีค้าปลีกไทยในไตรมาส 1/2564 จะยังหดตัวติดลบที่ระดับร้อยละ 7-8 ผลจากภาวะชะลอตัวดังกล่าวนี้ได้ส่งให้เกิดผลเสียหายในวงกว้างอย่างมาก โดยนอกจากจะเกิดอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น รายได้ลดลง และมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากทยอยปิดตัวลง

Read More

LPN Wisdom คาดตลาดอสังหาฯ ปี 2564 ติดลบ 3% ถึงเติบโต 10%

LPN Wisdom คาดตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2564 มีแนวโน้มติดลบ 3% ถึงเติบโตประมาณ 10% ขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19) รอบใหม่ นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LPN Wisdom: LWS), บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) กล่าวถึงทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2564 ว่า การแพร่ระบาดของ COVID-19 รอบใหม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ที่ส่งผลต่อเนื่องต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 LPN Wisdom ได้มีการปรับการคาดการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการคาดการณ์ว่าสถานการณ์อสังหาฯ ในปี 2564 จะมีแนวโน้มทรงตัวหรือเติบโตได้ประมาณ 3-5% และการเปิดตัวโครงการใหม่มีแนวโน้มที่จะเปิดตัวเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10% เมื่อเทียบกับปี 2563

Read More

ศึกพิพาทปิดตลาดสด ห้างยักษ์ทุ่มงบสกัดโควิด

การสั่งปิดตลาดสดในหลายจังหวัดเพื่อสกัดการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 หลังเจอต้นตอใหญ่มาจากตลาดกลางกุ้ง และมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ถูกหลายฝ่ายจุดประเด็นเปรียบเทียบกับกลุ่มร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ กลายเป็นข้อกล่าวหาเรื่องการเลือกปฏิบัติและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลเสียหายต่อประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการขาดรายได้ จนยอดหนี้ครัวเรือนพุ่งพรวดทุบสถิติในรอบ 12 ปี เฉลี่ยมากกว่า 480,000 บาทต่อครัวเรือน ล่าสุด เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นเรื่องขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบมาตรการของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาการแพร่เชื้อโควิด-19 เป็นการเลือกปฏิบัติและเอื้อกลุ่มทุนหรือไม่ ใน 3 กรณี คือ กรณีการปิดตลาดนัด กรณีบริษัทเอกชนรายใหญ่ได้ก่อสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย และกรณีการนำวัคซีนป้องกันโควิด-19 มาฉีดให้คนไทยอย่างล่าช้า มีการจัดหาวัคซีนจากจีน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับบริษัทเจ้าสัว ในกรณีปิดตลาดนัดนั้น นายศรีสุวรรณระบุว่า รัฐเริ่มต้นด้วยการเลือกปิดตลาดนัด ปิดร้านอาหาร พ่อค้าแม่ค้าเดือดร้อนไม่มีแหล่งขายสินค้า เพื่อหารายได้ แต่รัฐไม่ปิดห้างสรรพสินค้าที่มีระบบแอร์ตลอดเวลาและเป็นสถานที่ปิด มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่า รวมถึงการปิดบังไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไปใช้บริการร้านสะดวกซื้อ ไม่เปิดเผยชื่อร้านและไม่มีการสั่งปิด ทั้งนี้ ข้อพิพาทระหว่างการปิดตลาดสดกับกลุ่มโมเดิร์นเทรดเกิดการถกเถียงอย่างหนัก เมื่อนายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทาง ด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ประธานชมรมเชื้อราทางการแพทย์ประเทศไทย

Read More