Content

เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ความหวังสุดท้ายกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

มติของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. ที่เห็นชอบมาตรการเปิดประเทศ สำหรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (Special Tourist VISA: STV) แบบ “จำกัดจำนวน” ตามที่กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ โดยจะเป็นการเปิดประเทศแบบจำกัด ด้วยการจำกัดเฉพาะนักท่องเที่ยวประเภท “พิเศษ” ที่จะมาพำนักอยู่ในประเทศไทยระยะยาวไม่ต่ำกว่า 90-270 วัน ในด้านหนึ่งอาจถือเป็นจุดเริ่มต้นของการออกเดินหน้าเพื่อฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจท่องเที่ยวของไทยให้ดำเนินต่อไปได้ หลังจากที่ต้องหยุดชะงักมานานเพราะการระบาดของไวรัส COVID-19 หากแต่ในอีกมิติหนึ่ง มติดังกล่าวดูจะตั้งอยู่ท่ามกลางการเล็งผลเลิศที่อาจไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของสถานการณ์โดยรอบ เพราะหลังจากที่มีการเปิดเผยว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนจากมณฑลกว่างโจวเดินทางมาประเทศไทย ในวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ซึ่งนับเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรหลังจากไทยผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะมีการประกาศเลื่อนการเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศไทยไปเป็นวันที่ 25 ตุลาคมแทน ความสับสนในการออกมาตรการที่ดำเนินไปท่ามกลางเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติหากต้องการจะเดินทางมายังประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นความประสงค์จะเดินทางมาพำนักระยะยาว หรือลองสเตย์ ภายในประเทศไทย การยอมรับที่จะปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข ที่ประกาศใช้ภายในประเทศไทย และตกลงยินยอมกักตัวในห้องพักจำนวน 14 วัน รวมถึงการมีหลักฐานสถานที่พักอาศัยระยะยาวภายในประเทศไทย โดยเฉพาะหลักฐานการชำระเงินค่าโรงแรมที่พัก หรือโรงพยาบาลที่พักภายในประเทศไทย ดูจะเป็นเงื่อนไขที่ไม่ได้สอดรับกับความพร้อมของทั้งผู้ประกอบการและความกังวลใจของประชาชนในพื้นที่ การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจควรคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนในแต่ละพื้นที่ เพราะประชาชนในจังหวัดท่องเที่ยว อาจไม่ได้เห็นด้วยกับการเปิดรับนักท่องเที่ยวทั้งหมด ความกังวลใจของพวกเขายังผูกพันอยู่กับมายาภาพที่ ศบค. ได้สร้างไว้ตลอดระยะเวลา 6-7

Read More

9 สิ่งที่คุณ (อาจ) ไม่เคยรู้เกี่ยวกับ ‘บัตรแรบบิท’ บัตรเดียว กิน ช้อป เที่ยว พร้อมโปรฯ แรงปลายปี

รู้ยัง ‘บัตรแรบบิท’ ในมือคุณเป็นมากกว่าแค่บัตรโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส ถ้าใช้อย่างรู้คุณค่ามันจะพาเราไปสนุกกับโลกไร้เงินสดหรือ Cashless ชนิดที่ต่อให้ลืมพกกระเป๋าเงินไว้ที่บ้าน คุณก็ไม่ต้องว้าวุ่นใจ แค่มีบัตรแรบบิทหนึ่งใบก็พร้อมจะใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย ทั้งขึ้นรถไฟฟ้าต่อเรือด่วน นั่งรถเมล์แอร์เย็นฉ่ำให้สบายใจ แวะกินมื้อเช้าในร้านสะดวกซื้อ หรือไม่ต้องต่อคิวแลกเงินก็ฟินกับอาหารอร่อยในศูนย์การค้าชื่อดังได้ด้วย แถมยังมีโปรฯ เร้าใจในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 9 ของบัตรแรบบิท เริ่มต้นแค่ 9 บาท! เรารวบรวม 9 เรื่องจริงที่คุณ (อาจ) ไม่เคยรู้เกี่ยวกับบัตรแรบบิทมาฝาก เผื่อจะช่วยให้หลายอย่างในชีวิตของคุณง่ายขึ้นอีกเยอะ 1. รถ เรือ ราง - ทางไหนก็สะดวก ‘บัตรแรบบิท’ พร้อมพาคุณไปทุกที่! หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า บัตรแรบบิทไม่เพียงแค่ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสเท่านั้น ทั้งยังครอบคลุมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นรถโดยสารสมาร์ทบัส, รถบีอาร์ที, เรือด่วนเจ้าพระยา (ธงแดง), เรือข้ามฟากท่าพระจันทร์ - มหาราช, เรือโดยสารคลองภาษีเจริญ และเจ้าพระยาทัวร์ริสโบ๊ท (ธงฟ้า) ใครจะไปนครปฐมก็แค่นั่งไมโครบัส Y70E (หมอชิต

Read More

ไปรษณีย์ไทยหนุน “พวงหรีดสานบุญ” จากวัสดุกระดาษรักษ์โลกสุดครีเอท พร้อมส่งด่วนด้วยมาตรฐานไปรษณีย์

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เดินหน้าสนับสนุนธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม จับมือพันธมิตร บริษัท แคร์เนชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ขนส่ง “พวงหรีดสานบุญ” หรือพวงหรีดกระดาษรีไซเคิล ให้ถึงปลายทางวัดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เริ่ม 19 ต.ค. นี้ พร้อมขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ ด้วยบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันไปรษณีย์ไทยในฐานะผู้ให้บริการด้านการขนส่งและการสื่อสารของชาติ และเป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อสังคมทุกมิติ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด โดยยึดหลัก 3R คือ Reduce Reuse และ Recycle โดย Reduce – ได้ร่วมกับ บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) ในการลดการใช้เยื่อกระดาษในการผลิตกล่องพัสดุและซอง โดยนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยให้วัสดุมีความแข็งแรงทนทนมากขึ้นเพื่อเป็นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ Reuse

Read More

Thailand Coffee Fest 2020 สร้างมาตรฐานมหกรรมกาแฟสาย Sustainable

เรียกว่าเป็น Big Event แห่งปีของวงการกาแฟไทย สำหรับงานมหกรรมกาแฟสุดยิ่งใหญ่ “Thailand Coffee Fest 2020” ได้รับกระแสตอบรับดีเกินคาด มีผู้สนใจเข้าชมงานอย่างคึกคักตลอด 4 วันเต็ม ด้วยการรวมตัวของร้านกาแฟกว่า 200 ร้านค้า ตลอดจนรวมทุกกระบวนการของธุรกิจกาแฟ ตั้งแต่ต้นน้ำ สู่ปลายน้ำ อย่างครบวงจร โดยตลอดการจัดงาน ใช้แนวคิดการสร้างขยะให้เป็นศูนย์ (Zero Waste) ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม นับเป็นการจัดงานในยุคโควิด-19 ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยเตรียมพร้อมจัดต่อปีหน้าช่วงปลายเดือนเมษายน 2564 จากความร่วมมือระหว่าง สมาคมกาแฟพิเศษไทย และ The Cloud (เว็บไซต์ : readthecloud.co) ในการจัดงาน “Thailand Coffee Fest 2020” ที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 โดยมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนวงการกาแฟไทย ตั้งแต่ผู้ปลูก ผู้แปรรูป ไปจนถึงผู้บริโภค ทำให้วัฒนธรรมการดื่มกาแฟของคนไทยมีสีสันมากขึ้นทุกปี จนกลายเป็นมหกรรมของคนรักกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแม้ว่าปีนี้จะเจอวิกฤตโควิด-19

Read More

ยูนิโคล่ เตรียมวางจำหน่าย AIRism Mask ในไทย 16 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป

ยูนิโคล่ เตรียมวางจำหน่าย AIRism Mask ในไทย 16 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป หน้ากากผ้าประสิทธิภาพสูงสวมใส่สบายสำหรับทุกคน ยูนิโคล่ แบรนด์เครื่องแต่งกายระดับโลกจากญี่ปุ่น เตรียมวางจำหน่ายหน้ากากผ้าแอริซึ่ม (AIRism Mask) ในทุกสาขาทั่วไทย รวมถึงออนไลน์สโตร์ ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป โดยการใส่หน้ากากถือเป็นวิธีการที่ง่ายและมีประสิทธิภาพในการรักษาสุขภาพ นอกจากนั้น ผู้คนทั่วไปในเอเชียตะวันออกยังมักสวมใส่หน้ากากเวลาป่วยเพื่อปกป้องตัวเองจากมลพิษ หรือใช้เหมือนเป็นแฟชั่นไอเทมชิ้นหนึ่งไปแล้ว ดังนั้นยูนิโคล่จึงนำวิถีปฏิบัติใหม่ของผู้คนทั่วโลก รวมถึงความต้องการของลูกค้ามาใช้ในการพัฒนาหน้ากาก เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปกป้องและสวมใส่สบายในชีวิตประจำวัน โดยหน้ากากผ้าแอริซึ่ม ยังสะท้อนถึงพันธกิจของยูนิโคล่ในการช่วยทำให้ชีวิตของทุกคนดีขึ้นผ่านปรัชญาไลฟ์แวร์ (LifeWear) ได้เป็นอย่างดี ประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นด้วยการปกป้องสามชั้น หน้ากากผ้าแอริซึ่มมีเลเยอร์ถึงสามชั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกัน โดยเลเยอร์ชั้นแรกที่สัมผัสผิวผู้สวมใส่โดยตรงนั้นสวมใส่สบาย และยังนุ่มสบายผิวด้วยผ้าแอริซึ่มตาข่าย สำหรับเลเยอร์ชั้นกลางใช้ตัวกรองที่สามารถป้องกันฝุ่นละอองและเกสรดอกไม้ได้ สำหรับชั้นนอกสุดใช้ผ้าแอริซึ่มตาข่ายที่ใช้เทคโนโลยีป้องกันรังสียูวีมาช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวี โดยโครงสร้างทั้งสามชั้นของหน้ากากผ้ามีค่า UPF 50+ ซึ่งสามารถป้องกันรังสียูวีได้มากกว่า 90% คงประสิทธิภาพในการปกป้องได้ดีแม้ผ่านการซัก หน้ากากผ้าแอริซึ่มพัฒนาโดยให้ความสำคัญกับฟังก์ชั่นการใช้งานเป็นอันดับหนึ่ง เพราะยูนิโคล่เข้าใจดีว่าลูกค้าเลือกที่จะสวมใส่หน้ากากที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำกันมากขึ้น เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยหน้ากากผ้าแอริซึ่มสามารถซักด้วยเครื่องซักผ้าได้และใช้ได้กับผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าทั่วไป จากการทดสอบพิสูจน์ได้ว่าตัวกรองที่ใช้ในโครงสร้างทั้งสามชั้นของหน้ากากผ้ายังคงประสิทธิภาพในการป้องกันได้ดีแม้ผ่านการซักในอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ไป 20 ครั้ง สวมใส่สบายกว่าหน้ากากผ้านอนวูฟเวนหรือผ้าคอตตอน หน้ากากผ้าแอริซึ่มให้สัมผัสนุ่มสบายผิว โดยเนื้อผ้าแอริซึ่มชั้นในสุดไม่หนาหรือสากเหมือนผ้านอนวูฟเวน (ผ้าไม่ถักไม่ทอ)

Read More

ความท้าทายของอุตสาหกรรมหนังสือ จะหมุนอย่างไรเมื่อไลฟ์สไตล์คนเปลี่ยนแปลง

การอ่านเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาในหลายระดับ ตั้งแต่การพัฒนาสติปัญญา เสริมเกราะทางภูมิปัญญาของผู้อ่านเอง จนไปถึงการพัฒนาในระดับชาติ ทว่า ทั้งการส่งเสริมการอ่าน และการสนับสนุนอุตสาหกรรมหนังสือจากภาครัฐกลับไม่เข้มข้นพอ ในแต่ละปี ประเทศไทยจะมีงานอีเวนต์ขนาดใหญ่เกี่ยวกับหนังสืออย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง นั่นคือ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ต้องยอมรับว่าบรรดาหนอนหนังสือและนักอ่านจำนวนหนึ่งเฝ้ารอคอยงานนี้ เพราะนอกจากจะเป็นการได้เปิดประสบการณ์ผ่านจินตนาการทางตัวหนังสือแล้ว ยังมีโอกาสได้ซื้อหนังสือในราคาประหยัด และไม่ใช่แค่เพียงเหล่านักอ่านที่รอคอยงานหนังสือเท่านั้น ทั้งผู้คนที่โลดแล่นอยู่ในแวดวงหนังสือ เช่น นักเขียน สำนักพิมพ์ ต่างเฝ้ารองานนี้ด้วยกันทั้งสิ้น เพราะบางสำนักพิมพ์ หรือนักเขียนมักจะใช้ช่วงเวลานี้เปิดตัวหนังสือ หรือผลงานเล่มใหม่ ความคึกคักและการตื่นตัวที่เคยเกิดขึ้นทุกปีในวงการหนังสือเล่มดูจะค่อยๆ จืดจางลงอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่การเติบโตของเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้วงการหนังสือต้องพัฒนาและหมุนตามโลกให้ทันเพื่อไม่ให้หลุดจากวงโคจร ไม่ใช่เหตุผลทางเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหนังสือในห้วงยามนี้ ทว่า สิ่งที่ดูเหมือนจะสร้างหายนะให้เกิดขึ้นในหลายแวดวงและแผ่อิทธิพลมาสู่วงการหนังสือด้วยก็คือ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่สร้างบาดแผลทางเศรษฐกิจไทยให้สาหัสกว่าเดิม เพราะนอกจากการที่อุตสาหกรรมหนังสือต้องปรับตัวให้พร้อมรับกับการเติบโตของเทคโนโลยีด้วยการทรานส์ฟอร์มจากหนังสือเล่มไปสู่ e-book แล้ว ยังต้องรับมือกับการอ่อนแรงในเรื่องกำลังซื้อของผู้บริโภค นอกจากนี้ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 48 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 18 ที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดทำให้ผู้จัดงานต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานไปสู่ช่องทางดิจิทัล ทั้งกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการขายหนังสือ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด และเศรษฐกิจที่ผ่านมา หลายสำนักพิมพ์ต้องประสบกับภาวะขาดทุน บางสำนักพิมพ์แม้จะไม่ได้ปิดตัวลงไปในทันที แต่ชะลอการพิมพ์หนังสือเล่มใหม่ๆ ออกมา และดำเนินธุรกิจด้วยการ Re-print

Read More

Staycation หย่อนใจ ใกล้บ้าน

การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมในการพักผ่อนหย่อนใจที่เป็นที่โปรดปรานของใครหลายๆ คน แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้การเดินทางมีข้อจำกัด อีกทั้งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ยังส่งผลให้เราต้องหันมารัดเข็มขัดและคุมเข้มกับการจับจ่ายใช้จ่ายกันมากขึ้น รูปแบบการท่องเที่ยวจึงต้องปรับเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน เที่ยวใกล้บ้าน เดินทางง่าย สบายกระเป๋า ตามสไตล์ “Staycation” จึงกลายมาเป็นตัวเลือกที่กำลังมาแรงในหมู่คนชอบเที่ยวอยู่ในขณะนี้ Stay + Vacation = Staycation “Staycation” มาจากคำว่า “Stay” บวกกับ “Vacation” คำ 2 คำที่มีความหมายที่ดูขัดกัน แต่เมื่อนำมาผสมเข้าด้วยกันกลับกลายเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวและพักผ่อนที่มีเสน่ห์ในตัวเอง Staycation เป็นการท่องเที่ยวพักผ่อนในละแวกท้องถิ่นที่เราอยู่ เดิมทีหมายถึงการพักร้อนอยู่กับบ้าน โดยอาจจะปรับเปลี่ยนบรรยากาศของบ้าน ทำกิจกรรมใหม่ๆ แต่ในระยะหลังยังหมายรวมถึงการท่องเที่ยวในเมืองและในท้องถิ่นที่ตนเองอาศัยอยู่ด้วยเช่นกัน เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เราได้หันมาทำความรู้จักกับพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ด้วยมุมมองใหม่ เหมือนเราเป็นนักท่องเที่ยวในบ้านของตัวเอง ไลฟ์สไตล์แบบ Staycation เริ่มเป็นที่แพร่หลายในหมู่อเมริกันชนในช่วงเกิดวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์หรือที่รู้จักกันในชื่อ Hamburger Crisis ซึ่งเกิดในช่วงปี 2007-2010 วิกฤตครั้งนั้นทำให้คนอเมริกันต้องระมัดระวังเรื่องการใช้เงิน เลยหันมาเที่ยวในเมืองที่อาศัยอยู่แทนเพราะค่าใช้จ่ายไม่สูง เช่นเดียวกับทางฟากเกาะอังกฤษ ซึ่งความนิยมในการพักผ่อนแบบนี้เกิดขึ้นในราวๆ ปี 2009 เป็นช่วงที่เงินปอนด์อ่อนค่าลง ทำให้ชาวอังกฤษเลือกที่จะ Staycation แทนการเดินทางไป Vacation ในที่ไกลๆ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย

Read More

BGRIM จุดพลุสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อการอุตสาหกรรม ขนาด 980 เมกะวัตต์ มูลค่าการลงทุน 40,000 ล้านบาท

BGRIM ฉลองความสำเร็จเตรียมความพร้อมพัฒนาโรงไฟฟ้าเพื่อการอุตสาหกรรม 7 โครงการ กำลังการผลิต 980 เมกะวัตต์ มูลค่าลงทุน 4 หมื่นล้านบาท พร้อมได้รับการสนับสนุนจาก 5 สถาบันการเงินชั้นนำ ผู้รับเหมาก่อสร้างระดับโลกหนุนศักยภาพการเป็นผู้นำด้านพลังงานไฟฟ้า ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ หรือ BGRIM เปิดเผยว่านับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของบริษัทฯ ในการเตรียมความพร้อมเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อการอุตสาหกรรมจำนวน 7 โครงการ มูลค่า 40,000 ล้านบาท ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก 5 สถาบันการเงินชั้นนำ ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าประเทศไทย (EXIM BANK) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารออมสิน ร่วมกับ 2 บริษัทชั้นนำด้านการก่อสร้างได้แก่ บริษัท

Read More

เร่งระดมอัดฉีด ต่อลมหายใจ SMEs ไทย

สถานการณ์ความเป็นไปของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาด COVID-19 ดูจะยังอยู่ในภาวะที่ยากลำบากและได้รับผลกระทบต่อเนื่องอย่างหนัก โดยกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการภาคบริการทั้งธุรกิจบริการที่พักและธุรกิจบริการด้านอาหาร ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจบริการด้านศิลปะ ความบันเทิงและสันทนาการ ธุรกิจค้าปลีกส่ง และสาขาอุตสาหกรรม ผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าวส่งผลให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของ SMEs ไทย (SMEs GDP) ในไตรมาส 2 ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 17.2 มีมูลค่ารวม 1.44 ล้านล้านบาท สอดรับกับผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ SMEs ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งพบว่า ปัญหาที่ผู้ประกอบการ SMEs เผชิญอยู่มากที่สุดในห้วงปัจจุบันเป็นกรณีของยอดขายและลูกค้าที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากผลของการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ปัจจัยลบที่โหมกระหน่ำใส่ผู้ประกอบการ SMEs ในอีกด้านหนึ่งยังอยู่ที่ยอดการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกของผู้ประกอบการ SMEs ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ปรับตัวลดลงร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่ารวม 4.76 แสนล้านบาท ขณะที่ในปี 2562

Read More

เศรษฐกิจไทยไร้แรงดึงดูด ต่างชาติปิดโรงงาน-ย้ายฐาน

ข่าวการปิดโรงงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำนวนมากในประเทศไทย แม้ว่าในด้านหนึ่งจะเป็นผลจากพิษการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งในมิติของกิจการด้านสาธารณสุข และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้เกิดการชะลอตัว ขณะที่ห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ของกระบวนการผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรมต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงัน การประเมินของกลไกรัฐว่าด้วยการปิดโรงงานของผู้ประกอบการแต่ละรายดูจะยึดโยงและผูกพันอยู่กับฐานคิดที่ว่าการปิดโรงงานของผู้ประกอบการเป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้กำลังซื้อลดลงและมีความจำเป็นต้องลดต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยที่ละเลยหรือมองข้ามผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแรงงานจำนวนมากที่ต้องพ้นจากสภาพการจ้างงานและมีแนวโน้มที่ต้องเสี่ยงกับการตกงานและว่างงานยาวนานนับจากนี้ ข้อมูลที่น่าสนใจจากสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งปรากฏเป็นรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่งปี 2563 ระบุว่าอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.03 มีผู้ว่างงานเกือบ 4 แสนคน และคาดว่าในปีนี้มีแรงงานที่เสี่ยงถูกเลิกจ้าง 8.4 ล้านคน ขณะที่แรงงานจบใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน 5.2 แสนคนอาจไม่มีงานทำ รายงานภาวะสังคมไทยฉบับดังกล่าวซึ่งเผยแพร่สู่สาธารณะ เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ยังระบุว่าแม้อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ แต่การจ้างงานลดลงอย่างต่อเนื่องและค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง การประเมินว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 จะส่งผลให้แรงงานมีความเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้าง 8.4 ล้านคน ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าแรงงานในภาคการท่องเที่ยวซึ่งมีประมาณ 3.9 ล้านคน ไม่รวมสาขาการค้าส่งและการค้าปลีก จะได้รับผลกระทบจากการลดลงของนักท่องเที่ยวต่างชาติและการท่องเที่ยวในประเทศ ประมาณ 2.5 ล้านคน แรงงานในภาคอุตสาหกรรมซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าตั้งแต่ก่อน COVID-19 ระบาดและต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน จากการลดลงของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ แรงงานในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด 5.9 ล้านคน คาดว่ามีผู้ได้รับผลกระทบ 1.5 ล้านคน ขณะที่การจ้างงานในภาคบริการอื่นที่ไม่ใช่การท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ที่ประกอบด้วยการปิดสถานที่ต่างๆ

Read More