Home > CP (Page 3)

ซีพีคว้าไฮสปีดเทรน ปูทางผุด “สมาร์ทซิตี้”

หลังจากเจรจาทุบโต๊ะกันหลายรอบนานกว่า 4 เดือน ในที่สุด เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2562 คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน อนุมัติร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมลงทุนกับกลุ่มซีพี พร้อมเร่งเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทิ้งทวนภายในวันที่ 28 พฤษภาคม และลุยลงนามภายในวันที่ 15 มิถุนายน เพื่อผลักดันบิ๊กโปรเจกต์แสนล้านอย่างเร็วที่สุด โครงการดังกล่าวใช้รูปแบบการร่วมทุนกับเอกชน (PPP) มูลค่าการลงทุนรวม 224,544.36 ล้านบาท โดยรัฐสนับสนุนส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งกลุ่มซีพีในนามกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง และพันธมิตร อันได้แก่ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) China Railway

Read More

ซีพีรุกขยายพอร์ตพรีเมียม ถึงคิวลุยบุฟเฟ่ต์หรูหัวละพัน

เพียงเดือนเศษๆ หลังเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้ฤกษ์เผยโฉมภัตตาคารฮาร์เบอร์ (Harbour) สาขาแรกในประเทศไทย โดยนับเป็นสาขาที่ 10 ของโลก ในอภิมหาโครงการไอคอนสยาม เพื่อเปิดแนวรบใหม่ เจาะตลาดบุฟเฟต์อินเตอร์ระดับพรีเมียม ดูเหมือนว่าเกมธุรกิจทั้งหมดกำลังเดินตามแผนขยายหน้าร้านเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกกลุ่ม ทุกเซกเมนต์และทุกระดับรายได้ ชนิดทะลุเป้าหมาย ที่สำคัญ แบรนด์ “ฮาร์เบอร์” ถือเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่ซีพีต้องการชิมลางขยายฐานลูกค้ากลุ่มกระเป๋าหนักๆ โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติ ตามราคาบุฟเฟต์ที่กำหนดเรตเริ่มต้นคนละ 799++ ในมื้อกลางวัน และมื้อเย็นคิดราคา 899 ++ บาทต่อคน ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ 1,099++ บาทต่อคน ในพื้นที่ร่วม 2,000 ตารางเมตร ซึ่งสามารถรองรับลูกค้ารอบละ 450 ที่นั่ง หรือราว 1,000 ที่นั่งต่อวัน และถือเป็นภัตตาคารบุฟเฟต์ที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แน่นอนว่า หากภัตตาคารฮาร์เบอร์ ซึ่งถือเป็นร้านอาหารแบรนด์แรกที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เปิดตัวภายใต้แผนร่วมทุนกับไห่หลายกรุ๊ปไต้หวัน สามารถเจาะตลาดอย่างฉลุย นั่นย่อมหมายถึงการเดินหน้ารุกตลาดพรีเมียม

Read More

เซเว่น 4.0 เร่งปักหมุดแลนด์มาร์ก

เป้าหมายของยักษ์ใหญ่ “7-11” ไม่ใช่แค่การปูพรมสาขายึดพื้นที่ทุกจุดทั่วประเทศ ล่าสุดเดินหน้าสงครามรอบใหม่ผุดสาขาเต็มรูปแบบ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “เซเว่น 4.0” แห่งที่ 2 เจาะตลาดท่องเที่ยวเมืองพัทยา โดยประกาศเป็นแลนด์มาร์กจุดนัดพบของกลุ่มเป้าหมายชนิดที่คู่แข่งอย่าง “แฟมิลี่มาร์ท-ลอว์สัน” ต้องเร่งปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ ขณะเดียวกัน หากวัดจำนวนสาขาของผู้เล่น 5 อันดับแรก อันดับ 1 7-11 ล่าสุดมีสาขามากกว่า 10,300 แห่ง และตั้งเป้าหมายภายในปี 2563 จะเพิ่มสาขาให้ได้ถึง 13,000 สาขา รองลงมาเป็นโลตัส เอ็กซ์เพรส ประมาณ 1,500 สาขา แฟมิลี่มาร์ท กว่า 1,100 สาขา มินิบิ๊กซี 800 สาขา และลอว์สัน 120 สาขา แน่นอนว่า บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ผู้บริหารร้านสะดวกซื้อ “7-11” ในประเทศไทย

Read More

ดาวน์ทาวน์แวตรีฟันด์ ซีพีชนห้างยักษ์ ลุ้นผล 6 เดือน

แม้ “เคาน์เตอร์เซอร์วิส” ของกลุ่มซีพี สามารถคว้าสิทธิ์โครงการ แวตรีฟันด์ ชนิดตัดหน้ากลุ่มห้างยักษ์ที่เตรียมการมานานนับปี และดูเหมือนว่าการยื่นเรื่องอุทธรณ์กรมสรรพากรยังมีแนวโน้มไร้ผลเปลี่ยนแปลงใดๆ แต่การช่วงชิงยังไม่จบ โดยเฉพาะ 4 ยักษ์ค้าปลีกเตรียมเปิดศึกอีกรอบทันทีที่โครงการระยะทดลองนำร่อง  6 เดือนสิ้นสุดลง สำหรับโครงการ Vat Refund For Tourist ซึ่งกรมสรรพากรวางแผนทดลองนำร่องตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561-31 มีนาคม 2562 ตั้งเป้าเปิดจุดคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวต่างชาติภายในเมืองเหมือนประเทศญี่ปุ่น หรือ “ดาวน์ทาวน์แวตรีฟันด์” จากปกตินักท่องเที่ยวสามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 3 ช่องทางหลัก ช่องทางแรก ขอรับคืนที่สนามบินนานาชาติ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 10 แห่ง ประกอบด้วยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ อู่ตะเภา กระบี่ สมุย สุราษฎร์ธานี และแม่ฟ้าหลวงเชียงราย ช่องทางที่ 2 ใส่ในตู้รับคำร้อง ณ สำนักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวประจำท่าอากาศยานนานาชาติทุกแห่ง และช่องทางที่ 3 ส่งกรมสรรพากรทางไปรษณีย์

Read More

จาก “มิกซ์ยูส” ถึง “สมาร์ท ซิตี้” สมรภูมิใหม่ยักษ์อสังหาฯ

ถูกจับตาทันที เมื่อเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ประกาศเตรียมทุ่มเม็ดเงินหลายแสนล้านบาท ผุดโครงการเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City แห่งแรกของซีพี ในอำเภอแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่มากกว่า 10,000 ไร่ ที่สำคัญ แนวคิด “สมาร์ท ซิตี้” กำลังเป็นจุดขายใหม่ของกลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์ หลังจากช่วงก่อนหน้านี้พุ่งเป้าผลักดันเมกะโปรเจกต์สไตล์ “มิกซ์ยูส” โดยเฉพาะการเน้นเรื่องการจัดวางผังเมืองและระบบสาธารณูปโภคครบถ้วนในโครงการ เสริมบริการด้านต่างๆ ของเมือง เช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ศูนย์การค้า ภายใต้แผนยกระดับการพัฒนารับนวัตกรรมยุคดิจิทัล “ไทยแลนด์ 4.0” สำหรับไอเดียของธนินท์ เหตุที่เลือกจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นสถานที่แรก เพื่อทดลองการเชื่อมต่อกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) และอยู่ไม่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยจะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าในระบบรางเชื่อมต่อเข้ามายังสถานีมักกะสัน ให้เดินทางจากเมืองเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ภายใน 20 นาที รถไฟจะออกทุก 1 หรือ 2 นาที

Read More

CP-TCC ฮุบทำเลทอง สงครามมิกซ์ยูสเดือด

ตระกูลเจียรวนนท์กำลังเปิดเกมรุกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างเข้มข้น โดยเฉพาะ 3 โปรเจกต์มิกซ์ยูสที่เป็นหัวหอกหลัก ทั้งวิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน ย่านสุขุมวิท 101 โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ บนทำเลถนนบางนา-ตราด กม. 5-7 และล่าสุดเปิดตัวคอนโดมิเนียมมิกซ์ยูส (Mixed-use) แนวใหม่ รูปแบบไฮไรส์ครบวงจรระดับอัลตราลักชัวรี บนทำเลทองราคาแพงหูฉี่ “เดอะ สแตรนด์ ทองหล่อ” ของทายาท เจนที่ 4 ขณะเดียวกัน แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (MQDC) ของ ทิพาภรณ์ เจียรวนนท์ ลูกสาวเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ และ 1.6 ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งธัญทิพ เจียรวนนท์ หลานปู่ธนินท์ ลงเม็ดเงินถือหุ้นมากกว่า 70% ต่างมีทิศทางการลุยธุรกิจไม่แตกต่างกัน เน้นโครงการมิกซ์ยูส นวัตกรรมใหม่ แนวทางใหม่ และเทรนด์ใหม่ แมกโนเลียฯ มีโปรเจกต์ใหญ่ วิสซ์ดอม

Read More

ทายาทเศรษฐีเปิดศึกอสังหาฯ ซีพีหนุนเจเนอเรชั่น 4 ลุย

การเปิดตัวบริษัท 1.6 ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น ของทายาทรุ่นที่ 4 จาก 2 ตระกูลใหญ่ ธัญทิพ เจียรวนนท์ และชวิน อรรถกระวีสุนทร โดยประเดิมผุดโครงการคอนโดมิเนียมระดับลักชัวรีย่านทองหล่อ “เดอะ สแตรนด์” (The Strand) สะท้อนภาพคลื่นลูกใหม่ที่กำลังมาแรงสุดๆ ชนิดที่แนวรบอสังหาริมทรัพย์ระดับไฮเอนด์กลายเป็นสมรภูมิการแข่งขันของนักธุรกิจยุค “Start Up” อีกรูปแบบหนึ่ง การแข่งขันระหว่างกลุ่มทายาทจากตระกูลยักษ์ใหญ่ที่มีเงินทุนเต็มหน้าตักและพร้อมทุ่มเม็ดเงินช่วงชิงทำเลทองอย่างเต็มเหนี่ยว ไม่ว่าจะเป็น ปณต สิริวัฒนภักดี ลูกชายคนเล็กของเสี่ยเจริญ ที่เข้ามาลุยบิ๊กโปรเจ็กต์ “One Bangkok” ยึดทำเลทองหัวมุมถนนวิทยุตัดกับถนนพระราม 4 เนื้อที่ 104 ไร่ และทำลายสถิติเงินลงทุนสูงสุดมากกว่า 1.2 แสนล้านบาท โดยประกาศเป้าหมายสร้างแลนด์มาร์กระดับโลก ภายใต้ความร่วมมือระหว่างบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ท (ประเทศไทย) และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) บริษัทลูกของบริษัท เฟรเซอร์ส

Read More

แบงกิ้งเอเย่นต์-โมบายแบงกิ้ง จุดเปลี่ยนผ่านการเงินไทย?

การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการเงินไทย กำลังดำเนินไปด้วยอัตราเร่งอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นความพยายามที่จะก้าวไปสู่การเป็นสังคมไร้เงินสด การทำธุรกรรมดิจิทัลผ่านอุปกรณ์สื่อสารมือถือ การปรับลดจำนวนสาขา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเร่งลดทอนค่าใช้จ่าย และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจ้างงานและระบบการบริหารการบริการที่ดำเนินมาในช่วงก่อนหน้านี้ ตัวเลขที่น่าสนใจจากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่าผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 ธนาคารพาณิชย์ มีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมลดลงเป็นครั้งแรกในไตรมาสนี้ โดยปรับตัวลดลงร้อยละ11. 2 จากการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและโมบายแบงกิ้ง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ยังมีกำไรสุทธิ 5.7 หมื่นล้านบาท ขยายตัวขึ้นในอัตราร้อยละ 15.9 จากรายได้ดอกเบี้ยสินเชื่อเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ลดลงเป็นหลัก การแข่งขันกันของธนาคารพาณิชย์ด้วยการเปิดศึกยกเลิกการคิดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมดิจิทัลบนมือถือ ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้เมื่อสิ้นไตรมาส 2 ปี 2561 มีผู้ใช้บริการโอนเงินทางอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งและโมบายแบงกิ้งสูงถึง 224 ล้านรายการ หรือคิดเป็น 90% ของยอดการโอนเงินของลูกค้า ขณะที่อัตราการโอนเงินผ่านสาขามีเพียง 170,000 รายการ ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่น้อยมากหากนำมาเปรียบเทียบกัน การมาถึงของเทคโนโลยี ในด้านหนึ่งได้ส่งผลกระทบต่อกำไรของธนาคารพาณิชย์ และกำลังจะเป็นแรงผลักสำคัญต่อการพิจารณาปรับลดต้นทุนและการบริหารจัดการในระยะต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแย่งชิงและยึดกุมฐานลูกค้าในยุคสังคมไร้เงินสดให้มาทำธุรกรรมดิจิทัลผ่านมือถือที่กำลังทวีความเข้มข้น และกลายเป็นสมรภูมิการแข่งขันของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่มีความดุเดือดยิ่งขึ้น เพราะธุรกรรมดิจิทัลเหล่านี้ทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถติดตามพฤติกรรมต่อยอดบริการ และสร้างรายได้จากลูกค้ากลุ่มนี้ได้เต็มที่ ขณะเดียวกันพนักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ ที่ดูเหมือนจะมีบทบาทลดลงหลังจากที่ธุรกรรมจำนวนมากถูกปรับย้ายไปสู่แพลตฟอร์มมือถือ กลายเป็นกลุ่มคนที่กำลังได้รับผลกระทบจาก disruptive technology

Read More

นับถอยหลัง “ไอคอนสยาม” ศึกค้าปลีกโค้งน้ำเจ้าพระยา

นับถอยหลังอีกไม่กี่เดือน อภิมหาโครงการ “ไอคอนสยาม” ของกลุ่มร่วมทุน 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ คือ สยามพิวรรธน์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (ในเครือซีพี) จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ พร้อมๆ กับการเริ่มต้นลุยสมรภูมิค้าปลีกริมฝั่งน้ำเจ้าพระยาระลอกใหม่ที่มีทั้ง “เอเชียทีค” ของเจริญ สิริวัฒนภักดี และโครงการ “ล้ง 1919” ของกลุ่มตระกูลหวั่งหลี ที่ฉีกแนวเจาะกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบแนวศิลปวัฒนธรรมชนชาติจีน แน่นอนว่า โค้งน้ำเจ้าพระยากำลังจะพลิกโฉมอีกครั้ง ซึ่งหัวเรือใหญ่ไอคอนสยาม ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ ย้ำกับสื่อมาตลอดว่า ไอคอนสยามจะเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่สร้างเมืองแห่งความรุ่งโรจน์อันเป็นนิรันดร์ (The Icon of Eternal Prosperity) จุดประกายคุณค่าของแม่น้ำเจ้าพระยา 3 เรื่อง เรื่องแรก คือการสัญจรไปมาทุกระบบการขนส่ง สอง คือเรื่องเศรษฐกิจริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด และสาม คือการพัฒนาชุมชนรอบๆ โดยตั้งเป้าหมายดึงดูดผู้คนเข้ามาใช้ชีวิต ทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมกว่า

Read More

CP กับบทบาทแบงกิ้งเอเยนต์ พลิกภูมิทัศน์ใหม่การเงินไทย??

ข่าวการอนุญาตให้เครือข่ายร้านสะดวกซื้อ 7-11 สามารถขยายการให้บริการธุรกรรมทางการเงินในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากจะก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ครั้งใหม่ถึงการขยายแนวรุกเข้าครอบครองธุรกิจ และแผ่อิทธิพลครอบงำวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมไทยยิ่งขึ้นแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง ได้สะท้อนปรากฏการณ์ของการปรับตัวของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารพาณิชย์ไทย ที่ก่อนหน้านี้พยายามเร่งลดทอนค่าใช้จ่ายด้วยการทยอยปิดสาขาลง และหลายแห่งกำหนดแผนที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจ้างงานและระบบการบริหาร การบริการมาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดี ความคลาดเคลื่อนของการอนุญาตให้เครือข่ายร้านสะดวกซื้อ 7-11 สามารถให้บริการธุรกรรมทางการเงิน แม้จะไม่ใช่การให้ใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์หากแต่เป็นเพียงการเพิ่มสถานะการเป็นตัวแทนธนาคารพาณิชย์หรือ banking agent เพื่อทำหน้าที่แทนธนาคารพาณิชย์ได้ในบางธุรกรรม เช่น รับฝากเงิน รับชำระเงิน จ่ายค่าบริการ ก็ดูจะเป็นอีกก้าวที่เพียงพอให้เครือข่ายร้านสะดวกซื้อ 7-11 มีความได้เปรียบคู่แข่งขันไปอีกไกลพอสมควร และเป็นจังหวะก้าวที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าอาจมีผลต่อการขยับขยายธุรกิจของ 7-11 ในอนาคต รูปแบบธุรกิจที่ก้าวจากการเป็นร้านสะดวกซื้อ ขยายไปสู่ธุรกิจธนาคารในนาม Seven Bank ที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ร่มธงของ Seven & I Holdings ซึ่งนับเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ 1 ใน 5 ของโลก ถูกหยิบยกขึ้นมาเปรียบเทียบกับจังหวะก้าวของ 7-11 ในประเทศไทย จนทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องออกมายืนยันว่ายังไม่มีนโยบายในการออกใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่แต่อย่างใด ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถแต่งตั้งตัวแทนธนาคารพาณิชย์ (banking agent) มาตั้งแต่ปี 2553

Read More