Home > สมาร์ทซิตี้

ม.สวนดุสิตพัฒนานวัตกรรมท่องเที่ยวอัจฉริยะ ดันสุพรรณบุรีสู่สมาร์ทซิตี้ท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ

กองทุน ววน.หนุนนักวิจัยม.สวนดุสิตดันสุพรรณบุรีสู่สมาร์ทซิตี้ด้วยนวัตกรรมระบบการท่องเที่ยวอัจฉริยะ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาชุมชนที่มีศักยภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเชื่อมต่อกับกทม.และอยุธยา เพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด-19 มุ่งเป้านักท่องเที่ยวกลุ่มอนุรักษ์ที่มีกำลังซื้อสูง รศ. ดร.พรรณี สวนเพลง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต หัวหน้าโครงการนวัตกรรมระบบการท่องเที่ยวอัจฉริยะส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี ภายใต้ทุนวิจัยพื้นฐานจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เปิดเผยว่า คณะวิจัยได้มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนสู่เมืองอัจฉริยะและรองรับสถานการณ์หลังโควิด-19 โดยประความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) และจังหวัดสุพรรณบุรี คัดเลือกชุมชนพร้อมเสนอขายเพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาชุมชนสู่การยกระดับการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวชุมชนคาร์บอนต่ำที่มีความพร้อมทั้งด้านคน รูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยว ประมาณ 30 ชุมชน เพื่อให้บริษัทนำเที่ยวไปเสนอขายนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มอนุรักษ์ที่มีกำลังซื้อสูง โดยจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับกรุงเทพฯ และพระนครศรีอยุธยา เพื่อส่งต่อการท่องเที่ยวรอบเมืองหลวงของประเทศไทย โครงการวิจัยได้ดึงศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอาหารและวิถีชีวิตมาเป็นจุดขายให้ชุมชนสามารถฟื้นตัวและปรับตัวในภาวะโควิด-19 ให้มีระบบจัดการที่ดี และเชื่อมต่อกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรซึ่งเป็นเศรษฐกิจหลักของจังหวัดสุพรรณบุรี โดยนำเสนอการท่องเที่ยวใหม่ ๆ เช่น นาแห้ว โรงเรือนอัจฉริยะของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอัจฉริยะ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการ ประกอบด้วย การท่องเที่ยวอัจฉริยะ มีแอปพลิเคชันแนะนำโปรแกรมท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวรายบุคคล และใช้ปัญญาประดิษฐ์มาช่วยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความสนใจของนักท่องเที่ยว เช่น รูปแบบการท่องเที่ยวที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวชุมชน เกษตร วัฒนธรรม วิถีธรรมชาติ งบประมาณ ระยะเวลา

Read More

“พลเอกประวิตร” นั่งหัวโต๊ะประชุมนัดแรก คณะกรรมการขับเคลื่อนสมาร์ทซิตี้ เร่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ พร้อมเดินหน้าดันเขตส่งเสริมสู่เมืองอัจฉริยะ

รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง นำทัพเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ครั้งที่ 1/2563 โดยเป็นการประชุมครั้งแรกประจำปี 2563 ร่วมหารือเดินหน้าขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะประเทศไทย เร่งพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะ รวมถึงเตรียมปรับแผนดำเนินงานให้ตรงตามนโยบายการพัฒนาประเทศมุ่งให้เกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal) พร้อมสานต่อความร่วมมือเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียนประจำปี 2563 ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เป็นประธานประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ครั้งที่ 1/2563 โดยมี นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า พร้อมทีมงานจากฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ดีป้า รวมถึงผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุมรับทราบเกี่ยวกับคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่ผ่านมา รวมถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานรายพื้นที่ ประกอบด้วย การประกาศเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะทั้ง 27 เขตทั่วประเทศ

Read More

ถอดรหัสผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมไอทีในระดับประเทศ จากเมกะเทรนด์ “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น” และ “สมาร์ทซิตี้”

“ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น” และ “สมาร์ทซิตี้” คือกระแสระดับเมกะเทรนด์ที่ทั่วโลกต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเราก็กำลังก้าวเข้าสู่โลกอันชาญฉลาดที่ทุกสิ่งเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ด้วยเทคโนโลยีไอซีที ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงต้องปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการทำงานในองค์กร พัฒนาเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง แต่อะไรคือความหมายที่แท้จริงของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นและสมาร์ทซิตี้ เมกะเทรนด์เหล่านี้จะส่งผลต่อสังคมอย่างไร และที่สำคัญที่สุดคือประเทศไทยมีความพร้อมแค่ไหนกับเมกะเทรนด์ดังกล่าว นายเอ็ดวิน เดียนเดอร์ หัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น และรองประธานธุรกิจภาครัฐกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ได้ให้ข้อมูลไว้ในโอกาสที่มาร่วมเวทีงาน Digital Thailand Big Bang 2019 ในหัวข้อ “องค์ความรู้อันก้าวหน้า – รากฐานของโลกดิจิทัล” เพื่อถอดรหัสว่าภาพรวมของอุตสาหกรรมไอซีทีของไทยและของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในอนาคตอันใกล้นี้ อะไรคือ “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น” ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นไม่ใช่แพลตฟอร์มไอที แต่คือเมกะเทรนด์ที่เป็นแนวคิด เป็นไอเดียที่จะช่วยให้องค์กร รัฐบาล หรือแม้แต่ประเทศยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับตัวเองได้ หากมองภาพรวมของอุตสาหกรรมต่างๆ ในปัจจุบันนี้ เราจะเห็นว่ามีองค์กรจำนวนไม่น้อยที่แรกเริ่มไม่ได้มาจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับด้านดิจิทัล แต่ผันตัวเองมาเป็นบริษัทด้านดิจิทัลในภายหลัง ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ บริษัทหัวเว่ยที่หลังจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล บริษัทมีบุคลากรเพิ่มขึ้นมากกว่า 16,000 คนภายในเวลาไม่ถึง 5 ปี ซึ่งเรื่องนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากบริษัทไม่ตอบรับกับเทรนด์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ข้อมูลจากไอดีซีระบุว่า การลงทุนด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นทั่วโลกจะมีมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2563

Read More

ซีพีคว้าไฮสปีดเทรน ปูทางผุด “สมาร์ทซิตี้”

หลังจากเจรจาทุบโต๊ะกันหลายรอบนานกว่า 4 เดือน ในที่สุด เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2562 คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน อนุมัติร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมลงทุนกับกลุ่มซีพี พร้อมเร่งเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทิ้งทวนภายในวันที่ 28 พฤษภาคม และลุยลงนามภายในวันที่ 15 มิถุนายน เพื่อผลักดันบิ๊กโปรเจกต์แสนล้านอย่างเร็วที่สุด โครงการดังกล่าวใช้รูปแบบการร่วมทุนกับเอกชน (PPP) มูลค่าการลงทุนรวม 224,544.36 ล้านบาท โดยรัฐสนับสนุนส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งกลุ่มซีพีในนามกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง และพันธมิตร อันได้แก่ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) China Railway

Read More

แกร็บ รุกทริปแพลนเนอร์ “ซูเปอร์แอป” รับ “สมาร์ทซิตี้”

“แกร็บ (Grab)” ประกาศเร่งสปีดเดินหน้าแผน “ซูเปอร์แอป” รับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่จากยุคออฟไลน์สู่ “ออนไลน์” เต็มรูปแบบ เป้าหมายไม่ใช่แค่การเป็นแอปพลิเคชันที่เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คน ทั้งบริการเดินทาง บริการรับส่งอาหาร บริการขนส่ง บริการชำระเงินผ่านบัตร และบริการทางการเงินเท่านั้น แต่ต้องการเป็น “เบอร์ 1” ในทุกบริการ และปี 2562 ต้องเติบโตอย่างน้อย 1 เท่าจากปีก่อน ตามข้อมูลของแกร็บคุยไว้ว่า ปี 2561 แกร็บมีปริมาณธุรกรรมด้านส่งคน 100,000 เที่ยวต่อวัน ส่งอาหารกว่า 3 ล้านออร์เดอร์ ยอดส่งสินค้าเติบโตขึ้น 2 เท่า และเพียงไม่กี่เดือนในปี 2562 มียอดผู้โดยสารกว่า 200,000 เที่ยวต่อวัน และมียอดการจัดส่งอาหารกว่า 4 ล้านออร์เดอร์ ล่าสุด หลังจาก แกร็บ ประเทศไทย จับมือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงพหุภาคีพันธมิตรเมืองอัจฉริยะ (Smart City Alliance)

Read More