Home > Financial

แบงกิ้งเอเย่นต์-โมบายแบงกิ้ง จุดเปลี่ยนผ่านการเงินไทย?

การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการเงินไทย กำลังดำเนินไปด้วยอัตราเร่งอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นความพยายามที่จะก้าวไปสู่การเป็นสังคมไร้เงินสด การทำธุรกรรมดิจิทัลผ่านอุปกรณ์สื่อสารมือถือ การปรับลดจำนวนสาขา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเร่งลดทอนค่าใช้จ่าย และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจ้างงานและระบบการบริหารการบริการที่ดำเนินมาในช่วงก่อนหน้านี้ ตัวเลขที่น่าสนใจจากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่าผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 ธนาคารพาณิชย์ มีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมลดลงเป็นครั้งแรกในไตรมาสนี้ โดยปรับตัวลดลงร้อยละ11. 2 จากการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและโมบายแบงกิ้ง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ยังมีกำไรสุทธิ 5.7 หมื่นล้านบาท ขยายตัวขึ้นในอัตราร้อยละ 15.9 จากรายได้ดอกเบี้ยสินเชื่อเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ลดลงเป็นหลัก การแข่งขันกันของธนาคารพาณิชย์ด้วยการเปิดศึกยกเลิกการคิดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมดิจิทัลบนมือถือ ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้เมื่อสิ้นไตรมาส 2 ปี 2561 มีผู้ใช้บริการโอนเงินทางอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งและโมบายแบงกิ้งสูงถึง 224 ล้านรายการ หรือคิดเป็น 90% ของยอดการโอนเงินของลูกค้า ขณะที่อัตราการโอนเงินผ่านสาขามีเพียง 170,000 รายการ ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่น้อยมากหากนำมาเปรียบเทียบกัน การมาถึงของเทคโนโลยี ในด้านหนึ่งได้ส่งผลกระทบต่อกำไรของธนาคารพาณิชย์ และกำลังจะเป็นแรงผลักสำคัญต่อการพิจารณาปรับลดต้นทุนและการบริหารจัดการในระยะต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแย่งชิงและยึดกุมฐานลูกค้าในยุคสังคมไร้เงินสดให้มาทำธุรกรรมดิจิทัลผ่านมือถือที่กำลังทวีความเข้มข้น และกลายเป็นสมรภูมิการแข่งขันของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่มีความดุเดือดยิ่งขึ้น เพราะธุรกรรมดิจิทัลเหล่านี้ทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถติดตามพฤติกรรมต่อยอดบริการ และสร้างรายได้จากลูกค้ากลุ่มนี้ได้เต็มที่ ขณะเดียวกันพนักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ ที่ดูเหมือนจะมีบทบาทลดลงหลังจากที่ธุรกรรมจำนวนมากถูกปรับย้ายไปสู่แพลตฟอร์มมือถือ กลายเป็นกลุ่มคนที่กำลังได้รับผลกระทบจาก disruptive technology

Read More

ญี่ปุ่น ปรับกลยุทธ์ รุกหนัก ภาคการเงินไทย

 ราวกับเป็นความตั้งใจของบรรดาบรรษัทการเงินจากแดนซามูไร ที่พร้อมใจขับเคลื่อนก้าวย่างสำคัญเพื่อปักธงชัยในตลาดการเงินเมืองไทย ทั้งในภาคธุรกิจธนาคารและธุรกิจประกัน โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ เริ่มต้นจากมูฟเมนต์สำคัญของ “มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป” หรือ MUFG หลังจากเป็นข่าวฮือฮามานานหลายเดือน ในที่สุดเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา ก็ได้ข้อยุติเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่คนใหม่ของ BAY  คือ “แบงก์ ออฟ โตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ลิมิเต็ด” หรือ BTMU ธนาคารยักษ์ใหญ่อันดับต้นจากแดนปลาดิบ ซึ่งได้ซื้อหุ้น BAY จาก “จีอี แคปปิตอล” ที่ถืออยู่ 25.33% คนไทยส่วนใหญ่อาจไม่คุ้นเคยกับชื่อ “แบงก์ ออฟ โตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ลิมิเต็ด” แต่อันที่จริง BTMU ไม่ใช่ “คนแปลกหน้า” สำหรับวงการธนาคารในเมืองไทย เพราะ BTMU ได้เข้ามาเปิดสาขาในกรุงเทพฯ ตั้งแต่เมื่อ 50 กว่าปีก่อน

Read More