Home > ดัดแปลงพันธุกรรม

วังขนายจับมือคูโบต้า พัฒนาฟาร์มมิ่งไร่อ้อยอินทรีย์

 ท่ามกลางกระแสข่าว พ.ร.บ. ความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือ พ.ร.บ. จีเอ็มโอ ที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไปเมื่อช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์มากมายในแง่ของผลกระทบต่อเกษตรกร และกลุ่มธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก กระทั่งมีการรวมกลุ่มคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพราะเนื้อหาสำคัญของพระราชบัญญัติที่เปิดช่องให้เจ้าของจีเอ็มโอได้รับอนุญาตให้สามารถปล่อยพืชจีเอ็มโอสู่สิ่งแวดล้อมได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดตามมา ซึ่งพืชที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมไปถึงชีวิตเกษตรกรและเศรษฐกิจการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรของไทยอย่างไม่อาจประเมินค่าได้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้หน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบต่อภาคเกษตรของไทยพยายามอย่างหนักในการรณรงค์และสนับสนุนให้เกษตรกรของไทยหันมาปลูกพืชที่ใช้สารเคมีน้อยที่สุด หรือการทำเกษตรแบบอินทรีย์เพื่อป้องกันปัญหาดินเสื่อมและเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ แต่ในห้วงเวลานี้คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันกลับเห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในยุโรป แอฟริกา และเอเชียบางประเทศ ต่างออกมาต่อต้านพืชที่ถูกปรับแต่งพันธุกรรม เพราะตระหนักถึงผลเสียที่จะตามมา มากกว่าผลดีที่จะตกแก่นายทุนบางรายเท่านั้น กระนั้นยังมีความพยายามจากกลุ่มวังขนาย ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่อันดับต้นๆ ของไทย จับมือกับสยามคูโบต้าที่ถือได้ว่าเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดทำโครงการวังขนาย-คูโบต้า พลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการจะแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร และการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร เพราะโครงการดังกล่าวจะช่วยเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ปลูกอ้อยอินทรีย์ลดปัญหาด้านแรงงาน อีกทั้งยังสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตได้มากขึ้นถึงร้อยละ 30 ของปริมาณอ้อยทั้งหมด ปัจจุบันกลุ่มวังขนายผลิตน้ำตาลทรายเพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนการจัดจำหน่ายในประเทศ 30 เปอร์เซ็นต์ และส่งออกต่างประเทศ 70 เปอร์เซ็นต์ และสำหรับน้ำตาลออร์แกนิคกลุ่มวังขนายสามารถผลิตได้ถึง 15,000 ตัน แบ่งเป็นจำหน่ายในประเทศ 75 เปอร์เซ็นต์ และส่งออก 25 เปอร์เซ็นต์ โดยส่งออกไปยังทวีปเอเชีย ได้แก่ เกาหลีใต้ ฮ่องกง

Read More