Home > Rice

เวียดนามคู่แข่งไทยส่งออกข้าว รัฐต้องเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวสู้

ช่วงไตรมาสแรกของปีที่เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังอยู่ในขั้นวิกฤต สถานการณ์ส่งออกข้าวไทยในช่วงเวลานั้นมีสัญญาณเป็นไปในทางที่ดี ทั้งจากเวียดนามที่ต้องจำกัดการส่งออกข้าว มีการคาดการณ์ว่าไทยน่าจะได้รับอานิสงส์การส่งออกข้าวได้มากขึ้น ทว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี (ม.ค.-มิ.ย.) ตัวเลขที่แสดงออกมากลับให้ผลตรงกันข้าม เมื่อสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเปิดเผยยอดตัวเลขการส่งออกข้าว ว่าไทยทำได้เพียง 3.14 ล้านตัน ลดลง 32 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้ไทยถูกเบียดให้มายืนอยู่ในอันดับสาม รองจากอินเดียและเวียดนาม เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เมื่อไทยยังต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และวิกฤตโควิด-19 เริ่มคลี่คลายแม้จะยังไม่สิ้นสุด แต่สถานการณ์การส่งออกที่กลับมาดำเนินกิจการได้ ทำให้หลายฝ่ายพอจะมองเห็นสัญญาณในทางที่ดีว่าภาคการส่งออกน่าจะกลับมาเดินเครื่องและอาจช่วยให้ตัวเลขจีดีพีไทยไม่ติดลบมากนัก กระนั้นปัจจัยแวดล้อมด้านลบก็ยังไม่สิ้นสุด เมื่อไทยยังต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้งที่ส่งผลต่อภาคการเกษตร ผลผลิตทางการเกษตรลดลง เศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัวทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาดต่างชาติลดลงไปด้วย ขณะที่ค่าเงินบาทของไทยอยู่ในช่วงแข็งค่าที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าส่ง และประเด็นสำคัญคือ พันธุ์ข้าวไทยในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคแล้ว แม้ว่าผู้ส่งออกข้าวจะยอมรับว่าคู่แข่งสำคัญในตลาดค้าข้าวโลกคือ ประเทศอินเดีย ทว่า ในระยะหลังกลุ่มผู้ส่งออกข้าวต้องรับมือกับคู่แข่งที่เหมือนจะเป็นม้ามืดในวงการนี้ คือ เวียดนาม ที่มุ่งมั่นพัฒนาพันธุ์ข้าวมาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีเป้าหมายอยู่แค่เป็นผู้ส่งออกข้าวไปยังตลาดโลกเป็นอันดับต้นๆ เท่านั้น แต่พัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดค้าข้าวจากเจ้าตลาดเดิมให้ได้ มีบทความที่เผยแพร่โดย BIOTHAI ว่า เวียดนามพัฒนาข้าวสายพันธุ์ ST25 จนกลายเป็นข้าวสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก จากการประกวดระหว่างการประชุมข้าวโลกเมื่อปี 2019 ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเกิดจากการสนับสนุนการวิจัยโดยหน่วยงานวิจัยของรัฐในระดับจังหวัดของรัฐบาลเวียดนามเป็นสำคัญ และ Ho Quang Cua ซึ่งเป็นรองผู้อำนวยการเกษตรและพัฒนาชนบทของจังหวัด

Read More

“ออมสุข” ต่อยอดโรงเรียนชาวนา พลิกชีวิต อยู่รอด อยู่ได้ อยู่ดี

  การจับมือกันระหว่างบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กับมูลนิธิพุทธเศรษฐศาสตร์ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) จัดตั้ง บริษัท ออมสุข วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจซื้อสินค้าเกษตร ข้าว และพืชอินทรีย์อื่นๆ น่าจะเป็นก้าวย่างสำคัญของบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ ในฐานะภาคเอกชนที่ผลักดันให้เกิดบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise อย่างเต็มรูปแบบ  เป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมเกษตรกรทางภาคเหนือที่ปลูกข้าวและทำเกษตรอินทรีย์ สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน สร้างงาน สร้างรายได้ให้เกษตรกร สามารถพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม ดูแลธรรมชาติ ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศา และช่วยบรรเทาภัยพิบัติจากธรรมชาติ แน่นอนว่า เมื่อบริษัทเอกชนรายใหญ่อย่าง “บางจาก” เข้ามาสนับสนุนทั้งเงินทุนและช่องทางต่างๆ โดยเริ่มต้นทุนจดทะเบียนก้อนแรก 10 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างบางจากและมูลนิธิพุทธเศรษฐศาสตร์ 40 : 60 ย่อมหมายถึงโอกาสและความเป็นไปได้สูงขึ้น หลังจากมูลนิธิพุทธเศรษฐศาสตร์เข้าไปบุกเบิกแนวทางเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงรายเมื่อ 7 ปีก่อนพร้อมๆ กับการก่อตั้งศูนย์วิปัสสนาสากล “ไร่เชิญตะวัน” ท่าน ว.วชิรเมธี เคยกล่าวในธรรมบรรยายครั้งหนึ่งว่า

Read More

“ไทยฮา” เร่งฟื้นสภาพ หวังข้าวหอมมะลิช่วย

 “ข้าวหอมมะลิ จะมีเชฟเหมือนสาวๆ  ข้าวหอมมะลิที่ดี จะขาว มีกลิ่นหอม เวลาทาน จะหนึบๆ หัวใจของข้าวหอมมะลิ คือหอม ขาว นุ่ม และทานอร่อย ในขณะที่ข้าวกล้องหอมมะลิก็จะเพิ่มคุณประโยชน์ โดยมีวิตามินบี 2 และไฟเบอร์สูง” คำกล่าวของสมฤกษ์ ตั้งพิรุฬธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไทยฮา จำกัด (มหาชน) ในงานเปิดตัวข้าวล็อตใหม่ออกลุยตลาด ด้วยแคมเปญ ข้าวตราเกษตร ข้าวที่มีคุณค่า มีหัวใจ   ในขณะที่เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ไทยฮาประสบปัญหาขาดทุนจากสถานการณ์หลายอย่าง ไม่ว่าจากภาวะน้ำท่วม ค่าแรงที่ปรับตัวสูงขึ้น และอีกหนี่งปัจจัย ที่ถือว่าก่อให้เกิดผลกระทบที่สำคัญ คือโครงการรับจำนำข้าว ที่ส่งผลกระทบค่อนข้างมาก จากปริมาณข้าวในตลาดมีน้อยลง ความต้องการของตลาดโลกก็มีน้อย ในขณะที่โครงการนี้ บริษัทฯ ต้องซื้อข้าวในราคาของภาครัฐ แต่ต้องขายในราคาตลาด ส่งผลให้ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯ ต้องรับภาระการขาดทุนเกือบ 2,000 ล้านบาท  หลังจากที่บริษัทฯ ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ที่ยอดขายลดลง

Read More