Home > กาแฟมีวนา

กาแฟ “มีวนา” บนความยั่งยืนของป่าต้นน้ำ

  ประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสาเหตุหลักๆ มาจากสองปัจจัย คือ หนึ่งปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น การหมุนรอบตัวเองของโลกและรอบดวงอาทิตย์ การเปลี่ยนแปลงของพลังงานจากดวงอาทิตย์ การระเบิดของภูเขาไฟ และสอง ปัจจัยจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การตัดไม้ทำลายป่า เมื่อความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นทุกๆ ปีตามอัตราการเติบโตของจำนวนประชากร อีกทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เหล่านี้เป็นสาเหตุหลักที่เข้ามาทำลายสมดุลทางธรรมชาติ อันเป็นแหล่งผลิตก๊าซออกซิเจนและยังเป็นตัวช่วยในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกทำให้โลกร้อนขึ้น แม้ว่าหลายประเทศจะตระหนักรู้ถึงต้นเหตุของปัญหาและกำลังระดมสรรพกำลังเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน หรืออย่างน้อยที่สุดคือการบรรเทาเพื่อชะลอวิกฤตที่อาจเกิดตามมาในอนาคต ทั้งการปลุกและปลูกจิตสำนึกที่ดีให้กับประชากรทุกช่วงวัยให้รับรู้และใส่ใจต่อเรื่องดังกล่าว กระนั้นหากเปรียบเทียบแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อลดภาวะโลกร้อนจากทุกๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คงไม่สามารถสร้างสมดุลในแนวบวกได้มากนัก เมื่อภาพสะท้อนจากนโยบายภาครัฐที่ฉายให้เห็นถึงความคาดหวังให้เกิดแรงกระเพื่อมทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยนโยบายต่างๆ ที่ยังคงปรากฏและดำเนินไปนั้น โดยส่วนใหญ่แสดงออกถึงความชัดเจนในเรื่องหวังผลให้เกิดการเติบโตและการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แสดงออกมาเป็นตัวเลขจีดีพีที่เป็นบวกเท่านั้น อย่างไรก็ตาม บรรดานักลงทุนที่ตัดสินใจตอบรับแรงหนุนนำจากภาครัฐและพร้อมที่จะหว่านเมล็ดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อรอให้ผลงอกเงยนั้น แม้จะเป็นความจริงที่การกระทำดังกล่าวช่วยให้เกิดการจ้างงาน รวมไปถึงกระตุ้นการจับจ่ายได้ส่วนหนึ่ง กระนั้นก็ยังคงเป็นธุรกิจที่ดำเนินกิจการไปในทิศทางที่หวังผลกำไรที่สามารถแบ่งเป็นเงินปันผลต่อหุ้นส่วนทางธุรกิจ มากกว่าที่จะคำนึงถึงผลประโยชน์ของชุมชนส่วนรวม นอกเหนือไปจากปัญหาความแปรปรวนในเรื่องสภาพอากาศที่ไทยจะต้องเผชิญแล้ว ปัญหาภัยแล้งที่กำลังเข้าขั้นวิกฤตอยู่ในขณะนี้ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยตรง เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและสินค้าส่งออกอันดับต้นๆ คือพืชผลทางการเกษตร  การขาดแคลนน้ำซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะปลูก ส่งผลให้ชาวนาบางส่วนต้องชะลอการทำนา รวมไปถึงสินค้าเกษตรที่ต้องปรับราคาสูงขึ้นเมื่อผลผลิตไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรทำให้เกิดสภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ตัวเลขการส่งออกในไตรมาสแรกถึงไตรมาสสองของปีนี้แทบจะไม่สามารถต้านทานแรงโน้มถ่วงของโลกได้เลย ซึ่งการส่งออกนับเป็นอีกฟันเฟืองที่สำคัญยิ่งของเศรษฐกิจไทย สภาวะภัยแล้งที่ไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้นั้น สาเหตุหนึ่งมาจากผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโญที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย และอาจส่งผลให้ปี 2559 ไทยต้องเจอกับวิกฤตการณ์ภัยแล้งรุนแรงเท่ากับที่เคยเกิดขึ้นในปี 2540 ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาการผันแปรของมวลน้ำจากมหาสมุทรอินเดียอาจจะบรรเทาภัยแล้งไปได้บ้าง แต่ก็เป็นเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้นที่พอจะช่วยได้ เพราะสถานการณ์น้ำฝนตามฤดูกาลในปี 2558 มีจำนวนน้อยมาก  นอกเหนือไปจากปรากฏการณ์เอลนิโญที่ส่งให้ไทยต้องพบกับวิกฤตภัยแล้งแล้ว การลดจำนวนลงของป่าไม้ในประเทศไทยน่าจะเป็นอีกปัญหาที่ถูกสั่งสมมาอย่างยาวนาน  จากข้อมูลสถิติการสำรวจพื้นที่ป่าไม้ของไทยนับจากปี

Read More