Home > วิกฤตโควิด

ท่องเที่ยวลุ้น 2 เดือนผ่านฉลุย กรุยทางรายได้ 1 ล้านล้าน

ธุรกิจท่องเที่ยวเร่งนับถอยหลังการเปิดประเทศแบบไม่ต้องกักตัว ดีเดย์ 1 พฤศจิกายนนี้ หวังพลิกฟื้นสถานการณ์หลังเจอวิกฤตโควิดแพร่ระบาดยาวนานกว่า 3 ปี สูญเม็ดเงินรายได้หลายแสนล้านบาท และต้องถือเป็น 2 เดือนสุดท้ายของปีก่อนเข้าสู่เทศกาลเคานต์ดาวน์และปีใหม่ หากทุกอย่างผ่านฉลุยพร้อมๆ กับยอดผู้ติดเชื้อลดลงต่อเนื่อง นักท่องเที่ยวทั้งไทย-เทศ มีความมั่นใจกับมาตรการด้านสาธารณสุขบวกกับแผนกระตุ้นต่างๆ โดยเฉพาะแผนการทาบทาม ลิซ่า แบล็คพิงก์ และอันเดรอา โบเชลลี ร่วมงานเคานต์ดาวน์ปีใหม่ 2022 เพื่อปลุกกระแสครั้งใหญ่ นั่นย่อมหมายถึงการกลับมาเติบโตอย่างมั่นคงได้อีกครั้ง โดยเฉพาะเม็ดเงินรายได้จากกลุ่มทัวร์ต่างชาติ ทั้งนี้ ตามแผนการเปิดประเทศโดยไม่ต้องกักตัว มีเงื่อนไขสำคัญ คือต้องได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม หรือครบโดส และมีหลักฐานผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ที่รับรองผลด้วยประเทศต้นทางไม่เกิน 72 ชั่วโมง และมีการตรวจหาเชื้ออีกครั้ง เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย หากผลเป็นลบ (negative) จะสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ โดยไม่ต้องกักตัว 14 วัน หรือ 7 วัน เหมือนในอดีต ขณะที่การเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่

Read More

อุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม ผู้อยู่รอดในยุคโควิดครองเมือง?

มาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาลที่มีหมุดหมายเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ให้ขยายวงกว้างมากเกินกว่าความสามารถของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะทานไหว ส่งผลโดยตรงต่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ มาตรการดังกล่าวคล้ายเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดความต้องการอาหารมากกว่าสถานการณ์ปกติ นอกจากนี้ ยังมีตัวแปรอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการกักตุนอาหารทั้งในแง่ของผู้ประกอบการร้านค้าขนาดเล็ก หรือประชาชน เช่น แรงงานภาคขนส่งจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว แต่แรงงานบางส่วนยังไม่ได้รับการจัดสรรวัคซีน หรือเกิดคลัสเตอร์ในกลุ่มแรงงานภาคการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อาจทำให้ผลผลิตมีจำนวนลดลง รวมถึงระยะเวลาในการขนส่งที่อาจล่าช้ากว่าเดิม ซึ่งจะทำให้การกระจายสินค้าไปในพื้นที่ยากลำบากมากขึ้น ศูนย์วิจัยธนาคารออมสินเคยวิเคราะห์แนวโน้มภาพรวมของผู้ประกอบการรายใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นจากการขยายตัวของความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการที่หลายประเทศประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารจากการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกไปประเทศคู่ค้าหลักขยายตัว โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป อาหารพร้อมรับประทานพร้อมปรุง ตลอดจนอาหารที่สามารถเก็บรักษาได้นาน เช่น ไก่สดแช่แข็ง ไก่แปรรูป อาหารทะเลกระป๋อง น้ำมันพืช บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่คาดว่ามูลค่าการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 น่าจะเติบโตดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก โดย 3 ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกอาหารและเครื่องดื่มไทยเติบโต คือ 1. เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว 2. การบริหารจัดการวัคซีนมีประสิทธิภาพ และ 3. การขาดแคลนแรงงานคลี่คลาย ทั้งนี้อาจมีปัจจัยที่ต้องติดตามทั้งราคาวัตถุดิบและค่าขนส่งที่มีแนวโน้มสูงต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ช่วงครึ่งหลังปี 2564 มูลค่าการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มของไทยน่าจะเติบโตราว 4.9 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน ส่งผลให้ภาพรวมปี 2564

Read More

จับตาขยาย “เคอร์ฟิว” จี้แผนรับมือเศรษฐกิจ Worst Case

2 สิงหาคม 2564 ครบกำหนดมาตรการเคอร์ฟิว 14 วัน หลังศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. สั่งบังคับใช้มาตรการล่าสุดในพื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด พร้อมๆ กับมาตรการคุมเข้มอีกหลายข้อเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา แต่ดูเหมือนตัวเลขต่างๆ ทั้งยอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตยังพุ่งสูงทำนิวไฮทุกวัน โดยเฉพาะยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแตะระดับ 20,000 คน ล่าสุด กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข คาดการณ์สถานการณ์การระบาด COVID-19 ของประเทศไทย ระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2564 พบว่า หากล็อกดาวน์ 1 เดือน จะสามารถชะลอจุดสูงสุดของการใช้ทรัพยากรถึงต้นเดือนตุลาคม แต่หากล็อกดาวน์ 2 เดือน ร่วมกับมาตรการกระจายวัคซีนในผู้สูงอายุได้ผลดีและดำเนินการได้รวดเร็ว คาดว่าในเวลาไม่เกิน 2 เดือน จะช่วยรักษาระดับการใช้เครื่องช่วยหายใจไม่เกิน 1,500 รายต่อวัน และชะลออุบัติการณ์การเสียชีวิตไม่เกิน 200 รายต่อวันไปจนถึงเดือนธันวาคม ดังนั้น

Read More

หนี้ครัวเรือนไทยพุ่งสูง เศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ประชาชนขาดสภาพคล่อง

บ่อยครั้งที่ “ผู้จัดการ 360 องศา” นำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่ไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตโควิด ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจภาพรวมเกินคำว่าถดถอยไปมาก ปี พ.ศ. 2564 ล่วงเลยมาเป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้ว ทว่าสถานการณ์ของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่ทุเลา ขณะที่รัฐบาลไทยต้องประกาศล็อกดาวน์อีกครั้ง และกลับไปใช้มาตรการที่เคยนำมาใช้เมื่อช่วงเดือนเมษายนของปีก่อน หลายฝ่ายคาดหวังว่า “เจ็บแต่จบ” ครั้งนี้จะเป็นของจริงเสียที ภาคเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงพิจารณาได้จากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือจีดีพี ที่ติดลบมาอย่างต่อเนื่องนับแต่ปีก่อนหน้า รวมไปถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคประชาชน ที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับ “หนี้ครัวเรือนไทย” ดูจะทำสถิติสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปีที่แล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยรายงานตัวเลขหนี้ครัวเรือนของปี 2563 โดยไตรมาส 1 หนี้ครัวเรือนไทยสูงถึง 80.1% ต่อจีดีพี ในเวลานั้น สำนักข่าวส่วนใหญ่พาดหัวไปในลักษณะเดียวกันว่า หนี้ครัวเรือนไทยสูงเป็นประวัติการณ์ แต่ใครจะรู้ว่าสถิติในครั้งนั้นจะถูกทำลายลงในไตรมาสต่อมา ด้วยตัวเลขหนี้ครัวเรือนไทยที่ยังคงพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยไตรมาส 2/2563 พุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ 83.8% ต่อจีดีพี ไตรมาส 3/2563 อยู่ที่ 86.8% ต่อจีดีพี และไตรมาส 4/2563 แตะ 89.3%

Read More

เซ็นทรัล วิลเลจ ยืนหยัดผู้นำ Luxury Outlet แห่งแรกของไทย ปรับตัว-รุกเร็ว ฝ่าวิกฤตโควิด

เซ็นทรัล วิลเลจ ยืนหยัดผู้นำ Luxury Outlet แห่งแรกของไทย เดินหน้าความสำเร็จต่อเนื่อง ปรับตัว-รุกเร็ว ฝ่าวิกฤตโควิดด้วย กลยุทธ์ Intensive Omnichannel ตอกย้ำตัวจริงเดสติเนชั่นของการ ช้อปปิ้งแบรนด์เนมของไทย บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหาร เซ็นทรัล วิลเลจ ลักชูรี่เอาท์เล็ตแห่งแรกของไทย ประกาศความสำเร็จ เดินหน้าฝ่าวิกฤตโควิด-19 ด้วยกลยุทธ์ Intensive Omnichannel ปรับตัวเร็ว รุกเร็ว พร้อมชูจุดแข็งด้วยสาขาของศูนย์การค้าเซ็นทรัลที่มีอยู่ทั่วประเทศ ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าทั้งใน-นอก Catchment ผ่านแคมเปญการตลาดต่อเนื่อง และกลับมาอีกครั้งกับแคมเปญลดครั้งใหญ่แห่งปี ‘Super Brand Grand Sale 2021’ ลดสูงสุด 90% กับแบรนด์ลักชูรี่ชั้นนำระดับโลกกว่า 220 แบรนด์ ช่วยกระตุ้นยอดขายและเพิ่มทราฟฟิกภายในศูนย์ฯ พร้อมเดินหน้าเศรษฐกิจประเทศ สะท้อนความเป็นผู้นำลักชูรี่ เอาท์เล็ตตัวจริงแห่งแรกในไทย ดร. ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่

Read More

จาก “ทัวร์วัคซีน” ถึง “ย้ายประเทศ” ภาพสะท้อนความตกต่ำสังคมไทย?

กระแสข่าวว่าด้วยการเสนอจัดการท่องเที่ยวเดินทางไปต่างประเทศเพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาด COVID-19 ที่เกิดขึ้นในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งนอกจากจะเป็นความพยายามของผู้ประกอบการในการดิ้นรนและปรับตัวเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจโดยอาศัยจังหวะโอกาสและช่องว่างว่าด้วยการจัดสรรวัคซีนที่ดำเนินอยู่ในต่างประเทศแล้ว ในอีกมิติหนึ่งได้สะท้อนความล้มเหลวของการจัดหาและจัดสรรวัคซีนในประเทศไทยอย่างชัดเจน ซึ่งกำลังกลายเป็นประเด็นที่สั่นคลอนความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการบริหารจัดการของกลไกรัฐอย่างหนักหน่วง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ “วัคซีน COVID-19” ได้รับการประเมินว่าเป็นทางรอดสำคัญสำหรับผู้คนจำนวนมากทั่วโลก ความล่าช้าหรือการเข้าถึงการฉีดวัคซีนที่ยากในบางประเทศ จึงทำให้มีหลายคนมองหาลู่ทางในการฉีดวัคซีนนอกเหนือจากที่มีอยู่ในประเทศ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับความต้องการของบางประเทศ ที่ต้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ด้วยการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและวัคซีน COVID-19 ที่มีอยู่ในประเทศ ในฐานะที่เป็นดีลที่สมประโยชน์ (win-win) ทั้งสองฝ่าย กรณีการกระตุ้นการท่องเที่ยวควบคู่กับการฉีดวัคซีนที่ชัดเจนที่สุดกรณีหนึ่ง ดูจะเป็นยุทธศาสตร์ของ มัลดีฟส์ ที่ริเริ่มการฉีดวัคซีน COVID-19 ให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มมุ่งฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ภายใต้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “3V” ประกอบไปด้วย Visit (มาเยือน) - Vaccination (ฉีดวัคซีน) - Vacation (พักผ่อน) ซึ่งจะกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวกลับเข้ามาในมัลดีฟส์ ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ แนวความคิดที่จะนำวัคซีนมาฉีดให้ผู้มาเยือนเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวนี้ ดำเนินไปหลังจากที่มัลดีฟส์ฉีดวัคซีนให้ประชากรในประเทศไปแล้วประมาณ 300,000 คน หรือคิดเป็น ร้อยละ 55 ของประชากรทั้งประเทศ โดยวัคซีนส่วนใหญ่ที่มัลดีฟส์ได้รับเป็นการจัดสรรจากโครงการ COVAX หรือวัคซีนกองกลางที่หลายประเทศนำมาบริจาคไว้แจกจ่ายให้ประเทศที่ขาดศักยภาพในการแย่งชิงวัคซีน COVID-19

Read More

จับชีพจรตลาดอสังหาฯ ไทย หวัง “วัคซีนต้านไวรัส” ช่วยบรรเทาพิษโควิด-19

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกล่าสุด ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจไทยต่อเนื่อง แม้จะมีมาตรการจากภาครัฐมาช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจในช่วงปิดประเทศ ด้านตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวตามกำลังซื้อผู้บริโภค กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ยังคงมีความต้องการที่อยู่อาศัยแต่ไม่มีความพร้อมด้านการเงิน หวังความชัดเจนของแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตัวแปรสำคัญเข้ามาพลิกฟื้นความเชื่อมั่นและกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคให้กลับคืนมา ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 190 จุด จาก 197 จุด หรือลดลง 4% จากไตรมาสก่อน ถือเป็นดัชนีราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 15 ไตรมาส (นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2560) แม้เคยคาดการณ์ว่าตลาดอสังหาฯ จะมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ในปีนี้ แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ อย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้มีความเป็นไปได้ยาก คาดว่าตลาดจะมีทิศทางเติบโตอีกครั้งเมื่อภาครัฐสามารถควบคุมการแพร่ระบาดฯ ได้ และมีการฉีดวัคซีนมากเพียงพอที่จะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศ นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า

Read More

พิษโควิดกลายพันธุ์ ตกงานพุ่งอีก หนี้ท่วม

แม้สถานการณ์โควิดรอบ 3 ยังไม่มีการใช้มาตรการล็อกดาวน์ 100% แต่การประกาศกฎเหล็กในบางจังหวัดบวกกับตัวเลขการแพร่ระบาดที่ยังมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นจากการกลายพันธุ์ กำลังส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างรุนแรง โดยเฉพาะจำนวนคนตกงานที่สะสมตั้งแต่ระลอกแรกและยืดเยื้อจนถึงวิกฤตครั้งล่าสุด ล่าสุด บริษัทหลายแห่งจำเป็นต้องงัดหลากหลายแผน เพื่อความอยู่รอด ตั้งแต่กดดันให้พนักงานเร่งทำยอดขายสร้างรายได้ ลดชั่วโมงการทำงานเพื่อลดค่าตอบแทน ไปจนถึงกำหนดเงื่อนไขเข้มงวด หากติดเชื้อโควิดต้องถูกพักงาน ไม่ได้รับเงินเดือน หรืออาจถึงขั้นไล่ออก หากพิสูจน์พบว่า เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง ไปสังสรรค์ ไปเที่ยวสถานบันเทิง อย่างเช่นกรณีเฟซบุ๊ก Thawichaya Tungsaharangsee ของนายทวิษย์ชญะ ตั้งสหะรังษี หรือแจ็ค รัสเซล นักแต่งเพลง เล่าเหตุการณ์ที่รุ่นน้องคนหนึ่งเป็นพนักงานบริษัทเอกชน บริษัทให้หยุดทำงานที่บ้าน หรือ Work from Home 2 สัปดาห์ และยินดีจ่ายค่าทำงานให้เต็มจำนวน โดยมีกติกาห้ามออกนอกบ้าน ถ้าไม่จำเป็น เช่น เที่ยวเตร่ ดื่ม สังสรรค์ เดินชอปปิ้ง แต่หยุดได้แค่ 3 วัน เขากับเพื่อนในบริษัทอีก 3 คน รวม 4

Read More

ตลาดบ้านป่วนหดตัว เบรกโครงการ ลุ้นกำลังซื้อรอบใหม่

วิกฤตโควิดที่ยังแพร่เชื้อไม่หยุดเริ่มทลายความหวังการฟื้นเศรษฐกิจปี 2564 โดยเฉพาะตลาดอสังหาริมทรัพย์ส่งสัญญาณการหดตัวชัดเจนจากตัวเลขการเปิดขายโครงการใหม่ช่วงไตรมาสแรกและมีแนวโน้มติดลบสูงขึ้น เนื่องจากต้องรอมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อรอบใหม่ การฟื้นตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติและการลุยกระจายวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่อย่างเร่งด่วนที่สุด ล่าสุด คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมธนาคารไทย ตัดสินใจปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 จากเดิม 1.5-3.5% เป็น 1.5- 3.0% ขึ้นอยู่กับการฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมายและมาตรการของรัฐที่มีขนาดกว่า 2 แสนล้านบาทจะเข้ามาเยียวยาเศรษฐกิจ แต่หากไม่มีเม็ดเงินดังกล่าว จีดีพีจะไม่ขยายตัวหรือเติบโต 0% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงสูงจากการระบาดระลอกใหม่ที่รวดเร็วและรุนแรง กระทบอุปสงค์ในประเทศ แม้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวชัดเจนขึ้นมากจะส่งผลดีต่อแนวโน้มส่งออกของไทยในระยะต่อไป ขณะเดียวกัน รัฐบาลเริ่มมีปัญหาด้านเสถียรภาพ เกิดความแตกแยกภายในพรรคร่วมรัฐบาล ทั้งพรรคภูมิใจไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ประชาชนเริ่มปลุกกระแสเรียกร้องให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยุบสภา ไปจนถึงกดดันให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลาออก ซึ่งหากการเปลี่ยนแปลงไม่ได้สะท้อนภาพลักษณ์ดีขึ้นย่อมกระทบต่อความเชื่อมั่น ทั้งในระดับประเทศและกับประชาชน สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดทำให้ทุกธุรกิจต่างอยู่ในภาวะ Wait and See ลุ้นมาตรการใหม่จากทางการ หวังกำลังซื้อและการพลิกฟื้นรอบใหม่

Read More

ใครบ้าง ติดโควิด-19 เสี่ยงถึงตาย

ขณะที่คนไทยและคนทั่วโลกยังต้องเผชิญกับวิกฤตโรคโควิด-19 ท่ามกลางความคาดหวังเรื่องวัคซีนที่จะช่วยให้สถานการณ์การระบาดจบลงโดยเร็ว แต่รู้หรือไม่ ยังมีภัยด้านสุขภาพที่รุนแรงและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในลำดับต้นๆ ของคนไทย นั่นคือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable Diseases) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ เช่น การรับประทานอาหารรสจัด ไขมันสูง การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ พักผ่อนน้อย มีความเครียดสูง ฯลฯ จากข้อมูลของหนังสือ “ThaiHealth WATCH 2021 จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2564” โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้รายงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค NCDs ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในแต่ละปี โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคอ้วน พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคอุบัติใหม่ และเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป ซึ่งรวมถึงโรคโควิด-19 ที่พบว่ามีความเสี่ยงอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า ที่น่ากังวลคือ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจาก 6 โรคกลุ่ม NCDs ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคอุดกั้นเรื้อรัง และโรคไตวายเรื้อรัง หากติดเชื้อโควิด-19 จะมีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

Read More