Home > วิกฤตโควิด (Page 2)

ออนไลน์พร้อมพรึ่บ ตื่นกระแสโควิดระลอก 2

ยักษ์ออนไลน์หลายค่ายต่างเตรียมพร้อมกลยุทธ์ลุยตลาดในปีหน้ารับพฤติกรรมนักชอปที่หันมาจับจ่ายผ่านช่องทางอี-คอมเมิร์ซมากขึ้นหลายเท่าตัว ไม่ใช่ New Normal ช่วงโควิด-19 ระบาดเท่านั้น แต่กลายเป็นวิถีชีวิต Now Normal ส่วนหนึ่งของผู้บริโภคยุคใหม่ไปเสียแล้ว ยิ่งล่าสุด หลายฝ่ายเริ่มหวั่นวิตกกับการแพร่ระบาดระลอกสอง หลังเกิดเหตุผู้ลักลอบเดินทางจากประเทศเมียนมากลับเข้าไทยพร้อมเชื้อไวรัสอันตราย ยิ่งตอกย้ำวิถีชีวิต Now Normal ของหลายๆ กิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัย ใช้เจลแอลกอฮอล์ การเว้นระยะห่าง และรวมถึงการจับจ่ายซื้อสินค้าออนไลน์ โดยคาดการณ์ว่า ตัวเลขตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในปี 2564 มีแนวโน้มพุ่งสูงมากจากปี 2563 ที่ประเมินไว้จะทะลุเป้าหมาย 220,000 ล้านบาท อัตราเติบโตกว่า 35% จากปี 2562 ที่มีมูลค่าประมาณ 163,300 ล้านบาท ภารดี สินธวณรงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) กล่าวว่า การเติบโตของอีคอมเมิร์ซก้าวกระโดดตลอด 8 ปีที่ผ่านมา และสถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวเร่งสปีดมากขึ้น โดยมีจำนวนลูกค้าใหม่เข้ามาใช้แพลตฟอร์มลาซาด้าเพิ่มขึ้นหลายล้านคน ภาคธุรกิจมีแบรนด์สินค้าและจำนวนผู้ขายเพิ่มขึ้นมากกว่า

Read More

ภาระหนี้ครัวเรือน แผลเรื้อรังสังคมไทย

ปัญหาว่าด้วยภาระหนี้ครัวเรือนของสังคมไทยเป็นประเด็นที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งติดตามมาด้วยภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลให้รายได้ของแต่ละครัวเรือนหดหาย ท่ามกลางค่าใช้จ่ายปกติและภาระหนี้ที่ยังดำรงอยู่ทำให้เกิดการสั่งสมของปัญหากลายเป็นบาดแผลที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ บาดแผลทางเศรษฐกิจของไทยที่เกิดขึ้นจากผลของการแพร่ระบาด COVID-19 นอกจากจะอยู่ที่ประเด็นว่าด้วยประสิทธิภาพของมาตรการภาครัฐแล้ว ข้อเท็จจริงว่าด้วยโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พึ่งพาสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวและการส่งออก ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำนวนมากต้องทยอยปิดหรือเลิกกิจการ ก่อให้เกิดการเลิกจ้างแรงงานจำนวนมาก และนำไปสู่ปัญหาการว่างงานติดตามมาอย่างไม่อาจเลี่ยง และจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศในอนาคต ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังจะต้องเผชิญกับบาดแผล จากปัญหาหนี้ครัวเรือนในระดับสูงที่ได้สะสมมาก่อนหน้า และกลายเป็นบาดแผลเรื้อรังที่ยังไม่ได้รับการรักษาเยียวยาอย่างจริงจัง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ ก็คือหนี้ครัวเรือนไม่ใช่ปัญหาใหม่ของเศรษฐกิจไทย เพราะก่อนการแพร่ระบาด COVID-19 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยก็อยู่ที่ระดับร้อยละ 80.2 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในบรรดากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอยู่แล้ว และเมื่อมีการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ในไตรมาสที่ 2 สัดส่วนของหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP จึงได้ปรับตัวสูงขึ้นไปสู่ระดับที่ร้อยละ 83.8 ซึ่งถือเป็นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในระดับสูงสุดของประเทศไทยเท่าที่เคยมีมา หลังจากเคยเร่งตัวต่อเนื่องในช่วงปี 2552 จนถึง 2558 จนไปสู่ระดับร้อยละ 81.2 ในไตรมาสที่ 4 ปี 2558 ก่อนจะปรับลดลงเล็กน้อยและค่อนข้างทรงตัวในช่วง 4

Read More

ไทยน้ำทิพย์ เดินหน้าปรับกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจเติบโตพร้อมพันธมิตรก้าวผ่านวิกฤตโควิด 19

บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โคคา-โคลา และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของโคคา-โคล่า ประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น แฟนต้า สไปรท์ มินิทเมด ชเวปส์ และน้ำดื่มน้ำทิพย์ ตอกย้ำความเป็นหนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ด้วยธุรกิจที่ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้อุตสาหกรรมโดยรวมชะลอตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยกลยุทธ์สำคัญที่ครอบคลุมทั้งด้าน ผลิตภัณฑ์ (Product) พันธมิตร (Partnership) และพนักงาน (People) โดยเป็นผลมาจากความสำเร็จของเครื่องดื่มสูตรไม่มีน้ำตาล และความมุ่งมั่นที่จะผลักดันการเติบโตร่วมกันไปพร้อมกับทุกฝ่าย แม้ในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความท้าทาย ผลิตภัณฑ์ในพอร์ตโฟลิโอของโคคา-โคล่า ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของไทยน้ำทิพย์ที่ยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเซกเมนต์เครื่องดื่มอัดลม ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 55.2 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้น 0.6 เปอร์เซ็นต์จากปีที่แล้ว โดยสำหรับตลาดน้ำดำ ไทยน้ำทิพย์สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดได้เพิ่มขึ้น 0.6 เปอร์เซ็นต์ มาอยู่ที่ 48.2 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ตลาดเครื่องดื่มไม่มีน้ำตาลก็ขยายตัวถึง 15.8 เปอร์เซ็นต์ โดยมี โค้ก สูตรไม่มีน้ำตาล

Read More

เชลล์ จัดเสวนา 2020 Shell Forum ส่งเสริมความร่วมมือ เพื่อการฟื้นฟูจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างยั่งยืน

บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด จัดงาน 2020 Shell Forum ซึ่งเป็นเวทีในการพูดคุย ระดมความคิด และความร่วมมือของผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญตลอดจนผู้นำทางความคิด จากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และอื่นๆ การรวมตัวมีจุดประสงค์เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการฟื้นฟูประเทศไทยจากสถานการณ์โควิด-19 และผลกระทบที่ตามมา ในมุมมองของการใช้พลังงาน การปรับตัวทางเศรษฐกิจ ตลอดจนถึงภาคสังคม ทั้งนี้ งานดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้ ปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “แม้โรคระบาดโควิด-19 อาจนำมาซึ่งความท้าทายหลายประการ แต่สำหรับเชลล์ ประเทศไทย เราต้องการปรับเปลี่ยนความท้าทายเหล่านั้นให้เป็นโอกาส เพื่อสร้างองค์รวมของการใช้พลังงานที่ยืนหยัดในปัจจุบัน และยั่งยืนต่อไปในอนาคตสำหรับประเทศไทย ภายในงานเสวนา 2020 Shell Forum นี้ เรามุ่งหวังที่จะร่วมกันระดมความคิดเพื่อนำไปสู่การลงมือปฏิบัติ ที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการดำเนินธุรกิจของเชลล์ ประเทศไทย ในฐานะ พันธมิตรที่ไว้วางใจได้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” ไฮไลท์ส่วนหนึ่งของงานเสวนา 2020 Shell Forum

Read More

เร่งระดมอัดฉีด ต่อลมหายใจ SMEs ไทย

สถานการณ์ความเป็นไปของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาด COVID-19 ดูจะยังอยู่ในภาวะที่ยากลำบากและได้รับผลกระทบต่อเนื่องอย่างหนัก โดยกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการภาคบริการทั้งธุรกิจบริการที่พักและธุรกิจบริการด้านอาหาร ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจบริการด้านศิลปะ ความบันเทิงและสันทนาการ ธุรกิจค้าปลีกส่ง และสาขาอุตสาหกรรม ผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าวส่งผลให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของ SMEs ไทย (SMEs GDP) ในไตรมาส 2 ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 17.2 มีมูลค่ารวม 1.44 ล้านล้านบาท สอดรับกับผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ SMEs ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งพบว่า ปัญหาที่ผู้ประกอบการ SMEs เผชิญอยู่มากที่สุดในห้วงปัจจุบันเป็นกรณีของยอดขายและลูกค้าที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากผลของการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ปัจจัยลบที่โหมกระหน่ำใส่ผู้ประกอบการ SMEs ในอีกด้านหนึ่งยังอยู่ที่ยอดการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกของผู้ประกอบการ SMEs ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ปรับตัวลดลงร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่ารวม 4.76 แสนล้านบาท ขณะที่ในปี 2562

Read More

ไร้สัญญาณบวก เศรษฐกิจไทยทรุดต่อเนื่อง

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยยังไร้สัญญาณบวก หลังจากที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้สร้างบาดแผลและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งปัญหาการปิดกิจการของธุรกิจและความเปราะบางในตลาดแรงงาน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคและความเสี่ยงสำคัญต่อการฟื้นตัวในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะการปิดกิจการที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มหดตัวในระดับสูงต่อเนื่อง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก่อนหน้านี้ก็คือในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาพบว่าอัตราว่างงานไทยเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 1.95 ซึ่งนับเป็นอัตราสูงที่สุดในรอบ 11 ปี และรายได้ของแรงงานที่ยังมีงานทำ ก็มีแนวโน้มหดตัวลงมาก จากชั่วโมงการทำงานที่ลดลงร้อยละ 11.5 จากช่วงปกติ และงานโอทีที่หายไป ขณะที่มีแรงงานที่ต้องหยุดงานชั่วคราวเพิ่มขึ้นสูงถึง 2.5 ล้านคน สะท้อนความอ่อนแอของตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นบาดแผลที่ต้องใช้เวลาในการเยียวยา หากการปิดกิจการและการว่างงานเพิ่มขึ้นและยืดเยื้อ ย่อมส่งผลกระทบต่อรายได้ การบริโภคและการลงทุน ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ แรงงานภาคบริการ ซึ่งสูญเสียตำแหน่งงาน หลังจากที่สถานประกอบการต้องปิดตัวลงหรือเลิกจ้างจากผลของการปิดเมือง และการจำกัดการเดินทาง ทำให้แรงงานกลุ่มนี้กลับไปสู่ภาคเกษตรสูงถึง 700,000 คน ซึ่งมีรายได้ต่ำกว่าเดิม และยังมีความเสี่ยงภัยแล้ง ขณะที่ข้อเรียกร้องที่จะให้รัฐเข้าไปดูแล ด้วยการเพิ่มศักยภาพการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ให้คนกลุ่มนี้ ดูจะเป็นกรณีที่ยากจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ มาตรการผ่อนคลายหลังการปิดเมือง รวมถึงมาตรการช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยกำลังส่งสัญญาณการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาส 2 (Bottomed out) หากแต่เมื่อกำลังจะสิ้นสุดไตรมาสที่ 3 กลับมีข้อเท็จจริงบ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอลง

Read More

อสังหาฯ ไทยจะฟื้นตัวอย่างไร เมื่อเศรษฐกิจไทยซบเซา

คงไม่ผิดที่บรรดาผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยมักจะแสดงทัศนะต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันด้วยความคาดหวัง ว่ายังพอมองเห็นทิศทางการฟื้นตัว พร้อมทั้งเปรยถึงแผนการของโครงการใหม่ที่จะเปิดตัวในอนาคตอันใกล้ เพราะทัศนะและแผนการดังกล่าวย่อมส่งผลต่อทิศทางการขึ้นลงของตัวเลขบนกระดานในห้องค้าหุ้น ซึ่งสร้างให้เกิดความเชื่อใจต่อบรรดานักลงทุน แม้ว่าจะมีโครงการใหม่ที่หลายค่ายเตรียมจะเปิดตัวในไม่ช้าไม่นาน ทว่า ทุกโครงการล้วนแล้วแต่ดำเนินไปด้วยความรอบคอบ และระแวดระวังต่อสภาพการณ์ในปัจจุบัน ก่อนหน้าที่ไวรัสโควิด-19 จะระบาดไปทั่วโลก การเติบโตของตลาดอสังหาฯ ไทยพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงในเวลาเพียงไม่กี่ปี ทั้งกระแสความเป็นไปของตลาดที่ส่งสัญญาณว่า มีชาวต่างชาติให้ความสนใจมองหาที่อยู่อาศัยในเมืองไทยเพิ่มขึ้น รวมไปถึงไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่เริ่มสร้างตัวด้วยโครงการบ้านหลังแรก หรือบ้านหลังที่สองสำหรับผู้สูงอายุ ส่งผลให้หลายฝ่ายแสดงความกังวลว่า ตลาดอสังหาฯ ไทยในห้วงยามนั้นจะเข้าสู่วิกฤตฟองสบู่หรือไม่ เมื่อความอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยเริ่มปรากฏชัดเจนขึ้น จากภาวะหนี้ครัวเรือนที่ค่อยๆ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทั่งอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญอุบัติขึ้นบนโลกใบนี้ และสร้างหายนะให้เกิดขึ้นในทุกแวดวง ไวรัสโควิด-19 สร้างแรงฉุดให้เกิดขึ้นจนทุกตลาดต้องหาทางรับมือ ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น แต่ต้องมองข้ามช็อตไปถึงการอยู่รอดด้วย ตลาดอสังหาฯ นับว่าเป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบรวดเร็วและรุนแรง ศูนย์วิเคราะห์วิจัยเศรษฐกิจหลายแห่งประเมินไปในทิศทางเดียวกันว่า อสังหาฯ ไทยอาจต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวให้กลับมาสู่สถานการณ์ปกติก่อนเกิดวิกฤตโควิดอย่างน้อย 2-3 ปี ธุรกิจอสังหาฯ ถูกยึดโยงกับกำลังซื้อของผู้บริโภค ในขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคผูกติดภาวะหนี้ครัวเรือน และความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ แน่นอนว่าเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ต้องเผชิญกับปัจจัยลบรอบด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 ในช่วง 5 เดือนแรก อัตราการจองซื้อที่อยู่อาศัยใหม่หดหัว 75 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยปรับลดลง 3.4 เปอร์เซ็นต์ สำหรับช่วงเวลาที่เหลือของครึ่งปีหลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ทิศทางการซื้อขายที่อยู่อาศัยในช่วงที่เหลือของปีน่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์

Read More

ระเฑียร ศรีมงคล เร่ง Re-engineering องค์กร นำ KTC ฝ่าวิกฤต

“วิกฤตครั้งนี้หนักกว่าวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 อาจจะหนักที่สุดในรุ่นอายุของเรา และที่สำคัญมันทำให้ธุรกิจบัตรเครดิตเปลี่ยนไปอย่างถาวร” ระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบัตรกรุงไทย (เคทีซี) กล่าวกับผู้จัดการ 360 องศา ถึงการระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อธุรกิจบัตรเครดิตอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจในวงกว้างและซึมลึกจนหลายฝ่ายมองว่าแรงสั่นสะเทือนครั้งนี้อาจจะกลายเป็นสึนามิทางเศรษฐกิจลูกใหญ่ที่สร้างความเสียหายไปทั่วโลก หลายธุรกิจที่ไม่สามารถทนต่อบาดแผลทางเศรษฐกิจครั้งนี้ได้ ต้องประกาศล้มละลายหรือปิดตัวลง แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจที่ยังอยู่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อนำพาองค์กรให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ เช่นเดียวกับบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “เคทีซี” ผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อ ซึ่งที่ผ่านมาสามารถสร้างผลกำไรนิวไฮมาได้ต่อเนื่องถึง 7 ปีซ้อน แต่วิกฤตโควิดครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อองค์กรไม่น้อยเช่นกัน ทำให้ต้องเร่ง Re-engineering องค์กร หากลยุทธ์ที่จะนำพาเคทีซีฝ่าวิกฤต โดยบาดเจ็บให้น้อยที่สุด รวมถึงต้องเตรียมรับมือกับโลกหลังวิกฤตโควิด-19 ที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จากการแพร่ระบาดของไวรัสและการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และภาคการใช้จ่ายของประชาชน ทำให้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเคทีซีและการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้ลดลง ยอดการใช้บัตรในเดือนเมษายน 2563 ลดลงถึง 40% โดยกระทบทุกเซกเมนต์ของธุรกิจ ทั้งการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร และโรงพยาบาลที่ได้รับผลกระทบเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจด้าน

Read More

เรียนออนไลน์ สะท้อนความเหลื่อมล้ำ หรือโอกาสของการศึกษาไทย?

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อชีวิตผู้คนเป็นวงกว้าง อีกทั้งยังฉายภาพความเหลื่อมล้ำในมิติต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในสังคมให้เห็นอย่างเด่นชัด ทั้งในแง่ของคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ รวมไปถึงการศึกษาอันเป็นฐานรากที่สำคัญของสังคม แต่อีกนัยหนึ่งก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริบทของการศึกษาของไทยด้วยเช่นกัน การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้รัฐบาลในหลายประเทศประกาศปิดสถานศึกษาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ มีผู้เรียนได้รับผลกระทบกว่า 1.5 พันล้านคน หรือมากกว่าร้อยละ 90 ของผู้เรียนทั้งหมด สำหรับประเทศไทยคณะรัฐมนตรีมีมติเลื่อนการเปิดเทอมออกไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 พร้อมปรับการเรียนการสอนจากออฟไลน์มาเป็นออนไลน์ในช่วงที่นักเรียนยังไม่สามารถไปเรียนที่โรงเรียนได้ตามปกติ เพื่อให้การเรียนรู้ไม่เกิดการชะงักงัน แต่ภาพการเรียนออนไลน์ที่เกิดขึ้น กลับเป็นไปบนความไม่พร้อมของทั้งบุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน เทคโนโลยี ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็น อีกทั้งยังสะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรให้เห็นเด่นชัด มีนักเรียนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงการเรียนการสอนรูปแบบใหม่นี้ได้ ข้อมูลที่น่าสนใจจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ระบุว่า ประเทศไทยมีข้อจำกัดในการเรียนทางไกลค่อนข้างสูง สัดส่วนของครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์และการเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัลอยู่ในระดับต่ำ ยิ่งไปกว่านั้นนักเรียนกว่า 8 หมื่นคน ยังอยู่ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เมื่อผนวกกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัส การจัดหาอุปกรณ์สื่อสารเพื่อให้ลูกหลานเข้าถึงการเรียนออนไลน์ได้จึงดูจะเป็นไปได้ยากยิ่ง มีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือในการจัดหาอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นและอินเทอร์เน็ตที่เพียงพอสำหรับนักเรียน รวมไปถึงการเร่งปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แม้ว่าโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อการศึกษาชนิดที่ต้องเร่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแล้ว แต่อีกนัยหนึ่งยังถือเป็นการเปิดโอกาสในการปรับตัวและพัฒนาระบบการศึกษาของไทยในอนาคตอีกด้วย การเรียนออนไลน์ซึ่งเป็นมาตรการที่ถูกนำมาใช้แก้ปัญหาในครั้งนี้ ได้กลายมาเป็นรูปแบบทางการศึกษาที่หลายฝ่ายเล็งเห็นความสำคัญและพยายามพัฒนานวัตกรรมขึ้นมารองรับ โดยที่จริงแล้วการเรียนออนไลน์นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เสียทีเดียว ที่ผ่านมาประเทศที่มีการศึกษาชั้นนำอย่างสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ยุโรป ต่างมีการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษา

Read More

โควิด-19 ซ้ำเติม ตลาดแรงงานไทยวิกฤต

ตลาดแรงงานไทยถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีความเปราะบางมากเป็นพิเศษ นั่นเพราะเมื่อใดก็ตามที่เกิดสภาวะวิกฤตกับเศรษฐกิจ แรงงานไทยที่แม้ไม่ใช่ด่านหน้าที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทว่ากลับเป็นกลุ่มที่ได้รับแรงปะทะเสมอ การเลิกจ้าง ตัวเลขการว่างงาน เป็นภาพสะท้อนทิศทางความเป็นไปที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ ไม่จำเพาะเจาะจงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น ตลาดแรงงานทั่วโลกก็เช่นกัน คล้ายกับว่าความมั่นคงของสถานภาพแรงงานจะดีร้าย ขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การเติบโตที่ลดลงของเศรษฐกิจไทยในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนหนึ่งทยอยปิดตัวลง อันนำมาสู่การเลิกจ้างแรงงาน ซึ่งตัวเลขการว่างงานในเดือนธันวาคม 2562 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยคือ มีผู้ว่างงานจำนวน 367,000 คน เพิ่มขึ้น 18,000 คน เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2561 ที่มีตัวเลขผู้ว่างงาน 349,000 คน บาดแผลของแรงงานทั้งในและนอกระบบจากสภาวะเศรษฐกิจซบเซายังไม่หายดี ภัยร้ายที่เสมือนคลื่นระลอกใหม่ ซัดเข้ามากระหน่ำซ้ำเติม กดหัวให้กราฟของผู้มีงานทำต่ำลง หากจะกล่าวว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเรื่องเหนือความคาดหมายก็ดูจะไม่แปลกนัก เพราะทั้งไทยและทั่วโลกต่างเคยเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคมาหลายต่อหลายครั้ง ทว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 กลับสร้างความเสียหายในระบบแตกต่างไปจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในครั้งก่อนๆ มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทำให้ระบบเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดถูกฟรีซไว้ชั่วคราว หลายอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องโดยตรง ภาคการบริการ ภาคธุรกิจ SMEs ตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดเล็ก หรือกลุ่มธุรกิจที่สายป่านไม่ยาว เป็นผลให้แรงงานที่อยู่ในกลุ่มนี้ต้องพบเจอกับความเสี่ยงอีกครั้ง ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (Economic Intelligence Center)

Read More