Content

อย่า! … พูดประโยคนี้กับคนกำลังลดความอ้วน

Column: Well – Being ถ้าพูดถึงบทสนทนาเกี่ยวกับน้ำหนักตัว การออกกำลังกาย และอาหาร ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเสี่ยงต่อความรู้สึกพอๆ กับการหลับตาเดินไต่เชือกที่อันตรายยิ่ง แค่พูดผิดเพียงประโยคเดียว อาจทำให้คุณถึงกับเสียหลักไปสู่ภาวะกระอักกระอ่วนใจและกลายเป็นการดูแคลนคู่สนทนาได้ แม้คำชมเชยที่เต็มไปด้วยความปรารถนาดีที่สุด หรือการตั้งคำถามที่ไม่ถูกกาลเทศะ ก็สามารถทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงอย่างรวดเร็ว เหนืออื่นใด สัมพันธภาพของเรากับสรีระของเราเป็นเรื่องซับซ้อน และผ่านการถักทอด้วยประสบการณ์ทั้งที่ดีและเลวมาแล้วมากมายเป็นเวลานานหลายปี คราวต่อไปถ้าคุณต้องพูดคุยกับใครสักคนที่อยู่ในระหว่างการลดน้ำหนักให้หลีกเลี่ยงคำพูดและคำถามที่จะนำเสนอต่อไปนี้ และทำตามคำแนะนำของนักจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งที่คุณจะพูดออกไปดังที่นำเสนอโดยนิตยสาร Prevention (1) “แค่กินให้น้อยลงและออกกำลังกายมากขึ้น” “ก่อนอื่นเลย ใครก็ตามที่กำลังพยายามลดน้ำหนักเคยได้ยินประโยคนี้มาแล้ว” ดร.จิม เคลเลอร์ นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและจิตวิทยาการลดความอ้วนอธิบาย แม้ว่าคุณจะมีเจตนาดี แต่คุณจำเป็นต้องวางตัวให้ดีอยู่เสมอ ไม่เคยเพียงแค่นั้น ประโยคนี้ดูเหมือนจะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ง่ายเกินไป ซึ่งจริงๆ แล้วสำหรับคนอีกมากมายที่ต้องการลดน้ำหนัก ถือเป็นงานหินอย่างแท้จริง เคลเลอร์เพิ่มเติมว่า “แน่นอน การกินให้ดีและเคลื่อนไหวมากขึ้นล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการลดน้ำหนัก แต่ผู้ที่ควบคุมอาหารส่วนใหญ่ต่างประสบปัญหาหิวมากขึ้นและระบบเผาผลาญทำงานช้าลง” ควรพูดอย่างไร “ประการแรก ให้ยอมรับความยากของสิ่งที่คนที่คุณรักตั้งเป้าหมายในการลดน้ำหนัก” เคลเลอร์แนะนำ จากนั้นให้กำลังใจพวกเขา บอกพวกเขาว่าคุณภูมิใจในตัวพวกเขาที่ตัดสินใจเริ่มเดินบนเส้นทางนี้ (2) “ยังเหลือน้ำหนักอีกเท่าไรที่เธอต้องลดให้ได้” ดูเหมือนคำถามนี้จะไม่มีพิษสงอะไร เพราะเน้นไปที่ตัวเลขบนตาชั่งเป็นหลัก ซึ่งมักทำให้คนที่คุณรักรู้สึกเหมือนประสบความล้มเหลว “ความสำเร็จในตัวเลขบนตาชั่งไม่เพียงเป็นความสำเร็จของคนที่พยายามลดน้ำหนักใฝ่หา เราจึงไม่ต้องการให้เน้นที่เรื่องนี้เพียงอย่างเดียว” เคลเลอร์อธิบาย ถ้าคุณมีวิถีชีวิตที่แข็งแกร่ง คุณอาจรู้สึกดีขึ้นแม้ตัวเลขบนตาชั่งจะไม่กระดิก อย่างไรก็ตาม ถ้าตัวเลขบนตาชั่งคือบทสรุปสุดท้ายของคุณ คุณจะไม่รู้สึกดีใจกับความสำเร็จด้านอื่นๆ เลย ควรพูดอย่างไร

Read More

จากเถ้าธุลีสู่ฝุ่นพิษ PM2.5 ภัยคุกคามต่อชีวิตประจำวัน

สถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนหรือที่เรียกขานกันในนามฝุ่นพิษ PM2.5 ที่มีค่าเกินมาตรฐานได้แปลงสภาพจากเรื่องเล็กน้อยกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ขยายตัวออกไปอย่างที่ยังไม่อาจหาบทสรุปสุดท้ายได้ว่าจะสิ้นสุดลงด้วยมาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีรูปธรรมในทางปฏิบัติจากกลไกภาครัฐได้อย่างไร ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาปัญหาฝุ่นพิษขนาดเล็กน้อยได้เข้าสู่การรับรู้ของสังคมไทยมาเป็นระยะและถูกทำให้มีฐานะเป็นมลภาวะที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลในช่วงหน้าแล้งโดยระบุว่าสาเหตุหลักเกิดจากปัญหาการเผาในที่โล่งแจ้งในกระบวนการผลิตของเกษตรกร ขณะที่กลไกภาครัฐนับตั้งแต่ยุคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในรัฐบาลประยุทธ์ 1 ได้เคยออกมาตรการแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 .ในฐานะที่เป็นวาระแห่งชาติ ที่ประกอบส่วนด้วยมาตรการระยะเร่งด่วน มาตรการระยะกลางและมาตรการระยะยาว หากแต่ดูเหมือนว่าคำสั่งของหัวหน้าคณะ คสช. การสั่งการของนายกรัฐมนตรีและมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในช่วงที่ผ่านมากลับไม่สามารถนำมาซึ่งการขับเคลื่อนเพื่อการแก้ไขปัญหาได้อย่างจริงจังและอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด มิหนำซ้ำสถานการณ์ฝุ่นพิษกลับทวีความรุนแรงจนคุกคามการดำเนินชีวิตปกติประจำวันของผู้คนในสังคมไทยในลักษณะที่แพร่กว้างและหนักหน่วงขึ้นอีกด้วย การตระหนักรู้ถึงปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 และความพยายามของกลไกภาครัฐในการแก้ไขปัญหาในช่วงที่ผ่านมาอาจเห็นได้จากการสั่งการของหัวหน้าคณะ คสช. นับตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปี 2561 ที่ระบุให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงกรุงเทพมหานคร เร่งดำเนินการควบคุมดูแลเพื่อบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหน่วยงานในฝ่ายตำรวจ ทหาร เร่งรัดกำหนดมาตรการเพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหามลภาวะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืนต่อไป ความยั่งยืนของการป้องกันและแก้ไขปัญหาภายหลังการสั่งการดังกล่าวนอกจากจะไม่ได้ช่วยบรรเทาสถานการณ์ให้เบาบางลงแล้ว ข้อเท็จจริงที่ปรากฏกลับกลายเป็นว่ารัฐต้องเร่งสั่งการเพิ่มเติมให้การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหามลภาวะดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วและให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติสากล โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชน รวมทั้งผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย ขณะเดียวกันในช่วงต้นปี 2562 ยังสั่งการให้กระทรวงพลังงานเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงคมนาคม กระทรวงศึกษาธิการ กรมประชาสัมพันธ์ เร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนใช้น้ำมันไบโอดีเซลเกรดพิเศษ B20 แทนน้ำมันดีเซลให้มากยิ่งขึ้นเพื่อลดภาวะการเกิดมลพิษและฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ รวมทั้งให้เร่งรัดจัดให้มีจุดบริการประชาชนในการปรับแต่งเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลให้สามารถรองรับน้ำมันไบโอดีเซลเกรดพิเศษ B20 ได้ พัฒนาการในการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5

Read More

แรงกดดันภาคอสังหาฯ ทำแบงก์ชาติผ่อนปรน LTV

มาตรการ LTV คือ ยาแรงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้โดยมุ่งหวังว่า จะเป็นการป้องปรามความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในระบบ โดยเฉพาะปัญหาทางการเงินของภาคครัวเรือน เมื่อแบงก์ชาติเล็งเห็นว่าการเกิดใหม่ของโครงการอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งจำนวนยูนิตที่ยังคงค้างอยู่ในตลาดยังไม่ถูกดูดซับออกไปเท่าที่ควร ทำให้ปริมาณที่อยู่อาศัยไทยเข้าสู่ภาวะล้นตลาด แม้การประกาศใช้หลักเกณฑ์ LTV (Loan-to-Value) ของแบงก์ชาติจะมีเหตุผลอันสมควรแล้วก็ตาม ทว่า ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 เดือน อสังหาฯ ภาคเอกชนต่างโอดครวญและเรียกร้องเป็นเสียงเดียวกัน ให้ภาครัฐผ่อนปรนหรือเลื่อนเวลาในการบังคับใช้มาตรการดังกล่าวออกไป โดยอ้างเหตุผลว่า มาตรการดังกล่าวจะเป็นต้นเหตุให้เศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอสังหาฯ เข้าสู่ภาวะชะลอตัว ซึ่งภาคอสังหาฯ มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทยไม่น้อย และจะทำให้ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยหรือบ้านหลังแรกเป็นไปได้ยากขึ้น เสียงเรียกร้องและข้อเสนอถูกส่งไปยังกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้พิจารณาถึงผลเสียที่จะตามมาในอนาคต ซึ่งน่าแปลกที่ภาคเอกชนไม่ได้เห็นหรือย้อนกลับมาพิจารณาความเป็นจริงที่ว่า จำนวนที่อยู่อาศัยในตลาดขณะนั้นมีปริมาณมากเกินความจำเป็นเพียงใด เพราะนักวิเคราะห์ด้านอสังหาฯ จำนวนไม่น้อยแสดงความเห็นต่อสถานการณ์ธุรกิจอสังหาฯ ในปัจจุบันว่า อสังหาฯ ไทยอยู่ในช่วงโอเวอร์ซัปพลายโดยเฉพาะที่อยู่อาศัยแนวตั้ง และการที่แบงก์ชาติมีมาตรการยาแรงเช่นนั้นถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาเชิงระบบที่เหมาะสมแล้ว ซึ่งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์เคยเปิดเผยภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปลายปี 2562 พบว่า มีที่อยู่อาศัยเหลือขายทั่วประเทศ 2.2 แสนหน่วย อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าภาครัฐจะทานต่อเสียงเรียกร้องของภาคเอกชนต่อไปอีกไม่ไหว เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนปรนหลักเกณฑ์ LTV ด้วยหวังว่าการอ่อนลงของแบงก์ชาติจะช่วยให้สถานการณ์ภาคอสังหาฯ ไทยฟื้นตัวได้ หลังจากที่มาตรการ LTV กลายเป็นตัวการสำคัญทำให้ธุรกิจอสังฯ หาซบเซาดังเช่นที่หลายฝ่ายเคยให้ความเห็น และแม้ว่าหลังจากใช้หลักเกณฑ์ LTV ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจะไม่ใช่ประชาชนที่ซื้อบ้านหลังแรก

Read More

ภาษีผ้าอนามัย

Column: Women in wonderland ช่วงปลายปี 2019 ที่ผ่านมา มีข่าวลือเรื่องการจัดเก็บภาษีผ้าอนามัยในอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งได้รับการยืนยันแล้วว่าไม่เป็นความจริง ในประเทศไทยนั้นผ้าอนามัยถูกจัดให้เป็นสินค้าควบคุมราคา หมายความว่าหากต้องการปรับราคา จะต้องแจ้งต่อกรมการค้าภายในล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน ผ้าอนามัยเป็นสินค้าควบคุมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 และยังจัดเก็บภาษีในอัตราปกติคือ 7% เหมือนสินค้าประเภทอื่นๆ ในตอนแรกที่มีข่าวว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราการเก็บภาษีผ้าอนามัย ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในสังคมอย่างมากว่าผ้าอนามัยจะกลายเป็นภาระหนักของผู้หญิง และบางคนอาจจะไม่สามารถหาซื้อผ้าอนามัยมาใช้ได้ หากว่ามีการปรับราคาขึ้นจริง BBC ไทยรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ผ้าอนามัยว่า เพื่อสุขอนามัยที่ดีจะต้องเปลี่ยนทุก 2-3 ชั่วโมง เฉลี่ยวันละประมาณ 7 แผ่น ประจำเดือนจะมาประมาณ 4-7 วัน ดังนั้นแต่ละเดือนจะใช้ผ้าอนามัยประมาณ 30 กว่าแผ่น คิดเป็นรายจ่ายประมาณ 2,160 บาทต่อปี จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าผู้หญิงทุกคนมีค่าใช้จ่ายในการใช้ผ้าอนามัยเป็นจำนวนไม่น้อยเลย ดังนั้น ภาครัฐจึงควรทำให้ผ้าอนามัยมีราคาถูกและทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ปัญหาการเข้าถึงผ้าอนามัยของผู้หญิงและเด็กหญิงนั้นเป็นปัญหาใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาด้วย เพราะประเทศเหล่านี้เก็บภาษีผ้าอนามัยเท่ากับภาษีแอลกอฮอล์และบุหรี่ และบางประเทศยังจัดผ้าอนามัยเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ทำให้มีราคาสูงมาก ผู้หญิงและเด็กหญิงหลายคนจึงไม่มีเงินเพียงพอที่จะหาซื้อผ้าอนามัยมาใช้ได้ ยกตัวอย่างประเทศอินเดีย ผ้าอนามัยถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จัดเก็บภาษีในอัตรา 12% ทำให้ผู้หญิงและเด็กหญิง 4

Read More

สหพัฒน์ดัน “โคเมเฮียว” จับตาฟองสบู่เศรษฐกิจ

เครือสหพัฒน์เดินหน้าตามเป้าหมาย ผุดแฟลกชิปสโตร์แบรนด์เนมมือสอง “โคเมเฮียว (Komehyo)” แห่งแรกในประเทศไทย หลังจากใช้เวลากว่า 5 ปี ศึกษาตลาดแบรนด์เนมมือสองและเจรจาจับมือยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น เพื่อขยายพอร์ตโฟลิโอสู่ธุรกิจรีเทลลักชัวรีที่สามารถปลุกปั้นอัตรากำไรแซงหน้าตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคมากกว่าเดิมได้อีกหลายเท่า ขณะเดียวกัน “โคเมเฮียว” ยังเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอว์ตามยุทธศาสตร์สำคัญในปี 2563 ที่กลุ่มตระกูลโชควัฒนาต้องการเร่งลงทุนและสร้างการเติบโตในธุรกิจใหม่ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจอาคารสำนักงาน โคเวิร์กกิ้งสเปซ ธุรกิจบริการด้านสุขภาพ และธุรกิจสเปเชียลตี้ สโตร์ คอนเซ็ปต์ใหม่ เพื่อขยายฐานลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงขึ้น ที่สำคัญ เส้นทางธุรกิจแบรนด์เนมมือสองและการเติบโตของโคเมเฮียวในประเทศญี่ปุ่นดูเหมือนกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทย แถมมีปัจจัยหนุนเรื่องการความนิยมในกลุ่มนักช้อปไทยและแบรนด์เนมยังถือเป็นช่องทางการลงทุนที่สามารถสร้างรายได้อย่างสวยงามด้วย ทั้งนี้ โคเมเฮียวมีจุดเริ่มต้นจากการเป็นร้านขายกิโมโนมือสองในเมืองนาโกยาของครอบครัวอิชิฮาระ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1947 เริ่มต้นจากห้องเสื้อผ้าเก่าเล็กๆ ขนาดเพียง 5 เสื่อ หรือประมาณ 16.5 ตารางเมตร ในช่วงนั้นความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่นดีขึ้น จึงมีกำลังซื้อและต้องการหาซื้อสิ่งของ เพื่อยกระดับความพึงพอใจในการใช้ชีวิตประจำวัน ร้านโคเมเฮียวจึงจัดหาเพิ่มสินค้าหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะพวกเครื่องประดับ นาฬิกา กล้องถ่ายรูป และเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในปี 1990 ลูกค้าประจำของร้านโคเมเฮียวจำเป็นต้องขายสินค้าแบรนด์เนมที่มีอยู่ เพื่อช่วยบรรเทาสภาพทางเศรษฐกิจในครัวเรือน ครอบครัวอิชิฮาระจึงตัดสินใจเริ่มต้นทำธุรกิจซื้อขายสินค้าแบรนด์เนมมือสองตั้งแต่นั้นมา เพื่อช่วยเหลือลูกค้าจนกลายเป็นปรัชญาการดำเนินธุรกิจในฐานะตัวกลางส่งผ่านสินค้าตามแนวคิด “Relay Use” ส่งต่อสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วไปให้กับบุคคลอื่นที่ยังต้องการ เพื่อนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพทำให้สิ่งของมีประโยชน์สูงสุด สามารถสร้างตลาดใหม่และรายได้เติบโตจนกลายเป็นผู้นำธุรกิจซื้อขายสินค้าแบรนด์เนม ปี

Read More

ระเบิดเศรษฐกิจปลุกผี หนี้นอกระบบฟื้นคืนชีพ

ผลพวงจากพิษเศรษฐกิจกำลังปลุกผีเจ้าหนี้นอกระบบฟื้นคืนชีพอย่างแข็งแกร่งอีกครั้ง แผ่นโฆษณาแปะติดทั่วเสาไฟฟ้าตามโรงงาน สะพานลอยและหว่านเจาะเข้าถึงหน้าประตูบ้านสะท้อนสัญญาณอันตราย จำนวนคนที่ตัดสินใจฆ่าตัวตายหนีหนี้ ตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่พุ่งกระฉูดต่อเนื่อง และที่สำคัญ ระเบิดเศรษฐกิจ 3 ลูกใหญ่ที่รัฐบาลยังแก้ไม่ตกกลายเป็นต้นตอที่สามารถก่อวิกฤตครั้งใหญ่ได้ทุกเมื่อ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนา “2020 ปีแห่งการลงทุน : ทางออกประเทศไทย” เมื่อปลายสัปดาห์ก่อน ยอมรับว่าประเทศไทยในขณะนี้ยังหาคำตอบที่เหมาะสมไม่ได้ เนื่องจากเจอพายุเป็นเหมือนระเบิดถล่มหนัก 3 ลูก ลูกแรกเป็นระเบิดเหนือน้ำ เรื่องการส่งออกที่ค่อยๆ ชะลอตัวลงจากสงครามการค้าสหรัฐฯ กับจีน ทำให้การส่งออกติดลบถึง 7.7% เมื่อเดือน พ.ย. 2562 เมื่อโลกสะเทือนจึงควบคุมไม่ได้เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยพึ่งพาส่งออกถึง 70% ของจีดีพี ระเบิดลูกที่ 2 อยู่ใต้น้ำและมีหลายลูก เช่น โครงการลงทุนขนาดใหญ่เคลื่อนตัวช้าเกินไป งบประมาณแผ่นดินล่าช้า ที่สำคัญงบลงทุนแทบใช้ไม่ได้ ล่าสุดมีการใช้จ่ายงบลงทุนเพียง 50,000 ล้านบาท ส่งผลให้งบประมาณที่เคยเป็นตัวขับเคลื่อนใหญ่ของประเทศหยุดชะงัก ระเบิดลูกที่ 3 ค่าเงินบาท เพราะไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่า เกิดจากโครงสร้างเศรษฐกิจไทย การส่งออกติดลบ ขณะที่การนำเข้าลดลงมากกว่า

Read More

อีซี่มันนี่-แคชเอ็กซ์เพรส รุกตลาดโรงตึ๊งแสนล้าน

โรงรับจำนำกลายเป็นธุรกิจโตสวนกระแส ยิ่งเศรษฐกิจฝืดเคือง ยิ่งพุ่งทะยาน ทำให้มีผู้เล่นในตลาดเพิ่มมากขึ้น เร่งขยายบริการหลากหลาย ปรับโฉมทันสมัยและงัดกลยุทธ์การตลาดดึงดูดทุกรูปแบบ เพื่อแข่งขันสร้างภาพลักษณ์การเป็นแหล่งเงินที่เข้าถึงง่ายที่สุด เมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์และบริษัทสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ โดยเฉพาะ 2 เจ้าใหญ่ “อีซี่มันนี่-แคชเอ็กซ์เพรส” ที่กำลังเปิดศึกแย่งชิงเม็ดเงินในตลาดที่หลายฝ่ายประเมินสูงเกือบแสนล้านบาท ต้องยอมรับว่า โรงรับจำนำ โรงตึ๊ง อยู่กับสังคมไทยมานาน เมื่อย้อนประวัติศาสตร์การจำนำมีมาตั้งแต่สมัยโบราณในรัชสมัยพระบรมโกศ กรุงศรีอยุธยา ตามพระราชกำหนดที่ออกในปี พ.ศ. 2234 ระบุให้การรับจำนำกระทำในเวลากลางวัน ให้จำนำกันแต่คนที่รู้จักกันดี ไม่ได้มีการตั้งโรงรับจำนำทั่วไป กระทั่งปี 2409 ชาวจีน ชื่อ ฮง แซ่เบ๊ ตั้งโรงรับจำนำแห่งแรกในประเทศไทย ย่านประตูผี ถนนบำรุงเมือง ชื่อร้านโรงรับจำนำย่องเซี้ยง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงรับจำนำสำราญราษฎร์” เริ่มแรกคิดดอกเบี้ยเพียง 1 เฟื้อง (12 .5 สตางค์) จากเงินต้น 1 ตำลึง (4 บาท) ปี 2411 มีการตราพระราชบัญญัติ กำหนดไม่ให้เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าชั่งละ 1

Read More

เคทีซีทำกำไรนิวไฮ 7 ปีต่อเนื่อง เตรียมปันผลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40

เคทีซีทำกำไรนิวไฮ 7 ปีต่อเนื่อง เตรียมปันผลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 เร่งปั๊มฐานสมาชิกและพอร์ตลูกหนี้ เดินหน้ากด NPL พร้อมรับมือ TFRS9 เคทีซีทุบสถิติใหม่ต่อเนื่อง 7 ปีซ้อน เปิดกำไรสุทธิปี 2562 ที่ 5,524 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.5% อัตราการเติบโตของยอดลูกหนี้บัตรเครดิตสูงสุดในรอบ 3 ปี คุมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ในอัตราต่ำต่อเนื่อง ประกาศเป้าหมายปี 2563 เติบโตคุณภาพทุกด้านอย่างยั่งยืน และพร้อมรับมาตรฐานการรายงานทางเงินฉบับที่9: เครื่องมือทางการเงิน (TFRS9) นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากสงครามการค้าระหว่างประเทศมหาอำนาจที่ยืดเยื้อในปี 2562 ได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งการปรับตัวของไทยเพื่อรับกับกระแสดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงกฎหมาย กฎเกณฑ์ต่างๆ ของภาครัฐที่เอื้อให้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ประโยชน์ เพื่อให้ประชาชนเกิดความสะดวกสบายต่อการใช้งาน ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการตลาดอย่างชัดเจน

Read More

สยาม ทาคาชิมายะ ฉลองเทศกาลตรุษจีนต้อนรับปีหนูทอง จัดเต็มโปรโมชั่นลดสูงสุดถึง 80% พร้อมรับสิทธิพิเศษเพิ่มความเฮง!

สยาม ทาคาชิมายะ ฉลองเทศกาลตรุษจีนต้อนรับปีหนูทอง จัดเต็มโปรโมชั่นลดสูงสุดถึง 80% พร้อมรับสิทธิพิเศษเพิ่มความเฮง! ตั้งแต่วันนี้ ถึง 2 ก.พ. ศกนี้ “สยาม ทาคาชิมายะ” ห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น ภายใต้คอนเซ็ปต์การผสมผสานที่สุดของห้างสรรพสินค้าในไทยและทาคาชิมายะของญี่ปุ่น ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนต้อนรับปีหนูทอง ด้วยแคมเปญโปรโมชั่นสุดยิ่งใหญ่ สยาม ทาคาชิมายะ ฟอร์จูน ไชนีส นิวเยียร์ 2020 มอบความสุขให้นักช้อปได้เพลิดเพลินกับสินค้าคุณภาพจากแบรนด์ดังด้วยโปรโมชั่นสุดพิเศษ ลดราคาสินค้าทุกชั้น ทุกแผนก สูงสุดถึง 80% พร้อมรับสิทธิพิเศษอีกหลายรายการเพิ่มความเฮง! ตั้งแต่วันนี้ ถึง 2 กุมภาพันธ์ ศกนี้ มร.คาซุโตะ ทานิคุฉิ กรรมการผู้จัดการ ห้างสรรพสินค้า สยาม ทาคาชิมายะ กล่าวว่า “ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ สยาม ทาคาชิมายะ ได้วางแผนจัดกิจกรรมทางการตลาดอย่างเต็มกำลัง เพื่อดึงลูกค้าเข้าใช้บริการและเพิ่มยอดการจับจ่ายสินค้าภายในห้างสรรพสินค้าสยาม ทาคาชิมายะ โดยเริ่มแคมเปญโปรโมชั่นแรกในไตรมาสแรก คือ เทศกาลเฉลิมฉลองตรุษจีนที่อยู่ในช่วงปลายเดือนมกราคมนี้ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเทศกาลสำคัญของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน คาดว่าจะเป็นช่วงที่มีการจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค

Read More

สตาร์บัคส์จับมือฟู้ดแพนด้า ส่งตรง “สตาร์บัคส์” ถึงบ้าน

สตาร์บัคส์ ร่วมกับ ฟู้ดแพนด้า ขยายฐานการส่งตรง “ประสบการณ์สตาร์บัคส์” ถึงบ้านคุณแล้ววันนี้ สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) ร่วมกับ ฟู้ดแพนด้า (foodpanda) บริการสั่งอาหารและเครื่องดื่มออนไลน์เจ้าแรกที่ครอบคลุมพื้นที่จัดส่งมากที่สุดในประเทศไทย เปิดให้บริการเดลิเวอรี่อย่างเป็นทางการ เพื่อส่งมอบ “ประสบการณ์สตาร์บัคส์” ให้กับลูกค้าในกลุ่มที่กว้างขึ้น และตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคสมัยใหม่ที่ยังคงมองหาความสะดวกสบาย ซึ่งรวมถึงเทรนด์การสั่งอาหารออนไลน์ที่สะดวกรวดเร็ว ตั้งแต่วันนี้ลูกค้าสามารถสั่งเครื่องดื่มแก้วโปรดจากร้านสตาร์บัคส์ 146 สาขา ทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดสำคัญต่างๆ ของไทยที่ฟู้ดแพนด้าเปิดให้บริการ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น foodpanda ทั้งระบบ iOS และ Android บนมือถือ หรือเข้าเว็บไซต์ www.foodpanda.co.th ได้อย่างสะดวกรวดเร็วทุกช่องทาง คุณเนตรนภา ศรีสมัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “สตาร์บัคส์มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ ฟู้ดแพนด้า ในการขยายฐานการส่งเครื่องดื่มแก้วโปรดคุณภาพเยี่ยมจากสตาร์บัคส์สู่ลูกค้าในประเทศไทย ที่นิยมการสั่งเครื่องดื่มและอาหารบนแพลตฟอร์มออนไลน์มากยิ่งขึ้น ฟู้ดแพนด้า ผู้บุกเบิกแอพพลิเคชั่นด้านฟู้ดดิลิเวอรี่ จะช่วยให้เราสามารถขยายฐานการส่งตรงเครื่อมดื่มสตาร์บัคส์แก้วโปรดสู่ลูกค้าในปัจจุบัน ที่ต่างมองหาความสะดวกสบายและความรวดเร็ว ทั้งในด้านการให้บริการจัดส่งและการชำระเงิน

Read More