Home > การลดน้ำหนัก

อย่า! … พูดประโยคนี้กับคนกำลังลดความอ้วน

Column: Well – Being ถ้าพูดถึงบทสนทนาเกี่ยวกับน้ำหนักตัว การออกกำลังกาย และอาหาร ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเสี่ยงต่อความรู้สึกพอๆ กับการหลับตาเดินไต่เชือกที่อันตรายยิ่ง แค่พูดผิดเพียงประโยคเดียว อาจทำให้คุณถึงกับเสียหลักไปสู่ภาวะกระอักกระอ่วนใจและกลายเป็นการดูแคลนคู่สนทนาได้ แม้คำชมเชยที่เต็มไปด้วยความปรารถนาดีที่สุด หรือการตั้งคำถามที่ไม่ถูกกาลเทศะ ก็สามารถทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงอย่างรวดเร็ว เหนืออื่นใด สัมพันธภาพของเรากับสรีระของเราเป็นเรื่องซับซ้อน และผ่านการถักทอด้วยประสบการณ์ทั้งที่ดีและเลวมาแล้วมากมายเป็นเวลานานหลายปี คราวต่อไปถ้าคุณต้องพูดคุยกับใครสักคนที่อยู่ในระหว่างการลดน้ำหนักให้หลีกเลี่ยงคำพูดและคำถามที่จะนำเสนอต่อไปนี้ และทำตามคำแนะนำของนักจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งที่คุณจะพูดออกไปดังที่นำเสนอโดยนิตยสาร Prevention (1) “แค่กินให้น้อยลงและออกกำลังกายมากขึ้น” “ก่อนอื่นเลย ใครก็ตามที่กำลังพยายามลดน้ำหนักเคยได้ยินประโยคนี้มาแล้ว” ดร.จิม เคลเลอร์ นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและจิตวิทยาการลดความอ้วนอธิบาย แม้ว่าคุณจะมีเจตนาดี แต่คุณจำเป็นต้องวางตัวให้ดีอยู่เสมอ ไม่เคยเพียงแค่นั้น ประโยคนี้ดูเหมือนจะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ง่ายเกินไป ซึ่งจริงๆ แล้วสำหรับคนอีกมากมายที่ต้องการลดน้ำหนัก ถือเป็นงานหินอย่างแท้จริง เคลเลอร์เพิ่มเติมว่า “แน่นอน การกินให้ดีและเคลื่อนไหวมากขึ้นล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการลดน้ำหนัก แต่ผู้ที่ควบคุมอาหารส่วนใหญ่ต่างประสบปัญหาหิวมากขึ้นและระบบเผาผลาญทำงานช้าลง” ควรพูดอย่างไร “ประการแรก ให้ยอมรับความยากของสิ่งที่คนที่คุณรักตั้งเป้าหมายในการลดน้ำหนัก” เคลเลอร์แนะนำ จากนั้นให้กำลังใจพวกเขา บอกพวกเขาว่าคุณภูมิใจในตัวพวกเขาที่ตัดสินใจเริ่มเดินบนเส้นทางนี้ (2) “ยังเหลือน้ำหนักอีกเท่าไรที่เธอต้องลดให้ได้” ดูเหมือนคำถามนี้จะไม่มีพิษสงอะไร เพราะเน้นไปที่ตัวเลขบนตาชั่งเป็นหลัก ซึ่งมักทำให้คนที่คุณรักรู้สึกเหมือนประสบความล้มเหลว “ความสำเร็จในตัวเลขบนตาชั่งไม่เพียงเป็นความสำเร็จของคนที่พยายามลดน้ำหนักใฝ่หา เราจึงไม่ต้องการให้เน้นที่เรื่องนี้เพียงอย่างเดียว” เคลเลอร์อธิบาย ถ้าคุณมีวิถีชีวิตที่แข็งแกร่ง คุณอาจรู้สึกดีขึ้นแม้ตัวเลขบนตาชั่งจะไม่กระดิก อย่างไรก็ตาม ถ้าตัวเลขบนตาชั่งคือบทสรุปสุดท้ายของคุณ คุณจะไม่รู้สึกดีใจกับความสำเร็จด้านอื่นๆ เลย ควรพูดอย่างไร

Read More

ลดน้ำหนักไม่ได้ผล เพราะความเข้าใจที่ผิดๆ

ความคิดที่ว่า “กินไปก่อน ค่อยไปออกก็ได้” “เล่นหนักๆ เข้าไว้ น้ำหนักจะได้ลงเร็ว” หรือ “เหงื่อออกเยอะ ไขมันยิ่งลด” เป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่งยวด ที่ทำให้การออกกำลังไม่ประสบความสำเร็จ น่าแปลกที่ความคิดเหล่านี้ยังคงมีอยู่ ทั้งที่โลกปัจจุบันความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ได้ผลสามารถหาอ่านได้เพียงแค่ปลายนิ้ว แต่หลายคนกลับปักใจเชื่อความคิดเดิมๆ ทว่า ความเข้าใจเหล่านี้หากเกิดขึ้นกับใครก็ตาม คงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใด หากบุคคลคนนั้นออกกำลังกายแทบตาย แต่น้ำหนักไม่ลดลงเสียที มิหนำซ้ำอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว โภชนาการสำคัญกว่าการออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพนั้น แท้จริงแล้ว ความสำคัญของโภชนาการมีความสำคัญถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และอีก 30 เปอร์เซ็นต์ คือการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ผู้เขียนออกกำลังกายอย่างจริงจังมาหลายปี และมักเจอกับคำถามเช่นว่า กินน้อยๆ ได้ไหม น้ำหนักจะได้ลด หรือซิตอัปอย่างเดียวได้ไหม หน้าท้องจะได้ยุบ หรือแม้แต่วิ่งอย่างเดียวได้ไหม น้ำหนักจะได้ลงเร็วๆ คำตอบที่ให้ไปคือ คุณสามารถทำได้ทั้งหมดทุกข้อ เพื่อให้น้ำหนักลด คำถามเหล่านั้นไม่ผิดแม้แต่น้อย เพราะทุกการกระทำล้วนให้ผลตามที่ต้องการ คือ “น้ำหนักลด หน้าท้องยุบ” ทว่า ประสิทธิภาพที่ได้นั้นจะดีพอให้น้ำหนักลดต่อเนื่องหรือไม่ คำตอบคือ “ไม่” ทำไมโภชนาการถึงมีความสำคัญกับการออกกำลังกายมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ หากเข้าใจคำนิยามนี้ “You are

Read More

ลดน้ำหนักให้ถูกวิธีเมื่ออายุเกิน 60 ปี

Column: Well – Being สำหรับหลายๆ คน เมื่ออายุมากขึ้น การดำเนินชีวิตหลายด้านดูเหมือนจะง่ายขึ้นและดีขึ้น แต่ก็โชคร้ายในหลายประเด็น เช่น เมื่อต้องการลดน้ำหนัก กลับไม่ง่ายอย่างที่ใจต้องการ เพียงแค่การกำจัดน้ำหนักส่วนเกินไม่กี่กิโลกรัม ดูเหมือนช่างยากเย็นเสียนี่กระไร ไม่ว่าเพราะสาเหตุจากตารางเวลายุ่งเหยิงจนหาเวลาไม่ได้ หรือเพราะปัญหาข้อเสื่อมที่คอยรบกวน ทำให้คุณมีแรงบันดาลใจอยากไปโรงยิมน้อยลง น้ำหนักตัว 10 ปอนด์ที่เพิ่มขึ้นช่วงอายุ 40 กว่าปีสามารถกลายเป็นน้ำหนักส่วนเกินที่เพิ่มขึ้นเป็น 20 ปอนด์ได้เมื่อคุณอยู่ในช่วงอายุ 50 หรือ 60 กว่าปี แต่ผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นพ้องว่า เป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องจดจ่อกับการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงอายุเท่าไร “ไขมันส่วนเกินเป็นสิ่งที่เราไม่ควรละเลยไม่ว่าเราจะมีอายุเท่าไร” ดร.โรเบิร์ต ฮุยเซนกา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการแพทย์คลินิก มหาวิทยาลัยยูซีแอลเอ กล่าว ไมเคิล สพิทเซอร์ เทรนเนอร์ส่วนบุคคลและผู้เขียนหนังสือ Fitness at 40, 50, 60 and Beyond ก็เห็นพ้องด้วยและเพิ่มเติมว่า “เส้นทางที่แท้จริงที่นำไปสู่การควบคุมน้ำหนักและความแข็งแรงเมื่ออายุเกิน 60 ปีไปแล้ว ไม่มีอะไรแตกต่างจากช่วงอายุอื่นๆ ในชีวิตเท่าไรนัก” อย่างไรก็ตาม นิตยสาร

Read More

หมอแนะวิธีลดน้ำหนักที่ดีที่สุดหลังหมดประจำเดือน

Column: Well – Being ตอนนี้ไม่ว่าคุณจะอยู่ในภาวะกำลังหมดประจำเดือน หรือผ่านพ้นช่วงเวลานั้นมาแล้วก็ตาม คุณอาจสังเกตว่า การลดน้ำหนักทำได้ยากขึ้น และ “ความคิดนี้ไม่ได้วนเวียนอยู่ในหัวของคุณเท่านั้น” พญ. อแมนด้า ฮอร์ตัน สูตินรีแพทย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ กล่าว “มันยากจริง ๆ กับการพยายามลดน้ำหนักในช่วงนี้” นิตยสาร Prevention ให้ข้อมูลน่าสนใจว่า พญ.ฮอร์ตันยังกล่าวว่า จริง ๆ แล้วผู้หญิงช่วงอายุเกิน 50 ปีและ 60 ปี จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1.5 ปอนด์ต่อปี ที่เป็นอย่างนี้สาเหตุเพราะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงในระหว่างหมดประจำเดือน สามารถเปลี่ยนสมดุลของระดับฮอร์โมนเลปตินและเกรลินได้ ซึ่งฮอร์โมนทั้งสองตัวนี้ทำหน้าที่ควบคุมความหิว และทำให้เกิดความอยากอาหารเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ความเครียด อาการนอนไม่หลับ และการกินยาบางตัวก็เป็นสาเหตุของการเพิ่มน้ำหนักได้ “สาเหตุทุกอย่างที่นำไปสู่การเพิ่มน้ำหนักยังทำให้การลดน้ำหนักทำได้ยากด้วย แต่เราเชื่อมั่นว่าทำได้ เพียงต้องใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องเท่านั้น” นพ.วิลเลียม แยนซี ผู้อำนวยการโครงการประจำศูนย์ Duke Diet and Fitness

Read More

คุณรู้จักไขมันในตัวคุณดีแค่ไหน

 Column: Well-being นิตยสาร GoodHealth นำเสนอข้อมูลล่าสุดที่น่าสนใจยิ่งว่า วงการวิทยาศาสตร์ค้นพบข้อเท็จจริงที่น่าทึ่งเกี่ยวกับไขมันที่คุณต้องไม่พลาดที่จะรู้ เพื่อกำจัดออกจากร่างกายได้อย่างถูกวิธี แต่ก่อนอื่น อยากให้ทำความเข้าใจในข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับไขมันที่มีบทบาทต่อน้ำหนักตัวของเรา โดยบทความของนายแพทย์มานิตย์ วัชรชัยนันท์กล่าวว่า ขณะที่ออกกำลังกาย เซลล์กล้ามเนื้อจำเป็นต้องใช้พลังงานเพื่อการขับเคลื่อน โดยได้จากการเผาผลาญไขมันและน้ำตาลในร่างกายนั่นเอง กล้ามเนื้อที่ผ่านการบริหารเป็นประจำจะสร้างฮอร์โมน Irisin ขึ้นไหลเวียนในกระแสเลือด มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงเซลล์ไขมัน ด้วยการทำหน้าที่สะสมไขมันเอาไว้ภายในเซลล์ เพื่อเก็บไว้ใช้ยามจำเป็น เซลล์ไขมันเหล่านี้เรียกว่า เซลล์ไขมันสีขาว (white fat cells) แต่ในร่างกายยังมีเซลล์ไขมันอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า เซลล์ไขมันสีน้ำตาล (brown fat cells) ไม่มีหน้าที่สะสมไขมัน แต่มีบทบาทในการใช้ไขมันที่สะสมภายในเซลล์ไขมัน ดังนั้น ถ้าต้องการลดน้ำหนักตัว คุณจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณเซลล์ไขมันสีน้ำตาล และลดปริมาณเซลล์ไขมันสีขาวลง บทความของ Thai Anti Aging ยังกล่าวถึงไขมันว่ามีประโยชน์มากมาย เช่น ให้พลังงานและความอบอุ่น ละลายวิตามินบางตัวที่ต้องทำละลายในไขมันเท่านั้น ได้แก่ เอ ดี อี เค เพื่อดูดซึมเข้ากระแสเลือด ภาวะอ้วนของคนเราเกิดจากมีไขมันสะสมตามกล้ามเนื้อและอวัยวะภายใน ในกรณีนี้คือการสะสมไขมันหน้าท้องซึ่งมี 2 ประเภทคือ ไขมันใต้ผิวหนัง

Read More