Content

อิปซอสส์ (Ipsos) เผยผลสำรวจผลกระทบในช่วงโควิด

คนไทย 1 ใน 3 ต้องการเงินช่วยเหลือจากรัฐฯ ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดจะยืดเยื้อมากว่า 10 เดือนแล้ว ประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังคงมีความกังวลต่อการติดเชื้อไม่เสื่อมคลาย จากผลสำรวจพบว่าประเทศที่ประชาชนมีความกังวลต่อการติดเชื้อน้อยที่สุดคือสิงคโปร์ ตามมาด้วย ประเทศไทย ซึ่งในไทยนั่นมีประชาชนเพียง 30 % ที่ยังมีความกังวลต่อการติดเชื้อในระดับสูง ในขณะที่ 61 % ของประชากรมาเลเซีย และ 73% ของฟิลิปปินส์ หรือเกินครึ่งของประชากรทั้ง 2 ประเทศนั่นยังมีความกังวลและระแวดระวังต่อการติดเชื้อที่ยังอยู่ในระดับสูง การปรับตัวและมุมมองต่อสถานการณ์โควิด-19 ณ ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือราว 81% เชื่อว่าต้องรอจนถึงปี 2021 ก่อนที่วัคซีนจะสามารถผลิตและถูกแจกจ่ายถึงคนในวงกว้าง ระยะเวลาอันยาวนานนี้ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องปรับตัว โดยมีประชากรถึง 37% ในภูมิภาคที่ได้ปรับตัวและมีความคุ้นชินต่อการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 แล้ว อย่างไรก็ตามประชากรกึ่งหนึ่งหรือราว 16% เริ่มเห็นสัญญาณว่ามาตรการล็อกดาวน์และรักษาความปลอดภัยต่างๆ จะค่อยๆ ถูกทยอยผ่อนคลายหรือยกเลิกในเร็ววัน หากดูภาพรวมของทั้งภูมิภาคแล้ว 1 ใน 2 ของประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รู้สึกค่อนข้างปลอดภัยที่จะไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารนอกบ้าน ไปเยี่ยมบ้านเพื่อน หรือใช้บริการขนส่งสาธารณะ ซึ่งระดับความเชื่อมั่นนี้แตกต่างไปในแต่ละประเทศ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ เช่น

Read More

“Coaching DNA of Leaders” การสร้างภาวะผู้นำในยุค New Normal ด้วยการโค้ช

มร.ฌอง ฟรองซัวส์ คูแซง โค้ชชื่อดังระดับโลกชี้ การเรียนรู้วิธีการอยู่รอดด้วยตนเอง คือก้าวสำคัญและก้าวแรกๆ ที่จะทำให้เราสามารถดึงศักยภาพของมนุษย์ออกมาได้ แม้ในเงื่อนไขที่มีจำกัดเพียงใดก็ตาม ส่วนสี่ผู้บริหารจากบริษัทชั้นนำและสถานศึกษาชื่อดังของเมืองไทย เผยการ Coaching มีส่วนผลักดันศักยภาพของเยาวชนและพนักงานขององค์กรทุกระดับชั้นให้ก้าวสู่ S-Curve ได้ ที่ผ่านมาการโค้ช ยังช่วยให้หลายบริษัทฝ่ากระแสวิฤกตช่วงเศรษฐกิจตกต่ำที่สุดของการระบาด COVID-19 วิทวัส เกษมวุฒิ ประธาน สมาคมสหพันธ์การโค้ชนานาชาติ สาขากรุงเทพฯ (ICF-Bangkok Chapter) และคณะกรรมการ สมาคมสหพันธ์การโค้ชนานาชาติ สาขากรุงเทพฯ จัดงาน “Coaching DNA of Leaders” หรือ การสร้างภาวะผู้นำในยุคปกติใหม่ด้วยการโค้ช ขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม 2563 ณ โรงแรม เอส 31 ถนนสุขุมวิท กรุงเทพฯ เพื่อเสนอวาระให้ผู้นำระดับประเทศ ผู้บริหารองค์กรภาครัฐ และเอกชน ผู้นำในหน่วยงาน ผู้ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนอาจารย์ผู้ปกครอง

Read More

‘ญาญ่า’ ร่วมแคมเปญใหม่ระดับโกลบอลของยูนิโคล่ ‘What Will You Wear for Tomorrow?’ ตั้งคำถามถึงอนาคตว่าเสื้อผ้าของวันพรุ่งนี้จะเป็นเช่นไร

ยูนิโคล่ แบรนด์เครื่องแต่งกายระดับโลกจากญี่ปุ่น ประกาศเปิดตัวแคมเปญระดับโกลบอล ‘What Will You Wear for Tomorrow?’ เพื่อจุดประกายผู้คนให้ร่วมค้นหาคอนเซ็ปต์ของเสื้อผ้าแห่งอนาคตที่อยู่เหนือกาลเวลา โดยมีคนดังจากหลายวงการและเชื้อชาติทั่วโลกเข้าร่วมในแคมเปญนี้ เพื่อร่วมขับเคลื่อนโลกให้เข้าสู่อนาคตที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงนักแสดงหญิงแถวหน้าของไทยอย่าง ญาญ่า - อุรัสยา เสปอร์บันด์ ที่มีไลฟ์สไตล์โดดเด่นและสามารถสะท้อนชีวิตวิถีใหม่ผ่านเสื้อผ้าของยูนิโคล่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดจะทยอยนำเสนอผ่านมัลติมีเดียหลากหลายรูปแบบต่อไป ‘What Will You Wear for Tomorrow?’ เป็นแคมเปญระดับโกลบอลล่าสุดของยูนิโคล่ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อกระตุ้นผู้คนให้ได้ลองทบทวนตัวเองและการตัดสินใจในชีวิต ซึ่งล้วนมีพลังในการเปลี่ยนแปลงโลก เพราะชีวิตและไลฟ์สไตล์ของผู้คนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และต้องปรับเปลี่ยนเมื่อเจอความท้าทายต่างๆ ยูนิโคล่จึงมุ่งมั่นพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าเสื้อผ้าของเราเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน ไม่ใช่แค่สำหรับวันนี้ แต่สำหรับทุกวันในอนาคตด้วยเช่นกัน โดยยูนิโคล่ยังยึดมั่นในปรัชญาไลฟ์แวร์ (LifeWear) ในการสร้างสรรค์เสื้อผ้าที่เรียบง่าย มีคุณภาพสูงและประณีต ที่ช่วยให้ชีวิตของผู้คนดีขึ้นตั้งแต่ตอนที่ตัดสินใจหยิบขึ้นมาสวมใส่ ญาญ่า - อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรีเซนเตอร์ของ ยูนิโคล่ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในเช้าแต่ละวัน เรามักจะถามตัวเองว่าวันนี้จะใส่ชุดอะไรดีนะ แต่จะเป็นอย่างไร ถ้าเราลองมองไปข้างหน้าและถามตัวเองว่า เสื้อผ้าที่เราจะสวมใส่ในวันพรุ่งนี้ที่จะช่วยทำให้อนาคตดียิ่งขึ้นควรเป็นเช่นไร คำถามนี้จะช่วยทำให้เราคิดไตร่ตรองได้ถี่ถ้วนขึ้นก่อนจะตัดสินใจทำอะไร ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่การเลือกซื้อเสื้อผ้า

Read More

SEED แนะการปรับตัว 6 ประการ สำหรับ SMEs เพื่ออยู่รอดในวิกฤตโควิด-19

SEED แนะปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัว 6 ประการเพื่อให้อยู่รอดในช่วงการระบาดของโควิด-19 ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ในกลุ่มธุรกิจภาคสังคมและธุรกิจสีเขียวของไทย SEED ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระดับโลกเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการได้สรุปปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัวที่สำคัญหกประการเพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ของประเทศไทยอยู่รอดในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยมีความยืดหยุ่นและความยั่งยืนเป็นองค์ประกอบหลัก รายงานล่าสุดระบุว่าธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ทั่วโลกราว 42% อาจประสบภาวะขาดทุนภายในหกเดือนข้างหน้า เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากสถาณการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและสภาพทางสังคมของไทยกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง แผน 6 ข้อของ SEED จึงมีเป้าหมายเพื่อชี้นำผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับวิธีการสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อความท้าทายในอนาคตและรับมือกับสิ่งที่ไม่เคยประสบมาก่อน แผนดังกล่าว ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวในเชิงธุรกิจ (Business Resilience) ความสามารถในการปรับตัวด้านการเงิน (Financial Resilience) ความสามารถในการปรับตัวขององค์กร (Organisational Resilience) ความสามารถในการปรับตัวต่อระบบนิเวศ (Ecosystem Resilience) ความสามารถในการปรับตัวตามภาวะตลาด (Market Resilience) และความสามารถในการปรับตัวเพื่อสร้างผลกระทบ (Impact Resilience) ผู้เริ่มต้น (Starters) ผู้พัฒนา (Movers) และผู้เป็นเลิศ (Champions)

Read More

Rimbaud-Verlaine

Column: From Paris Panthéon เป็นอาคารสไตล์ neo-classique ในเขต 5 (5ème arrondissement) ของกรุงปารีส ในย่าน Quartier latin และอยู่บนเขา Sainte-Geneviève ในศตวรรษที่ 18 เป็นโบสถ์ แต่พอยุคปฏิวัติ ให้เป็นสถานที่เชิดชูบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ยกเว้นทหารที่มีสถานที่ลักษณะเดียวกันนี้ที่ Hôtel des Invalides ใน Panthéon จึงมีโลงศพของบุคคลที่ทำคุณประโยชน์แก่ฝรั่งเศส ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ Pierre และ Marie Curie ผู้ร่างกฎบัตรสิทธิมนุษยชน René Cassin ผู้คิดอักษร Braille (บราย) สำหรับคนตาบอด Louis Braille นักการเมือง Jean Jaurès ผู้เข้าร่วมขบวนการปลดแอกฝรั่งเศสจากการยึดครองของเยอรมัน (Résistance) Jean Moulin นักเขียนดังได้เข้า Panthéon หลายคน

Read More

แบงก์เข้มงวดสินเชื่อ ส่งอสังหาฯ ทรุดหนัก

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจหลากหลายได้รับผลกระทบอย่างหนัก ขณะที่ความกังวลใจต่อการตั้งสำรองหนี้เสีย หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ทำให้สถาบันการเงินจัดวางมาตรการที่เข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นและกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการชะลอตัวในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างหนัก การหดตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน ในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศที่หดตัวลดลง ควบคู่กับการหายไปของกลุ่มลูกค้าต่างชาติ และการสะสมของปริมาณสินค้าในตลาดจำนวนมาก ขณะที่ปัจจัยลบที่สำคัญที่สุดอยู่ที่การเข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อที่อยู่อาศัยรายย่อยของสถาบันการเงิน ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมานาน และยิ่งทวีความเข้มงวดมากขึ้นในช่วงหลังๆ นับตั้งแต่การออกมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ (LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขณะเดียวกันผลพวงของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องหยุดชะงัก ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจในประเทศหรือธุรกิจส่งออก ซึ่งทำให้ธุรกิจหลากหลายต้องปิดกิจการไป ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นพนักงานในธุรกิจเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการถูกลดเงินเดือนลงหรือขาดรายได้จากการตกงานเพราะถูกเลิกจ้าง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการพิจารณาสินเชื่อเมื่อผู้บริโภคยื่นขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย กรณีดังกล่าวเห็นได้ชัดจากยอดการปฏิเสธสินเชื่อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยล่าสุดอัตราการปฏิเสธสินเชื่อปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ในระดับร้อยละ 50-60 สำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัยราคา 2-3 ล้านบาท ส่วนกลุ่มที่อยู่อาศัย 5-7 ล้านบาท ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 30-40 ขณะที่กลุ่มที่อยู่อาศัยระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไปอัตราการปฏิเสธสินเชื่ออยู่ที่ร้อยละ 10-15 ซึ่งถือว่าสูงมากที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 เป็นต้นมา ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการปฏิเสธสินเชื่อในอัตราที่สูงขึ้นดังกล่าวเกิดจากผลของการเข้มงวดการพิจารณาปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน และภาระการตั้งสำรองหนี้เสีย หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้น โดยในช่วง

Read More

‘สไปรท์’ เปิดตัว ลุคใหม่! ‘ขวดใส’ รีไซเคิลง่าย อร่อยซ่าเหมือนเดิม

กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย อันประกอบไปด้วย บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัว ‘สไปรท์’ ลุคใหม่! เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากขวดพลาสติกสีเขียวเป็นพลาสติกใสเพื่อให้สามารถนำขวด ‘สไปรท์’ ไปรีไซเคิลหลังการบริโภคได้ง่ายขึ้น พร้อมประกาศความเป็นผู้นำตลาดน้ำใสซ่าซึ่งครองใจผู้บริโภคด้วยรสชาติความอร่อยซ่าสดชื่นอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งสูตรออริจินอลและสูตรไม่มีน้ำตาล โดยในการปรับลุคครั้งนี้ ทางกลุ่มฯ ได้เตรียมจัดเต็มกิจกรรมทางการตลาดเพื่อตอกย้ำเรื่องรสชาติที่มอบความสดชื่นอร่อยซ่าไม่เปลี่ยนแปลงด้วย นางสาวมัณฑนา หล่อไกรเลิศ ผู้อำนวยการการตลาด บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “’สไปรท์’ เป็นแบรนด์เครื่องดื่มระดับโลกของเดอะโคคา-โคล่า คัมปะนี อีกแบรนด์หนึ่ง ที่สามารถครองใจผู้บริโภคชาวไทยมาได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยตำแหน่งผู้นำตลาดน้ำอัดลมกลิ่นเลมอนไลม์ตัวจริง ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงมากถึง 78.4%[1] ในกลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำใสซ่า ซึ่งการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่จากขวดพลาสติกสีเขียวเป็นขวดใสในครั้งนี้เป็นการดำเนินการตามวิสัยทัศน์ World Without Waste ที่มุ่งใช้บรรจุภัณฑ์อย่างมีความรับผิดชอบและส่งเสริมการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลให้ได้มากที่สุด แต่ถึงแม้จะมีการปรับเปลี่ยนสีของบรรจุภัณฑ์ไป ผู้บริโภคยังคงมั่นใจได้เสมอว่า ‘สไปรท์’ ทั้งสูตรออริจินอลและสูตรไม่มีน้ำตาลที่ผู้บริโภคชื่นชอบนั้น จะยังคงรสชาติส่งมอบความสดชื่นของเลมอนไลม์ผ่านความอร่อยซ่าอันเป็นเอกลักษณ์ไว้เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง” เป้าหมายหลักของโคคา-โคล่า ภายใต้วิสัยทัศน์ระดับโลก

Read More

นิเทศจุฬาฯ จัด Thailand’s Reputation Awards ประเดิมมอบรางวัลด้านชื่อเสียงแก่ 14 องค์กรธุรกิจ

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัด “Thailand’s Reputation Awards รางวัลองค์กรธุรกิจที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย” ถือเป็นการจัดโครงการมอบรางวัลครั้งแรกของคณะฯ เดินหน้าขับเคลื่อนพัฒนาการทางสังคม หนุนสร้างต้นแบบธุรกิจและการแข่งขันที่ยั่งยืน ต่อยอดสู่องค์ความรู้ทางวิชาการ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีมอบรางวัลและโล่เกียรติยศ “รางวัลองค์กรธุรกิจที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย ประจำปี 2562” (Thailand’s Reputation Awards 2019) ซึ่งถือเป็นการจัดโครงการมอบรางวัลด้านชื่อเสียงเป็นครั้งแรกของคณะนิเทศศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้องค์กรธุรกิจไทย ให้ความสำคัญและมีการจัดการที่ดี ไปสู่การเป็นองค์กรที่มีคุณภาพและมีคุณค่า รวมถึงเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ พัฒนาตัวชี้วัดที่มีความทันสมัยและสอดคล้องกับบริบททางสังคมไทยในด้านการประเมินชื่อเสียงองค์กร ความโดดเด่นของรางวัลนี้ คือ กระบวนการสรรหาและประเมินความมีชื่อเสียงขององค์กรธุรกิจผ่านกระบวนการและระเบียบวิธีวิจัยที่รัดกุม เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่า การวัดผลชื่อเสียงขององค์กรทั้งชื่อเสียงโดยภาพรวมและชื่อเสียงในแต่ละด้าน มีความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นอย่างสูงสุดตามหลักวิชาการ ซึ่งรางวัลนี้เกิดขึ้นโดยเริ่มต้นจากความร่วมมือของผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาชีพ นักวิชาการ ร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดสำหรับการประเมินความมีชื่อเสียงขององค์กร โดยทำการศึกษาวิจัยจากแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับนิยาม ความหมายของชื่อเสียงองค์กร การพัฒนาชื่อเสียงองค์กรหรือการสร้างชื่อเสียงองค์กร การจัดการเกี่ยวกับชื่อเสียงองค์กร กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับเอกลักษณ์องค์กร ภาพลักษณ์องค์กร ที่มีความเกี่ยวข้องกับชื่อเสียงองค์กร ประกอบกับการใช้แนวคิดทางการประเมินวิธีการวัดผลความมีชื่อเสียงขององค์กร เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดความมีชื่อเสียงใน 7 ด้าน ได้แก่ ด้านสินค้าและบริการ ด้านนวัตกรรม

Read More

น้ำยาบ้วนปากฆ่าไวรัสโคโรนาได้จริงไหม?

Column: Well – Being   นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้คนส่วนใหญ่พากันยกระดับอนามัยส่วนบุคคลกันยกใหญ่ ตั้งแต่หมั่นล้างมือ ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคพื้นผิวต่างๆ ราวกับเป็นมืออาชีพ และมีเจลแอลกอฮอล์ใกล้มือตลอดเวลาเพื่อป้องกันไวรัสโคโรนา กับคำถามที่ว่า น้ำยาบ้วนปากสามารถฆ่าไวรัสโคโรนาได้จริงไหม? ดูจะซับซ้อนกว่าที่คุณคิด ซึ่งนิตยสาร Shape ได้ให้ข้อมูลที่คุณจำเป็นต้องรู้อย่างน่าสนใจทีเดียว ได้ความคิดน้ำยาบ้วนปากฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาจากไหน? บทวิจารณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Function วิเคราะห์ว่า น้ำยาบ้วนปากมีศักยภาพสามารถลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส SARS- CoV- 2 ในระยะแรกของการติดเชื้อได้หรือไม่ สิ่งที่นักวิจัยอธิบายคือ เชื้อไวรัส SARS- CoV- 2 เป็นไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม หมายความว่ามันมีเยื่อหุ้มเซลล์อยู่ชั้นนอกซึ่งมีลักษณะเป็นไขมัน และจนกระทั่งบัดนี้วงการยังไม่ได้ถกกันว่า คุณจะมีศักยภาพในการเพียงแค่ “บ้วนปาก” (ด้วยน้ำยาบ้วนปาก) แล้วจะสามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ชั้นนอกนี้ และทำให้ไวรัสอ่อนแรงลงขณะที่มันอยู่ในปากและลำคอของผู้ติดเชื้อได้หรือไม่ นักวิจัยให้ความสนใจผลการศึกษาครั้งก่อนๆ ที่เสนอแนะว่า ส่วนผสมร่วมที่พบในน้ำยาบ้วนปากทั่วไป คือ เอทานอล (แอลกอฮอล์), โพวิโดน-ไอโอดีน (ยาฆ่าเชื้อที่มักใช้ฆ่าเชื้อบนผิวหนังก่อนและหลังการผ่าตัด) และเซทิลพิริดิเนียม คลอไรด์ (ส่วนประกอบของเกลือที่มีคุณสมบัติต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย) ที่สามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของไวรัสที่มีเปลือกหุ้มชนิดอื่นอีกหลายชนิด อย่างไรก็ตาม แต่คราวนี้เราไม่รู้ว่าองค์ประกอบที่อยู่ในน้ำยาบ้วนปากเหล่านี้จะสามารถส่งผลต่อไวรัส SARS- CoV- 2 หรือไม่ ถึงจุดนี้ต้องบอกว่าทุกอย่างยังเป็นทฤษฎี

Read More

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย รับรางวัล ‘บริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดแห่งปี’ ประจำปี 2563 จาก เอชอาร์ เอเชีย

ตอกย้ำความสำเร็จจากกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของไมโครซอฟท์ ทั้งการส่งเสริมการยอมรับสร้างความเข้าใจในความต่างเพื่อสร้างผลงานอันยอดเยี่ยม และสนับสนุนให้พนักงานสร้าง growth mindset เพื่อพัฒนาตนเอง บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับรางวัลบริษัทดีเด่นที่น่าทำงานมากที่สุดในเอเชีย โดย เอชอาร์ เอเชีย ติดต่อกันเป็นเวลาสองปีซ้อน จากความมุ่งมั่นในการลงทุนด้านทรัพยากรบุคคล ด้วยการสนับสนุนกรอบแนวคิดแบบ growth mindset และการมีส่วนร่วมของพนักงานเพื่อการเติบโตอย่างต่อเนื่องขององค์กร โดยมีนายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด รับรางวัลในงานที่จัดขึ้น ณ โรงแรม แบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค เมื่อเร็วๆ นี้ นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ผมรู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ไมโครซอฟท์ได้รับรางวัลนี้ติดต่อกันเป็นเวลาสองปีแล้ว ผมขอขอบคุณ เอชอาร์ เอเชียสำหรับรางวัลในครั้งนี้ เมื่อพูดถึงพนักงานของเรา เราเชื่อว่าทุกคนและทุกความคิดมีความหมาย เราได้เรียนรู้จากคนในองค์กรกับแนวคิดแบบ growth

Read More