Content

แว่นท็อปเจริญ เดินหน้าสนับสนุนวงการกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดทีมชาติไทย ตอกย้ำคอนเซ็ปต์ #สายตาคมชัดทุกการแข่งขัน

แว่นท็อปเจริญ ผู้นำธุรกิจแว่นตาและบริการด้านสายตาแบบครบวงจร มุ่งเน้นความสำคัญด้านการดูแลสุขภาพและการสนับสนุนวงการกีฬาไทย เดินหน้าหนุนทัพนักตบลูกยางชายหาดทีมชาติไทย ทีมชาย สู่เส้นทางการแข่งขันระดับโลก ตอกย้ำความตั้งใจของแว่นท็อปเจริญ ผู้สนับสนุนนักกีฬาไทยทั่วประเทศ ภายใต้คอนเซ็ปต์ #สายตาคมชัดทุกการแข่งขัน พร้อมเตรียมสู้ศึกคอนติเนนตัลคัพ 2021 เพื่อชิงชนะเลิศรอบคัดเลือกโอลิมปิกเกมส์โซนเอเชีย นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ กรรมการผู้จัดการห้างแว่นท็อปเจริญ เผยว่า ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างรากฐานและส่งเสริมนักกีฬาไทยในทุกระดับการแข่งขัน ทั้งในระดับเยาวชน ระดับอาชีพ ไปจนถึงระดับนักกีฬาทีมชาติ ครั้งนี้ แว่นท็อปเจริญ จึงได้เข้าร่วมเป็นผู้สนับสนุนวงการกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดทีมชาติไทย ทีมชายอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งในการฝึกซ้อมพัฒนาขีดความสามารถ ส่งเสริมศักยภาพ และการทุ่มเทของทีมนักกีฬาอย่างเต็มกำลังในทุกการแข่งขัน พร้อมเตรียมสู้ศึกคอนติเนนตัลคัพ 2021 เพื่อชิงชนะเลิศรอบคัดเลือกโอลิมปิกเกมส์โซนเอเชีย หวังยกระดับกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดในประเทศไทยให้ทัดเทียมระดับสากล ภายใต้คอนเซ็ปต์ #สายตาคมชัดทุกการแข่งขัน อีกทั้งเรายังมีความตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาบริการด้านสายตาและมอบแว่นตาที่มีคุณภาพ ให้เหมาะสมกับการใช้งานของกลุ่มนักกีฬากลางแจ้ง ด้วยเล็งเห็นว่า นักกีฬาเหล่านี้มีความจำเป็นมาก ที่ต้องสวมใส่แว่นกันแดดคุณภาพที่เหมาะสม ทั้งในการฝึกซ้อมและแข่งขันในสนามกีฬากลางแจ้ง แว่นท็อปเจริญจึงได้ให้การสนับสนุนแว่นตา Cos Club แว่นที่ออกแบบมาสำหรับนักกีฬาโดยเฉพาะ ไม่เพียงแต่ช่วยปกป้องดวงตาจากแสงแดดจ้าและรังสียูวีแล้ว แว่นตา Cos Club ยังเป็นแว่นที่สวมใส่สบาย น้ำหนักเบา กระชับใบหน้า รองรับทุกการเคลื่อนไหว

Read More

เซ็นทรัล ภูเก็ต พร้อมเต็มที่ เดินหน้าหนุน ‘ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์’ การันตีมาตรฐาน SHA Plus+

เซ็นทรัล ภูเก็ต พร้อมเต็มที่ เดินหน้าหนุน ‘ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์’ การันตีมาตรฐาน SHA Plus+ สะอาด ปลอดภัย และมีพนักงานได้รับวัคซีนเกิน 85% ย้ำ ผู้นำต้นแบบศูนย์การค้าปลอดภัย พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวสู่ภูเก็ต ก.ค.นี้ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัล ภูเก็ต ตอกย้ำการเป็นผู้นำต้นแบบศูนย์การค้าปลอดภัย รับมอบมอบเครื่องหมายมาตรฐาน SHA Plus+ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยืนยันว่าสถานประกอบการมีมาตรการทางสาธารณสุขในการควบคุมโรคโควิด-19 และมีพนักงานในสถานประกอบการได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ครบ 2 เข็มแล้วเกินกว่า 70% เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิด ‘ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ (Phuket Sandbox)’ กระตุ้นความเชื่อมั่น รับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ตโดยไม่ต้องกักตัวตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ซึ่งนักท่องเที่ยวจะต้องจองโรงแรมและใช้บริการสถานประกอบการที่มีมาตรฐาน SHA Plus+ ใน 14 วันแรกเท่านั้น ซึ่งภูเก็ตถือเป็นจังหวัดที่ได้รับมาตรฐาน SHA Plus+ แห่งแรกของประเทศไทย โดยมีนางสาวฐาปนีย์

Read More

เดอะ มาร์เก็ต แบงคอก โชว์ศักยภาพโครงการมิกซ์ยูส เดอะ มาร์เก็ต แบงคอก เฟส 2

สุฐิตา โชติจุฬางกูร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายการตลาด บริษัท เดอะ แพลทินัม กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเดอะ มาร์เก็ต  แบงคอก (ราชประสงค์) อัพเดตความคืบหน้าโครงการมิกซ์ยูส The Market Bangkok โดยล่าสุดได้แต่งตั้งให้ บริษัท สี่พระยาก่อสร้าง จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่ได้มาตรฐานระดับสากล ทำหน้าที่รับเหมาก่อสร้าง เดินหน้าบริหารงานก่อสร้างโครงการ    มิกซ์ยูส The Market Bangkok เฟส 2 โครงการมิกซ์ยูส The Market Bangkok อยู่ภายใต้การบริหารของ เดอะ แพลทินัม กรุ๊ป ผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าและธุรกิจโรงแรม ได้แก่ ศูนย์แฟชั่นค้าส่ง เดอะ แพลทินัม แฟชั่นมอลล์ (The Platinum Fashion Mall), โรงแรม โนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ และ ศูนย์การค้า เดอะ มาร์เก็ต แบงคอก (ราชประสงค์) ตั้งเป้าสู่การเป็นศูนย์กลางไลฟ์สไตล์ครบวงจรแห่งใหม่ใจกลางเมือง พร้อมทั้งเติมเต็มความต้องการที่หลากหลายในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ปัจจุบัน บริษัทฯ กำลังเดินหน้าแผนเชิงกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ เพื่อต่อยอดให้กับธุรกิจในเครือของบริษัทที่มีอยู่ ซึ่งโครงการต่างๆ ที่กำลังดำเนินการก็มีความคืบหน้าตามแผนที่วางไว้ โดยเฉพาะโครงการ The Market Bangkok หลังจากได้เปิดให้บริการในส่วนของศูนย์การค้าไปแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง The Market Bangkok Phase 2 ซึ่งเป็นการก่อสร้างอาคารสำนักงานให้เช่ามีขนาด พื้นที่เช่า 38,000 ตร.ม. ตั้งอยู่บนอาคารโซน M2 ของศูนย์การค้า เดอะ

Read More

Flash Coffee พลิกโฉมวงการกาแฟไทย พร้อมเปิดตัวแอปพลิเคชันเพิ่มความสะดวกสำหรับลูกค้า

Flash Coffee ร้านกาแฟที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีเปิดตัวแอปพลิเคชันสำหรับผู้บริโภคในประเทศไทยแล้ววันนี้ โดยมาพร้อมฟีเจอร์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงความสะดวกสบายได้อย่างเหนือระดับ เช่น ฟังก์ชั่นการสั่งเครื่องดื่มล่วงหน้า จากนั้นจึงไปรับด้วยตนเองที่สาขาที่ใกล้ที่สุด ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาต่อคิว นอกจากนี้ แอปพลิเคชันใหม่ล่าสุดจาก Flash Coffee ยังนำเสนอโปรแกรมสานสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้า กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ และฟีเจอร์ทางการตลาดในรูปแบบเกมผ่าน Flash Challenges เดวิด บรูเนียร์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ เซบาสเตียน ฮานเน็คเกอร์ ผู้ก่อตั้ง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน กล่าวถึงแนวคิดเบื้องหลังการเปิดตัวแอปพลิเคชันซึ่งถือเป็นอีกก้าวสำคัญของบริษัทว่า “สถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปในหลายๆ ด้าน แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ผู้คนต่างก็ยังคงมองหากาแฟคุณภาพดีที่พวกเขาสามารถดื่มได้ที่บ้านหรือที่ทำงานอย่างมีความสุขและรู้สึกปลอดภัย แอปพลิเคชันใหม่จาก Flash Coffee ช่วยให้ลูกค้าของเราไม่ต้องเสียเวลาต่อคิวที่หน้าร้านนานๆ แต่ช่วยให้พวกเขาสามารถกดสั่งซื้อได้ล่วงหน้าและเข้าไปรับเครื่องดื่มได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังมาพร้อมกับ สิทธิพิเศษมากมายเฉพาะสำหรับสมาชิกแอปเท่านั้น” “การเปิดตัวแอปพลิเคชันสำหรับผู้บริโภคในครั้งนี้ได้ตอกย้ำพันธกิจของ Flash Coffee ที่มุ่งพลิกโฉมวงการกาแฟในแถบเอเชีย รวมถึงในประเทศไทย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตราการแข่งขันสูง อย่างไรก็ตาม ธุรกิจส่วนใหญ่ในตลาดยังคงดำเนินธุรกิจแบบออฟไลน์อย่างเต็มรูปแบบ แม้ว่าแบรนด์ Flash Coffee จะเปิดตัวท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ธุรกิจของเราในประเทศไทยถือว่าประสบความสำเร็จอย่างเกินความคาดหมาย

Read More

เศรษฐกิจไทยยังไปไม่รอด รอปี 2566 ค่อยฟื้นตัวอีกครั้ง

ขณะที่การจัดหาและกระจายวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังดำเนินไปท่ามกลางความสับสนอลหม่านที่ติดตามมาด้วยการเลื่อนนัดหมายการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในวงกว้าง ภารกิจอีกด้านหนึ่งว่าด้วยการกระตุ้นและสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเพื่อให้กลไกทางเศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อไปได้ก็ดูจะยังไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กลไกรัฐมุ่งประสงค์ได้ และมีแนวโน้มจะทรุดต่ำลงไปเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง การปรับลดประมาณการและการคาดการณ์ถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยของหลายสำนักในช่วงที่ผ่านมา ได้สะท้อนข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่อย่างไม่อาจเลี่ยง แม้ว่ากลไกรัฐจะพยายามโหมประโคมประชาสัมพันธ์ถึงมาตรการและผลงานความสำเร็จในช่วงที่ผ่านมา หากแต่ดูเหมือนว่ามาตรการที่รัฐมีออกมาจะเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือมาตรการบรรเทาเหตุเบื้องต้น ที่ขาดจินตภาพและวิสัยทัศน์ในการกำหนดนโยบายที่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่รัฐบาลได้พยายามนำเสนอแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติภายใต้กรอบระยะเวลา 20 ปีระหว่างปี 2561-2580 หากแต่แผนดังกล่าวดูจะไม่ช่วยผลักดันการพัฒนาให้ประเทศหรือสังคมไทยดำเนินก้าวไปสู่ความจำเริญข้างหน้ามากนัก และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นปัจจัยฉุดรั้งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคมของไทยให้ต้องชะงักงันหรือแม้แต่ถอยหลังด้วยความเฉื่อยช้าลงไปอีก ความด้อยประสิทธิภาพและความล้มเหลวบกพร่องของแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ดังกล่าวในด้านหนึ่งเห็นได้ชัดจากกรณีของการบริหารจัดการในสภาวะวิกฤตที่เผชิญอยู่เบื้องหน้าว่าด้วยการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ไม่ได้จำกัดวงอยู่เฉพาะประเด็นว่าด้วยความปลอดภัยและสวัสดิการของประชาชนในมิติด้านการสาธารณสุขเท่านั้น หากยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตในเชิงเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคมที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนผลิตภาพทางเศรษฐกิจ ดูจะเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความล้าหลังไม่ทันต่อสถานการณ์ของแผนยุทธศาสตร์ฉบับดังกล่าว ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีสถานะคู่ควรต่อการเรียกว่าเป็นแผนยุทธศาสตร์ของชาติเสียด้วยซ้ำ เพราะขาดการประเมินผลและปัจจัยแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วอยู่ตลอดเวลาในยุคสมัยปัจจุบัน ข้อมูลที่น่าสนใจประการหนึ่งในช่วงที่ผ่านมาพบว่าทิศทางเศรษฐกิจไทยในเดือนพฤษภาคม 2564 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้รับผลจากการระบาดของ COVID-19 ในประเทศ ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันยังคงเพิ่มขึ้นสูง ในขณะที่ภาครัฐยังใช้มาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของCOVID-19 ในประเทศอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ระลอก 3 ที่มีความรุนแรง รวมถึงการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่ดำเนินไปอย่างไร้ความแน่นอนชัดเจน ทำให้ความคาดหวังที่จะเห็นเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้นจากการจ่อมจมอยู่ในปลักแห่งความซบเซามาอย่างยาวนาน มีแนวโน้มที่จะทอดยาวต่อเนื่องออกไปอีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1.5-2 ปีนับจากนี้ หรือหากกล่าวอีกนัยหนึ่งคือต้องรอไปจนถึงไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 เลยทีเดียว การประเมินดังกล่าวดูจะไม่เกินเลยไปนัก เมื่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

Read More

สหพัฒน์ ลุยจัดงานใหญ่ “สหกรุ๊ปแฟร์ ครั้งที่ 25” แบบออนไลน์ ช้อปสุดปังทุกแพลตฟอร์ม

เครือสหพัฒน์ ลุยจัดงานใหญ่ “สหกรุ๊ปแฟร์ ครั้งที่ 25” ภายใต้รูปแบบสหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์ ช้อปสุดปัง ทุกแพลตฟอร์ม “Shopee–Lazada-JD Central–SahaGroupOnline-Shop Channel” ยกทัพกว่า 200 แบรนด์ดังลดกระหน่ำสูงสุด 80% พร้อมโปรโมชันที่พลาดแล้วต้องเสียดาย 1-4 ก.ค.นี้ นายธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์ กล่าวว่า สหกรุ๊ปแฟร์เป็นมหกรรมจำหน่ายสินค้าเครือสพัฒน์ที่มีประวัติการจัดงานมายาวนานและได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้นทุกปี โดยปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 25 ภายใต้รูปแบบสหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์ ช้อปสุดปัง ทุกแพลตฟอร์ม เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทุกคนควรเว้นระยะห่างทางสังคม อีกทั้งยังสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่นิยมการซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้น งานสหกรุ๊ปแฟร์ ครั้งที่ 25 กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 1-4 กรกฎาคม 2564 พบกับสินค้าในเครือสหพัฒน์ที่ยกทัพมาให้ช้อปตลอด 24 ชั่วโมง ผ่าน 5 แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ของไทย ได้แก่ Shopee,

Read More

“พาณิชย์” จัดงานแสดงสินค้าเสมือนจริง BGJF Virtual Trade Fair นำทัพธุรกิจจิวเวลรี่ขายออนไลน์ทั่วโลก

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน BGJF Virtual Trade Fair (The 66th Special Edition) งานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในรูปแบบออนไลน์เต็มรูปแบบที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย จัดโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ระหว่างวันที่ 22-24 มิถุนายน 2564 ผ่านทางเว็บไซต์ www.bgjf-vtf.com งานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ Bangkok Gems and Jewelry Fair หรือ BGJF เป็นเวทีการค้าอัญมณีและเครื่องประดับระดับสากลที่สำคัญติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก จัดโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มาอย่างต่อเนื่องถึง 65 ครั้ง แต่เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ในปี 2563 ที่ผ่านมา ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการจัดงานแสดงสินค้าเสมือนจริงผ่านระบบออนไลน์เป็นครั้งแรก ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดียิ่ง และในปี 2564 นี้ ก็ได้ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

Read More

ไปต่อหรือพอแค่นี้? ผ่อนบ้านไม่ไหว มีทางออกไหนน่าสนใจบ้าง

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังสั่นคลอนความเชื่อมั่นของประชาชนและผู้ประกอบการไปจนถึงส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่หลายฝ่ายเคยคาดการณ์ไว้ว่าปี 2564 จะเป็นปีแห่งการฟื้นธุรกิจให้กลับมาเติบโตอีกครั้ง แม้จะเริ่มมีการทยอยฉีดวัคซีนต้านไวรัสให้กลุ่มเป้าหมายบางส่วนแล้ว แต่การแพร่ระบาดฯ ที่ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะควบคุมได้ในเร็ววันนี้ ย่อมส่งผลกระทบไปถึงความมั่นคงทางการเงินของผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้จะเคยมีประสบการณ์ในการรับมือวิกฤติในปีที่ผ่านมาแล้วก็ตาม เห็นได้จากผลสำรวจ "สถานภาพแรงงานไทย: กรณีศึกษาผู้มีรายได้ ต่ำกว่า 15,000 บาท” ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า สถานภาพหนี้ของแรงงานไทยปี 2564 นั้นมีหนี้สินของครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากปี 2562 มาอยู่ที่ 98.1% โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้จากการกู้ยืมเพื่อนำมาใช้จ่ายประจำวัน เพื่อการศึกษาและใช้หนี้บัตรเครดิต ส่วนใหญ่มีปัญหาการผิดนัดผ่อนชำระหนี้สูงถึง 85.1% เนื่องจากขาดสภาพคล่องทางการเงินจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และสภาพเศรษฐกิจ ส่งผลให้ภาระหนี้ครัวเรือนของแรงงานไทยในปีนี้ขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เฉลี่ยอยู่ที่ครัวเรือนละ 205,809 บาท หรือเพิ่มขึ้น 29.56% นอกจากนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวขึ้นน่าจะทำให้เงินกู้ยืมของภาคครัวเรือนในปี 2564 มีโอกาสเติบโตขึ้นสูงกว่าปี 2563 ซึ่งภาพดังกล่าวอาจส่งผลต่อเนื่องให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2564 ขยับสูงขึ้นมาอยู่ในกรอบประมาณ 89.0 - 91.0% ต่อจีดีพี เรียกได้ว่าปัญหาสภาพคล่องทางการเงินถือเป็นปัญหาสำคัญอันดับต้น ๆ ของผู้บริโภคในยุคนี้เลยก็ว่าได้ แน่นอนว่าในภาคอสังหาฯ ที่แม้จะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตของผู้บริโภค

Read More

“สะพานเขียว” สีเขียวเชื่อมย่าน สะพานเชื่อมเมือง

ทางเดินลอยฟ้าทาสีเขียวสบายตาขนาบข้างด้วยรั้วสแตนเลสทอดผ่านชุมชนเก่าแก่และศาสนสถานใจกลางย่านธุรกิจของเมือง เชื่อมสวนสาธารณะขนาดใหญ่สองแห่งเข้าไว้ด้วยกัน มีร่มเงาจากต้นไม้ใหญ่เป็นระยะ และถูกโอบล้อมด้วยตึกสูงรอบด้าน ที่รู้จักกันในชื่อ “สะพานเขียว” กำลังอยู่ในความสนใจของผู้คนจำนวนไม่น้อย ในฐานะพื้นที่สาธารณะสำหรับพักผ่อนและทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่หลายสถานที่ถูกสั่งปิดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 การได้ออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านจึงกลายเป็นสิ่งที่ใครหลายคนถวิลหา “สะพานเขียว” อาจจะเป็นที่รู้จักของใครหลายคน แต่ในขณะเดียวกันใครอีกหลายคนยังคงไม่รู้ถึงการมีอยู่ของพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองแห่งนี้ แม้ว่าจะถูกสร้างมาตั้งแต่ปี 2543 แล้วก็ตาม สะพานเขียวเป็นโครงสร้างทางเดินและจักรยานยกระดับที่ตั้งอยู่ใจกลางย่านศูนย์กลางธุรกิจ (Central Business District – CBD) ของกรุงเทพฯ เชื่อมระหว่างสวนลุมพินีสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศและสวนเบญจกิติเข้าด้วยกัน โดยมีจุดเริ่มต้นที่สี่แยกสารสินพาดผ่านชุมชนโปโล ชุมชนโบสถ์มหาไถ่ และชุมชนร่วมฤดี แหล่งพักอาศัยของชาวบ้านหลายร้อยครัวเรือน คร่อมคลองไผ่สิงโต ข้ามทางด่วนเฉลิมมหานคร ทอดยาวไปจนถึงปากซอยโรงงานยาสูบ ระยะทางรวมทั้งสิ้น 1.3 กิโลเมตร นับเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายและซับซ้อนทั้งในเชิงของมิติเศรษฐกิจและสังคม และเป็นสกายวอล์กแห่งแรกๆ ของกรุงเทพฯ แต่ก่อนจะเป็นสะพานเขียวอย่างในทุกวันนี้ ในอดีตสะพานเขียวทำหน้าที่เป็นเส้นทางสัญจรของผู้คนที่ใช้เดินทางไปมาระหว่างแยกสารสินและซอยโรงงานยาสูบ และใช้เพื่อการออกกำลังกายของคนในพื้นที่บ้าง โดยมีการใช้งานพลุกพล่านเพียงช่วงเช้าและยามเย็น แต่แทบไร้การใช้งานในช่วงเวลากลางวัน เพราะความร้อนระอุของเมือง รวมถึงโครงสร้างของสะพานที่ไร้ที่กันแดดกันฝน และร่มเงาจากต้นไม้ที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ไม่เอื้อกับการออกมาทำกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนกลางคืน เพราะตลอดเส้นทางกว่า 1.3 กิโลเมตร ค่อนข้างเปลี่ยว ไฟส่องสว่างมีไม่เพียงพอ เป็นแหล่งมั่วสุมและเอื้อต่อการเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ จึงยากที่จะปฏิเสธว่าสะพานเขียวเป็นพื้นที่อันตรายในภาพจำของใครหลายคน

Read More

สรุปภาพรวมตลาดอาคารสำนักงานและตลาดโรงแรมในกรุงเทพฯ ไตรมาส 1 ปี 2564

หลังจากผ่านไปหนึ่งปีเต็มภายใต้แรงกดดันทางการเงินที่เกิดจากโควิด-19 และสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ได้ฟื้นตัวขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก พบว่า ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2564 ตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพมหานครต้องเผชิญกับภาวะซัพพลายที่กลับเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นจากการลดพื้นที่ของผู้เช่า ส่วนตลาดโรงแรมในกรุงเทพฯ มีอัตราการเข้าพักโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับที่มีความท้าทายเป็นอย่างมาก ตลาดอาคารสำนักงาน ตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทาย เนื่องจากผู้เช่าพิจารณาใช้พื้นที่ลดลงเพื่อลดค่าใช้จ่ายและมีการใช้นโยบายให้พนักงานบางส่วนทำงานจากที่บ้าน แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่า ปริมาณพื้นที่สำนักงานในกรุงเทพฯ ในไตรมาสแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้น 25,000 ตารางเมตร เป็น 9.26 ล้านตารางเมตร จากอาคารดับบลิวเอชเอ ทาวเวอร์ (WHA Tower) ในย่านบางนา – ตราด โดยพื้นที่ส่วนหนึ่งในอาคารเป็นการใช้พื้นที่ของเจ้าของอาคารเอง ซึ่งทำให้ซัพพลายในย่านนี้คิดเป็นเพิ่ม 13% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา และในย่านดังกล่าวมีอัตราการใช้พื้นที่สำนักงานโดยรวมอยู่ที่ 80.4% ณ ไตรมาส 1 ปี 2564 ในด้านการใช้พื้นที่สำนักงานที่เพิ่มขึ้นใหม่ในไตรมาส 1 ปี 2564 นั้น แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่า

Read More