Home > สะพานเขียว

เพิ่มพื้นที่สีเขียว ยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมือง

ต้นไม้หนึ่งต้นปล่อยก๊าซออกซิเจนได้ถึง 200,000-250,000 ลิตร/ปี ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 9-15 กิโลกรัม/ปี สามารถดูดซับความร้อนจากบรรยากาศและลดอุณหภูมิรอบบ้านลงได้ 3-5°C อีกทั้งยังช่วยดักจับฝุ่นและมลพิษในอากาศได้ถึง 1.4 กิโลกรัม/ปี และยังช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศและกรองสารพิษในอากาศได้อีกด้วย จะเห็นว่าต้นไม้เพียงหนึ่งต้นก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ได้นานัปการ พื้นที่สีเขียวคือสิ่งจำเป็นต่อชีวิตผู้คนในสังคม สวนหย่อมและสวนสาธารณะที่กระจายอยู่ในเมืองใหญ่ ต่างทำหน้าที่เสมือนปอดที่ช่วยฟอกอากาศให้กับผู้อาศัย อีกทั้งยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจให้ได้ออกไปสูดอากาศนอกตัวอาคาร และเป็นสถานที่สำหรับออกกำลังกาย ที่ช่วยพัฒนาทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจให้กับผู้อยู่อาศัยในเมือง แต่เป็นที่น่าเสียดายที่การพัฒนาทางเศรษฐกิจและเติบโตของเมืองที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและไม่หยุดยั้ง ทำให้ต้นไม้และพื้นที่สีเขียวที่เคยมีถูกแทนที่ด้วยตึกรามบ้านช่อง อาคารสำนักงาน และถนนหนทาง องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้กำหนดสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสมสำหรับเมืองใหญ่ไว้ที่ 9 ตารางเมตร/คน ในขณะที่กรุงเทพมหานครที่ถือเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ที่ยังคงพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง สิ่งก่อสร้างต่างๆ ตลอดจนยวดยานพาหนะและประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้นสวนทางกับพื้นที่สีเขียวที่ลดน้อยถอยลง ทำให้สัดส่วนพื้นที่สีเขียวของคนกรุงเทพฯ ยังคงน้อยกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ข้อมูลจากสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ระบุว่า ณ เดือนพฤศจิกายน 2564 กรุงเทพฯ มีจำนวนสวนสาธารณะทั้งสิ้น 8,819 แห่ง รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 40,816,665 ตารางเมตร โดยแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ สวนเฉพาะทาง, สวนชุมชน,

Read More

“สะพานเขียว” สีเขียวเชื่อมย่าน สะพานเชื่อมเมือง

ทางเดินลอยฟ้าทาสีเขียวสบายตาขนาบข้างด้วยรั้วสแตนเลสทอดผ่านชุมชนเก่าแก่และศาสนสถานใจกลางย่านธุรกิจของเมือง เชื่อมสวนสาธารณะขนาดใหญ่สองแห่งเข้าไว้ด้วยกัน มีร่มเงาจากต้นไม้ใหญ่เป็นระยะ และถูกโอบล้อมด้วยตึกสูงรอบด้าน ที่รู้จักกันในชื่อ “สะพานเขียว” กำลังอยู่ในความสนใจของผู้คนจำนวนไม่น้อย ในฐานะพื้นที่สาธารณะสำหรับพักผ่อนและทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่หลายสถานที่ถูกสั่งปิดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 การได้ออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านจึงกลายเป็นสิ่งที่ใครหลายคนถวิลหา “สะพานเขียว” อาจจะเป็นที่รู้จักของใครหลายคน แต่ในขณะเดียวกันใครอีกหลายคนยังคงไม่รู้ถึงการมีอยู่ของพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองแห่งนี้ แม้ว่าจะถูกสร้างมาตั้งแต่ปี 2543 แล้วก็ตาม สะพานเขียวเป็นโครงสร้างทางเดินและจักรยานยกระดับที่ตั้งอยู่ใจกลางย่านศูนย์กลางธุรกิจ (Central Business District – CBD) ของกรุงเทพฯ เชื่อมระหว่างสวนลุมพินีสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศและสวนเบญจกิติเข้าด้วยกัน โดยมีจุดเริ่มต้นที่สี่แยกสารสินพาดผ่านชุมชนโปโล ชุมชนโบสถ์มหาไถ่ และชุมชนร่วมฤดี แหล่งพักอาศัยของชาวบ้านหลายร้อยครัวเรือน คร่อมคลองไผ่สิงโต ข้ามทางด่วนเฉลิมมหานคร ทอดยาวไปจนถึงปากซอยโรงงานยาสูบ ระยะทางรวมทั้งสิ้น 1.3 กิโลเมตร นับเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายและซับซ้อนทั้งในเชิงของมิติเศรษฐกิจและสังคม และเป็นสกายวอล์กแห่งแรกๆ ของกรุงเทพฯ แต่ก่อนจะเป็นสะพานเขียวอย่างในทุกวันนี้ ในอดีตสะพานเขียวทำหน้าที่เป็นเส้นทางสัญจรของผู้คนที่ใช้เดินทางไปมาระหว่างแยกสารสินและซอยโรงงานยาสูบ และใช้เพื่อการออกกำลังกายของคนในพื้นที่บ้าง โดยมีการใช้งานพลุกพล่านเพียงช่วงเช้าและยามเย็น แต่แทบไร้การใช้งานในช่วงเวลากลางวัน เพราะความร้อนระอุของเมือง รวมถึงโครงสร้างของสะพานที่ไร้ที่กันแดดกันฝน และร่มเงาจากต้นไม้ที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ไม่เอื้อกับการออกมาทำกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนกลางคืน เพราะตลอดเส้นทางกว่า 1.3 กิโลเมตร ค่อนข้างเปลี่ยว ไฟส่องสว่างมีไม่เพียงพอ เป็นแหล่งมั่วสุมและเอื้อต่อการเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ จึงยากที่จะปฏิเสธว่าสะพานเขียวเป็นพื้นที่อันตรายในภาพจำของใครหลายคน

Read More