Home > 2021 > มิถุนายน (Page 3)

เศรษฐกิจไทยยังไปไม่รอด รอปี 2566 ค่อยฟื้นตัวอีกครั้ง

ขณะที่การจัดหาและกระจายวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังดำเนินไปท่ามกลางความสับสนอลหม่านที่ติดตามมาด้วยการเลื่อนนัดหมายการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในวงกว้าง ภารกิจอีกด้านหนึ่งว่าด้วยการกระตุ้นและสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเพื่อให้กลไกทางเศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อไปได้ก็ดูจะยังไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กลไกรัฐมุ่งประสงค์ได้ และมีแนวโน้มจะทรุดต่ำลงไปเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง การปรับลดประมาณการและการคาดการณ์ถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยของหลายสำนักในช่วงที่ผ่านมา ได้สะท้อนข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่อย่างไม่อาจเลี่ยง แม้ว่ากลไกรัฐจะพยายามโหมประโคมประชาสัมพันธ์ถึงมาตรการและผลงานความสำเร็จในช่วงที่ผ่านมา หากแต่ดูเหมือนว่ามาตรการที่รัฐมีออกมาจะเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือมาตรการบรรเทาเหตุเบื้องต้น ที่ขาดจินตภาพและวิสัยทัศน์ในการกำหนดนโยบายที่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่รัฐบาลได้พยายามนำเสนอแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติภายใต้กรอบระยะเวลา 20 ปีระหว่างปี 2561-2580 หากแต่แผนดังกล่าวดูจะไม่ช่วยผลักดันการพัฒนาให้ประเทศหรือสังคมไทยดำเนินก้าวไปสู่ความจำเริญข้างหน้ามากนัก และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นปัจจัยฉุดรั้งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคมของไทยให้ต้องชะงักงันหรือแม้แต่ถอยหลังด้วยความเฉื่อยช้าลงไปอีก ความด้อยประสิทธิภาพและความล้มเหลวบกพร่องของแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ดังกล่าวในด้านหนึ่งเห็นได้ชัดจากกรณีของการบริหารจัดการในสภาวะวิกฤตที่เผชิญอยู่เบื้องหน้าว่าด้วยการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ไม่ได้จำกัดวงอยู่เฉพาะประเด็นว่าด้วยความปลอดภัยและสวัสดิการของประชาชนในมิติด้านการสาธารณสุขเท่านั้น หากยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตในเชิงเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคมที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนผลิตภาพทางเศรษฐกิจ ดูจะเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความล้าหลังไม่ทันต่อสถานการณ์ของแผนยุทธศาสตร์ฉบับดังกล่าว ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีสถานะคู่ควรต่อการเรียกว่าเป็นแผนยุทธศาสตร์ของชาติเสียด้วยซ้ำ เพราะขาดการประเมินผลและปัจจัยแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วอยู่ตลอดเวลาในยุคสมัยปัจจุบัน ข้อมูลที่น่าสนใจประการหนึ่งในช่วงที่ผ่านมาพบว่าทิศทางเศรษฐกิจไทยในเดือนพฤษภาคม 2564 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้รับผลจากการระบาดของ COVID-19 ในประเทศ ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันยังคงเพิ่มขึ้นสูง ในขณะที่ภาครัฐยังใช้มาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของCOVID-19 ในประเทศอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ระลอก 3 ที่มีความรุนแรง รวมถึงการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่ดำเนินไปอย่างไร้ความแน่นอนชัดเจน ทำให้ความคาดหวังที่จะเห็นเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้นจากการจ่อมจมอยู่ในปลักแห่งความซบเซามาอย่างยาวนาน มีแนวโน้มที่จะทอดยาวต่อเนื่องออกไปอีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1.5-2 ปีนับจากนี้ หรือหากกล่าวอีกนัยหนึ่งคือต้องรอไปจนถึงไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 เลยทีเดียว การประเมินดังกล่าวดูจะไม่เกินเลยไปนัก เมื่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

Read More

สหพัฒน์ ลุยจัดงานใหญ่ “สหกรุ๊ปแฟร์ ครั้งที่ 25” แบบออนไลน์ ช้อปสุดปังทุกแพลตฟอร์ม

เครือสหพัฒน์ ลุยจัดงานใหญ่ “สหกรุ๊ปแฟร์ ครั้งที่ 25” ภายใต้รูปแบบสหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์ ช้อปสุดปัง ทุกแพลตฟอร์ม “Shopee–Lazada-JD Central–SahaGroupOnline-Shop Channel” ยกทัพกว่า 200 แบรนด์ดังลดกระหน่ำสูงสุด 80% พร้อมโปรโมชันที่พลาดแล้วต้องเสียดาย 1-4 ก.ค.นี้ นายธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์ กล่าวว่า สหกรุ๊ปแฟร์เป็นมหกรรมจำหน่ายสินค้าเครือสพัฒน์ที่มีประวัติการจัดงานมายาวนานและได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้นทุกปี โดยปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 25 ภายใต้รูปแบบสหกรุ๊ปแฟร์ออนไลน์ ช้อปสุดปัง ทุกแพลตฟอร์ม เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทุกคนควรเว้นระยะห่างทางสังคม อีกทั้งยังสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่นิยมการซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้น งานสหกรุ๊ปแฟร์ ครั้งที่ 25 กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 1-4 กรกฎาคม 2564 พบกับสินค้าในเครือสหพัฒน์ที่ยกทัพมาให้ช้อปตลอด 24 ชั่วโมง ผ่าน 5 แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ของไทย ได้แก่ Shopee,

Read More

“พาณิชย์” จัดงานแสดงสินค้าเสมือนจริง BGJF Virtual Trade Fair นำทัพธุรกิจจิวเวลรี่ขายออนไลน์ทั่วโลก

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน BGJF Virtual Trade Fair (The 66th Special Edition) งานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในรูปแบบออนไลน์เต็มรูปแบบที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย จัดโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ระหว่างวันที่ 22-24 มิถุนายน 2564 ผ่านทางเว็บไซต์ www.bgjf-vtf.com งานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ Bangkok Gems and Jewelry Fair หรือ BGJF เป็นเวทีการค้าอัญมณีและเครื่องประดับระดับสากลที่สำคัญติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก จัดโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มาอย่างต่อเนื่องถึง 65 ครั้ง แต่เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ในปี 2563 ที่ผ่านมา ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการจัดงานแสดงสินค้าเสมือนจริงผ่านระบบออนไลน์เป็นครั้งแรก ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดียิ่ง และในปี 2564 นี้ ก็ได้ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

Read More

ไปต่อหรือพอแค่นี้? ผ่อนบ้านไม่ไหว มีทางออกไหนน่าสนใจบ้าง

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังสั่นคลอนความเชื่อมั่นของประชาชนและผู้ประกอบการไปจนถึงส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่หลายฝ่ายเคยคาดการณ์ไว้ว่าปี 2564 จะเป็นปีแห่งการฟื้นธุรกิจให้กลับมาเติบโตอีกครั้ง แม้จะเริ่มมีการทยอยฉีดวัคซีนต้านไวรัสให้กลุ่มเป้าหมายบางส่วนแล้ว แต่การแพร่ระบาดฯ ที่ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะควบคุมได้ในเร็ววันนี้ ย่อมส่งผลกระทบไปถึงความมั่นคงทางการเงินของผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้จะเคยมีประสบการณ์ในการรับมือวิกฤติในปีที่ผ่านมาแล้วก็ตาม เห็นได้จากผลสำรวจ "สถานภาพแรงงานไทย: กรณีศึกษาผู้มีรายได้ ต่ำกว่า 15,000 บาท” ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า สถานภาพหนี้ของแรงงานไทยปี 2564 นั้นมีหนี้สินของครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากปี 2562 มาอยู่ที่ 98.1% โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้จากการกู้ยืมเพื่อนำมาใช้จ่ายประจำวัน เพื่อการศึกษาและใช้หนี้บัตรเครดิต ส่วนใหญ่มีปัญหาการผิดนัดผ่อนชำระหนี้สูงถึง 85.1% เนื่องจากขาดสภาพคล่องทางการเงินจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และสภาพเศรษฐกิจ ส่งผลให้ภาระหนี้ครัวเรือนของแรงงานไทยในปีนี้ขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เฉลี่ยอยู่ที่ครัวเรือนละ 205,809 บาท หรือเพิ่มขึ้น 29.56% นอกจากนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวขึ้นน่าจะทำให้เงินกู้ยืมของภาคครัวเรือนในปี 2564 มีโอกาสเติบโตขึ้นสูงกว่าปี 2563 ซึ่งภาพดังกล่าวอาจส่งผลต่อเนื่องให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2564 ขยับสูงขึ้นมาอยู่ในกรอบประมาณ 89.0 - 91.0% ต่อจีดีพี เรียกได้ว่าปัญหาสภาพคล่องทางการเงินถือเป็นปัญหาสำคัญอันดับต้น ๆ ของผู้บริโภคในยุคนี้เลยก็ว่าได้ แน่นอนว่าในภาคอสังหาฯ ที่แม้จะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตของผู้บริโภค

Read More

“สะพานเขียว” สีเขียวเชื่อมย่าน สะพานเชื่อมเมือง

ทางเดินลอยฟ้าทาสีเขียวสบายตาขนาบข้างด้วยรั้วสแตนเลสทอดผ่านชุมชนเก่าแก่และศาสนสถานใจกลางย่านธุรกิจของเมือง เชื่อมสวนสาธารณะขนาดใหญ่สองแห่งเข้าไว้ด้วยกัน มีร่มเงาจากต้นไม้ใหญ่เป็นระยะ และถูกโอบล้อมด้วยตึกสูงรอบด้าน ที่รู้จักกันในชื่อ “สะพานเขียว” กำลังอยู่ในความสนใจของผู้คนจำนวนไม่น้อย ในฐานะพื้นที่สาธารณะสำหรับพักผ่อนและทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่หลายสถานที่ถูกสั่งปิดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 การได้ออกมาทำกิจกรรมนอกบ้านจึงกลายเป็นสิ่งที่ใครหลายคนถวิลหา “สะพานเขียว” อาจจะเป็นที่รู้จักของใครหลายคน แต่ในขณะเดียวกันใครอีกหลายคนยังคงไม่รู้ถึงการมีอยู่ของพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองแห่งนี้ แม้ว่าจะถูกสร้างมาตั้งแต่ปี 2543 แล้วก็ตาม สะพานเขียวเป็นโครงสร้างทางเดินและจักรยานยกระดับที่ตั้งอยู่ใจกลางย่านศูนย์กลางธุรกิจ (Central Business District – CBD) ของกรุงเทพฯ เชื่อมระหว่างสวนลุมพินีสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศและสวนเบญจกิติเข้าด้วยกัน โดยมีจุดเริ่มต้นที่สี่แยกสารสินพาดผ่านชุมชนโปโล ชุมชนโบสถ์มหาไถ่ และชุมชนร่วมฤดี แหล่งพักอาศัยของชาวบ้านหลายร้อยครัวเรือน คร่อมคลองไผ่สิงโต ข้ามทางด่วนเฉลิมมหานคร ทอดยาวไปจนถึงปากซอยโรงงานยาสูบ ระยะทางรวมทั้งสิ้น 1.3 กิโลเมตร นับเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายและซับซ้อนทั้งในเชิงของมิติเศรษฐกิจและสังคม และเป็นสกายวอล์กแห่งแรกๆ ของกรุงเทพฯ แต่ก่อนจะเป็นสะพานเขียวอย่างในทุกวันนี้ ในอดีตสะพานเขียวทำหน้าที่เป็นเส้นทางสัญจรของผู้คนที่ใช้เดินทางไปมาระหว่างแยกสารสินและซอยโรงงานยาสูบ และใช้เพื่อการออกกำลังกายของคนในพื้นที่บ้าง โดยมีการใช้งานพลุกพล่านเพียงช่วงเช้าและยามเย็น แต่แทบไร้การใช้งานในช่วงเวลากลางวัน เพราะความร้อนระอุของเมือง รวมถึงโครงสร้างของสะพานที่ไร้ที่กันแดดกันฝน และร่มเงาจากต้นไม้ที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ไม่เอื้อกับการออกมาทำกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนกลางคืน เพราะตลอดเส้นทางกว่า 1.3 กิโลเมตร ค่อนข้างเปลี่ยว ไฟส่องสว่างมีไม่เพียงพอ เป็นแหล่งมั่วสุมและเอื้อต่อการเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ จึงยากที่จะปฏิเสธว่าสะพานเขียวเป็นพื้นที่อันตรายในภาพจำของใครหลายคน

Read More

สรุปภาพรวมตลาดอาคารสำนักงานและตลาดโรงแรมในกรุงเทพฯ ไตรมาส 1 ปี 2564

หลังจากผ่านไปหนึ่งปีเต็มภายใต้แรงกดดันทางการเงินที่เกิดจากโควิด-19 และสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ได้ฟื้นตัวขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก พบว่า ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2564 ตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพมหานครต้องเผชิญกับภาวะซัพพลายที่กลับเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นจากการลดพื้นที่ของผู้เช่า ส่วนตลาดโรงแรมในกรุงเทพฯ มีอัตราการเข้าพักโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับที่มีความท้าทายเป็นอย่างมาก ตลาดอาคารสำนักงาน ตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทาย เนื่องจากผู้เช่าพิจารณาใช้พื้นที่ลดลงเพื่อลดค่าใช้จ่ายและมีการใช้นโยบายให้พนักงานบางส่วนทำงานจากที่บ้าน แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่า ปริมาณพื้นที่สำนักงานในกรุงเทพฯ ในไตรมาสแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้น 25,000 ตารางเมตร เป็น 9.26 ล้านตารางเมตร จากอาคารดับบลิวเอชเอ ทาวเวอร์ (WHA Tower) ในย่านบางนา – ตราด โดยพื้นที่ส่วนหนึ่งในอาคารเป็นการใช้พื้นที่ของเจ้าของอาคารเอง ซึ่งทำให้ซัพพลายในย่านนี้คิดเป็นเพิ่ม 13% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา และในย่านดังกล่าวมีอัตราการใช้พื้นที่สำนักงานโดยรวมอยู่ที่ 80.4% ณ ไตรมาส 1 ปี 2564 ในด้านการใช้พื้นที่สำนักงานที่เพิ่มขึ้นใหม่ในไตรมาส 1 ปี 2564 นั้น แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่า

Read More

ขนส่งสินค้าทางเรือวุ่นหนัก วิกฤตตู้ขาดแคลนดันค่าระวางขยับตัวสูง

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องยาวนานมามากกว่าหนึ่งปีครึ่ง กำลังเป็นปัจจัยกดทับให้ธุรกิจการขนส่งสินค้าทางเรือเผชิญกับความโกลาหลครั้งใหม่ หลังจากที่การหมุนเวียนของตู้คอนเทนเนอร์เปล่าอยู่ในภาวะขาดแคลน ท่ามกลางความต้องการของผู้ผลิตสินค้าที่หวังจะส่งออกสินค้าไปยังตลาดและผู้บริโภคมากขึ้น จนทำให้ค่าขนส่งสินค้าทางเรือในหลายเส้นทางปรับตัวสูงขึ้น และทำสถิติใหม่ในรอบปีไปโดยปริยาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกรวมถึงผู้ผลิตสินค้าอย่างมาก ผู้ส่งออกสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัจจัยดังกล่าว หลังจากที่ราคาค่าขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางเรือหลายเส้นทางได้ทำสถิติสูงสุดในรอบหลายปี โดยสาเหตุหลักส่วนหนึ่งมาจากตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนในหลายท่าเรือที่มีการสัญจรหนาแน่น ซึ่งผลกระทบดังกล่าวยังลามไปถึงห่วงโซ่การผลิตในหลายประเทศ และอาจกระทบกับภาพรวมของเศรษฐกิจโลกได้ ก่อนหน้านี้ การสำรวจภาพรวมของค่าส่งสินค้าทางเรือในช่วงที่ผ่านมา พบว่าราคาของค่าขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต ในเส้นทางระหว่างเซี่ยงไฮ้ของจีนถึงรอตเตอร์ดัมในยุโรป ปรับตัวขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่อยู่ที่ 8,900 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ตู้ จากราคาปกติซึ่งอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เส้นทางระหว่างเซี่ยงไฮ้-ลอสแองเจลิส ได้ทำราคาสูงสุดใหม่เช่นกัน โดยปรับตัวไปอยู่ที่ประมาณ 4,200 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ราคาปกติอยู่ที่เพียงไม่เกิน 2,700 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น หากแต่สถานการณ์ล่าสุดดูจะหนักหน่วงขึ้นไปอีก เมื่อราคาค่าขนส่งของตู้สินค้าขนาด 40 ฟุตจากเซี่ยงไฮ้ไปยังรอตเตอร์ดัมปรับตัวมีราคาสูงถึง 10,522 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ตู้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยตามฤดูกาลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 547 โดยอ้างอิงจากข้อมูลของ Drewry Shipping ซึ่งเป็นบริษัทด้านการวิจัยข้อมูลทางทะเลระดับโลก

Read More

เพราะผู้หญิงมีเรื่องเล่า เราจึงต้องตั้งใจฟัง ออร์กานอน กับภารกิจรับฟังทุกปัญหาสุขภาพผู้หญิงทุกช่วงวัย

ด้วยสรีระร่างกายและฮอร์โมนที่ซับซ้อนทำให้ผู้หญิงแต่ละวัยต้องพบกับปัญหาชวนปวดหัวไม่น้อย และเรื่องเหล่านี้ต้องการความเข้าใจเป็นพิเศษ เพื่อช่วยเสริมสร้างและผลักดันให้ผู้หญิงได้ใช้ชีวิตและมีสุขภาพดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่สร้างความปวดหัวให้กับผู้หญิงได้ชัดเจนที่สุดคงหนีไม่พ้นการมีประจำเดือนในช่วงวัยรุ่น ซึ่งหมายถึงการที่ร่างกายเตรียมพร้อมสู่การมีบุตรแล้ว หากผู้หญิง (รวมถึงผู้ชาย) ในวัยนี้ไม่ได้รับความรู้เรื่องเพศศึกษาที่เหมาะสม รวมไปถึงการปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบในการมีเพศสัมพันธ์ การป้องกันตัวเอง และการคุมกำเนิด ก็จะนำไปสู่ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งปัจจุบันนับเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพหลักของผู้หญิงในประเทศไทย โดยจากรายงานของสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ในปี 2563 ระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละวันมีเด็กจำนวน 169 คนที่เกิดจากแม่วัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ในขณะที่มีเด็กเกิดจากแม่ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี เฉลี่ยวันละ 6 คน เมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่หรือวัยทำงาน ปัญหาสุขภาพของผู้หญิงเริ่มหลากหลายขึ้น เพราะมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เพิ่มเข้ามามากมาย ไม่ว่าจะเป็นสภาวะร่างกายที่เปลี่ยนไป หรือปัจจัยภายนอก ทั้งความเครียดจากการทำงาน หรือความเสี่ยงจากการใช้ชีวิตในด้านอื่นๆ นำมาสู่โรคภัยต่างๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ รวมถึงเนื้องอกในมดลูก ซึ่งพบมากในผู้หญิงไทย ช่วงอายุ 30-40 ปี โดยเกิดจากเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกโตผิดปกติ และยังสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเพศหญิงและพันธุกรรม ไม่เพียงเท่านี้ ผู้หญิงยังต้องแบกรับความรับผิดชอบและความเสี่ยงทางสุขภาพจากการมีบุตร ไม่ว่าจะโรคแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ หรือความเสี่ยงจากการคลอดบุตร จึงจำเป็นต้องได้รับการปกป้องดูแลอย่างเหมาะสมด้วย ต่อมาผู้หญิงยังต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งเมื่อเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน

Read More

IMH เตรียมฉีด“ซิโนฟาร์ม” 25 มิ.ย.นี้ เดินหน้าตอกย้ำการเป็นผู้นำในการตรวจโควิด-19 แบบครบวงจร

บมจ.โรงพยาบาลอินเตอร์เมดิคัล แคร์ แอนด์ แล็บ (IMH) ประกาศตอกย้ำการเป็นผู้นำในการตรวจโควิด-19 แบบครบวงจร เสิร์ฟข่าวดีส่งท้าย Q2/64 คว้าสิทธิลงทะเบียน เป็นสถานพยาบาลให้บริการฉีดวัคซีนตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม” ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นที่เรียบร้อย เตรียมดีเดย์ฉีคเข็มแรก 25 มิ.ย.นี้ พร้อมส่งซิกมีลูกค้าเลือกขอรับบริการฉีดกับ IMH แล้วกว่า 35,000 ราย มั่นใจภายใน Q3/64 นี้ จะมีผู้ใช้บริการครบ 50,000 ราย หรือ 100,000 โดส อย่างแน่นอน ดร.สิทธิวัตน์ กำกัดวงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลอินเตอร์เมดิคัลแคร์ แอนด์ แล็บ จำกัด (มหาชน) หรือ IMH และประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลประชาพัฒน์ เปิดเผยว่า ล่าสุด บริษัทฯ ได้ลงทะเบียนเป็นสถานพยาบาลให้บริการฉีดวัคซีนตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม” ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

Read More

ครึ่งปีเศรษฐกิจไทย กับโจทย์เฉพาะหน้าที่รัฐต้องเร่งแก้

การระบาดของเชื้อโควิดระลอก 3 ในไทย นับว่าเป็นการระบาดที่หนักกว่าสองรอบที่ผ่านมา ทั้งในด้านของจำนวนผู้ติดเชื้อที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องแม้ว่าเวลาจะล่วงเลยมา 2 เดือน และยังไม่มีท่าทีที่จะลดจำนวนลง อีกทั้งยังเกิดขึ้นในหลายกลุ่มคลัสเตอร์และกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ขณะที่ผลของการแพร่ระบาดในระลอก 3 เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในไตรมาสแรกของปีนี้ที่ติดลบ 2.6 เปอร์เซ็นต์ เป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจน แม้ว่าจีดีพีไทยจะติดลบอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 ช่วงปลายปี 2563 เป็นต้นมา สถานการณ์หลายด้านจะเริ่มดีขึ้นตามลำดับ เศรษฐกิจบางตัวเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัว ประกอบกับความหวังในเรื่องวัคซีนที่เริ่มเร่งการพัฒนา ผลิต และแจกจ่ายระดมฉีดกันในหลายประเทศ ทว่า ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจไทย การเงิน ด้านแรงงาน การลงทุน ที่ไทยประสบอยู่เดิมทำให้ไทยบอบช้ำง่ายขึ้นจากวิกฤตโควิดระลอก 3 หลายกิจการพยายามจะประคองตัวให้ผ่านพ้นห้วงเวลาอันเลวร้ายนี้ ภายใต้ข้อจำกัดหลายด้านที่เป็นมาตรการด้านสาธารณสุขจากภาครัฐ แต่คล้ายกับว่าสงครามที่มนุษยชาติต้องฟาดฟันห้ำหั่นกับเชื้อไวรัส ไม่อาจไขว่คว้าชัยชนะมาอย่างง่ายดาย ข้อมูลจากผู้บริหารฟู้ดแพนด้า ระบุว่า มีร้านอาหารที่อยู่บนแพลตฟอร์มต้องปิดตัวลงเพราะ Covid-19 (ทั้งชั่วคราวและถาวร) ถึง 25,000 ราย อีกทั้งผู้บริโภคที่สั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มของฟู้ดแพนด้าลดจำนวนลง และเปลี่ยนไปประกอบอาหารรับประทานเองมากขึ้น หลังเข้าสู่สัปดาห์ที่สอง ล่าสุด ฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย ประเมินว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการร้านอาหารปิดกิจการทั้งแบบชั่วคราวและถาวรแล้ว 50,000 ราย

Read More