Home > Non-oil

เปิดขุมทรัพย์ PTG 8 กลุ่มธุรกิจ รายได้แสนล้าน

หลังใช้เวลาโลดแล่นในวงการมากกว่า 3 ทศวรรษ “พีทีจี เอ็นเนอยี” เร่งเดินหน้าโรดแมป PTG Business Outlook : Drive for Tomorrow ตามแผนทรานส์ฟอร์มธุรกิจจาก Oil-Non oil เป็นธุรกิจ Co-Create Ecosystem รุกอุตสาหกรรมในอนาคต เพื่อผลักดันสัดส่วนกำไรจาก Non-oil สู่ระดับ 50% และขึ้นแท่นเป็น Global Company โดยเฉพาะปีนี้ พีทีจีทุ่มเงินลงทุนลุยยกระดับสถานีบริการน้ำมันแบรนด์ PT และยกระดับบริการที่เรียกว่า PT Service Master ใน 3 มิติ ตั้งแต่การขยายสาขาครบ 2,206 สาขา การตั้ง PT Service Master ให้คำแนะนำลูกค้า มี Max Camp ให้ลูกค้าได้เข้าพักผ่อนระหว่างการเดินทาง และการรวบรวมความต้องการของกลุ่มลูกค้าต่าง ๆ

Read More

“กาแฟพันธุ์ไทย” ติดเทอร์โบ อัด 5 ปี 5 พันสาขา

“พีทีจี เอ็นเนอยี” เริ่มแตกไลน์ธุรกิจ “ร้านกาแฟพันธุ์ไทย” เมื่อปี 2555 ตามแผนยุทธศาสตร์อัปเกรดสถานีบริการน้ำมัน PT Station และรุกกลุ่ม Non-oil อย่างจริงจัง โดยปักหมุดแรก สาขาบางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา เน้นเสน่ห์เอกลักษณ์ไทย สัญลักษณ์รูปช้าง กระทั่งล่าสุดขยายเครือข่ายมากกว่า 570 แห่ง และปีนี้ตั้งเป้าปูพรมแบบก้าวกระโดดครบ 1,500 สาขาด้วย ยิ่งไปกว่านั้น พิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) ประกาศโรดแมป “PTG Business Outlook : Drive for Tomorrow” ภายใน 5 ปีข้างหน้า จะมี Retail Oil Market Share กว่า 25% มีจำนวนสมาชิก

Read More

เมื่อคนผวาห้าง แห่เข้าปั๊ม OR ดัน Living Community ฉลุย

ปั๊ม ปตท. พลิกรูปแบบหลายตลบหลังจุดเปลี่ยนเมื่อปี 2545 เริ่มนำธุรกิจ Non-Oil เข้ามาให้บริการในสถานีบริการน้ำมันภายใต้แนวคิด One Stop Service ก่อนรุกขยายคอนเซ็ปต์สู่ Mini Community Mall จนล่าสุด บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ตัดสินใจสร้างแบรนด์ใหม่ PTT Station ผลักดันโมเดล Living Community เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภครอบด้านมากที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น ในสถานการณ์โควิดที่ผู้คนต้องลดความเสี่ยงการแพร่ระบาด หลายคนงดเข้าห้างใหญ่ แต่หันมาจับจ่ายในสถานีบริการน้ำมันยุคใหม่ที่มีดีไซน์ทันสมัยและบริการหลากหลายไม่ต่างจากศูนย์การค้าขนาดย่อมๆ หากสำรวจสถานีบริการ PTT Station โฉมใหม่ โดยเฉพาะสาขาเปิดใหม่จะไม่ใช่แค่ลานกว้างบริการเติมน้ำมัน แต่เน้นพื้นที่ขนาดใหญ่ เพื่อเติมเต็มร้านค้าและบริการต่างๆ ทั้งศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร สถานีชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) ธุรกิจค้าปลีกในเครือ ร้านกาแฟ Café Amazon และเพิ่มร้านอาหารทุกประเภท ทั้งกลุ่มฟาสต์ฟู้ด ร้านอาหารแบรนด์ดังและร้านเอสเอ็มอี เช่น

Read More

ปตท. ดัน OR ลุยตลาดหุ้นวัวดุ ระดม 7 หมื่นล้าน รุกนอนออยล์

ปตท. เดินหน้าดันแผนเสนอขายหุ้นไอพีโอ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมนี้ และคาดจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ท่ามกลางปัจจัยลบพิษโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ยังมีผู้ติดเชื้อใหม่โผล่ขึ้นทุกวัน ว่ากันว่า ตามแผน OR จะเสนอขายหุ้น IPO ไม่เกิน 3,000 ล้านหุ้น โดยมีกูรูประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) อยู่ที่ประมาณ 2.3 แสนล้านบาท คำนวณราคาหุ้นจะอยู่ที่ประมาณ 20 บาทต่อหุ้น และน่าจะสามารถเข้าคำนวณในดัชนี SET50 ได้หลังเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องยอมรับว่า บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ในฐานะบริษัทแม่และ OR พยายามดึงเวลา เพื่อประเมินสถานการณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอันตรายตลอดปี 2563 หลังจากยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน

Read More

“โออาร์” เร่งปลุกภาพลักษณ์ ปูพรมแดงเข้าตลาดหลักทรัพย์

ยักษ์ใหญ่ ปตท. ถือฤกษ์ 1 พฤศจิกายน 2562 เปิดตัวบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ “โออาร์” อย่างเป็นทางการ ภายใต้แนวคิดหลัก TOGETHER FOR BETTERMENT พร้อมๆ กับประกาศเดินหน้าเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะบริษัทเรือธง (Flagship) ด้านการดำเนินธุรกิจน้ำมันและธุรกิจค้าปลีกทั้งในประเทศและยกระดับเป็นแบรนด์ไทยชั้นนำระดับโลก ที่สำคัญ โออาร์ต้องการตอบโจทย์ใหญ่อีก 3 ข้อ ซึ่งรัฐบาลกำหนดเป็นเงื่อนไขการเข้าระดมทุน ข้อ 1 การสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน ข้อ 2 การดูแลสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากตามนโยบายหลักของรัฐบาล และ ข้อ 3 การเข้าตลาดของโออาร์ สร้างความแข็งแกร่งในตลาดต่างประเทศ พาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เติบโตได้ นั่นทำให้การเปิดตัวบริษัทไม่ได้เน้นหนักเฉพาะแผนการขยายอาณาจักรธุรกิจ แต่ทีมผู้บริหาร โดยเฉพาะนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานกรรมการ และนางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่

Read More

พีทีที โออาร์ เปิดคาเฟ่ อเมซอน สาขาแรกในมาเลเซีย ขยายตลาดเอเชียเป็นประเทศที่ 9

นายณรงค์ ศศิธร เอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีที โออาร์ นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล และนายวาน คามารุดดิน (Wan Kamaruddin) ร่วมพิธีเปิด คาเฟ่ อเมซอน สาขา เซ็นทรัล ไอ-ซิตี้ (Central i-City) ซึ่งเป็นสาขาแรกในประเทศมาเลเซียและเป็นสาขาที่ 2,808 ของ คาเฟ่ อเมซอนทั่วโลก นางสาวจิราพร กล่าวว่า พีทีที โออาร์ ในฐานะบริษัท Flagship ของกลุ่ม ปตท. ด้านการค้าน้ำมันและการค้าปลีก มีวิสัยทัศน์ในการเป็นแบรนด์ไทยชั้นนำระดับโลก ที่สร้างคุณค่าให้กับชุมชน ผ่านการดำเนินธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยมีพันธกิจในการสร้างคุณค่าร่วมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล

Read More

125 ปี เชลล์ จังหวะก้าวสู่ความเป็นหนึ่ง

ย้อนหลังไปเมื่อปี พ.ศ. 2435 ที่เชลล์เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในไทย ในครั้งนั้นเรือ เอส เอส มิวเร็กซ์ ซึ่งเป็นเรือบรรทุกน้ำมันเข้าจอดเทียบท่าที่กรุงเทพ เมื่อวันที่ 23 กันยายน ปีนั้น นับเป็นการนำเข้าน้ำมันก๊าดครั้งแรกของไทย แน่นอนว่านับตั้งแต่ปีนั้น ตลาดน้ำมันก๊าดขยายตัวใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ คนไทยจำนวนหนึ่งอาจจะเคยคุ้นชินกับ “ตรามงกุฎ” น้ำมันก๊าดของเชลล์ ซึ่งในขณะนั้นบริษัท เมสเซอร์ส มาร์ควอล์ด แอนด์ โค เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของเชลล์ในประเทศไทย จากนั้น บริษัท เอเชียติก ปิโตรเลียม (สยาม) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัทรอยัลดัทช์/เชลล์ ได้แต่งตั้ง บริษัท บอร์เนียว จำกัด ให้เป็นผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของเชลล์ในประเทศไทย ธุรกิจการนำเข้าน้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ดำเนินไปได้ด้วยดี กระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น เป็นเหตุให้บริษัท เอเชียติก ปิโตรเลียม ต้องปิดกิจการชั่วคราว และภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง เชลล์ได้รับการติดต่อจากรัฐบาลไทยให้กลับเข้ามาดำเนินกิจการในไทยอีกครั้ง

Read More

ย้อนรอยดีลฮุบ “เจ็ท” สงคราม “จีสโตร์” เดือด

 19 เมษายน 2550 วันบรรลุดีลประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งในวงการน้ำมัน เมื่อบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทุ่มเม็ดเงินเกือบ 10,000 ล้านบาท เอาชนะการประมูล เซ็นสัญญาฮุบกิจการค้าปลีกน้ำมัน “JET” 147 แห่ง และร้านสะดวกซื้อแบรนด์ "Jiffy” ในประเทศไทยทั้งหมดจากบริษัท  ConocoPhillips ประเทศสหรัฐอเมริกา    การควบรวมกิจการครั้งนั้นเขย่าขวัญคู่แข่ง เพราะ ปตท. มีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นทันทีอีก 5-6% หรือประมาณ 34-35% มากกว่า 1 ใน 3 ของตลาด จากเดิมยึดกุมไว้ 1 ใน 4 และมีสถานีบริการน้ำมันเพิ่มขึ้นรวมกว่า 1,300 แห่งทั่วประเทศ ถือเป็นการติดปีกรุกตลาดธุรกิจค้าปลีกน้ำมันแบบครบเครื่องอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ดีล “เจ็ท” ไม่ใช่แค่แผนตัดต้นทุนการขยายสถานีบริการน้ำมัน  จากเดิม ปตท. ตั้งเป้าปูพรมผุดปั๊มขนาดใหญ่ระดับ Premium Station ทั่วประเทศเพิ่มอีก 200

Read More