Home > ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์

ปัจฉิมกาลของนิตยสาร กับบทบาทใหม่ของหอสมุด

พัฒนาการอันก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในยุคนี้ส่งผลให้เกิดกระแสเชี่ยวกรากของสื่อออนไลน์ ที่พัดพาเอาหลายสิ่งหลายอย่างเข้ามาให้เราได้เรียนรู้ ทำความรู้จัก เข้าใจ ขณะเดียวกันกระแสดังกล่าวทำให้บางสิ่งถูกพัดหายไปจากสังคม ภาพสะท้อนความทันสมัยของเทคโนโลยีที่เห็นชัดคือ พฤติกรรมของผู้อ่านหน้าเดิมเปลี่ยนไป จากที่เคยเข้าร้านหนังสือเพื่อซื้อสิ่งพิมพ์ที่อุดมไปด้วยข่าวสาร หรือสาระอันเป็นประโยชน์ สู่การใช้ปลายนิ้วสัมผัสหน้าจออุปกรณ์สื่อสารเพื่อค้นหาข้อมูลข่าวสารตามหน้าฟีดจากแอปพลิเคชันต่างๆ แทน สิ่งที่ตามมาคือ สื่อสิ่งพิมพ์หลายหัวถูกลดทอนความสำคัญลง กระทั่งหลายฉบับถูกกลืนหายไปในสังคมดิจิทัล ข่าวคราวของการเดินทางครั้งสุดท้ายของสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิตยสาร ที่ข่าวการประกาศปิดตัวมีให้เห็นบ่อยครั้งจนเกือบกลายเป็นเรื่องชินตาไปแล้ว และปล่อยนิตยสารปัจฉิมฉบับไว้อำลาแผงหนังสืออย่างน่าเสียดาย การปิดตัวของบรรดาสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร น่าจะมาจากปัญหาที่หลายบริษัทประสบพบเจอในห้วงยามนี้ ที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งเป็นเรื่องของการขาดดุลระหว่างรายได้และรายจ่าย ทั้งนี้นับตั้งแต่สื่อออนไลน์เริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย งบประมาณและเม็ดเงินโฆษณาของหลายบริษัทถูกจัดสรรใหม่ และให้ค่ากับสื่อออนไลน์มากขึ้น โดย ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ-สายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด (MI) เปิดเผยข้อมูลการวิเคราะห์ตัวเลขจากการใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณาตลอดปี 2017 โดยตัวเลขการใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณาในปี 2017 สามารถแบ่งตามประเภทสื่อต่างๆ ได้ดังนี้ 1. สื่อโทรทัศน์ 44,941 ล้านบาท 2. สื่อวิทยุ (เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ) 3,459 ล้านบาท 3. สื่อสิ่งพิมพ์ 7,738 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้วอย่างเห็นได้ชัด 4. สื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์

Read More

อนาคตของสื่อไทย หมดเวลาของนักวิชาชีพ??

ข่าวการปิดตัวลงของสื่อสิ่งพิมพ์หลายสำนักในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการรุกคืบเข้ามาของกลุ่มทุนใหญ่เพื่อถือครองหุ้นและลงทุนในธุรกิจสื่อได้ก่อให้เกิดคำถามถึงทิศทางของสื่อสารมวลชนไม่จำกัดเฉพาะในมิติของสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น หากแต่หมายรวมครอบคลุมไปสู่สื่อวิทยุโทรทัศน์อย่างรอบด้านด้วย สาเหตุหลักที่ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์หลายแห่งจำเป็นต้องยุติการพิมพ์ในด้านหลักมักดำเนินไปภายใต้คำอธิบายที่ยึดโยงกับภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องไปสู่รายได้จากค่าโฆษณาที่ทยอยปรับตัวลงตามแนวโน้มดังกล่าว ขณะที่ต้นทุนการผลิตไม่ได้ปรับตัวลดลง มิหนำซ้ำยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น ความไม่สมดุลที่ว่านี้ได้กลายเป็นกับดักให้ผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์จำนวนไม่น้อยเริ่มขาดทุนสะสมและกลายเป็นภาระหนี้ ที่นำไปสู่การล่มสลายและปิดตัวลงไปในที่สุด กระนั้นก็ดี ประเด็นที่มีความแหลมคมยิ่งไปกว่านั้นก็คือการปรับเปลี่ยนประพฤติกรรมของผู้บริโภค และการมาถึงของสื่อดิจิทัล ออนไลน์ ที่ดูจะตอบสนองและสอดรับกับวิถีชีวิตของผู้คนร่วมสมัย ซึ่งแม้ว่าผู้ประกอบการหลายรายจะพยายามดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดด้วยการปรับเนื้อหา รวมถึงช่องทางในการเข้าถึงไปสู่การนำเสนอในรูปแบบของ e-magazine e-contents อย่างขะมักเขม้น หากแต่พัฒนาการของเทคโนโลยีที่เลื่อนไหลอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับความท้าทายในการพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องกับทั้งมิติของเงินทุนและกรอบเวลาใหม่ของการนำเสนอ ขณะที่กลไกการแสวงหารายได้จากสื่อที่ว่านี้วิ่งตามไปไม่ทันและบ่อยครั้งดำเนินไปด้วยความเฉื่อยจากความคุ้นชินของทีมงานฝ่ายขายที่ยังจ่อมจมอยู่กับภาพความรุ่งเรืองในอดีตของธุรกิจสิ่งพิมพ์ ก่อนหน้านี้มีการประเมินว่า มูลค่าเงินโฆษณาที่กระจายเข้าสู่สื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะในกลุ่มนิตยสารมีอยู่ในระดับประมาณ 6 พันล้านบาทต่อปี ซึ่งการปิดตัวลงของนิตยสารหลายฉบับในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งยังเชื่อว่าหากสามารถรักษาตัวรอดต่อไปได้ก็ยังมีโอกาสในทางธุรกิจอยู่บ้างจากข้อเท็จจริงที่ว่าจำนวนหัวหนังสือที่จะมาแย่งชิงส่วนแบ่งเงินค่าโฆษณานี้มีลดลง แม้ว่าในอีกด้านหนึ่งเม็ดเงินโฆษณาในตลาดอาจลดลงไปก็ตาม ทั้งนี้ยังไม่นับรวมถึงความพยายามของผู้ประกอบการสื่อหลายแห่ง ที่พยายามต่อยอดและมีส่วนร่วมอยู่ในกระบวนการพัฒนาของโทรทัศน์ดิจิทัล ด้วยหวังว่าเนื้อหาสาระและคลังข้อมูลที่มีอยู่จะสามารถนำไปปรับใช้ และเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อชนิดใหม่ ซึ่งนอกจากจะเป็นไปเพื่อรักษาสถานภาพของการเป็นสื่อควบคู่กับการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ กรณีดังกล่าวได้กลายเป็นทั้งความพยายามและความเสี่ยงที่ทำให้สภาพและสถานการณ์ทางธุรกิจของผู้ประกอบการแต่ละแห่งดำเนินไปอย่างไร้ทางออกยิ่งขึ้นอีก ปรากฏการณ์แห่งการล่มสลายของผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในบริบทของสังคมไทยแต่โดยลำพังหากแต่เป็นกระแสธารแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ Time Inc. บริษัทสื่อที่มีอายุยืนยาวนับร้อยปี และเป็นเจ้าของนิตยสาร Time และสื่อแบรนด์ดังในเครือทั้ง Sport Illustrated, People, Moneyและ Fortune ที่ประกาศปิดดีลขายกิจการให้กับ Meredith Corporation ยักษ์ใหญ่วงการสื่อของสหรัฐอเมริกาด้วยมูลค่า 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

Read More

ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ไทย ในวันลมหายใจรวยริน

 ข่าวการปิดตัวไปของสื่อสิ่งพิมพ์และนิตยสารหลายฉบับในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และการคาดการณ์ต่างๆ นานา ถึงอนาคตของธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ว่ากำลังจะอัสดงลาลับดับแสงลงแล้วหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงยามแห่งยุคสมัยที่ประพฤติกรรมของผู้คนปรับเปลี่ยนไปสู่แพลทฟอร์มอื่นๆ และพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้การเสพรับข่าวสารในปัจจุบันสามารถกระทำได้หลากหลายช่องทางมากขึ้น ผู้บริหารและบรรณาธิการของนิตยสารหลายฉบับที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบและความถี่ในการนำเสนอหรือแม้กระทั่งยุติ-ปิดตัว ระงับการพิมพ์ ถึงกับให้ความเห็นไปในทิศทางใกล้เคียงกันในท่วงทำนองที่ระบุว่า ยุคสมัยของนิตยสารกระดาษกำลังจะสิ้นสุดลงแล้ว เพราะโลกยุคปัจจุบัน พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปมาก สื่อสิ่งพิมพ์ไม่มีทางสู้กับความรวดเร็วทันใจของสื่อดิจิตอลได้ ทุกวันนี้ใครๆ ก็บริโภคข่าวสารและข้อมูลจากมือถือและอินเทอร์เน็ต ไม่มีใครรออ่านนิตยสารที่จับต้องได้ “ผู้บริโภคมองหาแต่นิวมีเดียใหม่ๆ แนวโน้มนี้เกิดขึ้นทั่วโลก มันหมดยุคของแมกกาซีนแล้วจริงๆ ยิ่งในสภาพเศรษฐกิจซบเซาแบบนี้ ต่อให้สายป่านยาวแค่ไหนก็รอดยาก” พนิตนาฎ แย้มเพกา บรรณาธิการบริหารนิตยสารเปรียว ซึ่งปิดตัวเองไปเมื่อปลายปี 2558 หลังจากโลดแล่นอยู่ในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ไทยมานานกว่า 35 ปี ระบุ ประเด็นที่น่าสนใจของกรณีที่ว่านี้ ก็คือภาวะวิกฤตในวงการสื่อสิ่งพิมพ์มิได้เป็นปฏิกิริยาชั่วข้ามคืนหากแต่เป็นปรากฏการณ์ที่ได้ส่งเค้าลางแห่งความเสื่อมถอยให้เห็นเป็นระยะ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอ่านการบริโภคข่าวสารของผู้อ่านเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ โดยเฉพาะประเด็นว่าด้วยแหล่งที่มาของรายได้จากค่าโฆษณาเป็นปัจจัยเร่งอีกทางหนึ่งด้วย ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นอยู่ที่ในช่วงระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา (2548-2558) รายได้จากค่าโฆษณาที่เคยเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ให้สามารถก้าวเดินไปข้างหน้า หดหายไปจากระบบมากกว่าร้อยละ30-40 มูลเหตุด้านหนึ่งได้รับการประเมินว่าเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในระดับนานาชาติ และสถานการณ์ความไม่สงบวุ่นวายไร้ทิศทางของการเมืองภายในประเทศ หากแต่ในอีกด้านหนึ่งต้องยอมรับว่า สื่อสิ่งพิมพ์ถูกสื่อในรูปแบบและช่องทางอื่นๆ ขยับตัวขึ้นมาท้าทายและกลายเป็นคู่แข่งขันในการดึงดูดเม็ดเงินค่าโฆษณาอย่างมีนัยสำคัญด้วย ผลสำรวจของ บริษัท เดอะนีลเส็นคอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด ในช่วงที่ผ่านมาได้เน้นย้ำข้อเท็จจริงที่ว่านี้ โดยระบุว่า เงินค่าโฆษณาในธุรกิจสิ่งพิมพ์ในช่วงปี

Read More