Home > Digital Library

ปัจฉิมกาลของนิตยสาร กับบทบาทใหม่ของหอสมุด

พัฒนาการอันก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในยุคนี้ส่งผลให้เกิดกระแสเชี่ยวกรากของสื่อออนไลน์ ที่พัดพาเอาหลายสิ่งหลายอย่างเข้ามาให้เราได้เรียนรู้ ทำความรู้จัก เข้าใจ ขณะเดียวกันกระแสดังกล่าวทำให้บางสิ่งถูกพัดหายไปจากสังคม ภาพสะท้อนความทันสมัยของเทคโนโลยีที่เห็นชัดคือ พฤติกรรมของผู้อ่านหน้าเดิมเปลี่ยนไป จากที่เคยเข้าร้านหนังสือเพื่อซื้อสิ่งพิมพ์ที่อุดมไปด้วยข่าวสาร หรือสาระอันเป็นประโยชน์ สู่การใช้ปลายนิ้วสัมผัสหน้าจออุปกรณ์สื่อสารเพื่อค้นหาข้อมูลข่าวสารตามหน้าฟีดจากแอปพลิเคชันต่างๆ แทน สิ่งที่ตามมาคือ สื่อสิ่งพิมพ์หลายหัวถูกลดทอนความสำคัญลง กระทั่งหลายฉบับถูกกลืนหายไปในสังคมดิจิทัล ข่าวคราวของการเดินทางครั้งสุดท้ายของสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิตยสาร ที่ข่าวการประกาศปิดตัวมีให้เห็นบ่อยครั้งจนเกือบกลายเป็นเรื่องชินตาไปแล้ว และปล่อยนิตยสารปัจฉิมฉบับไว้อำลาแผงหนังสืออย่างน่าเสียดาย การปิดตัวของบรรดาสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร น่าจะมาจากปัญหาที่หลายบริษัทประสบพบเจอในห้วงยามนี้ ที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งเป็นเรื่องของการขาดดุลระหว่างรายได้และรายจ่าย ทั้งนี้นับตั้งแต่สื่อออนไลน์เริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย งบประมาณและเม็ดเงินโฆษณาของหลายบริษัทถูกจัดสรรใหม่ และให้ค่ากับสื่อออนไลน์มากขึ้น โดย ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ-สายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด (MI) เปิดเผยข้อมูลการวิเคราะห์ตัวเลขจากการใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณาตลอดปี 2017 โดยตัวเลขการใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณาในปี 2017 สามารถแบ่งตามประเภทสื่อต่างๆ ได้ดังนี้ 1. สื่อโทรทัศน์ 44,941 ล้านบาท 2. สื่อวิทยุ (เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ) 3,459 ล้านบาท 3. สื่อสิ่งพิมพ์ 7,738 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้วอย่างเห็นได้ชัด 4. สื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์

Read More

ถึงยุคดิจิทัล เมื่อหอสมุดแห่งชาติขยับตัว

เทคโนโลยีก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของคนในยุคปัจจุบัน ชนิดที่เรียกได้ว่า ตั้งแต่เริ่มต้นวันจรดค่ำ เทคโนโลยีถูกใช้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต สำหรับองค์กรไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชน หลายหน่วยงานเริ่มปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ทั้งรูปแบบวิธีการทำงาน การบริการ และใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร แม้ว่าการเลือกใช้เทคโนโลยีของบางหน่วยงานภาคเอกชนจะไม่มีข้อจำกัด ทั้งยังสามารถเห็นถึงประสิทธิผลที่ดีขึ้นของการทำงานรูปแบบเดิมที่ผสมผสานกับเทคโนโลยีเข้าไปได้อย่างลงตัว หากแต่กับหน่วยงานภาครัฐที่แม้ว่าการทำงานจะต้องยึดโยงกับวาทกรรม “ไทยแลนด์ 4.0” แต่ยังไม่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยได้แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังเช่นที่กำลังเกิดขึ้นกับหอสมุดแห่งชาติ ที่กำลังมีความพยายามจะปรับตัวเพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบของ “ห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติ” ทั้งเพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เช่นความไม่ประทับใจของผู้ใช้บริการ การค้นหาหนังสือที่ต้องเริ่มด้วยการค้นจากบัตรรายการ แต่กลับหาหนังสือไม่เจอ หนังสือที่ต้องการไม่ได้อยู่บนชั้น หรือคำถามที่ว่าทำไมจึงไม่สามารถค้นหาหนังสือในห้องสมุดจากบ้านได้ เพื่อไม่ให้เสียเวลา สิ่งเหล่านี้กลายเป็นโจทย์สำคัญที่นำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน “สิ่งที่สะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรืองของคนในชาติประการหนึ่ง คือองค์ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากห้องสมุด ปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ มีห้องสมุดเป็นของตัวเอง บ่งบอกว่าคนไทยรักการอ่านเป็นลำดับ นับเนื่องมาถึงยุคดิจิทัล ที่หอสมุดถึงเวลาต้องปรับตัว เมื่อระบบดิจิทัลมีบทบาทในชีวิตของคนเรามากมาย เราจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาระบบดิจิทัลในหอสมุด การประชุมในครั้งนี้ถือเป็นสิ่งที่ดีมากๆ ในสถานการณ์ปัจจุบัน การโดดเดี่ยวน่าจะเป็นการยากในการพัฒนา เราจำเป็นที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน หรือหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งน่าจะสร้างผลดีให้กับหอสมุด “นี่อาจจะเป็นก้าวสำคัญ แม้ว่าการประชุมครั้งนี้มีระยะเวลาเพียง 2 วัน และคงไม่สามารถปรับตัวได้รวดเร็วนัก แต่นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะเรียนรู้ประสบการณ์จากหน่วยงานอื่นๆ แม้ว่าเราจะต้องใช้เวลาในการวิ่งตามในการพัฒนาหอสมุดเพื่อให้เทียบเท่าประเทศอื่นๆ” อนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวในการประชุม เรื่องการประสานงานความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลในประเทศไทย ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่

Read More