Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 13)

ภาคเอกชน-ประชาชนเชื่อมั่นบวก เข็นจีดีพีไทยขึ้นภูเขา

นโยบายเปิดประเทศ และการปลดล็อกมาตรการต่างๆ ที่เคยนำมาใช้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายรอคอย ทั้งภาคเอกชนและประชาชน จากมุมมองที่ว่านโยบายและมาตรการที่รัฐบาลพึงใช้ในยามนี้น่าจะเป็นการสร้างให้เกิดแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในช่วงปลายปีได้เป็นอย่างดี เมื่อดูจากจำนวนเที่ยวบินที่เกิดขึ้นในวันที่เปิดประเทศ (1 พ.ย. 2564) พบว่ามีสายการบินแจ้งทำการบินประมาณ 260 เที่ยวบิน และเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 91 เที่ยวบิน มีผู้โดยสารเดินทางมาที่สนามบินสุวรรณภูมิจำนวน 20,083 คน ซึ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 6,613 คน นอกจากนี้ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังคาดการณ์ว่าตลอดเดือนพฤศจิกายนน่าจะมีเที่ยวบินประมาณ 12,133 เที่ยวบิน เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 6,501 เที่ยวบิน สำหรับผู้โดยสารคาดว่าจะมีมากกว่า 7 แสนคน ผู้โดยสารระหว่างประเทศอาจจะมีประมาณ 2.7 แสนคน แม้ว่าการเดินทางของประชาชน กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากภาคเอกชนหลังประกาศใช้นโยบายดังกล่าว เสมือนเป็นการคลายความอัดอั้นของคนไทยจำนวนหนึ่ง แต่ต้องยอมรับว่าพฤติกรรมของผู้บริโภค และผู้ประกอบการส่วนหนึ่งเกิดจากความความเชื่อมั่นในมาตรการของรัฐที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ แน่นอนว่าส่งผลโดยตรงต่อการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจทุกระดับในท้ายที่สุด นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า

Read More

ดีเดย์ “เปิดประเทศ” โค้งสุดท้ายเศรษฐกิจไทย

มาตรการคลายล็อก อันนำไปสู่การเปิดประเทศ คงเป็นสิ่งที่หลายคนรอคอย เพราะนั่นเป็นสัญญาณว่าเครื่องจักรเศรษฐกิจที่สำคัญกำลังพร้อมที่จะขับเคลื่อนอีกครั้ง หลังจากจอดนิ่งสนิทมาอย่างยาวนาน ซึ่งอุตสาหกรรมที่เป็นเสมือนฟันเฟืองหลักของเศรษฐกิจไทยอย่างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในสภาวการณ์ปกติรายได้จากภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคิดเป็นกว่า 20% ของจีดีพี อีกทั้งรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติยังสูงถึง 2 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมด แน่นอนว่าเมื่อทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประเทศที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวจึงต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ธุรกิจในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดหยุดชะงัก แม้ว่านโยบายการเปิดประเทศจะเป็นเสมือนโอกาสในห้วงสุดท้ายของศักราชนี้ ที่จะสร้างเม็ดเงินเพื่อทดแทนรายได้ที่สูญเสียไปให้กลับคืนมา ทว่า ประชาชนภายในประเทศเองยังมีความกังวลอยู่ไม่น้อย โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยผลอนามัยโพลเปิดเมือง เปิดประเทศ 1 พฤศจิกายน 2564 และพบว่าประชาชนร้อยละ 92.4 พื้นที่ท่องเที่ยวใน 17 จังหวัด ยังกังวลกับการเปิดประเทศ พร้อมเน้นย้ำให้ทุกคนเข้มตามมาตรการ Universal Prevention เพื่อลดเสี่ยงการแพร่กระจายของโควิด-19 นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากสถานการณ์การติดและแพร่เชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น ด้วยผู้ติดเชื้อรายใหม่มีจำนวนในระดับคงที่ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง และผู้ป่วยได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น การเปิดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว 17 จังหวัดจึงเป็นปัจจัยเอื้อให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าประเทศได้มากขึ้น เป็นการกระตุ้นในระบบเศรษฐกิจและการจ้างงานในภาพรวมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจท่องเที่ยวและภาคบริการที่เกี่ยวเนื่อง แต่จากข้อมูลการสำรวจอนามัยโพล พบว่า ประชาชนในพื้นที่นำร่องท่องเที่ยวใน 17 จังหวัด

Read More

ความหวัง ความกังวล เศรษฐกิจฟื้นตัว ทางเลือกที่รัฐต้องเสี่ยง?

ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวของประเทศไทย ณ ปัจจุบันขณะคงไม่ต่างอะไรกับแผลกดทับที่หลายคนคงทำได้แต่ภาวนาว่าขอให้สถานการณ์เลวร้ายที่รายล้อมอยู่ในขณะนี้คลี่คลายลง เศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นเผชิญกับปัจจัยลบรอบด้านมานานแรมปี อาทิ ภาวะความถดถอยของการค้าโลก ปัญหาความไม่มั่นคงด้านการเมืองภายในประเทศ และภาวะโรคระบาดที่ดูจะกินเวลามายาวนานถึง 2 ปี ซึ่งปัจจัยหลังน่าจะยังส่งผลต่อเนื่องนานอีกหลายปีทีเดียว แม้ว่าสถานการณ์ผู้ติดเชื้อของไทยจะยังไม่ดีขึ้นมากนัก อาจเรียกได้ว่าเป็นคนป่วยที่ยังอยู่ในอาการทรงๆ เสียมากกว่า กระนั้น ผู้บริหารของไทยคงพิจารณาจากเหตุผลหลายประการด้วยกัน และเห็นชอบกำหนดเวลาเปิดประเทศ ซึ่งธงแห่งความหวังคือ เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนด้วยตัวเองในระยะเวลาที่เหลือของปี แม้จะเป็นความเสี่ยงที่หลายคนยังไม่อาจยอมรับได้ ทว่า เราอาจจำเป็นที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเชื้อไวรัสที่ยังคงแผงฤทธิ์ต่อไป เฉกเช่นเชื้อโรคระบาดชนิดอื่นๆ ที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ไม่ว่าจะด้วยแรงกดดันจากภาคเอกชนที่มีต่อภาครัฐ หรือเสียงเรียกร้องจากประชาชนผู้ทำมาหากินที่ได้รับผลกระทบ รัฐบาลที่นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปพร้อมๆ กับการเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะปะทุขึ้นอีกในอนาคต โดยมาตรการล่าสุดที่น่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและอาจเพิ่มสัดส่วนจีดีพีไทยให้ขยายตัวมากขึ้น นั่นคือ ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีสัดส่วนเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีไทย ซึ่งเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศผ่อนเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (มาตรการ LTV) อีกครั้ง หลังจากที่ได้ผ่อนคลายเกณฑ์บางส่วนไปในช่วงก่อนหน้า รายละเอียดของการผ่อนคลายมาตรการในครั้งนี้คือ 1. ปรับเพดานสัดส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันของสัญญาซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่สองเป็นต้นไปที่ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท จากเดิม 70-90% เป็น 100% ขณะที่ในสัญญาซื้อหลังแรกยังคงเดิมอยู่ที่

Read More

Work Life Balance กู้คืนความสมดุลให้ชีวิต

ค่านิยมในการทำงานที่หลายคนเคยคิดว่า ยิ่งทุ่มเทยิ่งดี หรือทำงานหนักแบบถวายชีวิตให้องค์กร อาจไม่ใช่ความสำเร็จที่แท้จริงอีกต่อไป เพราะการทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับงานชนิดที่ว่า แทบไม่เคยเห็นแสงยามรุ่งอรุณ หรือยามอาทิตย์อัสดง เมื่อต้องออกจากบ้านตั้งแต่ยังไม่สว่าง และกลับถึงบ้านหลังพระอาทิตย์ตกดิน แม้จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่ชีวิตส่วนตัวอาจบกพร่อง หลายคนพยายามมองหาความพอดี พอเหมาะ เพื่อที่จะได้สร้างสมดุลในชีวิต เมื่องานยังคงมีความสำคัญในชีวิตเพราะเป็นแหล่งรายได้หลัก ในขณะที่ชีวิตส่วนตัว หรือชีวิตครอบครัวยังต้องประคองรักษาไว้ให้ดี ทว่า การสร้างสมดุลระหว่างสองส่วนนี้อาจไม่ง่ายเลย Work Life Balance คือสิ่งที่ทุกคนปรารถนาจะให้เกิดขึ้นในช่วงชีวิต แต่ต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่าการสร้างสมดุลชีวิตการทำงานนี้มีองค์ประกอบที่ต้องทำความเข้าใจหลายด้าน หลายคนอาจใช้ทฤษฎี 8-8-8 โดยแบ่งเวลาใน 24 ชั่วโมง และใช้เกณฑ์นี้เป็นตัวกำหนด คือการทำงาน 8 ชั่วโมง สันทนาการ 8 ชั่วโมง และพักผ่อน 8 ชั่วโมง หรือเข้าใจง่าย ๆ คือ งาน 50 ใช้ชีวิต 50 นับเป็นทฤษฎีที่ง่าย และน่าจะปฏิบัติได้ไม่ยากนัก แต่ความเป็นจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะคนวัยทำงานส่วนใหญ่แทบจะคิดถึงงานอยู่ตลอดเวลา หรือบางครั้ง งานก็คิดถึงเราตลอดเวลา เช่น เมื่อเราเลิกงานกลับถึงบ้าน

Read More

น้ำท่วมปี’64 จมนาข้าวนับล้านไร่ เสี่ยงหนี้ครัวเรือนภูมิภาคสูงขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายนเป็นต้นมา ทั้งผลพวงจากร่องความกดอากาศต่ำที่เกิดจากพายุโกเซิน พายุเตี้ยนหมู่ ก่อให้เกิดอุทกภัยในหลายจังหวัดของประเทศไทย แม้บางพื้นที่สถานการณ์จะคลี่คลายและกลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้วก็ตาม แต่ยังมีอีกหลายจังหวัดที่ยังต้องรับมือกับมวลน้ำในครั้งนี้ แม้ว่าปริมาณน้ำจะยังไม่เท่ามหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 ก็ตาม ความแปรปรวนของสภาพอากาศของโลกก่อให้เกิดพายุขึ้นอีกหลายลูก แม้ว่าความรุนแรงของพายุเหล่านั้นจะลดลงกลายเป็นหย่อมความกดอากาศกำลังแรงแล้วก็ตาม แต่อิทธิพลนั้นทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ หากจะมองในแง่มุมของภัยธรรมชาติที่ไม่มีใครสามารถกำหนดหรือหยุดยั้งได้ ทว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเรือกสวนไร่นาที่เพียงรอเวลาเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า คงเป็นเรื่องยากที่จะทำใจยอมรับความสูญเสียครั้งนี้ เพราะสำหรับบางครอบครัวนั่นอาจหมายถึงรายได้หลักที่เกษตรกรรอคอยมาทั้งปี สถานการณ์ความยากลำบากที่เกิดจากมหันตภัยโรคระบาดอย่างโควิด-19 สร้างบาดแผลให้แก่ทุกชนชั้น ทุกอาชีพ แต่เหล่าเกษตรกรและประชาชนที่อยู่ในพื้นที่รับน้ำตอนนี้คงคล้ายกับถูกโชคชะตากระหน่ำซ้ำเติมให้สถานการณ์เลวร้ายหนักกว่าอีกหลายเท่า ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ประเมินความเสียหายจากน้ำท่วมในครั้งนี้ว่า น่าจะอยู่ที่ประมาณ 10,000-15,000 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือจีดีพีประมาณ 0.1-0.2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งความเสียหายแบ่งเป็นพืชเกษตร 6,349.51 ล้านบาท สิ่งสาธารณะ 4,972.20 ล้านบาท การค้า 1,316.10 ล้านบาท บ้านเรือน 1,320.30 ล้านบาท ปศุสัตว์ 753.90 ล้านบาท และอื่นๆ อีก 324 ล้านบาท ขณะที่นาข้าวจมน้ำไปกว่า 2 ล้านไร่ เกษตรกรได้รับผลกระทบประมาณ 3 ล้านคน ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปต่างรอคอยให้ภาครัฐออกมาตรการผ่อนปรน โดยหวังว่าจะได้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติ เช่น

Read More

ก้าวผ่านความเศร้า เมื่อน้องหมาน้องแมวกลับดาว

การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา ธรรมชาติ เป็นวงจรชีวิตของทุกสรรพสิ่ง ไม่ว่าจะคน หรือสัตว์ และเป็นเรื่องยากที่จะหลีกหนีความเป็นจริงพ้น บางคนอาจบอกว่า “การตายไม่ใช่เรื่องยาก แต่การอยู่โดยที่ยังคงระลึกถึงผู้ที่จากไปต่างหากที่ยากกว่า” เช่นเดียวกันกับการจากไปของเหล่าสัตว์เลี้ยง ที่เจ้าของมักจะตกอยู่ในห้วงเวลาของความเศร้า ความคิดถึง จนยากที่จะทำใจ ใครไม่เลี้ยงก็คงไม่รู้ บางคนอาจคิดว่าการจากไปของสัตว์ทั้งหลาย เป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ชีวิตเล็กๆ ที่จากไปไม่น่าทำให้ใครต้องเศร้าเสียใจมากมายนัก ถ้าเพียงแค่หาตัวใหม่มาเลี้ยงก็พอเยียวยาจิตใจได้ ในขณะที่บางคน แม้จะมีสัตว์เลี้ยงตัวใหม่เข้ามาเติมเต็มในหัวใจไม่ว่าจะอีกกี่ตัวก็ตาม แต่สัตว์เลี้ยงตัวที่จากไป ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร “เจ้าตัวแสบ” ทั้งหลายจะยังคงตราตรึงอยู่ในความทรงจำเสมอ นั่นเพราะ ความรัก ความผูกพันที่เกิดขึ้นมาแล้วไม่อาจจะสูญหายไปได้ง่ายๆ ตามกาลเวลา นับเป็นเรื่องมหัศจรรย์ทางความรู้สึก ที่หลายคนคงเคยได้พบเจอมาแล้ว ปัจจุบันสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปในหลายมิติ โดยเฉพาะกับสถาบันครอบครัว คู่รักหลายคู่ตัดสินใจจะใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันเพียงลำพัง หลายคู่เลือกที่จะไม่มีลูกด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป หลายคู่เป็นคู่รักในกลุ่ม LGBT ที่มองหาสัตว์เลี้ยงน่ารักๆ มาเลี้ยงเป็นเสมือนลูก จึงไม่น่าแปลกใจที่กลุ่มคนรักสัตว์ในยุคสมัยนี้จะค่อยๆ ขยายตัวมากขึ้น และผู้เลี้ยงสัตว์มือใหม่หลายคนมักมีคำถามเมื่อความสูญเสียมาถึง “รับมือกับความสูญเสียอย่างไร” คำแนะนำที่พบเจอได้ง่ายคือ “ทำใจ” และ “หาสัตว์เลี้ยงตัวใหม่มาทดแทน” คล้ายจะง่าย แต่ไม่ง่ายเลยที่จะทำเช่นนั้นในแง่ความรู้สึก วันนี้ “ผู้จัดการ 360 องศา”

Read More

โควิดทำเศรษฐกิจไทยช้ำหนัก อุทกภัยซ้ำเติม

โควิด-19 สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจไทยหากนับเป็นมูลค่าแล้วไม่ต่ำกว่าสิบล้านล้านบาท โดยเฉพาะเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตา ตัวแปรสำคัญที่ฉุดให้สถานการณ์โดยรวมทรุดหนักลง และนำมาสู่การล็อกดาวน์ในพื้นที่สีแดงเข้มรวม 29 จังหวัด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจคิดเป็น 77 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีประเทศ ความเสียหายทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นกับทุกหย่อมหญ้า โดยเฉพาะภาคครัวเรือนที่สภาพัฒน์เปิดเผยตัวเลขหนี้ครัวเรือนไตรมาสแรกของปี 2564 ว่ามีมูลค่าหนี้สูงถึง 14.13 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของไตรมาสแรกปี 2563 หากคิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีแล้วพุ่งสูงถึง 90.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อภาคครัวเรือนได้รับผลกระทบความสามารถในการจับจ่ายลดน้อยลง ด้านค้าปลีกสาหัสไม่แพ้กัน เมื่อดัชนีความเชื่อมั่นค้าปลีกในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 16.4 เป็นการลดต่ำสุดในรอบ 16 เดือน ติดลบ 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการลดลงของยอดขายสาขาเดิมเดือนกรกฎาคมปีนี้ การเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิมเกิดจากทั้งยอดใช้จ่ายต่อใบเสร็จ และความถี่ในการจับจ่ายลดลงพร้อมกันทั้งคู่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 270,000 ล้านบาท และมีกิจการกว่า 100,000 ร้านค้าเตรียมปิดกิจการ แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อการจ้างงานกว่าล้านคน เป็นภาพสะท้อนว่าการฟื้นตัวให้กลับสู่สภาพเดิมอาจต้องใช้เวลา ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะร้านขายของที่ระลึก ธุรกิจสปา นวดแผนไทย สถานบันเทิง และธุรกิจโรงแรม ที่มีการปิดกิจการถาวรมากที่สุด โดยเฉพาะการระบาดในระลอก

Read More

นับถอยหลังเปิดเมือง รีสตาร์ตเศรษฐกิจไทย

1 พฤศจิกายน 2564 คือกำหนดการที่ประเทศไทยเตรียมเปิดเมือง โดยเริ่มที่ 10 จังหวัดนำร่อง ซึ่งเป็นเมืองหลักหรือจังหวัดที่มีสัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กระบี่ (ทั้งจังหวัด) พังงา (ทั้งจังหวัด) ประจวบฯ (ต.หัวหิน หนองแก) เพชรบุรี (เทศบาลเมืองชะอำ) ชลบุรี (พัทยา อ.บางละมุง ต.นาจอมเทียน ต.บางเสร่) ระนอง (เกาะพยาม) เชียงใหม่ (อ.เมือง แม่ริม แม่แตง ดอยเต่า) เลย (เชียงคาน) บุรีรัมย์ (อ.เมือง) ซึ่งหากนับจากนี้คงเหลือเวลาอีกไม่ถึงเดือนแล้ว ที่ทั้งภาครัฐและเอกชน ประชาชนจะต้องเรียนรู้บทเรียนจากโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง ที่เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวไปตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ภาครัฐคาดหวังว่าจะใช้โครงการนี้เป็นพื้นที่เรียนรู้และวัดศักยภาพความพร้อมด้านสาธารณสุข ว่าหากจะต้องใช้ชีวิตภายใต้การดำรงอยู่ของเชื้อโควิด-19 และหากมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น จะยังสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปพร้อมกันได้หรือไม่ ผลลัพธ์คือ มีผู้ติดเชื้อในระยะเวลาของโครงการสูงถึงกว่า 200 คนต่อวัน ที่น่าสนใจคือในจำนวนนี้ กว่า 90

Read More

โควิดอยู่นาน กับทักษะที่เพิ่มขึ้น

เป็นเวลา 1 ปีกว่า ที่เราได้เผชิญกับเชื้อไวรัสโควิด-19 จากความพยายามที่จะเอาชนะและหยุดยั้งเชื้อไวรัสที่ว่า กลายเป็นว่ามนุษย์โลกต้องเรียนรู้ ปรับตัว เพื่อที่จะอยู่กับโควิดให้ได้ โดยเป้าหมายหลักอยู่ที่การเปิดประเทศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ต้องยอมรับว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แม้เชื้อร้ายยังไม่หมดไป แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรคในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ หลายคนอาศัยจังหวะนี้เพิ่มพูนทักษะใหม่ๆ ให้ตัวเอง มาดูว่ากัน ทักษะไหนบ้างที่เราจะเรียนรู้ได้ในช่วงเวลาสั้นๆ เริ่มจากทักษะง่ายๆ ใกล้ตัว ทักษะด้านเกษตร ปลูกต้นไม้ เพาะขยายพันธุ์ไม้ หลายคนอาจเริ่มเรียนรู้ทักษะด้านนี้จากความชอบ หรือเพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ บ้างก็ใช้การปลูกต้นไม้เพื่อเป็นการเยียวยาจิตใจ แน่นอนว่า ประโยชน์ของการปลูกต้นไม้ นอกจากจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจได้แล้ว ยังช่วยให้เราได้รับอากาศที่สดชื่นขึ้น ขณะที่หลายคนใช้ทักษะด้านนี้ต่อยอดในการสร้างรายได้อย่างมหาศาล โดยเฉพาะในกลุ่ม ไม้ใบ ไม้ฟอกอากาศ ไม้ด่าง ที่ขยายพันธุ์ได้ไม่ยากนัก เพียงแค่ทำความเข้าใจถึงลักษณะของสายพันธุ์นั้นๆ นับว่าเป็นทักษะที่สามารถสร้างเงินแสน หรืออาจถึงเงินล้านได้ภายในเวลาไม่นาน ทักษะการลงทุน บางคนมีความสนใจด้านการลงทุนอยู่ก่อนแล้ว แต่ยังไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจัง ห้วงยามนี้ดูเหมาะเจาะที่จะเรียนรู้ และค้นหาข้อมูลสำหรับการลงทุนในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล อย่าง Cryptocurrency ที่เริ่มมีบทบาทในชีวิตจริง อย่างไรก็ตาม แม้บางบริษัทจะมีผู้แนะนำการลงทุนคอยให้คำปรึกษา แต่ปัจจัยเสี่ยงภายนอกที่อาจส่งผลต่อค่าเงินและการลงทุนเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่อาจเสี่ยงต่อภาวะสงคราม

Read More

ภาวะเครียด เหงาอ้างว้าง หมดไฟ Work From Home เป็นเหตุสังเกตได้

การ Work From Home ไม่ใช่เทรนด์อย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่นั่นเป็นนโยบายเหมาะสมที่ถูกประกาศใช้โดยรัฐบาล ซึ่งมีเป้าหมายให้การทำงานที่บ้านนั้นเป็นแนวทาง ลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเวลานั้นทั้งหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนต่างขานรับนโยบาย ในช่วงแรกของการ WFH หลายคนอาจรู้สึกตื่นเต้นดีใจที่จะได้ทำงานจากที่บ้านได้ ประหนึ่งว่าได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ๆ ซึ่งแน่นอนว่านอกจากการลดโอกาสการติดเชื้อโควิดแล้ว ยังมีข้อดีโดยเฉพาะ เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าน้ำมัน ค่าโดยสารขนส่งสาธารณะทุกระบบ นอกจากนี้ ยังได้ประหยัดเงินที่ปกติแล้วจะถูกใช้ไปกับการจับจ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยระหว่างวัน จากแหล่งชอปปิงในพื้นที่ใกล้สำนักงาน หรือบางคนอาจได้ลดค่าใช้จ่ายในการสังสรรค์หลังเลิกงานมากขึ้น แม้ว่าการทำงานที่บ้านจะมีข้อดีหลายด้าน แต่ตอนนี้หลายคนคงเห็นแล้วว่าข้อเสียก็มีมากเช่นเดียวกัน และแน่นอนว่าหลายคนอาจประสบกับปัญหาของการทำงานที่บ้านเข้าให้แล้ว ความเหงา อ้างว้าง มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มักจะโหยหาความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ อยู่เสมอ การทำงานในรูปแบบปกตินั้น มนุษย์ทำงานมักจะมีการพบปะพูดคุยและเปลี่ยนบทสนทนาระหว่างกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนระหว่างแผนก บทสนทนาที่มักเกิดขึ้นระหว่างการเดินไปชงกาแฟ การเดินออกไปรับประทานอาหาร และไม่ว่าบทสนทนานั้นจะเกี่ยวกับงานหรือเป็นแค่การนินทา เมาท์มอย ล้วนแต่ช่วยให้คลายเหงา ลดความเครียดจากการทำงานได้ทั้งสิ้น คล้ายกับเป็นการระบายความอึดอัดอย่างหนึ่ง ทว่า เมื่อการทำงานแบบ WFH โอกาสที่จะสร้างปฏิสัมพันธ์แบบเดียวกันกับที่เคยเกิดขึ้นในออฟฟิศนั้นเป็นเรื่องยาก แม้ว่าจะยังมีการพูดคุยหรือทักทายกับเพื่อน แต่เป็นรูปแบบออนไลน์ แม้จะได้เห็นหน้ากัน แต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นย่อมไม่เหมือนกันแน่นอน หรือในบางรายอาจไม่มีเวลาที่จะทักทายกับใครเลย ความเครียด-หมดไฟ “บ้าน” ถูกกำหนดไว้ภายใต้กรอบการเป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อนจากความเหนื่อยล้าที่เกิดจากการทำงาน เป็นพื้นที่ที่เราสามารถมาผ่อนคลายด้วยกิจกรรมสันทนาการเล็กๆ เช่น การดูละคร ดูภาพยนตร์ ซีรีส์

Read More