Home > Suporn Sae-tang (Page 36)

หมดยุคคอนโดฯ รุมเจาะเศรษฐี PF จัดเต็มคฤหาสน์ติดทะเลสาบร้อยไร่

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อยู่ในจุดต้องปรับทิศทางครั้งใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อตลาดจีนที่เคยแห่เข้ามาซื้อเก็งกำไร หายไปเกือบทั้งหมด บวกกับปัญหาหนี้ครัวเรือนในกลุ่มคนไทยเพิ่มสูงขึ้น หลายบริษัทเร่งหาเรียลดีมานด์ เบรกโครงการคอนโดมิเนียมใหม่ บางบริษัทหนีจากตลาดบนหันไปลุยบ้านราคากลางถึงล่าง แต่ดูเหมือนยักษ์ใหญ่อย่าง “พร็อพเพอร์ตี้เพอร์เฟค” กลับมอง “บ้านราคาแพง” ยังเป็นโอกาสดีมาก ประกาศเตรียมเปิดตัวคฤหาสน์หรูติดทะเลสาบร้อยไร่ย่านแจ้งวัฒนะ เจาะกลุ่มเศรษฐีแบบจัดเต็ม ขณะเดียวกัน วางแผนปี 2563 เปิดโครงการบ้านอีก 12 โครงการ มูลค่ารวม 18,560 ล้านบาท เพื่อผลักดันยอดขายและกำไร หลังจากปี 2562 โกยกำไรทำสถิติสูงสุดในรอบ 16 ปี นับจากปี 2546 ที่มีกำไร 1,156 ล้านบาท เฉพาะ 9 เดือนแรกของปี 2562 ทำกำไรแล้ว 1,488 ล้านบาท ชายนิด อรรถญาณสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) หรือ PF กล่าวว่า

Read More

พีทีจี ปูพรมชนยักษ์ ลุย “พันธุ์ไทย-คอฟฟี่เวิลด์”

พิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG ยังคงเดินหน้าลุยแผนโค่นแชมป์ หลังปรับภาพลักษณ์องค์กร เร่งผุดสถานีบริการน้ำมัน “พีที” รูปโฉมใหม่ ยกเครื่องร้านสะดวกซื้อ “แมกซ์มาร์ท” ขยายธุรกิจร้านกาแฟ “พันธุ์ไทย” ซื้อหุ้นกิจการ “คอฟฟี่เวิลด์” และซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนใน บริษัท จิตรมาส แคเทอริ่ง (JTC) รุกธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มเต็มสูบ แน่นอนว่า ทั้งธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ธุรกิจร้านกาแฟ และธุรกิจร้านอาหาร รวมถึงการสร้างเครือข่ายร้านค้าเติมเต็มสถานีบริการ ตั้งเป้าหมายชนยักษ์ใหญ่ ปตท. โดยเฉพาะธุรกิจร้านกาแฟ ซึ่ง “คาเฟ่ อเมซอน” ยึดครองเจ้าตลาดมาอย่างยาวนาน ขณะเดียวกัน หากดูตัวเลขตลาดกาแฟที่มีมูลค่ามากกว่า 65,000 ล้านบาท แบ่งเป็นกาแฟในบ้าน ประมาณ 38,000 ล้านบาท และกาแฟนอกบ้านอีกกว่า 27,000 ล้านบาท โดยในตลาดกาแฟนอกบ้านเป็นกลุ่มร้านคาเฟ่

Read More

พิษ “อู่ฮั่น” ระบาด เศรษฐกิจไทยระส่ำอีกรอบ

ยอดผู้เสียชีวิตและผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ “อู่ฮั่น” ในจีน ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำลายสถิติผู้ติดเชื้อในประเทศจีนตลอดช่วงเวลาการแพร่ระบาดของกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือ “ซาร์ส” ระหว่างปลายปี 2545 ถึงกลางปี 2546 ซึ่งอยู่ที่ 5,327 คน และยังพบผู้ป่วยอย่างน้อยใน 14 ประเทศ ได้แก่ ไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐฯ แคนาดา ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา ศรีลังกา เนปาล ฝรั่งเศส และเยอรมนี อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยและกระทรวงสาธารณสุขยืนยันควบคุมสถานการณ์ได้ เพราะเคยรับมือโรคซาร์ส อีโบลา และไข้หวัดนกมาแล้ว ซึ่งสถิติการควบคุมโรคของไทยจัดว่าดีเป็นอันดับ 6 ของโลก แต่ต้องยอมรับว่าการแพร่ระบาดรอบนี้ก่อผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากเดิมที่คาดการณ์จะเริ่มฟื้นตัว ต้องกลับมาย่ำแย่และถือเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องวางกระบวนยุทธ์แก้ไขรอบคอบมากขึ้น หากย้อนบทเรียนที่ประเทศไทยเจอผลพวงพิษโรคระบาดครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นช่วงปี 2540 เกิดการระบาดเชื้อไข้หวัดนก (Avian influenza) จากไวรัสไข้หวัดใหญ่ “H5N1”

Read More

Coffee War เดือด เร่งทุบสถิติ 300 แก้วต่อคน

ตลาดกาแฟเมืองไทยเม็ดเงินมากถึง 65,000 ล้านบาท และยังมีช่องว่างการเติบโต โดยเฉพาะเมื่อยักษ์ใหญ่อย่าง “เนสท์เล่” ลุยขยายแนวรบเจาะลูกค้าทุกเซกเมนต์ ตั้งแต่แบบผง แบบกระป๋อง จนล่าสุดเปิดตัวกาแฟสกัดเย็นพร้อมดื่มระดับพรีเมียม “โคลด์ บริว” พร้อมประเดิม “โคลด์ บริว คาเฟ่” หวังขยายฐานคอกาแฟรุ่นใหม่ที่กำลังต้องการลิ้มรสชาติขมๆ แต่กลมกล่อมแก้วแรกในชีวิต เหตุผลสำคัญ คือ อัตราการบริโภคกาแฟของคนไทยยังต่ำกว่าหลายๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอัตราการบริโภคที่มีค่าเฉลี่ยเพียง 300 แก้วต่อคนต่อปี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น บริโภค 400 แก้วต่อคนต่อปี หรือฝั่งยุโรป บริโภคมากกว่า 600 แก้วต่อคนต่อปี เมื่อเจาะลึกลงไปยังพบว่า อัตราการบริโภคกาแฟสดของคนไทยเฉลี่ยประมาณ 1.2 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ต่ำกว่าคนในยุโรปที่สูงกว่า 4-5 กิโลกรัมต่อคนต่อปี และต่ำกว่าคนในประเทศญี่ปุ่นที่บริโภคกันประมาณ 3 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ขณะที่ตัวเลขตลาดกาแฟรวมทุกเซกเมนต์มีมูลค่ามากกว่า 65,000 ล้านบาท แบ่งเป็นกาแฟในบ้าน ประมาณ 38,000 ล้านบาท และกาแฟนอกบ้านอีกกว่า

Read More

สหพัฒน์ดัน “โคเมเฮียว” จับตาฟองสบู่เศรษฐกิจ

เครือสหพัฒน์เดินหน้าตามเป้าหมาย ผุดแฟลกชิปสโตร์แบรนด์เนมมือสอง “โคเมเฮียว (Komehyo)” แห่งแรกในประเทศไทย หลังจากใช้เวลากว่า 5 ปี ศึกษาตลาดแบรนด์เนมมือสองและเจรจาจับมือยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น เพื่อขยายพอร์ตโฟลิโอสู่ธุรกิจรีเทลลักชัวรีที่สามารถปลุกปั้นอัตรากำไรแซงหน้าตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคมากกว่าเดิมได้อีกหลายเท่า ขณะเดียวกัน “โคเมเฮียว” ยังเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอว์ตามยุทธศาสตร์สำคัญในปี 2563 ที่กลุ่มตระกูลโชควัฒนาต้องการเร่งลงทุนและสร้างการเติบโตในธุรกิจใหม่ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจอาคารสำนักงาน โคเวิร์กกิ้งสเปซ ธุรกิจบริการด้านสุขภาพ และธุรกิจสเปเชียลตี้ สโตร์ คอนเซ็ปต์ใหม่ เพื่อขยายฐานลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงขึ้น ที่สำคัญ เส้นทางธุรกิจแบรนด์เนมมือสองและการเติบโตของโคเมเฮียวในประเทศญี่ปุ่นดูเหมือนกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทย แถมมีปัจจัยหนุนเรื่องการความนิยมในกลุ่มนักช้อปไทยและแบรนด์เนมยังถือเป็นช่องทางการลงทุนที่สามารถสร้างรายได้อย่างสวยงามด้วย ทั้งนี้ โคเมเฮียวมีจุดเริ่มต้นจากการเป็นร้านขายกิโมโนมือสองในเมืองนาโกยาของครอบครัวอิชิฮาระ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1947 เริ่มต้นจากห้องเสื้อผ้าเก่าเล็กๆ ขนาดเพียง 5 เสื่อ หรือประมาณ 16.5 ตารางเมตร ในช่วงนั้นความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่นดีขึ้น จึงมีกำลังซื้อและต้องการหาซื้อสิ่งของ เพื่อยกระดับความพึงพอใจในการใช้ชีวิตประจำวัน ร้านโคเมเฮียวจึงจัดหาเพิ่มสินค้าหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะพวกเครื่องประดับ นาฬิกา กล้องถ่ายรูป และเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในปี 1990 ลูกค้าประจำของร้านโคเมเฮียวจำเป็นต้องขายสินค้าแบรนด์เนมที่มีอยู่ เพื่อช่วยบรรเทาสภาพทางเศรษฐกิจในครัวเรือน ครอบครัวอิชิฮาระจึงตัดสินใจเริ่มต้นทำธุรกิจซื้อขายสินค้าแบรนด์เนมมือสองตั้งแต่นั้นมา เพื่อช่วยเหลือลูกค้าจนกลายเป็นปรัชญาการดำเนินธุรกิจในฐานะตัวกลางส่งผ่านสินค้าตามแนวคิด “Relay Use” ส่งต่อสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วไปให้กับบุคคลอื่นที่ยังต้องการ เพื่อนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพทำให้สิ่งของมีประโยชน์สูงสุด สามารถสร้างตลาดใหม่และรายได้เติบโตจนกลายเป็นผู้นำธุรกิจซื้อขายสินค้าแบรนด์เนม ปี

Read More

ระเบิดเศรษฐกิจปลุกผี หนี้นอกระบบฟื้นคืนชีพ

ผลพวงจากพิษเศรษฐกิจกำลังปลุกผีเจ้าหนี้นอกระบบฟื้นคืนชีพอย่างแข็งแกร่งอีกครั้ง แผ่นโฆษณาแปะติดทั่วเสาไฟฟ้าตามโรงงาน สะพานลอยและหว่านเจาะเข้าถึงหน้าประตูบ้านสะท้อนสัญญาณอันตราย จำนวนคนที่ตัดสินใจฆ่าตัวตายหนีหนี้ ตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่พุ่งกระฉูดต่อเนื่อง และที่สำคัญ ระเบิดเศรษฐกิจ 3 ลูกใหญ่ที่รัฐบาลยังแก้ไม่ตกกลายเป็นต้นตอที่สามารถก่อวิกฤตครั้งใหญ่ได้ทุกเมื่อ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนา “2020 ปีแห่งการลงทุน : ทางออกประเทศไทย” เมื่อปลายสัปดาห์ก่อน ยอมรับว่าประเทศไทยในขณะนี้ยังหาคำตอบที่เหมาะสมไม่ได้ เนื่องจากเจอพายุเป็นเหมือนระเบิดถล่มหนัก 3 ลูก ลูกแรกเป็นระเบิดเหนือน้ำ เรื่องการส่งออกที่ค่อยๆ ชะลอตัวลงจากสงครามการค้าสหรัฐฯ กับจีน ทำให้การส่งออกติดลบถึง 7.7% เมื่อเดือน พ.ย. 2562 เมื่อโลกสะเทือนจึงควบคุมไม่ได้เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยพึ่งพาส่งออกถึง 70% ของจีดีพี ระเบิดลูกที่ 2 อยู่ใต้น้ำและมีหลายลูก เช่น โครงการลงทุนขนาดใหญ่เคลื่อนตัวช้าเกินไป งบประมาณแผ่นดินล่าช้า ที่สำคัญงบลงทุนแทบใช้ไม่ได้ ล่าสุดมีการใช้จ่ายงบลงทุนเพียง 50,000 ล้านบาท ส่งผลให้งบประมาณที่เคยเป็นตัวขับเคลื่อนใหญ่ของประเทศหยุดชะงัก ระเบิดลูกที่ 3 ค่าเงินบาท เพราะไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่า เกิดจากโครงสร้างเศรษฐกิจไทย การส่งออกติดลบ ขณะที่การนำเข้าลดลงมากกว่า

Read More

อีซี่มันนี่-แคชเอ็กซ์เพรส รุกตลาดโรงตึ๊งแสนล้าน

โรงรับจำนำกลายเป็นธุรกิจโตสวนกระแส ยิ่งเศรษฐกิจฝืดเคือง ยิ่งพุ่งทะยาน ทำให้มีผู้เล่นในตลาดเพิ่มมากขึ้น เร่งขยายบริการหลากหลาย ปรับโฉมทันสมัยและงัดกลยุทธ์การตลาดดึงดูดทุกรูปแบบ เพื่อแข่งขันสร้างภาพลักษณ์การเป็นแหล่งเงินที่เข้าถึงง่ายที่สุด เมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์และบริษัทสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ โดยเฉพาะ 2 เจ้าใหญ่ “อีซี่มันนี่-แคชเอ็กซ์เพรส” ที่กำลังเปิดศึกแย่งชิงเม็ดเงินในตลาดที่หลายฝ่ายประเมินสูงเกือบแสนล้านบาท ต้องยอมรับว่า โรงรับจำนำ โรงตึ๊ง อยู่กับสังคมไทยมานาน เมื่อย้อนประวัติศาสตร์การจำนำมีมาตั้งแต่สมัยโบราณในรัชสมัยพระบรมโกศ กรุงศรีอยุธยา ตามพระราชกำหนดที่ออกในปี พ.ศ. 2234 ระบุให้การรับจำนำกระทำในเวลากลางวัน ให้จำนำกันแต่คนที่รู้จักกันดี ไม่ได้มีการตั้งโรงรับจำนำทั่วไป กระทั่งปี 2409 ชาวจีน ชื่อ ฮง แซ่เบ๊ ตั้งโรงรับจำนำแห่งแรกในประเทศไทย ย่านประตูผี ถนนบำรุงเมือง ชื่อร้านโรงรับจำนำย่องเซี้ยง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงรับจำนำสำราญราษฎร์” เริ่มแรกคิดดอกเบี้ยเพียง 1 เฟื้อง (12 .5 สตางค์) จากเงินต้น 1 ตำลึง (4 บาท) ปี 2411 มีการตราพระราชบัญญัติ กำหนดไม่ให้เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าชั่งละ 1

Read More

ซุปเปอร์พาร์คปักหมุดไทย ลุยสงครามรีเทลเทนเมนต์

“ซุปเปอร์พาร์ค” สวนสนุกในร่มของกลุ่มทุนฟินแลนด์ กลายเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ที่เข้ามาบุกสงครามฟันปาร์ค ประเทศไทย โดยเฉพาะการพยายามเจาะช่องว่างเน้นจุดขายใหม่ ทั้งขนาดพื้นที่ ราคา และกิจกรรมแปลกใหม่มากกว่า 20 รายการ ที่ไม่ใช่แค่เจาะกลุ่มเด็กแต่ยังขยายฐานลูกค้าครอบคลุมถึงผู้ใหญ่อายุมากกว่า 35 ปีด้วย ที่สำคัญ ฟันปาร์คหรือธีมปาร์คถือเป็นอีกหนึ่งแม็กเน็ตชิ้นพิเศษของโปรเจกต์มิกซ์ยูสและศูนย์การค้าภายใต้แนวคิด “รีเทลเทนเมนต์ (Retailtainment)” หรือ Retail + tainment เพื่อดึงดูดผู้คนเข้ามาใช้บริการในหลากหลายกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เหมือนการมีโรงภาพยนตร์ สวนน้ำ โคเวิร์กกิ้งสเปซ หรือแม้กระทั่งร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ตยุคใหม่ นับจากนี้ต้องผสมผสานเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างความสนุกสนานในการจับจ่ายมากขึ้น มาร์ค กุมาราสินห์ ประธานกรรมการบริหาร ซุปเปอร์พาร์ค เอเชีย กล่าวถึงแนวคิดการทำสวนสนุกของซุปเปอร์พาร์คแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ เพราะเน้นการสร้างกิจกรรมที่ทุกคนในครอบครัวสามารถร่วมเล่นได้ เป็นไอเดียและหัวใจหลักที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้น เมื่อครั้งหนึ่งนายทาเนลี ซูติเน็น นักธุรกิจชาวฟินแลนด์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งซุปเปอร์พาร์ค กำลังนั่งอยู่ในร้านอาหารและลูกสาววัย 4 ขวบเข้ามาคว้าแขนให้ออกไปเล่นกับเธอ แต่เขาต้องรู้สึกอึดอัดกับเครื่องเล่นขนาดเล็กในสนามเด็กเล่นจนปิ๊งไอเดียขึ้นมาทันทีว่า ทำไมไม่สร้างสวนสนุกที่ผู้ใหญ่และเด็กเล่นสนุกด้วยกันได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งนั่นก็คือจุดกำเนิดซุปเปอร์พาร์คแห่งแรกที่เมืองวูโอคาตติ ประเทศฟินแลนด์ เมื่อปี ค.ศ. 2012 ปัจจุบันซุปเปอร์พาร์คเปิดสาขาในฟินแลนด์รวม 10

Read More

เคานต์ดาวน์เศรษฐกิจไทย ปลุก “สตรีทฟูด” พลิกวิกฤต

เริ่มเคานต์ดาวน์เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ปี 2563 ท่ามกลางข้อมูลหลายสำนักที่ฟันธงในทิศทางเดียวกัน คือ “แย่” และต้องถือว่า 2 วันสุดท้ายของปี 2562 บรรดาห้างร้านต่างอัดงบจัดเต็มสร้างบรรยากาศการนับถอยหลัง เพื่อดูดเม็ดเงินก่อนปิดยอดขายรายได้ เพราะไม่ใช่แค่การชี้ขาดผลการดำเนินงานของธุรกิจเอกชน แต่ยังหมายถึงผลสะท้อนความสำเร็จและความล้มเหลวของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนรับศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งใหญ่ หากประมวลตัวเลขต่างๆ แม้ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่ปี 2563 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,223 ตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 11-20 ธ.ค. 2562 คาดว่าจะมีมูลค่าการใช้จ่าย 137,809 ล้านบาท เป็นมูลค่าสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มสำรวจเมื่อ 14 ปีที่แล้ว โดยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.9% จากปี 61 ที่มีมูลค่าการใช้จ่าย 135,279.74 ล้านบาท แต่อัตรา 1.9% กลับเป็นตัวเลขการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 14 ปี สาเหตุหลักมาจากประชาชนกังวลภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจึงใช้จ่ายอย่างระมัดระวังที่สุด โดยค่าใช้จ่าย 137,809 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการท่องเที่ยวในประเทศ 60,449.57

Read More

ไอคอนสยามเร่งเฟส 2 สู้ศึก “เอเชียทีค” ทุ่มทุนระลอกใหม่

“ไอคอนสยาม” อภิมหาโครงการของค่ายสยามพิวรรธน์และเครือซีพี กำลังเร่งเสริมกลยุทธ์ครั้งใหญ่ ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่บรรดากูรูต่างฟันธงตรงกันว่า ปี 2563 จะหนักหนาสาหัส โดยเฉพาะตัวเลขรายได้จากการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่าคาดการณ์ รวมถึงแนวรบริมฝั่งน้ำเจ้าพระยาจะดุเดือดเพิ่มอีกหลายเท่า เมื่อล่าสุด วัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ของกลุ่มตระกูล “สิริวัฒนภักดี” ออกมาประกาศความพร้อมลุยขยายโครงการ “เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์” ยกระดับเป็นมิกซ์ยูสโปรเจกต์ “จุดหมายปลายทางระดับโลก” พื้นที่รวม 100 ไร่ เม็ดเงินลงทุนกว่า 30,000 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 3-5 ปี และแบ่งเป็น 4 เฟส คือ 1. พื้นที่เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์เดิม จะต่อเติมหลังคาและปรับช่องลม-แดด เพื่อให้เปิดบริการได้ตลอดทั้งวันจากปัจจุบันที่เปิดให้บริการเฉพาะช่วงเย็นและกลางคืน 2. พื้นที่บริเวณโกดังเก่า 100,000 ตารางเมตร

Read More