Home > อู่ฮั่น

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ กับผลกระทบที่ไทยต้องรับมือ

การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่เริ่มขึ้นครั้งแรกในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2019 ในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน กระทั่งล่วงเลยมาถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2020 สถานการณ์ของการแพร่ระบาดเชื้อร้ายยังไม่มีวี่แววว่าจะสิ้นสุด แม้หลายประเทศจะมีมาตรการป้องกันประชาชนของตัวเองอย่างเต็มที่ ทว่าปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อในจีนเพิ่มขึ้นเป็น 37,198 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อดังกล่าวในจีนเพิ่มขึ้นเป็น 811 ราย (ณ วันที่ 9 ก.พ.) การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สร้างผลกระทบในหลายด้าน ทั้งด้านสาธารณสุข ที่มีคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศที่มีการติดเชื้อเป็นเดิมพัน ที่ทุกฝ่ายต้องเร่งหามาตรการป้องกันและรักษาให้เกิดผลเสียในทางกายภาพน้อยที่สุด ผลกระทบของไวรัสโคโรนาไม่เพียงทำให้ประเทศจีนตกอยู่สถานการณ์แห่งความยากลำบาก ทั้งการต้องดูแลและควบคุมเชื้อไวรัสไม่ให้ขยายวงมากไปกว่าปัจจุบันเท่านั้น แต่ในทางเศรษฐกิจ จีนได้รับผลกระทบไม่น้อย ความรุนแรงของสถานการณ์ทำให้จีนต้องใช้มาตรการระงับการสัญจรเข้าออกจากเมือง ระบบขนส่งคมนาคมถูกชัตดาวน์ การท่องเที่ยวของจีนได้รับผลกระทบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ต่อเศรษฐกิจจีนเบื้องต้นในกรอบเวลา 1 เดือน อาจสูงถึง 3 แสนล้านหยวน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.3 ของ GDP จีนทั้งปี ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2563 อาจต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.5-5.9 โดยมีผลกระทบหลักๆ ผ่านทางภาคค้าปลีก ภาคขนส่ง และภาคบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคและการท่องเที่ยว และแน่นอนว่า ไม่เพียงแต่จีนเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยได้รับผลกระทบไม่แตกต่างกัน

Read More

พิษ “อู่ฮั่น” ระบาด เศรษฐกิจไทยระส่ำอีกรอบ

ยอดผู้เสียชีวิตและผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ “อู่ฮั่น” ในจีน ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำลายสถิติผู้ติดเชื้อในประเทศจีนตลอดช่วงเวลาการแพร่ระบาดของกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือ “ซาร์ส” ระหว่างปลายปี 2545 ถึงกลางปี 2546 ซึ่งอยู่ที่ 5,327 คน และยังพบผู้ป่วยอย่างน้อยใน 14 ประเทศ ได้แก่ ไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐฯ แคนาดา ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา ศรีลังกา เนปาล ฝรั่งเศส และเยอรมนี อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยและกระทรวงสาธารณสุขยืนยันควบคุมสถานการณ์ได้ เพราะเคยรับมือโรคซาร์ส อีโบลา และไข้หวัดนกมาแล้ว ซึ่งสถิติการควบคุมโรคของไทยจัดว่าดีเป็นอันดับ 6 ของโลก แต่ต้องยอมรับว่าการแพร่ระบาดรอบนี้ก่อผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากเดิมที่คาดการณ์จะเริ่มฟื้นตัว ต้องกลับมาย่ำแย่และถือเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องวางกระบวนยุทธ์แก้ไขรอบคอบมากขึ้น หากย้อนบทเรียนที่ประเทศไทยเจอผลพวงพิษโรคระบาดครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นช่วงปี 2540 เกิดการระบาดเชื้อไข้หวัดนก (Avian influenza) จากไวรัสไข้หวัดใหญ่ “H5N1”

Read More