Home > Suporn Sae-tang (Page 28)

Pet Shop โตหมื่นล้าน เติมเต็ม “มนุด” ยุคโควิด

Pet Shop หนึ่งในธุรกิจที่เติบโตฝ่ามรสุมโควิด สามารถสร้างเม็ดเงินในตลาดมากกว่าหมื่นล้านบาท ล่าสุดกำลังเปิดสงครามแข่งขันแย่งชิงกลุ่มลูกค้า เหล่า “มนุดทาส” ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในยุค New Normal ที่ผู้คนต้องหยุดกิจกรรมบันเทิง หยุดเชื้ออยู่บ้าน หยุดการเดินทาง และ Work from Home ทำให้เจ้าสัตว์เลี้ยงกลายเป็นสิ่งเติมเต็มความสุขที่ขาดหายไป ขณะเดียวกัน เทรนด์การเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนจากพฤติกรรมแบบ Pet Lover รักสัตว์แบบเดิมๆ เป็น Pet Parent รักและผูกพันเหมือนสมาชิกในครอบครัว เหมือนลูกหลาน ต้องการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น ทั้งอาหาร สิ่งของเครื่องใช้ บริการอาบน้ำ ที่พักโรงแรม คลินิกสัตวแพทย์ ยิ่งต่อยอดให้ธุรกิจสัตว์เลี้ยงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง กระแสความสำคัญของสัตว์เลี้ยงทำให้นึกถึงกรณีสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 2 (ปปส. ภาค 2) ตัดสินใจเปิดประมูลแมวของกลางเครือข่าย “กุ๊ก ระยอง” ณ ศาลาประชาคมอำเภอแกลง จ.ระยอง ช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา หลังกลุ่มคนรักแมวต่างเรียกร้องขอรับเลี้ยงของกลางทั้ง 6 ตัว การประมูลครั้งนั้นประกอบด้วย

Read More

ห้างยักษ์ลุยศึกดีลิเวอรี่ แข่งเดือดส่งฟรี แจกหม้อ

โควิดระลอก 3 ส่งผลกระทบรุนแรงชนิดที่ยักษ์ใหญ่ 2 ค่าย “โลตัส-บิ๊กซี” ต่างเปิดสงครามดีลิเวอรี่แย่งชิงกลุ่มลูกค้าอย่างดุเดือด หลังจากรัฐบาลยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด ทั้งยอดผู้ติดเชื้อที่สูงกว่า 2,000 รายต่อวัน มียอดผู้เสียชีวิตทุกวันและเกิดคลัสเตอร์แพร่ระบาดต่อเนื่อง รวมถึงตลาดสดขนาดใหญ่เริ่มปรากฏจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นด้วย แน่นอนว่า จำนวนลูกค้าทรุดฮวบชัดเจน เพราะผู้คนส่วนใหญ่จำเป็นต้องหยุดกิจกรรมนอกบ้านและหยุดเดินทางมาจับจ่ายซื้อสินค้า รวมถึงภาครัฐออกมาตรการควบคุมเวลาเปิด-ปิดให้บริการ โดยศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศเปิดเวลาปกติ 11.00 น. แต่ปรับเวลาปิดเป็น 21.00 น. ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์ท ให้บริการถึง 21.00 น. และร้านค้าสะดวกซื้อให้บริการเวลา 04.00 – 23.00 น. ขณะที่ร้านอาหารในศูนย์การค้าสามารถนั่งรับประทานอาหารในร้านได้ 25% ของที่นั่ง โดย 1 โต๊ะ นั่งได้แค่ 1 คน และนั่งได้ถึง 21.00 น. งดกิจกรรมที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมากและให้พนักงาน Work From Home เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดระลอกใหม่ นั่นส่งผลให้ช่องทางออนไลน์และบริการดีลิเวอรี่กลายเป็นกลยุทธ์เดียวที่จะกระตุ้นการจับจ่ายให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังก่อนปิดงบประจำปี 2564 ก่อนหน้านี้

Read More

Go Fresh ผุดพรึ่บ 200 สาขา โลตัสแท็กทีมเซเว่นฯ ปลุกรายได้

ครึ่งปีหลังจากนี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ต้องเร่งแท็กทีมเครือข่าย Food Retail และ Food Service ทั้งโลตัส แม็คโคร ซีพีเฟรชมาร์ท และเซเว่นอีเลฟเว่น เพื่อปลุกรายได้ขนานใหญ่ หลังจากผลการดำเนินงานไตรมาสแรกของ “ซีพีออลล์” เติบโตติดลบ โดยเฉพาะโลตัส ล่าสุดเดินหน้าพลิกโฉมสาขาเอ็กซ์เพรสสู่แพลตฟอร์มใหม่ “Go Fresh” มากกว่า 200 สาขา และตั้งเป้าหมายปูพรมปรับทั้งหมด 1,600 สาขาภายใน 2 ปี ด้านหนึ่ง Go Fresh เป็นแผนปรับโมเดลเอ็กซ์เพรสให้สอดรับกับชีวิต New Normal มากขึ้น และการที่ผู้คนจำเป็นต้องอยู่กับบ้าน เพื่อหยุดการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้สร้างพฤติกรรมการทำอาหารรับประทานเองที่บ้าน รวมถึงกลุ่มผู้บริโภคหันมาใช้บริการจับจ่ายของสดในมินิซูเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้น หลังตลาดสดกลายเป็นอีกคลัสเตอร์ใหญ่ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มต่อเนื่อง ขณะที่อีกด้านหนึ่ง มินิซูเปอร์มาร์เก็ตสามารถแทรกอยู่ในทุกแหล่งชุมชน ทุกย่านการค้า สถานีบริการน้ำมัน โรงพยาบาล และการกระจายสาขาใหม่ง่ายกว่าการลงทุนเปิดสาขาขนาดใหญ่ ทั้งนี้ กลุ่มซีพีเริ่ม Synergy เครือข่ายค้าปลีกอย่างแข็งแกร่ง ตั้งแต่บรรลุสัญญาซื้อกิจการเทสโก้ โลตัสในประเทศไทยและมาเลเซีย

Read More

ยักษ์อสังหาฯ อึด ฮึด สู้โควิด MQDC ลุยขาย เดอะ ฟอเรสเทียส์

แม้ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์มีสัญญาณหดตัวตั้งแต่ต้นปี 2564 จากพิษโควิดระลอก 3 แต่กลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างประกาศอัดกลยุทธ์ปลุกกำลังซื้อลูกค้า โดยเฉพาะที่น่าจับตา คือ แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (MQDC) ซึ่ง ทิพพาภรณ์ (เจียรวนนท์) อริยวรารมย์ ทายาทสาวเจ้าสัวซีพี ธนินท์ เจียรวนนท์ ในฐานะประธานกรรมการบริษัท เดินหน้าดีเดย์เปิดขายโครงการที่พักอาศัย เดอะ ฟอเรสเทียส์ (The Forestias) ซึ่งใช้เม็ดเงินลงทุนทั้งโปรเจกต์กว่า 125,000 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคมนี้ ล่าสุด บริษัทยังทุ่มเม็ดเงิน 1,400 ล้านบาท สร้าง ฟอเรสต์ พาวิลเลียน อาคารขนาดใหญ่ พื้นที่ 6,500 ตารางเมตร โดยดึงบริษัทสถาปนิกระดับโลกที่ประเทศอังกฤษ เป็นผู้ออกแบบอาคาร มี ITEC Entertainment จากประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ออกแบบ Entertainment Experience

Read More

พิษโควิดกลายพันธุ์ ตกงานพุ่งอีก หนี้ท่วม

แม้สถานการณ์โควิดรอบ 3 ยังไม่มีการใช้มาตรการล็อกดาวน์ 100% แต่การประกาศกฎเหล็กในบางจังหวัดบวกกับตัวเลขการแพร่ระบาดที่ยังมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นจากการกลายพันธุ์ กำลังส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างรุนแรง โดยเฉพาะจำนวนคนตกงานที่สะสมตั้งแต่ระลอกแรกและยืดเยื้อจนถึงวิกฤตครั้งล่าสุด ล่าสุด บริษัทหลายแห่งจำเป็นต้องงัดหลากหลายแผน เพื่อความอยู่รอด ตั้งแต่กดดันให้พนักงานเร่งทำยอดขายสร้างรายได้ ลดชั่วโมงการทำงานเพื่อลดค่าตอบแทน ไปจนถึงกำหนดเงื่อนไขเข้มงวด หากติดเชื้อโควิดต้องถูกพักงาน ไม่ได้รับเงินเดือน หรืออาจถึงขั้นไล่ออก หากพิสูจน์พบว่า เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง ไปสังสรรค์ ไปเที่ยวสถานบันเทิง อย่างเช่นกรณีเฟซบุ๊ก Thawichaya Tungsaharangsee ของนายทวิษย์ชญะ ตั้งสหะรังษี หรือแจ็ค รัสเซล นักแต่งเพลง เล่าเหตุการณ์ที่รุ่นน้องคนหนึ่งเป็นพนักงานบริษัทเอกชน บริษัทให้หยุดทำงานที่บ้าน หรือ Work from Home 2 สัปดาห์ และยินดีจ่ายค่าทำงานให้เต็มจำนวน โดยมีกติกาห้ามออกนอกบ้าน ถ้าไม่จำเป็น เช่น เที่ยวเตร่ ดื่ม สังสรรค์ เดินชอปปิ้ง แต่หยุดได้แค่ 3 วัน เขากับเพื่อนในบริษัทอีก 3 คน รวม 4

Read More

ตลาดบ้านป่วนหดตัว เบรกโครงการ ลุ้นกำลังซื้อรอบใหม่

วิกฤตโควิดที่ยังแพร่เชื้อไม่หยุดเริ่มทลายความหวังการฟื้นเศรษฐกิจปี 2564 โดยเฉพาะตลาดอสังหาริมทรัพย์ส่งสัญญาณการหดตัวชัดเจนจากตัวเลขการเปิดขายโครงการใหม่ช่วงไตรมาสแรกและมีแนวโน้มติดลบสูงขึ้น เนื่องจากต้องรอมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อรอบใหม่ การฟื้นตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติและการลุยกระจายวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่อย่างเร่งด่วนที่สุด ล่าสุด คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมธนาคารไทย ตัดสินใจปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 จากเดิม 1.5-3.5% เป็น 1.5- 3.0% ขึ้นอยู่กับการฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมายและมาตรการของรัฐที่มีขนาดกว่า 2 แสนล้านบาทจะเข้ามาเยียวยาเศรษฐกิจ แต่หากไม่มีเม็ดเงินดังกล่าว จีดีพีจะไม่ขยายตัวหรือเติบโต 0% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงสูงจากการระบาดระลอกใหม่ที่รวดเร็วและรุนแรง กระทบอุปสงค์ในประเทศ แม้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวชัดเจนขึ้นมากจะส่งผลดีต่อแนวโน้มส่งออกของไทยในระยะต่อไป ขณะเดียวกัน รัฐบาลเริ่มมีปัญหาด้านเสถียรภาพ เกิดความแตกแยกภายในพรรคร่วมรัฐบาล ทั้งพรรคภูมิใจไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ประชาชนเริ่มปลุกกระแสเรียกร้องให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยุบสภา ไปจนถึงกดดันให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลาออก ซึ่งหากการเปลี่ยนแปลงไม่ได้สะท้อนภาพลักษณ์ดีขึ้นย่อมกระทบต่อความเชื่อมั่น ทั้งในระดับประเทศและกับประชาชน สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดทำให้ทุกธุรกิจต่างอยู่ในภาวะ Wait and See ลุ้นมาตรการใหม่จากทางการ หวังกำลังซื้อและการพลิกฟื้นรอบใหม่

Read More

ห้างปลุกแม็กเน็ตใหม่ โหนกระแสเซิร์ฟสเกต

กีฬาสุดฮิต เซิร์ฟสเกต (Surf Skate) กลายเป็นช่องทางใหม่ให้บรรดาศูนย์การค้าขนาดใหญ่โหนกระแสดัดแปลงพื้นที่เปิดลานให้กลุ่มนักเซิร์ฟเข้ามาใช้บริการ ซึ่งไม่ใช่แค่การสร้างแม็กเน็ตใหม่ดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย ขยายฐานลูกค้ากำลังซื้อสูง เพิ่มทราฟฟิก เพิ่มความถี่ แต่ยังหมายถึงการพลิกกลยุทธ์บริหารพื้นที่อย่างลงตัวด้วย ที่สำคัญ เซิร์ฟสเกตถือเป็นกีฬากลางแจ้งที่มีความเสี่ยงน้อยในการแพร่ระบาดโควิด หากกำหนดกฎกติกาชัดเจนและเข้มงวด เช่น การกำหนดจำนวนผู้ใช้บริการ จัดโซนเพื่อเว้นระยะห่าง มีพื้นที่ทำความสะอาด และยังถือเป็นการสร้างกิจกรรม Sports Community ให้กลุ่มวัยรุ่น คนรุ่นใหม่ หลายคนบอกว่าเซิร์ฟสเกตได้รับความนิยมมากกว่าสเกตบอร์ด (Skate Board) เนื่องจากแผ่นเซิร์ฟสเกตมีความอ่อนและยืดหยุ่นมากกว่าแผ่นสเกตบอร์ด ล้อหน้าหมุนซ้าย-ขวาได้ หรืออาจหมุนได้รอบทิศทาง 360 องศา ใช้การบิดตัวและแรงเหวี่ยงให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า เมื่อต้องการเลี้ยวไปทางไหนก็ทิ้งน้ำหนักเท้าไปทางนั้นเหมือนการโต้คลื่นในทะเล จึงใช้แรงน้อยกว่าสเกตบอร์ดที่ต้องใช้เท้าไถไปกับพื้น เพื่อส่งแรงไปข้างหน้า และทรงตัวยากกว่า มีข้อมูลระบุว่า เซิร์ฟสเกตพัฒนาต่อยอดจากกีฬาสเกตบอร์ดและหากย้อนเส้นทางสเกตบอร์ดน่าจะเกิดในช่วงทศวรรษ 40-50 ประยุกต์จากโรลเลอร์สเกตและมีการผลิตโมเดลขึ้นในทศวรรษ 60 เริ่มเล่นในกลุ่มวัยรุ่นนักเซิร์ฟบอร์ดแถบแคลิฟอร์เนีย นำมาเล่นไถลตามพื้นถนนในช่วงที่คลื่นลมในทะเลไม่สงบ มีพายุ หรือไม่มีคลื่นเลย และมีการพัฒนาโมเดลกลายเป็นเซิร์ฟสเกตในเวลาต่อมา แต่ใครจะคิดว่าการซ้อมเพื่อรอสภาพอากาศชั่วครั้งชั่วคราว ทำให้สเกตบอร์ดกลายเป็นกีฬายอดนิยมในสหรัฐอเมริกา มีการผลิตโมเดลต่างๆ มีการฟอร์มทีมแข่งขันอย่างจริงจัง และคิดค้นท่าเล่นใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม มีสถิติผู้เล่นสเกตบอร์ดได้รับบาดเจ็บอยู่มาก โดยเฉพาะปี ค.ศ. 1977

Read More

ค้าปลีกอ่วมซ้ำแสนล้าน จี้อัปเกรด ช้อปดีมีคืน-คนละครึ่งเฟส 3

โควิดระลอก 3 เหมือนฝันร้ายของธุรกิจค้าปลีกที่เกี่ยวพันโดยตรงกับกำลังซื้อของผู้คน และแนวโน้มจะหนักหนาสาหัสกว่า 2 ระลอกแรก ที่นับเม็ดเงินหดหายตลอดทั้งปี 2563 มากกว่า 5 แสนล้านบาท ทำลายบรรยากาศการจับจ่ายช่วงเทศกาลวันหยุดยาว และยังต้องลุ้นแผนการควบคุมการระบาดช่วง 2 เดือนนับจากนี้ ที่สำคัญ ประเทศไทยต้องกลับมาทบทวนตัวเลขการเติบโตทุกด้าน ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า ผลจากการแพร่ระบาดโควิด-19 กรณีคลัสเตอร์สถานบันเทิง และมีผู้ติดเชื้อต่อวันสูงขึ้นมาอีกครั้ง ทำให้กิจกรรมต่างๆ หยุดชะงัก คนระมัดระวังการใช้จ่าย คิดเป็นความเสียหายต่อเดือน 3-5 หมื่นล้านบาท และหากดูสถิติย้อนหลังเมื่อเกิดการแพร่ระบาดรอบใหม่จะใช้เวลาควบคุมและเรียกความเชื่อมั่นให้การจับจ่ายกลับมาอีกครั้งจะใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 เดือน เท่ากับเงินใช้จ่ายจะหายไปจากระบบ 6 หมื่นล้านบาทถึง 1 แสนล้านบาท และกระทบตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไม่ต่ำกว่า 0.3-0.5% นี่ยังไม่ประเมินในกรณีเลวร้าย การระบาดวงกว้างหยุดไม่อยู่จนถึงขั้นล็อกดาวน์ในบางพื้นที่ เศรษฐกิจปีนี้อาจเติบโตเพียง 2.0-2.5% ดังนั้น นอกจากการควบคุมการแพร่ระบาดและเร่งกระจายฉีดวัคซีนเร็วที่สุด มากที่สุด เพื่อเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวแล้ว รัฐต้องเร่งออกมาตรการลดค่าครองชีพเร็วขึ้นภายในปลายเดือนเมษายน จากเดิมจะเริ่มในเดือนมิถุนายน ทั้งโครงการเราชนะและคนละครึ่งเฟส 3

Read More

โควิดโผล่ระลอก 3 CRG รุกช่องทางใหม่ลุย Mobile Box

ธุรกิจร้านอาหารมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท เจอวิกฤตอีกรอบ หลังเกิดเหตุโควิด-19 แพร่ระบาดระลอก 3 โดยรอบนี้มีคลัสเตอร์ใหญ่จากสถานบันเทิงย่านทองหล่อ และจำนวนผู้ติดเชื้อกระจายอย่างรวดเร็ว จนดูเหมือนว่าสถานการณ์การพลิกฟื้นรายได้กลายเป็นโจทย์ยากขึ้น และต้องอาศัยการปรับกลยุทธ์ต่างๆ ชนิดที่ว่า ใครพลิกรับปัจจัยเสี่ยงได้เร็วจะมีโอกาสรอดและเจ็บตัวน้อยที่สุด แม้สมาคมภัตตาคารไทยได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ยืนยันสาเหตุการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ไม่ได้เกิดจากร้านอาหาร แต่เกิดจากสถานบริการเปิดเกินเวลา และมีจำนวนคนเข้าใช้บริการแออัด ไม่เว้นระยะห่าง เจ้าหน้าที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ขณะที่ร้านอาหารและภัตตาคารทำตามกฎระเบียบของสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดมาตลอด ต่อให้ร้านอาหารขายแอลกอฮอล์และเปิดได้ถึง 23.00 น. จะไม่ทำให้เกิดการติดต่อหรือแพร่กระจายโรค ทั้งการจัดโต๊ะเว้นระยะห่าง มาตรการตรวจวัดอุณหภูมิ และสวมแมสก์ก่อนเข้าร้านอย่างเคร่งครัด อุปกรณ์ จานชาม ช้อมส้อม แก้ว มีการห่อคลุมป้องกันอย่างดี โต๊ะ เก้าอี้ มีการฉีดแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่มีการใช้ ลูกค้าถูกจำกัดให้นั่งรับประทาน นั่งดื่ม ที่โต๊ะในกลุ่มของตัวเองเท่านั้น ไม่มีการยืนเต้นรำ รำวง หายใจรดต้นคอกันเหมือนสถานบันเทิง หรือสถานประกอบการอื่น ลูกค้าที่ดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้เมามายจนขาดสติหรือสนุกสนานจนเกินการควบคุมเหมือนสถานบันเทิง แต่โควิดระลอก 3 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของกลุ่มลูกค้าและอาจถึงขั้นทำให้บรรยากาศการจับจ่ายใช้บริการหยุดชะงัก

Read More

“ซีเจ” รุกคืบชนยักษ์สะดวกซื้อ เร่งรายได้แต่งตัวเข้าตลาดหุ้น

ซีเจ เอ็กซ์เพรส ได้ฤกษ์รุกฐานกรุงเทพฯ มากขึ้น หลังจากใช้เวลาหลายปีเปิดยุทธการป่าล้อมเมืองผุดสาขาในจังหวัดหลักๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบิ๊กบอสคาราบาวกรุ๊ป เสถียร เศรษฐสิทธิ์ หุ้นส่วนใหญ่ ประกาศยังเดินหน้าแผนจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แม้ต้องเลื่อนจากปี 2563 เพราะพิษโควิด-19 เป็นปี 2565 เพื่อระดมทุนก้อนใหญ่เพิ่มขุมกำลังเปิดศึกชนยักษ์สะดวกซื้อแบบจัดเต็ม ล่าสุด ข้อมูล ณ วันที่ 18 มีนาคม 2564 ซีเจ เอ็กซ์เพรส มีสาขาทั่วประเทศรวม 593 แห่ง ซึ่งดูเหมือนยังห่างไกลจากเจ้าตลาด ทั้งเซเว่นอีเลฟเว่นของบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) และแฟมิลี่มาร์ท ของกลุ่มเซ็นทรัล แต่ประเมินจากกลยุทธ์และเครือข่ายเชื่อมโยงกับบริษัท คาราบาว กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ย่อมถือเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว ที่สำคัญ แบรนด์ร้านสะดวกซื้อ “CJ” อยู่ในวงการค้าปลีกยาวนานกว่า 16 ปี ตั้งแต่ยุคบริษัท พี เอส ดี

Read More