Home > Suporn Sae-tang (Page 29)

สมรภูมิไก่ทอดเดือด รัวโปรสวนโควิดระลอก 2

ฟาสต์ฟู้ด “ไก่ทอด” กลายเป็นสมรภูมิแข่งขันดุเดือดในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดระลอก 2 หลังวิกฤตไวรัสอันตรายรอบแรกสร้างสถิติที่สุดแห่งปี 2020 โดย LINE MAN รวบรวมพฤติกรรมการกินจากผู้ใช้บริการกว่า 3 ล้านคนต่อเดือน จากจำนวนออเดอร์ที่เติบโตสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 5 เท่า พบว่า เมนูไก่ทอดขายดีสุด สั่งเดลิเวอรี่ทั้งปีรวมกัน 5.3 ล้านชิ้น เรียงต่อกันเท่ากับดอยอินทนนท์ 19 ดอย และขายหมดเร็วสุดภายใน 7 วินาที ในช่วงโปรนาทีทอง Flash Deal ที่สำคัญ ในตลาดร้านอาหารบริการด่วน (Quick Service Restaurant) มูลค่ากว่า 45,000 ล้านบาท ตลาดไก่ทอดมีสัดส่วนมากกว่า 50% ชนิดที่ว่า ยืนหนึ่งเบอร์เกอร์อย่างบริษัท แมคไทย จำกัด ผู้บริหารเชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดแมคโดนัลด์ ต้องหันกลับมารุกหนักเมนูไก่ทอดสูตรดั้งเดิมหรือสูตร Original แถมทุ่มหนัก ลดแลกแจกแถมตั้งแต่ต้นปี 2564 ถ้าว่ากันตามไทม์ไลน์ไก่ทอดแมคโดนัลด์ในประเทศไทย บริษัทประกาศเปิดตัวแมคไก่ทอดจัมโบ้ สูตรออริจินอล

Read More

แฟรนไชส์ส่งด่วนร้อนจี๋ “ปณท-เคอรี่” เร่งโกยส่วนแบ่ง

ธุรกิจแฟรนไชส์ไปรษณีย์เอกชนเปิดศึกแข่งขันร้อนแรง เร่งปูพรมสาขาไม่ต่างกับสงครามร้านสะดวกซื้อจนขึ้นแท่นติดชาร์ตกิจการที่มีผู้คนแห่ซื้อลงทุนมากสุด โดยเฉพาะกลุ่มท็อปทรีที่เข้ามาผสมโรงรุกตลาด ทั้งไปรษณีย์ไทย เคอรี่ เอ็กซ์เพรส และน้องใหม่มาแรง “แฟลชเอ็กซ์เพรส” ที่มีทุนใหญ่กลุ่ม ปตท. ร่วมถือหุ้น และประกาศจะรุกตลาดระลอกใหญ่หลังระดมเม็ดเงินก้อนโตจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ยิ่งไปกว่านั้น ภาพรวมตลาดขนส่งพัสดุยังมีผู้เล่นอีกหลายราย ไม่ว่าจะเป็น J&T Express (เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส) Best Express (เบสท์ เอ็กซ์เพรส) Lex Express (Lazada LeL Express) Ninja Van (นินจาแวน) DHL (ดีเอชแอล) SCG Express (เอสซีจี ยามาโตะ เอ็กซ์เพรส) FedEx Bee Express (บี เอ็กซ์เพรส) UPS (UPS Parcel Delivery Service) Nim Express (นิ่ม

Read More

อสังหาฯ ควบกิจการหนีตาย โจทย์ใหญ่ ลดดอกเบี้ย-เลิก LTV

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังหนีไม่พ้นวิกฤต หลังเจอผลกระทบโควิด-19 บวกกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย และยอดขายจากตลาดต่างชาติดิ่งเป็นศูนย์ แม้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นหลายแพ็กเกจ แต่ผู้ประกอบการต่างฟันธงเสียงเดียวกันว่า “ยังไม่ตรงจุด” โดยเฉพาะโจทย์การแก้ปัญหากำลังซื้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวยืดเยื้ออีก 1-2 ปี ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เดือนมกราคม 2564 ลดลงจากระดับ 46.8 มาอยู่ที่ระดับ 44.2 และดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้าลดลงจาก 53.3 มาอยู่ที่ 48.0 ตามความกังวลของผู้ประกอบการ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ โดยผู้ประกอบการที่เห็นว่าธุรกิจจะแย่ลงมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในเกือบทุกธุรกิจ ซึ่งรวมถึงกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ที่ดัชนีฯ ปรับลดลงมากและกลับมาอยู่ต่ำกว่า 50 เมื่อเร็วๆ นี้ เศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ออกมากล่าวย้ำถึงสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในงานแถลงข่าวประจำปี 2564 ภายใต้แนวคิด The Year of Hope โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทรายกลางและรายเล็กที่มีเงินทุนจำกัด ต้องเหนื่อยแน่ ทั้งในแง่แบรนด์

Read More

ศึกพิพาทปิดตลาดสด ห้างยักษ์ทุ่มงบสกัดโควิด

การสั่งปิดตลาดสดในหลายจังหวัดเพื่อสกัดการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 หลังเจอต้นตอใหญ่มาจากตลาดกลางกุ้ง และมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ถูกหลายฝ่ายจุดประเด็นเปรียบเทียบกับกลุ่มร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ กลายเป็นข้อกล่าวหาเรื่องการเลือกปฏิบัติและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลเสียหายต่อประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการขาดรายได้ จนยอดหนี้ครัวเรือนพุ่งพรวดทุบสถิติในรอบ 12 ปี เฉลี่ยมากกว่า 480,000 บาทต่อครัวเรือน ล่าสุด เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นเรื่องขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบมาตรการของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาการแพร่เชื้อโควิด-19 เป็นการเลือกปฏิบัติและเอื้อกลุ่มทุนหรือไม่ ใน 3 กรณี คือ กรณีการปิดตลาดนัด กรณีบริษัทเอกชนรายใหญ่ได้ก่อสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย และกรณีการนำวัคซีนป้องกันโควิด-19 มาฉีดให้คนไทยอย่างล่าช้า มีการจัดหาวัคซีนจากจีน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับบริษัทเจ้าสัว ในกรณีปิดตลาดนัดนั้น นายศรีสุวรรณระบุว่า รัฐเริ่มต้นด้วยการเลือกปิดตลาดนัด ปิดร้านอาหาร พ่อค้าแม่ค้าเดือดร้อนไม่มีแหล่งขายสินค้า เพื่อหารายได้ แต่รัฐไม่ปิดห้างสรรพสินค้าที่มีระบบแอร์ตลอดเวลาและเป็นสถานที่ปิด มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่า รวมถึงการปิดบังไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไปใช้บริการร้านสะดวกซื้อ ไม่เปิดเผยชื่อร้านและไม่มีการสั่งปิด ทั้งนี้ ข้อพิพาทระหว่างการปิดตลาดสดกับกลุ่มโมเดิร์นเทรดเกิดการถกเถียงอย่างหนัก เมื่อนายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทาง ด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ประธานชมรมเชื้อราทางการแพทย์ประเทศไทย

Read More

โควิดระบาดยืดเยื้อ ทุนยักษ์แห่เจาะธุรกิจเฮลท์แคร์

ธุรกิจทางการแพทย์และธุรกิจสุขภาพกลับมาร้อนแรง หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ยืดเยื้อและมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วโลก ซึ่งฝ่ายโครงการฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก (WHO) เคยคาดการณ์จำนวนประชากรราว 1 ใน 10 จากทั่วโลก หรือประมาณ 760 ล้านคน จะติดเชื้อไวรัสอันตรายตัวนี้ ส่วนในประเทศไทย ล่าสุดยอดผู้ป่วยยืนยันทะลุหลักหมื่นคน และกระจายไปมากกว่า 50 จังหวัดแล้ว ขณะเดียวกัน ทีมระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เคยประเมินการระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทยไว้ 3 ฉากทัศน์ ฉากทัศน์ที่ 1 หากไม่มีการควบคุมหรือมาตรการใดๆ จะพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นวันละ 1,000-2,000 ราย จนถึงวันที่ 14 มกราคม 2564 และจะพบเพิ่มขึ้น 18,000 รายต่อวัน ฉากทัศน์ที่ 2 ใช้มาตรการปานกลาง จะพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเกือบ 4,000 รายต่อวัน และฉากทัศน์ที่ 3 ใช้มาตรการเข้มข้น เช่น สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ จะพบผู้ป่วยน้อยกว่า 1,000 รายต่อวัน นั่นทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการรักษาพยาบาลและอุปกรณ์ทางการแพทย์สามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสการเติบโตสวนทางธุรกิจอื่นๆ

Read More

ปตท. ดัน OR ลุยตลาดหุ้นวัวดุ ระดม 7 หมื่นล้าน รุกนอนออยล์

ปตท. เดินหน้าดันแผนเสนอขายหุ้นไอพีโอ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมนี้ และคาดจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ท่ามกลางปัจจัยลบพิษโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ยังมีผู้ติดเชื้อใหม่โผล่ขึ้นทุกวัน ว่ากันว่า ตามแผน OR จะเสนอขายหุ้น IPO ไม่เกิน 3,000 ล้านหุ้น โดยมีกูรูประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) อยู่ที่ประมาณ 2.3 แสนล้านบาท คำนวณราคาหุ้นจะอยู่ที่ประมาณ 20 บาทต่อหุ้น และน่าจะสามารถเข้าคำนวณในดัชนี SET50 ได้หลังเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องยอมรับว่า บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ในฐานะบริษัทแม่และ OR พยายามดึงเวลา เพื่อประเมินสถานการณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอันตรายตลอดปี 2563 หลังจากยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน

Read More

อีลิทปลุกอสังหาฯ เวิร์ก-ไม่เวิร์ก ไรมอนแลนด์นำร่อง 3 คอนโดหรู

การจับมือเซ็นสัญญาความร่วมมือระหว่างบริษัท ไรมอนแลนด์ จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด (ทีพีซี) เพื่อเป็นผู้แทนจำหน่ายบัตรสมาชิกพิเศษ Elite Flexible One รายแรก ถือเป็นการนำร่องวัดความทรงพลังของบัตรเอกสิทธิ์พิเศษชั้นนำของประเทศไทย ว่าจะต่อยอดขยายฐานลูกค้าต่างชาติปลุกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้จริงหรือไม่ ที่สำคัญ ยิ่งต้องลุ้นหนักมากขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลับมาปะทุรอบใหม่และกระจายตัวในหลายพื้นที่มากกว่า 40 จังหวัด มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นทุกวัน จนดูเหมือนว่า สถานการณ์ทุกด้านกำลังอยู่ในจุดสุ่มเสี่ยง หากไม่สามารถควบคุมการระบาดให้จบภายใน 1 เดือนอย่างที่ รศ. นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์หมอคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุไว้ เพราะหากคุมไม่ได้ ประเทศไทยจะมีจำนวนการติดเชื้อสูงสุดต่อวันราว 940 คน สูงกว่าเดิม 5 เท่า และจะยาวนานกว่าเดิม 2 เท่า ขณะเดียวกัน ผลกระทบต่อเศรษฐกิจเริ่มปรากฏชัด จากเดิมที่หลายๆ ธุรกิจต่างคาดการณ์จะฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาดรอบแรก ล่าสุด กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยว 11 เดือนแรกของปี

Read More

ศึก 1 แถม 1 สู้ “คนละครึ่ง” ยักษ์ค้าปลีกอัดโปรถี่ยิบ

สงครามค้าปลีก “คนละครึ่ง” เปิดฉากดุเดือดอีกครั้งและแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะบรรดายักษ์ค้าปลีกและเครือข่ายร้านอาหารแบรนด์ดังต่างอัดโปรโมชั่น “1 แถม 1” ถี่ยิบ เพื่อช่วงชิงกำลังซื้อแข่งขันกับกลุ่มร้านโชวห่วยและสตรีทฟู้ดที่เข้าโครงการ "คนละครึ่ง" เฟส 2 ตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2564 หลังเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ จนส่งผลกระทบซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของคนไทย แน่นอนว่า โครงการคนละครึ่งของรัฐบาล ซึ่งให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชนในการซื้อสินค้า โดยภาครัฐช่วยจ่าย 50% ในวงเงิน 3,000 บาทต่อคนในเฟสแรก และเพิ่มเป็น 3,500 บาทต่อคนในเฟส 2 วันละไม่เกิน 150 บาทต่อคน กลายเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สามารถลดค่าใช้จ่ายแบบเห็นชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการที่ผ่านมา จนกลายเป็นกลยุทธ์ชนะใจชาวบ้านในทุกโพลล์ของทุกสำนัก อย่างโพลล์ RIDC ของศูนย์นวัตกรรมดิจิทัล วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อผลงานของรัฐบาลประจำปี 2563 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง การถดถอยของเศรษฐกิจและเหตุการณ์อื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนอย่างต่อเนื่อง

Read More

ผวาโควิดหนีตลาดสด เซ็นทรัล-ซีพี ยอดขายพุ่ง

พิษการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีต้นตอใหญ่มาจากตลาดค้ากุ้งในจังหวัดสมุทรสาคร ส่งผลดาวกระจายเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้าที่เดินทางมารับอาหารทะเลสดไปขายปลีกในหลายจังหวัด จนเกิดกระแสหวาดผวาอย่างหนัก ผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมเลิกเดินตลาดสดแห่เข้าซูเปอร์มาร์เก็ตที่ตอกย้ำมาตรฐานความปลอดภัย ไร้เชื้อ แถมมีโปรโมชั่นแรงๆ แข่งขันกันมากขึ้น ล่าสุด เครือข่ายสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งเปิดเผยสถานการณ์กุ้งของไทย ระบุว่า ผลผลิตกุ้งเลี้ยงปี 2563 โดยรวมอยู่ที่ 270,000 ตัน ลดลง 7% เมื่อเทียบกับปี 2562 อยู่ที่ประมาณ 290,000 ตัน เป็นผลจากปัญหาเรื่องโรคระบาดและความไม่มั่นใจต่อสถานการณ์โควิด-19 กระทบต่อตลาดและราคาตกต่ำ ขณะเดียวกัน การส่งออกกุ้งช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2563 มีปริมาณ 123,297 ตัน มูลค่า 35,872 ล้านบาท เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ส่งออกปริมาณ 135,249 ตัน มูลค่า 40,185 ล้านบาท ลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า ที่ร้อยละ 9 และร้อยละ 11 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกอาหารทะเลสดแช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป รวมทูน่ากระป๋องและแปรรูป แต่ไม่รวมกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป

Read More

เวิลด์แก๊สแตกไลน์ ดัน “วันเดอร์ฟู้ด” เข้าตลาดหุ้น

“เวิลด์แก๊ส” เปิดยุทธศาสตร์แตกไลน์ธุรกิจร้านอาหารแนวสตรีทฟู้ดระดับพรีเมียม โดยประเดิมโปรเจกต์แรกจับมือกับบริษัท วันเดอร์ฟู้ด อินเตอร์เนชันแนล จำกัด ของเชฟมิชลินสตาร์ “แอนดี้ ยังเอกสกุล” และมองข้ามช็อตต่อยอดขยายเครือข่ายสาขาแฟรนไชส์ ธุรกิจเครื่องปรุงรสและอาหารกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งหมายถึงการขยายฐานรายได้ใหม่ และยังเป็นการเพิ่มลูกค้าก๊าซกลุ่มร้านอาหารแบบดับเบิ้ลด้วย ทั้งนี้ หากดูโครงสร้างรายได้ของบริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ผู้จัดจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภายใต้แบรนด์เวิลด์แก๊ส เมื่อปี 2562 อันดับ 1 มาจากโรงบรรจุก๊าซ 6,376 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 44.83% ตามด้วยสถานีบริการก๊าซ 3,337 ล้านบาท สัดส่วน 24.29% กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม 1,378 ล้านบาท สัดส่วน 9.39% กลุ่มลูกค้าพาณิชย์ 842 ล้านบาท สัดส่วน 5.32% ร้านค้าก๊าซ 609 ล้านบาท สัดส่วน 4.15% ที่เหลือเป็นซัปพลายเซลและอื่นๆ

Read More