Home > COVID (Page 2)

นับถอยหลังเปิดเมือง รีสตาร์ตเศรษฐกิจไทย

1 พฤศจิกายน 2564 คือกำหนดการที่ประเทศไทยเตรียมเปิดเมือง โดยเริ่มที่ 10 จังหวัดนำร่อง ซึ่งเป็นเมืองหลักหรือจังหวัดที่มีสัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กระบี่ (ทั้งจังหวัด) พังงา (ทั้งจังหวัด) ประจวบฯ (ต.หัวหิน หนองแก) เพชรบุรี (เทศบาลเมืองชะอำ) ชลบุรี (พัทยา อ.บางละมุง ต.นาจอมเทียน ต.บางเสร่) ระนอง (เกาะพยาม) เชียงใหม่ (อ.เมือง แม่ริม แม่แตง ดอยเต่า) เลย (เชียงคาน) บุรีรัมย์ (อ.เมือง) ซึ่งหากนับจากนี้คงเหลือเวลาอีกไม่ถึงเดือนแล้ว ที่ทั้งภาครัฐและเอกชน ประชาชนจะต้องเรียนรู้บทเรียนจากโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง ที่เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวไปตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ภาครัฐคาดหวังว่าจะใช้โครงการนี้เป็นพื้นที่เรียนรู้และวัดศักยภาพความพร้อมด้านสาธารณสุข ว่าหากจะต้องใช้ชีวิตภายใต้การดำรงอยู่ของเชื้อโควิด-19 และหากมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น จะยังสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปพร้อมกันได้หรือไม่ ผลลัพธ์คือ มีผู้ติดเชื้อในระยะเวลาของโครงการสูงถึงกว่า 200 คนต่อวัน ที่น่าสนใจคือในจำนวนนี้ กว่า 90

Read More

นายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนาม โครงการลมหายใจเดียวกัน 120 เตียง ใหญ่ที่สุดในประเทศ

มุ่งเพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นถึงขั้นวิกฤต และผู้ป่วยเสี่ยงสูงที่ต้องฟอกไต จากการผนึกกำลังของกลุ่ม ปตท. ภาครัฐ และพันธมิตรทางการแพทย์ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนาม ICU สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ระดับสีแดง ในโครงการลมหายใจเดียวกัน กลุ่ม ปตท. บนพื้นที่ 4 ไร่ ด้านหน้าโรงพยาบาลปิยะเวท เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ พร้อมด้วย นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการ ปตท. นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พญ.เจรียง จันทรกมล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลในเครือบางปะกอก-ปิยะเวท

Read More

“GBDi” โชว์ระบบ CO-link 4 เดือน ผู้ป่วยโควิดเข้าถึงการรักษาเกือบแสนราย

“GBDi” โชว์ระบบ CO-link 4 เดือน ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาเกือบแสนราย พร้อมขยายระบบเชื่อมโยงข้อมูลจองและรับวัคซีนโควิด-19 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ จัดทำระบบบริหารจัดการเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ภายใต้ชื่อ CO-link เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เผยตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สามารถติดตามผู้ป่วยจนเข้าสู่ระบบการรักษาไปแล้วเกือบแสนราย พร้อมขยายระบบเชื่อมโยงข้อมูลการจองและรับวัคซีน เพื่อลดความซ้ำซ้อน หนุนกระทรวงสาธารณสุขจัดหาวัคซีนได้แม่นยำมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ยังพบจำนวน ผู้ติดเชื้อต่อเนื่อง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ซึ่งที่ผ่านมา สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi) ได้ดำเนินโครงการสนับสนุนการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลในช่วงสถานการณ์โควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการจัดทำระบบบริหารจัดการเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ในชื่อ CO-link รศ.ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการ GBDi กล่าวว่า ระบบ CO-link คือ ศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสายด่วนเฉพาะกิจ 1668, 1669, 1330

Read More

อนาคตท่องเที่ยวไทย บนรอยทางความหวังอันเลือนราง

เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่จะส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ไม่เป็นไปอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาที่เป็นตัวแปรสำคัญทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มจำนวนสูงขึ้นในเวลาไม่นาน หลายประเทศที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลตา ต้องนำมาตรการล็อกดาวน์กลับมาใช้เป็นการด่วน ซึ่งเป้าหมายหลักล้วนอยู่ที่การสกัดไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่ระบาดลุกลามจนยากเกินจะควบคุม ถึงกระนั้นความพยายามของภาครัฐที่จะเปิดประเทศและขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยก็เกิดขึ้นภายใต้โครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ โครงการที่หลายคนตั้งความหวังว่าจะประสบความสำเร็จ อันจะนำไปสู่การเปิดโครงการแซนด์บ็อกซ์ในจังหวัดอื่นๆ ต่อไป เช่น จังหวัดเชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี สงขลา ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2564 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติภายใต้ Special Tourist Visa (STV) เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยต่อเนื่องและในเดือนกรกฎาคม 2564 การเปิดโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักท่องเที่ยวต่างชาติทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยสูงเกิน 1 หมื่นคนในรอบ 10 เดือน หลังจากที่ไทยเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์เปิดดำเนินการมาครบสองเดือน มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาแล้วประมาณ 24,000 คน โดยเป็นการจองห้องพักตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน ซึ่งมีการจองไปกว่า 430,000 คืน ก่อนหน้านี้มีการเปิดเผยตัวเลขรายได้ที่เข้ามาในจังหวัดภูเก็ตช่วงภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ โดย นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า หลังจากเปิดดำเนินการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ในเดือนแรกมีรายได้ประมาณ 829 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 58,982 บาทต่อทริป แบ่งเป็นค่าที่พักมากที่สุด 282

Read More

ปลดล็อกห้าง จี้ 3 แนวทางยกเครื่องธุรกิจ

แม้ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ยอมผ่อนคลายมาตรการในกลุ่มศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าและคอมมูนิตี้มอลล์ แต่ผลพวงการล็อกดาวน์หลายๆ ครั้ง บางครั้งมีคำสั่งแบบฟ้าผ่า ไม่ทันตั้งตัว ทำให้ร้านค้าปลีก โดยเฉพาะกลุ่มร้านอาหารทบทวนแนวทางการเปิดสาขา เพื่อลดความเสี่ยง เพราะไม่มีใครฟันธงชัดเจนจะไม่มีการระบาดรอบใหม่เกิดขึ้นอีก ทั้งนี้ กลุ่ม 8 สมาคมธุรกิจ ได้แก่ สมาคมศูนย์การค้าไทย สมาคมธุรกิจร้านอาหาร กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมคลีนิกเอกชน สมาคมวิชาชีพช่างผมไทย สมาคมผู้ประกอบการสปาไทย สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย และสมาคมสนามกอล์ฟไทย รวมตัวเคลื่อนไหวยื่นหนังสือต่อ พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ผอ.ศปก.ศบค.) และนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อผลักดันแนวทางการลดระดับการล็อกดาวน์ 3 ระยะ ระยะที่ 1 เริ่มวันที่ 1 กันยายน ได้แก่ เปิดธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มนั่งรับประทานที่ร้าน ร้อยละ 50 และเปิดธุรกิจก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์

Read More

จับตาฟิตเนส ธุรกิจหมื่นล้าน ในวันที่กำลังกระอักเพราะพิษโควิด

ธุรกิจฟิตเนสเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การระบาดในระลอกแรก จนถึงระลอกล่าสุดที่ดูจะหนักหนาสาหัสและอาจทำให้ผู้ประกอบการกว่าครึ่งจำต้องโบกมือลา ก่อนการอุบัติขึ้นของโรคโควิด-19 ธุรกิจฟิตเนสถือเป็นธุรกิจดาวรุ่งที่มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดและมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด อันเนื่องมาจากเทรนด์ของคนในสังคมปัจจุบันที่หันมาใส่ใจในเรื่องการรักษาสุขภาพและออกกำลังกายกันมากขึ้น ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่รายย่อยต่างก้าวเข้าสู่สังเวียน เพื่อหาโอกาสทางธุรกิจและช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดก้อนโต ข้อมูลย้อนหลังจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า รายได้รวมของกลุ่มธุรกิจฟิตเนสในช่วงปี 2558-2560 เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยถึง 12.40% ต่อปี ฟิตเนสรายย่อยเปิดตัวมากขึ้นและกระจายตัวอยู่ในย่านชุมชนเพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการออกกำลังกายใกล้บ้าน ในขณะที่ฟิตเนสรายใหญ่ยังคงมีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อมูล ณ ปี 2562 พบว่า มูลค่าตลาดโดยรวมของธุรกิจฟิตเนสอยู่ที่ 9,000-10,000 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 10%-12% ต่อปี และคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องถ้าไม่ประสบกับวิกฤตโควิด-19 อย่างในปัจจุบัน การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยที่เริ่มมาตั้งแต่ต้นปี 2563 ทำให้รัฐออกมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการสั่งปิดสถานที่ออกกำลังกายและฟิตเนสเป็นการชั่วคราว เพราะมองว่าเป็นสถานที่สุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด โดยเป็นธุรกิจแรกๆ ที่ต้องปิดกิจการตามมาตรการรักษาความปลอดภัย แต่กลับเป็นกลุ่มท้ายๆ ที่จะสามารถกลับมาเปิดให้บริการตามปกติได้ ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นได้สร้างผลกระทบโดยตรงต่อผู้ให้บริการฟิตเนสทั้งรายใหญ่และรายย่อยอย่างถ้วนหน้า ผู้ประกอบการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ฟิตเนสจำนวนไม่น้อยมีรายได้ต่อเดือนเท่ากับ “ศูนย์” ในขณะที่รายจ่ายยังคงเท่าเดิม ศุกรีย์ สุภาวรีกุล นายกสมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ฟิตเนสต้องแบกรับค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ทั้งค่าเช่า

Read More

ลาซาด้า เปิดอินไซต์นักช้อปออนไลน์ เผยเทรนด์สำคัญอีคอมเมิร์ซไทย

ลาซาด้า เปิดอินไซต์นักช้อปออนไลน์ เผยเทรนด์สำคัญอีคอมเมิร์ซไทย ตั้งเป้าช่วยร้านค้าดันยอดขายปังฝ่ากระแสโควิด-19 การทวีความรุนแรงของโรคระบาดโควิด-19 รวมถึงมาตรการล็อกดาวน์ ผลักดันให้อีคอมเมิร์ซกลายมาเป็นช่องทางสำคัญสำหรับผู้บริโภคที่หันมาพึ่งช่องทางออนไลน์ที่มอบความคุ้มค่า สะดวกสบาย ช้อปได้อย่างปลอดภัยแม้ต้องเก็บตัวอยู่บ้าน ขณะเดียวกัน อีคอมเมิร์ซยังกลายเป็นช่องทางหลักสำหรับผู้ประกอบการในการประคับประคองธุรกิจให้ไปต่อได้ ลาซาด้า ผู้สร้างการเติบโตให้วงการอีคอมเมิร์ซไทยอย่างต่อเนื่องมากว่า 9 ปี รวบรวมสถิติน่าสนใจจากผู้บริโภคบนแพลตฟอร์ม พร้อมเผยทิศทางอีคอมเมิร์ซเพื่อเป็นแนวทางให้แบรนด์และร้านค้าปรับตัวให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค โดยอินไซต์ที่น่าสนใจของผู้บริโภคในช่วงนี้ เช่น - ซื้อถี่ขึ้น และใช้เวลาอยู่บนแพลตฟอร์มยาวนานขึ้นอีกด้วย ลาซาด้า พบว่าปัจจุบัน ผู้บริโภคใช้เวลาเฉลี่ยบนแอปฯ ต่อเดือน มากกว่า 70 นาที และความถี่ในการเข้ามาใช้งานเฉลี่ยเดือนละ 7 ครั้งต่อคน - ซื้อเป็นเซ็ตคุ้มกว่าจูงใจมากกว่า เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันที่ทำให้ยอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้ง (Average budget size spending) ของผู้บริโภคลดลงถึง 30% เมื่อเปรียบเทียบกับยอดการใช้จ่ายในปี 2563 การจัดผลิตภัณฑ์เป็นเซ็ตพร้อมโปรโมชั่นช่วยเพิ่มความคุ้มค่าให้กับสินค้าและบริการ จูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ง่ายขึ้น - ผู้หญิงยังครองแชมป์ แต่นักช้อปชายมาแรงไม่แพ้กัน ลาซาด้ามียอดนักช้อปหญิงมากถึง 52% ทำให้สินค้าสำหรับผู้หญิง อย่าง สกินแคร์ เครื่องสำอาง เสื้อผ้า

Read More

อุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม ผู้อยู่รอดในยุคโควิดครองเมือง?

มาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาลที่มีหมุดหมายเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ให้ขยายวงกว้างมากเกินกว่าความสามารถของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะทานไหว ส่งผลโดยตรงต่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ มาตรการดังกล่าวคล้ายเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดความต้องการอาหารมากกว่าสถานการณ์ปกติ นอกจากนี้ ยังมีตัวแปรอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการกักตุนอาหารทั้งในแง่ของผู้ประกอบการร้านค้าขนาดเล็ก หรือประชาชน เช่น แรงงานภาคขนส่งจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว แต่แรงงานบางส่วนยังไม่ได้รับการจัดสรรวัคซีน หรือเกิดคลัสเตอร์ในกลุ่มแรงงานภาคการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อาจทำให้ผลผลิตมีจำนวนลดลง รวมถึงระยะเวลาในการขนส่งที่อาจล่าช้ากว่าเดิม ซึ่งจะทำให้การกระจายสินค้าไปในพื้นที่ยากลำบากมากขึ้น ศูนย์วิจัยธนาคารออมสินเคยวิเคราะห์แนวโน้มภาพรวมของผู้ประกอบการรายใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นจากการขยายตัวของความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการที่หลายประเทศประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารจากการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกไปประเทศคู่ค้าหลักขยายตัว โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป อาหารพร้อมรับประทานพร้อมปรุง ตลอดจนอาหารที่สามารถเก็บรักษาได้นาน เช่น ไก่สดแช่แข็ง ไก่แปรรูป อาหารทะเลกระป๋อง น้ำมันพืช บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่คาดว่ามูลค่าการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 น่าจะเติบโตดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก โดย 3 ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกอาหารและเครื่องดื่มไทยเติบโต คือ 1. เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว 2. การบริหารจัดการวัคซีนมีประสิทธิภาพ และ 3. การขาดแคลนแรงงานคลี่คลาย ทั้งนี้อาจมีปัจจัยที่ต้องติดตามทั้งราคาวัตถุดิบและค่าขนส่งที่มีแนวโน้มสูงต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ช่วงครึ่งหลังปี 2564 มูลค่าการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มของไทยน่าจะเติบโตราว 4.9 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน ส่งผลให้ภาพรวมปี 2564

Read More

นมล้านกล่องจากโฟร์โมสต์ สู่ล้านรอยยิ้มของเด็กไทย

นมล้านกล่องจากโฟร์โมสต์ สู่ล้านรอยยิ้มของเด็กไทย มอบสุขภาพดีจากทุกน้ำใจ ในโครงการ “โฟร์โมสต์ส่งต่อรอยยิ้มให้เด็กไทยสู้ภัยโควิด-19” ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นอย่างยาวนาน จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในวงกว้าง และมีผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือทั้งในด้านเศรษฐกิจและสุขภาพอย่างต่อเนื่องนั้น หนึ่งในกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบไม่น้อยคือ “เด็ก” โดยเฉพาะเด็กๆ จากครอบครัวที่พ่อแม่ได้รับผลกระทบด้านรายได้ และค่าครองชีพที่ลดต่ำลง ธนาคารโลก หรือ World Bank ได้ประเมินสถิติความยากจนของคนไทย จากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ในช่วงที่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 พบว่าผลกระทบจากสถานการณ์ทำให้คนไทยมีความยากจนเพิ่มขึ้น ซึ่งจำนวนคนยากจนในช่วงระหว่างปี 2563-2564 มีถึง 5.8 ล้านคน หรือเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.5 ล้านคน เป็นความยากจนที่แม้แต่เงินซื้ออาหารในแต่ละวันก็ยังไม่เพียงพอ เด็กเล็กๆ ที่อยู่ในครอบครัวยากจน 935,202 ครอบครัวทั่วประเทศ จึงหนีไม่พ้นความขาดแคลนสารอาหารที่ส่งผลถึงการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสติปัญญา โดยเฉพาะเด็กเล็กวัย 0-6 ขวบ ที่ต้องการโภชนาการที่จำเป็นเพื่อให้ร่างกายและสมองเติบโตอย่างเต็มที่ ซึ่งหากพัฒนาการช่วงนี้ต้องสะดุดไป อาจส่งผลต่อการเติบโตและคุณภาพชีวิตของเด็กคนหนึ่งไปทั้งชีวิต บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมโฟร์โมสต์ ในฐานะผู้ที่มอบโภชนาการที่ดีให้กับประชากรไทยมาอย่างยาวนานกว่า 65 ปี ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาปัญหาดังกล่าว ด้วยความเชื่อมั่นในความมีน้ำใจของคนไทยที่พร้อมแบ่งปันและช่วยเหลือกันในทุกสถานการณ์

Read More

รับมือความเครียดยุคโควิด ร่างกายปลอดภัย ใจไม่ป่วย

ดูเหมือนว่าคนไทยยังจะต้องเผชิญหน้ากับเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงที่เกิดการกลายพันธุ์สู่สายพันธุ์เดลต้า ที่ส่งผลให้เกิดแพร่ระบาดอย่างหนัก และประชาชนติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ตัวเลขผู้ติดเชื้ออยู่ที่หลักหมื่นต่อวัน เป็นเวลาเกือบ 1 เดือน และผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ปริมาณวัคซีนยังมีไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรในประเทศ สถานการณ์เลวร้ายหลายอย่างที่อุบัติขึ้นในเวลานี้ย่อมส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้คน ทั้งการที่ต้องใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง สภาพเศรษฐกิจและสังคมติดลบ สร้างความกดดันในชีวิต ความกังวลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลในครอบครัว ความกลัวที่จะติดเชื้อ ปัจจัยต่างๆ ล้วนแต่สร้างให้เกิดความเครียด ความหดหู่ อันนำมาซึ่งอาการป่วยทางสภาพจิตได้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อสหรัฐฯ หรือ CDC ยังแนะนำให้สังเกตอาการเหล่านี้ อารมณ์เปลี่ยนแปลง แปรปรวน กลัว เครียด กังวล เบื่อ เฉยชา หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ฝันร้ายต่อเนื่อง พฤติกรรมการกินผิดปกติ กินน้อยลง หรือกินมากผิดปกติ ไม่กระปรี้กระเปร่า เฉื่อยชา มีความรู้สึกเบื่อไม่อยากทำอะไร สมาธิไม่ดี หลงลืม ทำงานบกพร่อง สูญเสียการตัดสินใจ บางรายดื่มแอลกอฮอล์หนักขึ้น หรือสูบบุหรี่ใช้สารเสพติดมากขึ้น ผู้ป่วยที่มีโรคทางกาย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต หัวใจ

Read More