Home > COVID (Page 3)

“เวิลด์แก๊สเคียงข้างสู้ภัยโควิด” แจกฟรีแก๊สหุงต้ม ต่อลมหายใจสตรีทฟู้ด

ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ สานต่อโครงการ “เวิลด์แก๊สเคียงข้างสู้ภัยโควิด” ผนึกไทยแก๊ส และแพลน บี มีเดีย แจกฟรีแก๊สหุงต้ม พร้อมช่วยโปรโมทร้าน ต่อลมหายใจสตรีทฟู้ดไทยในแคมเปญ “ร้านยิ้มได้..เราก็ยิ้มด้วย x ฝากร้านผ่านจอ” ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมาอย่างยาวนาน หนึ่งในภาคส่วนธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง และยาวนานมากที่สุดก็คือธุรกิจร้านอาหาร ที่ต้องเสียสละในการปิดให้บริการแบบนั่งทานที่ร้านชั่วคราวตามมาตรการของภาครัฐมาแล้วหลายต่อหลายครั้งเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจร้านอาหารโดยตรง ถึงแม้จะยังสามารถให้บริการแบบดิลิเวอรี่ และสั่งกลับบ้านได้ แต่ก็ไม่สามารถชดเชยรายได้ให้กับผู้ประกอบการเทียบเท่ากับในสถานการณ์ปกติ คุณชมกมล พุ่มพันธุ์ม่วง” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ บริษัทผู้จัดจำหน่ายแก๊สหุงต้มแบรนด์เวิลด์แก๊ส มีความใกล้ชิดกับผู้ประกอบการร้านอาหารในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด จึงต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน ช่วยเหลือและให้กำลังใจแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดเล็ก สตรีทฟู้ด และแผงลอยต่างๆ ในภาวะวิกฤติครั้งใหญ่ของประเทศ ซึ่งล่าสุดหลังจากมีการประกาศมาตรการควบคุมสถานการณ์โควิด ห้ามรับประทานอาหารภายในร้าน ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด บริษัทจึงได้สานต่อพันธกิจ “We Promise” ย้ำภาพลักษณ์เพื่อนแท้ด้านพลังงาน ที่ยืนหยัดเคียงข้างคนไทยมาอย่างยาวนานถึง 42 ปี

Read More

“วัคซีน” ด้อยประสิทธิภาพ จุดแตกหักสังคมไทย

ความเป็นไปและสับสนว่าด้วยประสิทธิภาพของวัคซีนต้านทานและยับยั้งการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่จากผลของการจัดการจัดหาและจัดสรรวัคซีน CoronaVac ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Sinovac Biotech หรือที่ได้รับการเรียกขานในนาม SINOVAC มาอย่างต่อเนื่องในสังคมไทย ด้วยเหตุที่รัฐไทยนำมาเป็นวัคซีนหลักในการระงับยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ดูจะเป็นประเด็นแหลมคมที่กำลังส่งผลต่อความเชื่อมั่นศรัทธาต่อระบบการสาธารณสุขไทยอย่างหนักหน่วงและอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ท่ามกลางความพยายามที่จะระบุว่าการสาธารณสุขไทยก้าวไกลและได้รับการยอมรับจากนานาประเทศในช่วงก่อนหน้านี้ กระแสข่าวว่าด้วยจำนวนผู้คนที่ล้มเจ็บด้วยเหตุแห่งการติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มมากขึ้นเป็นสถิติใหม่ในแต่ละวัน ควบคู่กับจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุที่โรงพยาบาลไม่มีเตียงรองรับผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยหนักที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ สะท้อนภาพความล้มเหลวของการสาธารณสุขไทยที่พยายามเน้นย้ำความสำคัญของบุคลากรทางการแพทย์แต่ขาดความรู้ความเข้าใจและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการนโยบายด้านการสาธารณสุขในฐานะที่ public health ต้องเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายสาธารณะหรือ public policy อย่างจริงจัง ความล้มเหลวในการระงับยับยั้งการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่กลายพันธุ์ไปอย่างหลากหลายทำให้วัคซีนเชื้อตายที่พัฒนาขึ้นจากสายพันธุ์ดั้งเดิมเมื่อครั้งที่มีการระบาดใหญ่ระลอกแรกที่มณทลอู่ฮั่นประเทศจีน เมื่อกว่า 2 ขวบปีที่ผ่านมา ถูกตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพในการรับมือกับการระบาดระลอกใหม่ๆ ที่กำลังกลายพันธุ์และพัฒนาความรุนแรงไปสู่สายพันธุ์ Alpha-Delta และสายพันธุ์อื่นๆ ที่กำลังติดตามมาอย่างไม่อาจเลี่ยง วัคซีนป้องกันโรค COVID-19 สองยี่ห้อหลักของจีนที่พัฒนามาจากเชื้อตายทั้ง Sinovac และ SinoPharm กำลังถูกทำให้ตกเป็นข่าวในทางลบตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น รวมกระทั่งแม้แต่พบผู้เสียชีวิตในหมู่ประชากรที่ได้รับวัคซีนของ Sinovac และ SinoPharm ครบตามจำนวนแล้วก็ตาม ประเด็นดังกล่าวทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนทั้งสองยี่ห้อนี้ แม้ว่า ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า

Read More

หนี้ครัวเรือนไทยพุ่งสูง เศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ประชาชนขาดสภาพคล่อง

บ่อยครั้งที่ “ผู้จัดการ 360 องศา” นำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่ไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตโควิด ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจภาพรวมเกินคำว่าถดถอยไปมาก ปี พ.ศ. 2564 ล่วงเลยมาเป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้ว ทว่าสถานการณ์ของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่ทุเลา ขณะที่รัฐบาลไทยต้องประกาศล็อกดาวน์อีกครั้ง และกลับไปใช้มาตรการที่เคยนำมาใช้เมื่อช่วงเดือนเมษายนของปีก่อน หลายฝ่ายคาดหวังว่า “เจ็บแต่จบ” ครั้งนี้จะเป็นของจริงเสียที ภาคเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงพิจารณาได้จากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือจีดีพี ที่ติดลบมาอย่างต่อเนื่องนับแต่ปีก่อนหน้า รวมไปถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคประชาชน ที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับ “หนี้ครัวเรือนไทย” ดูจะทำสถิติสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปีที่แล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยรายงานตัวเลขหนี้ครัวเรือนของปี 2563 โดยไตรมาส 1 หนี้ครัวเรือนไทยสูงถึง 80.1% ต่อจีดีพี ในเวลานั้น สำนักข่าวส่วนใหญ่พาดหัวไปในลักษณะเดียวกันว่า หนี้ครัวเรือนไทยสูงเป็นประวัติการณ์ แต่ใครจะรู้ว่าสถิติในครั้งนั้นจะถูกทำลายลงในไตรมาสต่อมา ด้วยตัวเลขหนี้ครัวเรือนไทยที่ยังคงพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยไตรมาส 2/2563 พุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ 83.8% ต่อจีดีพี ไตรมาส 3/2563 อยู่ที่ 86.8% ต่อจีดีพี และไตรมาส 4/2563 แตะ 89.3%

Read More

“เด็กแรกเกิดต้องรอด” โครงการจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับทารกแรกเกิดที่แม่ติดเชื้อโควิด-19

“เด็กแรกเกิดต้องรอด” โครงการจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับทารกแรกเกิดที่แม่ติดเชื้อโควิด-19 จาก “โรงพยาบาลเด็ก” “เด็กแรกเกิด” เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตโควิด-19 เพราะปัจจุบันมีกลุ่มแม่อุ้มท้องที่ติดเชื้อและเจ็บท้องคลอด แต่เพื่อไม่ให้เด็กทารกแรกเกิดที่คลอดออกมานั้น ได้รับเชื้อโควิด-19 จำเป็นต้องมีการดูแลมารดาและทารกอย่างถูกต้อง จากข้อมูลในปัจจุบันพบว่า ในคุณแม่ติดเชื้อแม้มีโอกาสถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ไม่มากนัก แต่หากกระบวนการดูแลทั้งการคลอด หลังคลอด และที่บ้าน ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจะทำให้เด็กแรกเกิดมีโอกาสติดเชื้อไปด้วย ฉะนั้น โรงพยาบาลเด็ก หนึ่งในด่านหน้าที่รับดูแลเด็กแรกเกิดที่ป่วยจึงได้ริเริ่มโครงการ “เด็กแรกเกิดต้องรอด” เพื่อเตรียมสถานที่และอุปกรณ์สำหรับรองรับการดูแลทารกแรกเกิดที่มีอาการป่วยด้วยโรคโควิด-19 หรือคลอดจากมารดาที่ติดเชื้อ นายแพทย์เสรี ตู้จินดา ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก กล่าวว่า “สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือในชื่อเดิมคือ รพ.เด็ก เป็น รพ.รัฐบาลแห่งเดียวในประเทศไทยที่รับดูแลแต่ผู้ป่วยเด็กเท่านั้น มีแผนกต่างๆสำหรับเด็กครบถ้วนเช่นเดียวกับโรงพยาบาลผู้ใหญ่ ให้การดูแลตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึง 15-18 ปี โดยหน่วยทารกแรกเกิด สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านทารกแรกเกิดของกรมการแพทย์ ให้การดูแลทารกที่คลอดที่ รพ.ราชวิถีทุกราย ทั้งทารกปกติที่อยู่กับมารดา และทารกที่มีอาการป่วยซึ่งจะได้รับการส่งต่อมารับการรักษาที่สถาบันฯ นอกจากนี้ ยังให้การดูแลรักษาทารกวิกฤต หรือมีปัญหาซับซ้อนที่ส่งต่อมาจาก รพ.ทั่วประเทศ โดย รพ.ราชวิถี ซึ่งเป็นรพ.ศูนย์ขั้นสูงระดับตติยภูมิ และให้การดูแลและรับส่งต่อมารดาที่มีความเจ็บป่วยซับซ้อนเช่นเดียวกัน ปัจจุบันสถิติมารดาคลอดประมาณ 400–500

Read More

แสนสิริตอกย้ำความแข็งแกร่งในธุรกิจอสังหาฯ ลั่นปิดแคมป์ก่อสร้าง 30 วัน ไม่กระทบการโอนและรับรู้รายได้ ในไตรมาส 2

แสนสิริตอกย้ำความแข็งแกร่งในธุรกิจอสังหาฯ เผยมีที่อยู่อาศัยพร้อมอยู่ - พร้อมโอน มูลค่ารวม 14,000 ล้านบาท รองรับดีมานต์ ลั่นปิดแคมป์ก่อสร้าง 30 วัน ไม่กระทบการโอนและรับรู้รายได้ ในไตรมาส 2 นายเศรษฐา ทวีสิน ประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) (SIRI) เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลประกาศมาตรการปิดแคมป์ก่อสร้างเพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด– 19 ที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นนั้น แสนสิริพร้อมปฏิบัติตามมาตรการรัฐ โดยให้ความร่วมมือปิดแคมป์งานก่อสร้าง 30 วัน รวมทั้งออกแนวทางส่งเสริมด้านความปลอดภัยในแคมป์ก่อสร้างอย่างเต็มที่ เพื่อช่วยผลักดันการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด – 19 ให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อ ทั้งนี้ สำหรับแสนสิริ ไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดแคมป์ก่อสร้าง เนื่องจากบริษัทมีการวางแผนการบริหารงานก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ (Speed to Market) รองรับทุกสถานการณ์ไว้แล้ว โดยล่าสุดแสนสิริมีที่อยู่อาศัยพร้อมอยู่ - พร้อมโอน #ของดีมีน้อย รองรับความต้องการลูกค้าได้ทันที ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม

Read More

ไปต่อหรือพอแค่นี้? ผ่อนบ้านไม่ไหว มีทางออกไหนน่าสนใจบ้าง

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังสั่นคลอนความเชื่อมั่นของประชาชนและผู้ประกอบการไปจนถึงส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่หลายฝ่ายเคยคาดการณ์ไว้ว่าปี 2564 จะเป็นปีแห่งการฟื้นธุรกิจให้กลับมาเติบโตอีกครั้ง แม้จะเริ่มมีการทยอยฉีดวัคซีนต้านไวรัสให้กลุ่มเป้าหมายบางส่วนแล้ว แต่การแพร่ระบาดฯ ที่ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะควบคุมได้ในเร็ววันนี้ ย่อมส่งผลกระทบไปถึงความมั่นคงทางการเงินของผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้จะเคยมีประสบการณ์ในการรับมือวิกฤติในปีที่ผ่านมาแล้วก็ตาม เห็นได้จากผลสำรวจ "สถานภาพแรงงานไทย: กรณีศึกษาผู้มีรายได้ ต่ำกว่า 15,000 บาท” ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า สถานภาพหนี้ของแรงงานไทยปี 2564 นั้นมีหนี้สินของครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากปี 2562 มาอยู่ที่ 98.1% โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้จากการกู้ยืมเพื่อนำมาใช้จ่ายประจำวัน เพื่อการศึกษาและใช้หนี้บัตรเครดิต ส่วนใหญ่มีปัญหาการผิดนัดผ่อนชำระหนี้สูงถึง 85.1% เนื่องจากขาดสภาพคล่องทางการเงินจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และสภาพเศรษฐกิจ ส่งผลให้ภาระหนี้ครัวเรือนของแรงงานไทยในปีนี้ขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เฉลี่ยอยู่ที่ครัวเรือนละ 205,809 บาท หรือเพิ่มขึ้น 29.56% นอกจากนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวขึ้นน่าจะทำให้เงินกู้ยืมของภาคครัวเรือนในปี 2564 มีโอกาสเติบโตขึ้นสูงกว่าปี 2563 ซึ่งภาพดังกล่าวอาจส่งผลต่อเนื่องให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2564 ขยับสูงขึ้นมาอยู่ในกรอบประมาณ 89.0 - 91.0% ต่อจีดีพี เรียกได้ว่าปัญหาสภาพคล่องทางการเงินถือเป็นปัญหาสำคัญอันดับต้น ๆ ของผู้บริโภคในยุคนี้เลยก็ว่าได้ แน่นอนว่าในภาคอสังหาฯ ที่แม้จะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตของผู้บริโภค

Read More

นับถอยหลังภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ นำร่องกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว

ภูเก็ต เป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่มักจะติดอันดับจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว โดยเมื่อปี 2020 จากผลการจัดอันดับโดย CEOWORLD นิตยสารด้านธุรกิจของสหรัฐอเมริกา ภูเก็ตติดอันดับ 9 ในการเป็นจุดหมายปลายทางที่ดีที่สุดของโลกสำหรับนักเดินทางเพื่อธุรกิจ ขณะที่การจัดอันดับของ U.S. News & World Report รายงานการจัดอันดับ 30 สถานที่ท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2563-2564 พบว่า จังหวัดภูเก็ตติดอยู่ในอันดับ 10 ของรายการนี้ ด้านมาสเตอร์การ์ด เคยเผยผลสำรวจเมืองสุดยอดจุดหมายปลายทางของโลกเพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อน พบว่า ภูเก็ตติด 1 ใน 10 เมืองที่นักท่องเที่ยวเลือกที่จะเดินทางมา โดยเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนที่นิยมเดินทางมาเที่ยวพักผ่อนที่ภูเก็ตมากที่สุด และระหว่างท่องเที่ยวที่ภูเก็ตนักท่องเที่ยวจะใช้เงินคนละประมาณ 4,700 บาท หรือ 239 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ด้วยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ตที่เป็นเกาะ และยังมีเกาะน้อยใหญ่รายล้อม ทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม อาหาร วัฒนธรรม ประเพณี หรือแม้แต่อาคารบ้านเรือนที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบผสมผสาน สไตล์ชิโนโปรตุกีส จึงทำให้ภูเก็ตกลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้เป็นอย่างดี กระทั่งในที่สุด ภูเก็ตเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก และเมื่อแทบทุกประเทศมีคำสั่งปิดประเทศเพื่อรับมือกับวิกฤตโควิด การเดินทางระหว่างประเทศถูกระงับ

Read More

หวังวัคซีนหนุนจีดีพีโต ช่วยดึงเศรษฐกิจไทยพ้นวิกฤต

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ที่ดำเนินมาตั้งแต่เมื่อเดือนเมษายน 2564 ดูจะเป็นปัจจัยเร่งที่ฉุดให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยทรุดหนักลงไปอีก โดยการคาดการณ์ของจีดีพีไทยในปี 2564 ล่าสุดได้รับการประเมินว่าจะอยู่ในระดับที่เติบโตเพียงร้อยละ 0.8-1.6 ต่อปี หลังจากที่การระบาดระลอกที่ 3 มีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมากถึง 5.8 แสนล้านบาท ผลพวงของการระบาดระลอกใหม่ดังกล่าวทำให้กลไกรัฐคงระดับความเข้มข้นของมาตรการควบคุมโรคยาวนานขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ขณะที่แผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงอุปสงค์ในประเทศได้รับผลทางลบค่อนข้างมาก โดยมูลค่าความเสียหายต่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงถึง 4.0-5.8 แสนล้านบาท ซึ่งการระบาดของ COVID-19 ระลอกเดือนเมษายนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศมากกว่า 3 เดือน โดยสถานการณ์การระบาดในประเทศได้แพร่กระจายไปยังหลายคลัสเตอร์ทั่วประเทศ จนเป็นการยากที่จะควบคุมให้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว สะท้อนจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2,000-3,000 คนต่อวัน ข้อมูลที่น่าสนใจในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาอยู่ที่สัดส่วนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนที่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.3 และกระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้จำเป็นต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้นอีกครั้ง ซึ่งย่อมกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อนที่การรณรงค์ระดมปูพรมฉีดวัคซีนจะเริ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความสับสนกังวลต่อปริมาณและการกระจายวัคซีนที่กลไกรัฐดำเนินการอยู่ว่าจะสามารถขยับสัดส่วนการฉีดวัคซีนให้เพิ่มมากขึ้นตามเป้าหมายที่รัฐกำหนดไว้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้หลายฝ่ายประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในทิศทางลบหนักหน่วงมากขึ้น เกิดขึ้นจากรูปแบบการแพร่ระบาดที่มีแนวโน้มรุนแรงและยาวนานกว่าที่คาด ส่งผลให้ต้องคงระดับความเข้มข้นของมาตรการควบคุมโรคให้ยาวนานขึ้น ขณะที่แผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่แน่นอนสูงจากการแพร่ระบาดของเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษและอินเดียในหลายประเทศ และการระบาดครั้งใหม่นี้ทำให้เศรษฐกิจและตลาดแรงงานมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ล่าช้ากว่าเดิม การคาดการณ์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจในช่วง 4 เดือนระหว่างเมษายนถึงกรกฎาคม คาดว่าอุปสงค์ในประเทศจะเสียหายประมาณ 1.3 แสนล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 0.9 ต่อจีดีพี ซึ่งในกรณีที่เลวร้ายกว่านั้นหากยาวนานไปถึง

Read More

การ์ดไม่ตก มาตรฐานสาธารณสุขครบ ลดเสี่ยงติดเชื้อโควิด

“ผู้อยู่รอด” หลายคนอาจใช้คำนี้เป็นคำพูดติดตลกสำหรับสถานการณ์ที่ไทยต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด และผ่านพ้นการติดเชื้อ ทั้งจากระลอกแรก ระลอกสอง กระทั่งเข้าสู่ระลอกสามในปัจจุบัน แม้จะเป็นเรื่องที่ดีที่เรายังไม่ติดเชื้อร้ายนี้ แต่แน่ใจหรือไม่ ว่าเวลานี้ตัวเราเองไม่ได้การ์ดตก หรือมาตรการสาธารณสุขบกพร่องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพียงเพราะหลงอยู่กับคำว่า “ผู้อยู่รอด” ในช่วงแรกที่เชื้อโควิดมาถึงไทย หลังจากที่เรารับทราบมาตรการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ ทั้งการใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ไม่ไปในสถานที่เสี่ยงหรือแออัด เว้นระยะห่างจากบุคคลอื่นในระยะ 1-2 เมตร แทบทุกคนในสังคมเคร่งครัดกับแนวทางปฏิบัตินี้แม้จะดูยุ่งยากในช่วงแรก แต่มนุษย์รู้จักปรับตัวได้เพียงเวลาไม่นาน และยกการ์ดขึ้นป้องกันตัวเองอย่างเป็นธรรมชาติจนน่าชื่นชม แต่หลังจากไทยต้องเผชิญการติดเชื้อในระลอกสอง จนถึงระลอกสาม สิ่งที่ปรากฏขึ้นในสังคมแม้จะยังมีการแพร่ระบาดของเชื้อร้ายอยู่ในวงกว้าง และจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นจนแตะหลักพันในเวลานี้ ปรากฏว่า การ์ดที่เคยยกตั้งสูงตระหง่านชนิดที่เรียกว่า ไม่ประมาทง่ายๆ กลับสร้างมาตรการผ่อนคลายให้ตัวเอง การ์ดตกลงอย่างง่ายดาย แม้ว่าจะยังใส่หน้ากากอนามัยอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันก็ตาม ลองสำรวจตัวเองดูก่อนว่า ทุกวันนี้ เรายังเว้นระยะห่างทางสังคมอยู่ไหม เมื่อเวลาต้องเข้าไปในพื้นที่จำกัด เช่น ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ตลาดนัด ตลาดสด เรายืนรอคิวชำระเงินชนิดที่ยืนหายใจรดต้นคอคนข้างหน้ารึเปล่า ขณะที่ผู้คนกำลังเลือกซื้อสินค้ากันจำนวนมาก เราได้ถอยออกมาและรอเวลาให้คนน้อยลงแล้วค่อยกลับไปอีกครั้งไหม ทุกวันนี้ เราล้างมือบ่อยแค่ไหน หลังจากที่จับหรือสัมผัสสิ่งของที่ต้องใช้ร่วมกับผู้อื่น เรายังทำตามคำแนะนำจากภาครัฐแบบในระยะแรกอยู่หรือไม่ ทั้งการถูสบู่นาน 20 วินาที ทำความสะอาดทุกซอกนิ้วมือ

Read More

ไอคอนสยาม ผนึกกำลังกับ โรงพยาบาลศิริราช เปิดพื้นที่บริการฉีดวัคซีนโควิด-19

ไอคอนสยาม ผนึกกำลังกับ โรงพยาบาลศิริราช สนับสนุนภารกิจแห่งชาติ เปิดพื้นที่บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาล ประเดิมฉีดวันแรก 7 มิ.ย. ศกนี้ ท่ามกลางทัศนียภาพริมแม่น้ำเจ้าพระยา ไอคอนสยาม ผนึกกำลังร่วมกับ โรงพยาบาลศิริราช พร้อมด้วย สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และหอการค้าไทย สนับสนุนภารกิจแห่งชาติ เปิดหน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาลแก่ประชาชน ประเดิมให้บริการวันแรก 7 มิถุนายนศกนี้ โดยได้รับเกียรติจาก พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าตรวจจุดบริการฉีดวัคซีน ตอกย้ำความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพการบริหารจัดการตามมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนได้อย่างรวดเร็วและกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศไทย เพื่อก้าวผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน ผศ.นพ.สนั่น วิสุทธิศักดิ์ชัย รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลศิริราช กล่าวถึงการรวมพลังในครั้งนี้ว่า โรงพยาบาลศิริราช ร่วมมือบริการฉีดวัคซีนกับสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร หอการค้าไทย และ ไอคอนสยาม เพื่อให้บริการฉีดวัคซีนโควิด – 19 นอกโรงพยาบาล เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรับวัคซีนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เพิ่มโอกาสสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในระดับที่สามารถยุติการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ สำหรับการฉีดวัคซีนที่ไอคอนสยามจะฉีดในประชาชนหมู่มากที่มีสุขภาพแข็งแรง

Read More